แท่งแก้วตรวจวัดความถ่วงจำเพาะของน้ำ
มีคำถามว่าถ้าหากว่าเราจะัวัดความถ่วงจำเพาะของของเหลว
มันมีวิธีใดที่ง่ายที่สุด และแม่นยำที่สุด คำตอบนี้คือ
ก็ให้ท่านวัดโดยใช้วิธีที่ง่ายที่สุดและโบราณที่สุดครับ
คือเทียบกับความหนาแน่นของสิ่งของที่เราทราบค่าอยู่แล้วนั่นคือแท่งแก้ว
ตรวจวัดค่าความถ่วงจำเพาะที่ ทราบค่าความถ่วงจำเพาะของแท่งแก้วนั่น
ๆ อยู่แล้ว โดยความรู้ขั้นพื้นฐานที่สุดของมนุษย์นั่นพบว่า
ความหนาแน่นของของเหลวนั้นมีผลต่อการลอยได้
หรือจมลงของวัตถุที่อยู่ในของเหลวนั้น ๆ
ความหนาแน่นของเหลวของเหลวตัวเดิม ที่ไม่เท่าเดิมหรือเปลี่ยนค่าไป
ก็ย่อมจะทำให้ระดับของการลอย จม ของวัตถุไม่เท่ากันไปด้วย
ถ้าจะถามว่าทำไมหินถึงจมน้ำนั่นก็เพราะว่าความหนาแน่นของหินมากกว่
าน้ำแล้วทำไมน้ำมันจึงลอยเป็นฝ้าอยู่บนผิวน้ำนั่นก็เพราะว่าน้ำมันเบากว่า
น้ำแต่ถ้าหากเป็นน้ำบริสุทธิ์แล้วมีวัตถุหรือสารละลายซึ่งละลายน้ำได้ละลา
ยอยู่ในน้ำ ความหนาแน่นของน้ำนั้นย่อมจะเปลี่ยนไปจากเดิมด้วย
ซึ่งจะวัดได้ง่ายที่สุดจากแท่งแก้ววัดความถ่วงจำเพาะแบบง่ายๆ
นี่เองซึ่งใช้กันมานานนับเกือบร้อยปี
ก่อนที่ท่านจะใช้แท่งแก้ววัดความถ่วงจำเพาะวัดความหนาแน่น
ท่านจำเป็นต้องทราบคร่าว ๆ ก่อนครับว่าของเหลว(น้ำ)
นั้นมีความถ่วงจำเพาะหรือความหนาแน่นประมาณเท่าใด
บนแท่งแก้วจะมีสเกลบอกถึงช่วงของความหนาแน่นที่แท่งแก้วนี้จะสามาร
ถวัดได้ ยกตัวอย่างเช่นแท่งแก้วที่ผมแสดงให้เห็นนี้
วัดความหนาแน่นของน้ำได้ในช่วงความถ่วงจำเพาะ 1.300 - 1.400
โดยมีความละเอียดที่ 0.002
พูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ สเกลแต่ละขีดจะอ่านได้ดังนี้ครับ คือ 1.300 ,
1.302, 1.304, 1.306, 1.308, 1.310, 1.312, 1.314.......ไปจนถึง
1.400
ทั้งนี้ท่านจะต้องมี cylinder สักอันครับ
หน้าตาเป็นประมาณนี้จะเหมาะสมที่สุด
หลังจากนั้นให้ใส่แท่งแก้ววัดความถ่วงจำเพาะลงไป ต้องใส่ให้เบาจริง ๆ
นะครับ เพราะทุกอย่างเป็นแก้วหมด และค่อนข้างจะบอบบางมาก ๆ
ระวังอย่างทดลองใกล้ ๆ เด็กจะอันตราย
หลังจากนั้นให้เติมของเหลวที่ต้องการวัดความถ่วงจำเพาะลงไป ให้มาก
ๆ แท่งแก้วจะลอยขึ้นเองครับ แต่จะมีบางส่วนที่ยังจมอยู่ในของเหลว
ให้สังเกตุระดับของ ของเหลวว่าอยู่ที่ขีดใด ก็ให้จดบันทึกไว้ซึ่งค่านั้น ๆ
ก็คือค่าของความถ่วงจำเพาะของของเหลวนั้นเอง
ใช้งานได้ง่ายมาก ๆ มีสิ่งเดียวที่ท่านต้องระวัง คือ ระวังของแตกครับ
โดยเฉพาะแท่งแก้ววัดความถ่วงจำเพาะถ้าแตกแล้วคือเสียเลยครับใช้ต่อ
ไม่ได้
แท่งแก้ววัดความถ่วงจำเพาะของของเหลวจะใช้งานได้ดีและเหมาะมาก ๆ
เลยก็คือ ท่านควรจะมีสารละลายที่จะใช้วัดในปริมาณที่ค่อนข้างมาก
หรือยิ่งมีมากยิ่งดีครับ ทำไมหรือครับ
เป็นเพราะอย่างที่ผมได้อธิบายไว้แล้วว่า
มันต้องตวงสารละลายที่จะใช้วัดลงไปในบิวเรต
ซึ่งตรงนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้สารละลายพอสมควร
ซึ่งสารละลายบางอย่างมีราคาแพงอาจจะไม่เหมาะ เช่น
วิสกี้ราคาขวดละหลาย ๆ พันบาท, สารเคมีราคาแพงและกลั่นยากหายาก
ฯลฯ
นอกเสียจากว่าท่านจะมีโรงงานผลิตวัตถุดิบเหล่านี้มีให้ไม่จำกัดจะเหมาะ
สมกว่าครับ
เพราะถ้าพูดถึงความเที่ยงตรงแม่นยำแล้วถือได้ว่าแม่นยำมาก ๆ
เพราะมันปรับอะไรไม่ได้
ต้องว่ากันไปตามข้อเท็จจริงของความถ่วงจำเพาะของสารละลายที่จะนำม
าวัด และค่าที่วัดได้จะตรงเสมอ
ทั้งนี้ถ้าหากว่าท่านมีสารเคมีให้ตรวจวัดน้อย ๆ
เปลี่ยนไปใช้เลือกใช้รีแฟคโตมิเตอร์จะเหมาะสมกว่านะครับ
เพราะว่าใช้สารละลายที่จะวัดเพียงแค่ 3 หยดก็วัดได้แล้ว
ท่านครับผมขอให้รายละเอียดแท่งแก้ววัดค่าความถ่วงจำเพาะที่กระผมพ
อจะรวบรวมให้มาให้ท่านพิจารณาครับ
แต่บางรุ่นบางครั้งอาจจะขาดตลาดนะครับ ต้องตรวจสอบ
แท่งแก้ววัดความถ่วงจำเพาะของสารละลายน้ำ(วัดเป็น Density)
serial No. 10/400/0 ช่วงการวัด 0.600 - 0.700 (g/ml) ความละเอียด 0.002
serial No. 10/401/0 ช่วงการวัด 0.700 - 0.800 (g/ml) ความละเอียด 0.002
serial No.Chi4000 ช่วงการวัด 0.600 - 0.700 ความละเอียด 0.001
serial No.Chi4001 ช่วงการวัด 0.700 - 0.800 ความละเอียด 0.001
serial No. 10/402/0 ช่วงการวัด 0.800 - 0.900 (g/ml) ความละเอียด 0.002
serial No.Chi4002 ช่วงการวัด 0.800 - 0.900 ความละเอียด 0.001
serial No. 10/403/0 ช่วงการวัด 0.900 - 1.000 (g/ml) ความละเอียด 0.002
serial No.Chi4003 ช่วงการวัด 0.900 - 1.000 ความละเอียด 0.001
ตัวอย่างใบสอบเทียบที่เคยส่งสอบเทียบ มาตรฐาน iso 17025 ครับ ถือได้ว่าค่าที่สอบ
เทียบได้นี้ พอรับได้ครับ
serial No. 10/404/0 ช่วงการวัด 1.000 - 1.100 (g/ml) ความละเอียด 0.002
serial No. 10/405/0 ช่วงการวัด 1.100 - 1.200 (g/ml) ความละเอียด 0.002
serial No. 10/406/0 ช่วงการวัด 1.200 - 1.300 (g/ml) ความละเอียด 0.002
serial No. 10/407/0 ช่วงการวัด 1.300 - 1.400 (g/ml) ความละเอียด 0.002
serial No. 10/408/0 ช่วงการวัด 1.400 - 1.500 (g/ml) ความละเอียด 0.002