Automatic Fire Extinguisher (Sprinkle Type)
เครื่องดับเพลิงชนิดอัตโนมัติ แบบติดตั้งเพดานชนิดผงเคมีแห้ง /
ชนิดน้ำยาเหลวระเหย HALOTRON
เครื่องดับเพลิงลักษณะนี้สามารถดับเพลิงได้แบบอัตโนมัติ ทั้งชนิดผงเคมีแห้ง
หรือน้ำยาเหลวระเหย โดยดับเพลิงได้เองเมื่อเกิดเพลิงไหม้โดยที่ไม่มีคนอยู่
ลักษณะการทำงาน เมื่อเครื่องได้รับความร้อนถึงอุณหภูมิที่กำหนดไว้ หัวฉีดน้ำยาดับเพลิง
จะทำงานอย่างอัตโนมัติทันที ซึ่งอุณหภูมิที่กำหนด
ให้หัวฉีดน้ำยาดับเพลิงฉีดทำงานอัตโนมัติคือ 68 องศาเซลเซียส (155 องศาฟาเรนไฮน์)
สามารถติดตั้งได้อย่างสะดวกบริเวณเพดาน โดยความสูงในการติดตั้งไม่ควรเกิน 3 เมตร
จากวัสดุเชื้อเพลิง เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ยากแก่การเข้าถึงในกรณีฉุกเฉิน เช่น
ห้องควบคุมไฟฟ้า ห้องเซิร์ฟเวอร์ ฯลฯ หรือในบริเวณพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย
ท่านครับ สำหรับเครื่องดับเพลิงแบบอัตโนมัติีนี้ถ้าจะถามว่ามีข้อดีตรงไหน
คำตอบที่ดีที่สุดก็คือ
มันเสมือนท่านมีเครื่องดับเพลิงอยู่ในบ้านและยังมีคนคอยช่วยดับเพลิงไปด้วย
ทำไมผมจึงกล่าวเช่นนี้ เพราะว่า
สมมติถ้าหากว่าท่านมีเครื่องดับเพลิงในบ้านที่อยู่ในสภาพดีมากพร้อมที่จะใช้งานพร้อม ๆ
กันเป็นสิบเครื่อง แต่ว่าเหตุเกิดตอนที่ไม่มีคนอยู่ในบ้านเลยสักคน
อาจจะเป็นเพราะเป็นวันหยุดยาว หรือไปเที่ยวพักร้อนหลาย ๆ วัน ฯลฯ
มันก็คงไม่ประโยชน์อะไรที่จะไปมีเครื่องดับเพลิงเอาไว้ เพราะมันไม่มีคนดับ
เครื่องดับเพลิงแบบอัตโนมัติ ถ้าหากท่านยอมลงทุนติดไว้ในสถานที่สำคัญ ๆ
หรือห้องที่สำคัญ ๆ เก็บเอกสารสำคัญ หรือสถานที่ที่มีความเสี่ยงว่าจะเกิดเปลวเพลิงขึ้นได้
เวลาที่เกิดเหตุการณ์ขึ้น อากาศร้อนย่อมลอยขึ้นสู่เบื้องบนเสมอ
เมื่อใดก็ตามแต่ที่อุณหภูมิถึงจุดที่เครื่องดับเพลิงชนิดนี้ตรวจจับและยอมรับได้
มันจะทำการดับเพลิงให้ท่านโดยอัตโนมัติเอง ซึ่งจะเป็นการช่วยเหลือท่านอีกทางหนึ่ง
ก่อนที่เพลิงจะลุกลามไปมากกว่านี้ อาจจะทันเวลาพอที่จะมีคนอื่นเข้ามาช่วยดับกันได้อีก
หรือบางทีถ้าโชคดีมาก ๆ ก็อาจจะดับได้เลยโดยที่ไม่ต้องอาศัยคนมาช่วย
ถ้าหากว่าเพลิงที่เกิดอยู่ในรัศมีที่เครื่องดับเพลิงชนิดนี้ฉีดพ่นไปถึง
เพราะฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่าเครื่องดับแบบอัตโนมัตินี้เหมาะสมกับทุกสถานที่เลยครับ
ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นโรงงานอุตสาหกรรมเสมอไป
แม้แต่บ้านเรือนคนธรรมดาก็ใช้ได้เช่นกันครับ มีประโยชน์มาก ๆ
ตอนที่ไม่มีคนอยู่ในเหตุการณ์ตอนเหตุการณ์เกิดขึ้น
เครื่องดับเพลิงลักษณะนี้หนึ่งเครื่องครอบคลุมพื้นที่ 4 x 4 เมตร หรือ 16
ตารางเมตรครับ ท่านจำเป็นต้องคำนวนก่อนว่าห้องของท่านนั้นมีพื้นที่มากเ่ท่าไรจึง
จะตัดสินใจได้ว่าควรจะติดตั้งกี่จุด เครื่องดับเพลิงรุ่นนี้ไม่จำเป็นต้องทำงานพร้อม ๆ กันครับ
เช่นสมมติว่าในห้อง ๆ หนึ่งติดตั้งทิ้งไว้สี่เครื่อง เมื่อใดก็ตามที่มีเหตุการณ์เพลิงไหม้
เครื่องดับเพลิงเครื่องใดที่ตรวจจับสัญญาณความร้อนได้จนถึงจุดที่เครื่องจะทำงาน
เครื่องตัวนั้น ๆ จะเริ่มต้นทำงานก่อนเสมอ เครื่องตัวอื่นต้องรอจนกว่าอุณหภูมิถึงจุดจึง
จะเริ่มต้นทำงานครับ
เมื่อใดที่เครื่องทำงานไปแล้วจะหยุดไม่ได้จนกว่าน้ำยาจะหมดเครื่องครับ
สามารถนำมาอัดน้ำยากลับไปใช้ใหม่ได้ครับ คล้าย ๆ กับถังดับเพลิงทั่ว ๆ ไป
เครื่องดับเพลิงชนิดอัตโนมัติแบบติดเพดาน ชนิดฮาโลตรอน ขนาด 10 ปอนด์ (AUT10 Lbs-HAL)
คุณสมบัติ
น้ำหนักเคมี (Capacity) 4.5 Kgs.
น้ำหนักถัง (Weight of Container) 2.6 Kg.
น้ำหนักรวม (Gross Weight Approx) 7.1 Kg.
ความสูง (Unit Height) 300 mm.
เส้นผ่านศูนย์กลาง (Diameter) 260 mm.
แรงขับดัน (Propellant) Argon
แรงดันใช้งานปกติ 195 PSI
แรงดันขณะทดสอบ 400 PSI
ระยะเวลาฉีด(Discharge Time) 10 sec.
พื้นที่ครอบคลุม 6.25 ตารางเมตร
Protected Volume 18.75 ลูกบาศ์กเมตร
อุณหภูมิที่ทำงาน 68 องศาเซลเซียส (155 องศาฟาเรนไฮน์)
เครื่องดับเพลิงชนิดอัตโนมัติแบบติดเพดาน ชนิดผงเคมีแห้ง ขนาด 10 ปอนด์ (AUT10 Lbs-DRY)
คุณสมบัติ
น้ำหนักเคมี (Capacity) 4.5 Kgs.
น้ำหนักถัง (Weight of Container) 2.6 Kg.
น้ำหนักรวม (Gross Weight Approx) 7.1 Kg.
ความสูง (Unit Height) 300 mm.
เส้นผ่านศูนย์กลาง (Diameter) 260 mm.
แรงขับดัน (Propellant) N2
แรงดันใช้งานปกติ 195 PSI
แรงดันขณะทดสอบ 400 PSI
ระยะเวลาฉีด(Discharge Time) 10 sec.
พื้นที่ครอบคลุม 9 ตารางเมตร
Protected Volume 27.00 ลูกบาศ์กเมตร
อุณหภูมิที่ทำงาน 68 องศาเซลเซียส (155 องศาฟาเรนไฮน์)
สนใจผลิตภัณฑ์ ผมอนันต์ครับ Tel.0868910596
ผมมีภาพการติดตั้งเครื่องดับเพลิงชนิดติดตั้งเพดาน
และรูปแบบในการติดตั้งมาให้ท่านชมเพื่อเป็นแนวทางในการติดตั้ง
ที่เหมาะสมที่สุดในสถานที่ที่จะติดเครื่องดับเพลิงประเภทนี้ครับ
ผมมีสักสองคลิปมาให้ท่านชมครับ
คลิปแรกเป็นลักษณะการทำงานหรือเริ่มทำงานของเครื่องดับเพลิงชนิดนี้
ซึ่งจะเิริ่มทำงานเมื่อได้รับความร้อนจนเกินกว่าเครื่องจะยอมรับได้ หรือประมาณ 63 องศาเซลเซียสขึ้นไป
เวลาเครื่องเริ่มทำงานจะหยุดเครื่องไ่ม่ได้นะครับ
เพราะเครื่องจะปล่อยสารเคมีน้ำยาดับเพลิงจนหมดก่อนจึงจะหยุดเอง
http://www.youtube.com/watch?v=wbNZFdnXAA0
ส่วนคลิปที่สองนี้น่าสนใจอย่างยิ่งครับ
ผมอยากจะให้ท่านดูลักษณะการติดตั้งของเครื่องดับเพลิงชนิดนี้
อย่างที่ผมได้เรียนแล้วว่าการมีเครื่องดับเพลิงชนิดนี้ก็เสมือนมีคนคอยช่ว
ยดับเพลิง เวลาที่เราไม่อยู่ในสถานที่แห่งนั้น
แต่ที่ต้องระวังคือคนที่จะช่วยดับเพลิงคนนี้จะปลดปล่อยน้ำยาในรัศมีที่เรา
ไปติดตั้งเครื่องเท่านั้น ถ้าอยู่นอกจุดน้ำยาอาจจะไปไม่ถึงได้
เพราะฉะนั้นแล้ว
มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ท่านจะต้องคำนวนให้ดีที่สุดว่า
ควรจะติดตั้งเครื่องดับเพลิงชนิดนี้ไว้ที่ไหน หรือจุดใด
จึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการดับเพลิง
ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ขึ้นมาจริง ๆ
ในคลิปนี้ส่วนใหญ่แล้วจะเครื่องดับเพลิงชนิดนี้จะถูกติดตั้งไว้ตรงเหนือจุด
ที่เสี่ยงที่สุดที่จะเกิดเพลิงไหม้เสมอครับ
ซึ่งเวลาเกิดเหตุขึ้นมาแล้วความร้อนจากจุดเกิดเหตุก็จะลอยขึ้นสู่ข้างบนอ
ย่างตรง ๆ ทำให้เครื่องดับเพลิงตรวจจับได้ง่ายรวดเร็วทันเวลา
และปล่อยน้ำยาดับเพลิงลงมาครอบคลุมบริเวณนั้น
ทำให้ไฟดับได้โดยง่าย ลองชมดูครับ
http://www.youtube.com/watch?v=QkC3-UrJkBo
ฺวิธีการติดตั้งถังดับเพลิงแบบติดเพดานอย่างง่าย
จริง ๆ
แล้วการติดตั้งก็ไม่ยากจนเกินไปนักหากว่าสถานที่ที่ให้ติดตั้งเอื้ออำนวย
และมีเครื่องมือช่างที่ครบถ้วน และมีทีมงานช่างอย่างน้อยสัก 2
คนก็เพียงพอที่จะทำได้แล้วครับ แต่หากไม่สะดวก หรืออุปกรณ์ไม่ครบ
หรือไม่ชำนาญในงาน
ตรงนี้ควรจะมีช่างที่ชำนาญงานในการติดตั้งโดยเฉพาะมาทำการติดตั้ง
ให้จะเหมาะสมที่สุดครับ
ก่อนอื่นก็เตรียมอุปกรณ์ในชุดก่อน
ประกอบน็อตตัวผู้เข้าไปแบบนี้
ซึ่งน็อตตัวนี้ก็จะเป็นตัวยึดกับถังดับเพลิง
คือใช้การหมุนถังดับเพลิงเข้ากับน็อตตัวผู้
เริ่มการติดตั้งให้ท่านมาร์คจุดและใช้สว่านเจาะปูนเจาะเข้าไป
เตรียมพุกเหล็กไว้สองตัว
ตอกพุกเหล็กเข้าไปในรูที่เจาะไว้แล้วขันให้แน่นหนา
นำแกนยึดที่ติดน็อตตัวผู้ไว้แล้วมาติดเข้าไป
ยกถังดับเพลิงที่จะทำการติดตั้งมาติด โดยหมุนเข้าไปกับน็อตตัวผู้
ขันน็อตตัวเมียให้แน่นอีกครั้ง
เครื่องดับเพลิงก็จะยึดในลักษณะนี้ครับ
ลักษณะของเครื่องดับเพลิงที่ติดตั้งเรียบร้อยแล้ว
ในบางครั้ง บางหน้างาน การออกแบบประยุกต์การติดตั้งให้เหมาะสมกับ
หน้างานก็จะมีความจำเป็นอย่างมาก ก็ขอแบ่งปันการติดตั้งตามลักษณะ
ตัวอย่างดังรูปครับ
ซึ่งตรงนี้ความยากง่ายในการติดตั้งถังดับเพลิงจะขึ้นกับหน้างานครับ
หากเพดานเป็นพื้นปูนเปลือย ๆ ไม่มีสายไฟใด ๆ และค่อนข้างโล่ง
ทั้งนี้ความสูงจากพื้นถึงเพดานก็ไม่เกินไปกว่า 3 เมตร
จะสามารถติดตั้งได้ง่ายที่สุดและเร็วที่สุด
หากบนเพดานเป็นฝ้าจะทำงานได้ยากกว่า
ต้องเปิดฝ้าออกแล้วดูว่าบนฝ้ามีอะไรบ้างมีสายไฟหรือไม่
ก่อนจะดำเินินการระเบิดฝ้าเพื่อติดตั้ง หรือหากว่าสถานที่ไม่เอื้ออำนวย
ความสูงของเพดานสูงมากกว่า 3 เมตรก็ต้องออกแบบให้มีตัวยึดตัวห้อย
หรือหากเพดานเป็นเมทัลชีท ก็จะต้องติดตั้งอีกรูปแบบหนึ่งเช่นกันครับ
ก็คือการติดตั้งถังดับเพลิงชนิดติดเพดานนี้ ในกรณีที่เพดานเป็นฝ้า ซึ่งใต้
ฝ้าเป็นปูน และมีระยะระหว่างฝ้ากับปูนด้านบนมากพอสมควรที่จะติดตั้งได้
การติดก็จะสามารถทำได้สองรูปแบบคือ
1. ให้ถังดับเพลิงทั้งถังออกมาอยู่ด้านนอกของฝ้า
2. ให้ถังดับเพลิงซ่อนอยู่ใต้ฝ้า แต่ให้โผล่ออกมาเฉพาะหัวสปริงเกอร์ที่จะใช้ฉีดดับน้ำยารวมทั้งเกจวัดความดันของถังซึ่งจะได้ใช้สังเกตุเวลาตรวจถังได้
ส่วนวิธีการติดตั้งตรวนี้ผมติดตั้งถังดับเพลิงชนิดถังฮาโลตรอน I ถังสี
เขียวซึ่งจะเหมาะที่จะติดตั้งในห้องเซอร์เวอร์ ตรงนี้ความสูงของพื้นห้อง
ถึงฝ้าเพดานไม่ควรจะสูงมากจนเกินไป และที่สำคัญจำเป็นต้องวัดระยะ
ระหว่างฝ้ากับพื้นปูนด้านบนว่ามีระยะที่เหมาะสมหรือไม่ และใต้ฝ้าที่ถูก
ต้องแล้วไม่ควรจะมีท่อแอร์หรือท่ออากาศ หากมีท่อจำเป็นต้องออกแบบ
การติดตั้งใหม่ให้เหมาะสมกับสถานที่นั้น ๆ
การห้อยถังกับปูนด้านบนใช้เหล็กสตัดยึด เลื่อยเหลืกสตัดจนได้ระยะที่
เหมาะสมแล้วไขเข้ากับเครื่องดับเพลิง
เจาะรูฝ้าแล้วหย่อนหัวฉีดและเกจวัดความดันลงมาตามรูฝ้าที่เจาะไว้
ตกแต่งรูที่เจาะให้สวยงามและเรียบร้อยโดยใช้แผ่นปิด กรีดครึ่งและนำมา
ประกบเข้าเหมือนเดิมตามรูป