เครื่องวัดความแข็ง Shore A ,O and D แบบ analogเข็ม
XF Durometer Type A, O and D Made Off-shore
3,800.- ผมอนันต์ครับ Tel.0868910596
1).SHORE-A DUROMETER :It is designed for testing the hardness of soft rubber,printer roller and other elastomer material.(ASTM--D--2240)
2).SHORE-D DUROMETER:It is designed for testing the hardness of hard rubber,such as:thermoplastic plastics,bowling,plastic floor and so on.(ASTM--D--2240)
3).SHORE-O/ DUROMETER:It is designed for the hardness of soft and elasticty material,spinning trunk rotation and soft grain structure materials.(ASTM--D--2240)
Model |
Force |
Pressure |
Shape of measuring head |
Length of Probe |
Dial Scale |
A |
8.1N |
1Kg |
Top angle(35angle) |
2.5mm |
0-100mm |
D |
44.5N |
5Kg |
Top angle(30angle) |
2.5mm |
0-100mm |
O |
8.1N |
1Kg |
Spheric radius2.38mm |
2.5mm |
0-100mm |
ความแข็งหรือความทนทานของสิ่งของวัตถุนั้นสามารถวัดได้ด้วยมิเตอร์ที่เรียกกันว่า Shore Durometer ส่วนใหญ่แล้วของที่จะนำมาวัดกับมิเตอร์นี้เป็นของที่ยืดหยุ่นได้ เช่นยางรถยนต์, ยาง, ฟองน้ำ, พลาสติก, เมล็ดพืช แต่ไม่นิยมนำมิเตอร์ชนิดนี้ไปวัดกับของที่แข็งมาก ๆ เช่นเหล็ก, หิน
ดูตามรูปครับจะพบว่าตัวเครื่องประกอบไปด้วยหน้าปัทม์และหัววัด(อยู่ปลายด้านล่าง) ความแข็งเป็นปริมาณที่ไม่มีหน่วย(เป็น Dimentionless quantity) ซึ่งอธิบายได้ว่าวัตถุที่มีความแข็งเท่ากันอาจจะไม่จำเป็นต้องเป็นวัตถุชนิดเดียวกัน หรือแม้แต่วัตถุเดียวกันเมื่อได้รับการกระทำจากภายนอก เช่นให้อุณหภูมิที่เปลี่ยนไป ให้ความดันที่เปลี่ยนไป ความแข็งอาจจะเปลี่ยนไปได้ การวัดความแข็งทำได้ง่าย ๆ ครับ โดยนำเครื่องมือที่จะวัดกดลงไปตรง ๆ และเร็ว ๆ ให้ตั้งฉากกับสิ่งของที่เราต้องการวัด อ่านค่าที่ได้โดยดูจากหน้าปัทม์ การวัดความแข็งจะวัดแค่ครั้งเดียวไม่ได้ครับ ต้องเป็นการเฉลี่ยการวัด 3-5 ครั้ง คือวัด 3 ครั้งหรือ 5 ครั้ง นำค่าที่ได้มาบวกกันแล้วหารด้วยจำนวนครั้งที่วัดจะได้ค่าเฉลี่ยความแข็ง
ความแข็งนิยามได้ว่าคือความต้านทานของวัสดุต่อแรงกด Albert F. Shore คิดค้นเครื่องวัดความแข็งขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 1920 เพื่อเป็นเกียรติบางครั้งเครื่องวัดความแข็งหรือหน่วยของมันจะเรียก Shore แต่เนื่องจากว่าความแข็งไม่มีความสัมพันธ์ใด ๆ ในวัตถุแต่ละชนิด ฉะนั้นเพื่อที่จะจำแนกความแข็งของกลุ่มวัตถุ จึงต้องหาหน่วยมาจำแนก เช่น หน่วย A, D, O, OO, M, E ฯลฯ บางครั้งเรียก Shoreแล้วตามด้วยหน่วย เช่น ShoreA, ShoreD, ShoreO เป็นต้น ซึ่งแต่ละหน่วยShore ก็คือมิเตอร์วัดความแข็งที่ถูกตั้งค่าสปริงปลายหัววัดให้มีความแข็งมากน้อยต่างกันไป
โดยหลัก ๆ จะวัดวัตถุในหน่วยของ ShoreA, ShoreD, ShoreO ความแข็งค่าK(ค่าคงที่ของสปริง)ของสปริงปลายหัววัดของ ShoreA และ ShoreO จะน้อยกว่า ShoreD เพราะฉะนั้นความแข็งของสิ่งของที่จะวัดในหน่วย ShoreA จะมีคุณภาพความแข็งที่น้อยกว่า เช่นจะเป็นจำพวกหมวดยางนิ่ม, พลาสติกยืดหยุ่น แต่ ShoreD จะเป็นการวัดจำพวกหมวดพลาสติกแข็ง, เทอร์โมพลาสติก, พลาสติกแผ่นพื้น, ลูกโบว์ลิ่ง เป็นต้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหน่วยความแข็งของแต่ละ Shore จะเท่ากันคือ 100 แต่ก็ต้องอย่าลืมเช่นกันโดยนำหน่วยที่ได้มาเปรียบเทียบกันแล้วสรุปว่าแข็งเท่ากัน เช่น วัดความแข็งด้วย ShoreA meter แล้ววัดค่าได้ 50 จะนำไปเทียบกับสิ่งของที่วัดด้วย ShoreD meter แล้วได้ 50แล้วสรุปไปว่าความแข็งเท่ากัน(เพราะเราต้องเทียบความแข็งสิ่งของในหน่วยShoreเดียวกัน)
ข้อควรระวังถ้าท่านวัดความแข็งในหน่วยใดหน่วยหนึ่งแล้วได้ค่าความแข็งมากจนผิดปกติหรือแม้แต่จะมากจนเกือบเต็มสเกลในหน่วยวัดนั้น ๆ ท่านควรจะขยับสเกลการวัดของวัตถุนั้นมาที่อีก Shore ที่แข็งขึ้นจะเป็นการดีกว่า เช่น กิโลชั่งของอันหนึ่งมีสเกลการชั่งเต็มที่อยู่ที่ 5.00 กิโลกรัม ถ้าวัตถุที่ท่านนำมาชั่งชั่งได้ 4.80 กิโลกรัมขึ้นไป จะเป็นการดีกว่าที่จะนำวัตถุดังกล่าวไปชั่งกับกิโลอื่นที่ชั่งได้มากกว่า 5.00 กิโลกรัม เช่นควรนำไปชั่งกับกิโลที่ชั่งได้ 7.00-10.00 กิโลกรัม
ปกติแล้ว ShoreA Meter กับ ShoreO Meter จะวัดความแข็งได้ในช่วงที่ใกล้เคียงกันจะต่างกันเพียงเล็กน้อยเพียงตรงปลายเข็มหัววัด โดย ShoreA จะมีปลายเข็มวัดที่ค่อนข้างจะแหลมกว่า ShoreO เพราะ ShoreO ส่วนใหญ่จะใช้วัดวัตถุจำพวกฟองน้ำนิ่ม ๆ หรือโฟม หรือวัตถุที่ยืดหยุ่นได้ค่อนข้างมาก ชอร์โอจึงมีหัววัดที่มนกว่านั่นเอง
ปลายหัววัดเป็นวัตถุจะเป็นโลหะแข็งและแหลม ซึ่งมีความยาวของเดือย 2.5 มิลลิเมตร หลักการการวัดคือถ้าเมื่อใดก็ตามที่คุณกดโลหะแข็งและแหลมลงไปบนวัตถุหนึ่ง ๆ วัตถุที่แข็งและแหลมควรจะจิ้มลงไปในเนื้อวัตถุนั้น ๆ ได้(ถ้าวัตถุนั้นไม่แข็งจนเกินไป) เพราะฉะนั้นระยะของปลายโลหะที่จิ้มลงไปจะสัมพันธ์กับความแข็งของวัตถุชนิดนั้น ๆ ถ้าเปรียบเทียบวัตถุสองชนิดต่างกัน มาวัดแล้วพบว่าวัตถุชนิดแรกถูกจิ้มลงไปได้มากกว่าวัตถุชนิดที่สองโดยที่การวัดอยู่ในหน่วย Shore เดียวกัน สามารถสรุปได้ว่าวัตถุแรกนิ่มกว่าวัตถุที่สอง เพราะฉะนั้น ค่าShore ของวัตถุแรกที่อ่านได้จะน้อยกว่าวัตถุที่สอง
เมื่อใดก็ตามถ้าปลายของโลหะ ไม่สามารถจิ้มผ่านทะลุวัตถุที่นำมาวัดได้เลย สามารถกล่าวได้ว่าวัตถุนั้นมีความแข็งเป็น 100 ตามหน่วย Shoreของเครื่องวัดนั้น แต่ถ้าเมื่อใดก็ตามวัตถุที่นำมาวัดมีความแข็งเป็น 0 สรุปได้ว่าปลายของโลหะจิ้มเข้าไปในเนื้อวัตถุนั้นได้ทั้งหมด คือจิ้มได้ 2.5 mm หรือนิ่มมาก ๆ นั่นเองจนไม่เกิดแรงต้านใด ๆ ระหว่างวัตถุกับหัววัด(มันก็เลยอ่านค่าอะไรไม่ได้นั่นเอง)
สำหรับมิเตอร์วัดความแข็งของรุ่นนี้ เป็นAnalog คือเป็นเข็ม ข้อดีคือราคาจะย่อมเยากว่าระบบดิจิตอล แต่ผู้วัดต้องวัดให้แน่นอนด้วยครับการอ่านค่าจึงจะแม่นยำ เพราะการอ่านค่าต้องอ่านเมื่อตัวเครื่องยังอยู่กับวัตถุที่วัด ไม่เหมือนกับระบบดิจิตอลที่เมื่อจิ้มหัววัดกับวัตถุแล้วนำเครื่องวัดออกได้โดยทันทีแล้วมาอ่านค่าทีหลัง(คือต้องฝีกการจิ้มวัดบ่อย ๆ ครับแต่ไม่ยากนัก)
สำหรับท่านที่ไม่ชอบมองหรืออ่านค่าเป็นรูปแบบเข็มซึ่งอาจเกิดการอ่านค่าผิดพลาดได้ ผมมีเครื่องที่เป็นแบบดิจิตอลครับลักษณะการใช้เหมือนกันแบบเข็ม แต่ไม่เหมือนกับแบบดิจิตอลเครื่องใหญ่ คือถ้าเป็นดิจิตอลเครื่องใหญ่ เครื่องจะบันทึกค่า maximum ให้โดยอัตโนมัติ(คือจิ้มลงไปแล้วนำเครื่องออกได้เลย) ราคาจะค่อนข้างสูง แต่ระบบดิจิตอลแบบเครื่องเล็กลักษณะการอ่านค่าคล้าย Analog คือจิ้มแล้วรออ่านค่าโดยยังไม่ต้องนำเครื่องออกจากชิ้นงาน เพียงแต่ดีกว่าระบบ Analog เข็มคือขึ้นค่าเป็นตัวเลข(แต่ก็ยังสามารถกดค่า Hold ได้ครับ)