เครืองวัดความหนาแบบดิจิตอล 0-25 มิลลิเมตร
LCD Digital Thickness Gauge Meter Horizontal 0-25mm
(Model: DTM-25)
4,500 บาท ผมอนันต์ครับ Tel.0868910596
Ideal For Measuring the Thickness of:
- Small machinery parts
- Metal
- Rubber
- Paper
- Cardboard
- Vinyl
- Plywood
Benefits:
- Able to Reads in mm. and inches
- Zero setting button
- Lightweight and compact
- Storage/carry case included
The digital thickness gauge is a high quality instrument ideal for
professional use. It is brand new and comes with instructions, 2
batteries and padded storage box
Specifications:
- Measurement units: mm and inches
- Measuring range: 0 - 26.08 mm/1.026 inches
- Resolution: 0.01mm/0.005"
- Working temperature: 0 ~ +40°C
- Storage temperature: -10 ~ +60°C
- Relative humidity: <80%
- Power: 1X 1.55V button battery (2 included)
- Unit dimensions: 8.4 x 5 x 1.5cm
- Weight: 85g
มิเตอร์วัดความหนาแบบดิจิตอลรุ่นที่กระผมจะแนะนำนี้ใช้งานได้ง่ายมาก ๆ
ครับทั้งนี้ยังกะทัดรัดพกพาได้ง่ายอีกด้วย สามารถวัดได้ทั้งหน่วยมิลลิเมตรและวัดเป็นนิ้ว
ส่วนความละเอียดในหน่วยมิลลิเมตรจะวัดได้ถึงหลังจุดทศนิยม 2
ตำแหน่งโดยจะวัดได้สูงสุดคือ 26 มิลลิเมตร
ส่วนถ้าหากจะวัดเป็นนิ้วจะวัดได้ถึงหลังจุดทศนิยม 3 ตำแหน่ง โดยวัดได้ประมาณ 1.000
นิ้วครับ
มาชมภาพครับ ขนาดของเครื่องจะอยู่ประมาณอุ้งมือครับ
วัดได้ทั้งหน่วยมิลลิเมตรและัวัดเป็นนิ้วได้ ให้ท่านสังเกตุดูว่าจะมีเพียง 3
ปุ่มให้เลือกใช้ครับคือปุ่มแรกสีแดงเป็นปุ่มปิดเปิด
ส่วนปุ่มที่สองสีเหลืองเป็นปุ่มกดสำหรับเปลี่ยนหน่วยวัด
ส่วนปุ่มสุดท้ายสีฟ้าจะเป็นปุ่มสำหรับเซตค่าเครื่องวัดให้เป็นศูนย์
ทั้งนี้ยังเป็นปุ่มสำหรับการคาลิเบรตเพื่อประยุกต์ใช้อีกด้วย ซึ่งผมจะได้อธิบายต่อไป
วิธีการใช้งานเครื่อง
ให้ท่านกดแป้นวัดลงไปให้สุด(ตามรูป) หลังจากนั้นให้ท่านกดปุ่ม Zero
เครื่องจะอ่านค่าได้เท่ากับ 0.00 หรือถ้าท่านวัดเป็นนิ้วก็จะอ่านได้ 0.000
หลังจากนั้นให้ท่านนำสิ่งที่้ต้องการจะวัดมาวัดได้เลยครับ และอ่านค่าที่ได้
อย่างเช่นในกรณีนี้ผมลองนำกระดาษสักแผ่นมาวัด ซึ่งจากเครื่องมันอ่านค่าได้เท่ากับ
0.10 มิลลิเมตรครับ
การประยุกต์การใช้งานเครื่อง
เครื่องนี้มีปุ่ม Zero
ซึ่งหมายถึงว่าท่านสามารถจะเซตให้ทุกช่วงความหนาเป็นศูนย์ได้เสมอครับ
ตรงนี้มีประโยชน์มาก ๆ แต่มีประโยชน์อย่างไรหรือครับ
มีประโยชน์คือเราสามารถวัดสิ่งของเทียบกันได้ครับว่าสิ่งของชิ้นที่สองที่นำมาวัดนั้นถ้า
หากเทียบกับสิ่งของชิ้นแรกที่วัดแล้ว หนากว่าหรือบางกว่าเท่าใด
ยกตัวอย่างเช่น
ในกรณีนี้กระดาษชิ้นนี้หนา 0.10 มิลลิเมตร
ถ้าหากว่าท่านวัดกระดาษแผ่นนี้แล้วอ่านค่าเรียบร้อยแล้ว
ท่านอย่าเพิ่งปล่อยมือออกนะครับ ให้ท่านกดไปที่ปุ่ม Zero
เพราะฉะนั้นเครื่องก็จะอ่านค่าเป็นเลข 0.00 เหมือนเดิม(ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้วควรจะเป็น
0.10)
หลังจากนั้นให้ท่านปล่อยมือออกตามปกติ
และถ้าท่านจะนำวัตถุชิ้นใหม่มาวัดแล้วก็วัดได้ตามปกติเลยไม่ต้องกดปุ่มใด ๆ
แต่ว่าค่าที่อ่านได้ใหม่จากวัตถุชิ้นใหม่นี้จะเป็นค่าที่บอกถึงว่ามันหนากว่ากระดาษแผ่นนี้
เ่ท่าใดครับ เช่น ถ้าท่านนำกระดาษแผ่นใหม่มาวัดแล้ววัดได้เท่ากับ 0.03 มม.
อันนี้แสดงว่ากระดาษแผ่นใหม่นี้หนากว่ากระดาษแผ่นเดิม 0.03 มม. หรือพูดง่าย ๆ
ก็คือกระดาษแผ่นนี้จริง ๆ แล้วหนาเท่ากับ 0.13 มม.นั่นเองครับ
ถ้าหากมันขึ้นค่าเป็นเครื่องหมายลบ จะหมายถึงว่าบางกว่านะครับ เข้าใจตามนี้ด้วย
เพราะว่าเครื่องนี้มันจะบอกเป็นเครื่องหมายลบได้ด้วยครับมีประโยชน์มาก ๆ
แกรมของกระดาษ, Grammage
ท่านครับ ถ้าหากว่าท่านไปซื้อกระดาษมาสักรีมหนึ่งจะเป็นกระดาษยี่ห้ออะไรก็ได้
แล้วพลิกดูด้านหลัง มันจะมีรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ใ้ห้ดู เช่นตัวอย่างกระดาษชนิด
A4 มายี่ห้อหนึ่งเพื่อใช้ แล้วผมพลิกไปที่ด้านหลังซอง มันระบุดังนี้ว่า
สิ่งที่น่าสนใจคืือคำว่าแกรมของกระดาษคืออะไร
บนรูปด้านบนระบุชนิดสินค้าว่ากระดาษนี้เป็นกระดาษถ่ายเอกสาร 80 แกรม
แล้วคำว่าแกรมของกระดาษ(Grammage) คืออะไร ด้านล่างนี่คือคำอธิบายที่ถูกต้องครับ
In the metric system, the mass per unit area of all types of paper and paperboard is expressed in terms of grams per square meter (g/m2). This quantity is commonly called grammage in both English and French (ISO 536), though printers in most English-speaking countries still refer to the "weight" of paper.
Typical office paper has 80 g/m2, therefore a typical A4 sheet (1⁄16 m2) weighs 5 g. The unofficial unit symbol "gsm" instead of the standard "g/m2" is also widely encountered in English speaking countries.
Typically grammage is measured in paper mill on-line by Quality Control System (QCS) and verified by laboratory measurement.
สาเหตุหนึ่งที่ควรจะพูดถึงเรื่องนี้ก็เพราะว่า
มิเตอร์วัดความหนาแบบดิจิตอลรุ่นนี้แล้ว มีลูกค้าบางส่วนซื้อไปเพื่อใช้วัด
กระดาษ หรือไม้อัดครับ ซึ่งลูกค้าท่านที่ซื้อไปแล้วก็มักจะถามผมว่า ถ้ากระดาษ
80 แกรม หรือถ้าหากเป็นกระดาษ 100 แกรมแล้วจะต้องหนากี่มิลลิเมตร
อันนี้ตอบว่าต้องวัดครับ คือใช้มิเตอร์รุ่นนี้วัดครับ
เพราะว่าแกรมของกระดาษ(Grammage) นั้นไม่มีความสัมพันธ์ใด ๆ
กับความหนาของกระดาษเลยครับ ให้ท่านดูคำนิยามตรงนี้อีกสักครั้งครับ
In the metric system, the mass per unit area of all types of paper and paperboard is expressed in terms of grams per square meter (g/m2). This quantity is commonly called grammage in both English and French (ISO 536), though printers in most English-speaking countries still refer to the "weight" of paper.
แกรมของกระดาษ(Grammage) แล้วอธิบายถึงว่าเป็นอัตราส่วนของ
มวลของกระดาษ/พื้นที่ของกระดาษ ซึ่งจะนิยามในหน่วยเป็น กรัม/ตารางเมตร
กระดาษขนาด A4 1 แผ่นแล้วจะมีพื้นที่โดยประมาณ 1/16 ตารางเมตร
(หรือ 0.0625 ตารางเมตร) หรือพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือกระดาษขนาด 1
ตารางเมตร ถ้านำมาตัดให้เป็นกระดาษขนาด A4 เท่า ๆ กัน
ก็จะตัดได้จำนวนทั้งสิ้น 16 แผ่น
ยกตัวอย่างจากด้านบน ด้านหลังซองระบุว่าเป็นกระดาษแบบ A4 ขนาด 80
แกรม(Grammage) ฉะนั้นแล้ว 1 แผ่นของกระดาษนี้ก็ควรจะหนักเท่ากับ
80 x 0.0625 = 5 กรัม
ซึ่งก็คือมันก็คือมันบอกน้ำหนักของกระดาษควรจะเป็นเท่าไร
ไม่ได้บอกความหนาของกระดาษว่าควรจะหนาเท่าไร
Grammage เป็นความหนาแน่น ไม่ใช่ความหนา
ความหนาแน่นกับความหนาเป็นคนละเรื่องกันครับ กระดาษที่มี
Grammageมากกว่าจะนิยามถึงกระดาษที่มีความหนาแน่นมากกว่า
ซึ่งกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือมันมีความทนทานที่มากกว่า
(โดยพิจารณาว่ามีพื้นที่ที่เท่า ๆ กัน)
กระดาษของแต่ละบริษัทผู้ผลิต หรือต่างยี่ห้อ
หรือผลิตมาจากคนละประเทศก็ย่อมจะมีสูตรวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไม่เหมือนกัน
อยู่แล้ว(เพราะมิเช่นนั้นเขาคงจะต้องร่ำรวยเ่ท่า ๆ กันไปแล้ว)
อันนี้พิสูจน์ได้โดยลองให้ท่านไปเดินห้างสรรพสินค้าที่มีร้านหนังสือที่นำเข้าหนัง
สือมาจากต่างประเทศ ถ้าหากท่านพิจารณาให้ดีจะพบว่าหนังสือบางเล่ม
แม้จะเป็นพ็อกเก็ตบุ๊คใช้กระดาษธรรมดาไม่ใช่กระดาษมัน เล่มก็ไม่ใหญ่อะไร
แต่ว่าก็มีน้ำหนักมาก ดูทนทานและกระดาษแต่ละหน้าก็ไม่หนาด้วย
แต่มันกลับจะดูเหนียว ฉีกขาดยาก ท่านเชื่อไหมฝรั่ง Backpack
บางคนเดินทางเที่ยวรอบโลกแล้วกลับไปประเทศเขาเอง
หนังสือคู่มือการเดินทางของเขาซึ่งเป็นกระดาษธรรมดา ๆ
ยังไม่ขาดแม้แต่แผ่นเดียว(บางทีไม่แม้แต่จะยับ)
ฉะนั้นแล้วกระดาษของบางบริษัทผู้ผลิตแม้จะระบุว่าเป็นกระดาษขนาด 80
แกรมก็เป็นไปได้ว่าจะมีความหนาของกระดาษเท่ากับกระดาษของอีกบริษัทผู้
ผลิตหนึ่งที่มีความหนาเพียง 70 แกรม(พิจารณาจากพื้นที่กระดาษที่เท่า ๆ กัน)
ซึ่งตรงนี้ลูกค้าหลายท่านเหมือนกันโทรมาถามผมว่ามิเตอร์ของผมวัดไม่เที่ยงตรง
หรือไม่
เพราะว่าทำไมนำไปวัดกับกระดาษที่ระบุแกรมของกระดาษมากกว่าแต่ว่ากลับจะ
วัดความหนาของกระดาษได้น้อยกว่า
ตรงนี้ขอตอบไปตามคำอธิบายที่ได้กล่าวมานี้ครับ
ถ้าหากกระดาษขนาด 80 แกรม
มีความหนาเท่ากันทุกประการกับกระดาษขนาด 70 แกรมแล้ว กระดาษขนาด 80
แกรมมันก็ย่อมจะทนทานกว่า ฉีกขาดได้ยากกว่า
เพราะว่าความหนาแน่น(Grammage) ของกระดาษมีมากกว่า
ถ้านำไปผลิตสมุดหนังสือที่มีจำนวนหน้า และขนาดเท่ากันทุกประการแล้ว
หนังสือที่ผลิตด้วยกระดาษ 80 แกรม เมื่อนำมาชั่งน้ำหนักแล้ว
ก็ย่อมจะชั่งน้ำหนักได้มากกว่าสมุดหนังสือที่ผลิตด้วยกระดาษ 70 แกรมครับ
เพียงแต่ว่าสมุดหนังสือทั้งสองเล่มนี้มีความหนาเท่ากันทุกประการ
มิเตอร์วัดความหนากระดาษแบบดิจิตอลอีกรุ่นให้เลือกใช้ได้ครับ