HAEMOMETER SAHLI,
ชุดตรวจวัดฮีโมมิเตอร์ส่าหลี
ชุดตรวจวัดฮีโมมิเตอร์ส่าหลี เป็นอุปกรณ์ชุดตรวจวัดที่ตรวจวัด
ปริมาณฮีโมโกลบินในเลือดแบบประมาณอย่างง่าย(Estimation of
Haemoglobin) โดยวิธีที่ภาษาอังกฤษเรียก Sahli's Acid -
Haematin Method เป็นชุดตรวจวัดราคาประหยัด สามารถจะ
ทำได้ด้วยผู้ทำเอง อุปกรณ์ที่ใช้ไม่มีความซับซ้อน สิ่งที่ต้องเตรียมมี
เพียงน้ำกลั่น และสารเคมีบางอย่าง(N/10 HCl)
Operating Instructions
Direction for use
1. Fill the graduated measuring tube up to the bottom - graduated line(Mark 2) with n/10 Hydrochloric acid.
2. Clean thoroughly finger tip or lobe of the ear with ether or alcohol and take a drop of blood with a blood lancet.
3. Suck 20 microlitre blood into the capillary pipette precisely up to the mark, wipe the pipette point and blow the blood into the measuring tube. You will achieve a good mixture of the liquid by repeated suction and blowing. The mixture will be darkbrown and clear after about one minute.
4. Add water by means of the water pipette and mix with the glass stirrer until the color of the solution matches the color of the test rods.
5. Read the result by diffused day light exactly three minutes after addding the blood to the Hydrochloric Acid.
Precision
The Haemometer is equipped with two non-fading
glass color standards. A special manufacturing process
guarantees a constant, very precise film thickness of color
standards, and so a perfect measuring precision, being
within the frame of the instruction method of daily
application.
Absolute Measuring System by graduation with gram reading.
Our instrument indicate the quantity in grams of
heamoglobine contain in 100 ml. of blood. That
graduation in grams - an absolute measuring system - has
preference, compared to the relative measuring
system(Haemometer units or percents). The more those
relative haemoglobine values are interpreted differently
not only in different countries, but also in Germany too.
Prof. Dr.Med.Ludwig Hellmeyer and Dr.Med. Helmut
Kilchling of Freiburg, in their treatise(German Medical
weekly magazine 76 of 1951, edition No.35, page 1074)
are dealing with that fact in detail. The following table is
to facillitate the comparison between the absolute
hemoglobine concentration and the hitherto-used values.
It, besides the absolute hemoglobine values indicates the
respective relative values on the basis of 14,8 g/dl = 100
HE, 16 g/dl = 100 HE and 17 g/dl = 100 HE.
The normal Hemoglobin value varies between 14
g/dl and 16 g/dl and depends largely on age, sex and
surrounding conditions.
Table to compare absolute with
relative values.
Hemoglobin contents and Number of Erythrocytes
If the Hb content is indicated in g/dl then the old
conception of a color index originating from the relative
Hb values must be abandoned. Those values are replaced
by the term HbE which clearely indicates the relation
between Hb content and the number of erythrocytes.
HbE = Hb content in 100 ml blood / Erythrocytes in 100
ml blood
According to Burker, HbE indicates the average Hb
content of the individual erythrocyte. The determination
of HbE is extremely simplified by the nomogramme given
aside: The found values of hemoglobin and erythrocytes
are connected with each other by means of a ruler or a
strip of paper and the HbE value is read from the third
vertical in prolongation of this connecting line. The
former color-index 1.0 is equivalent to a HbE value of 32 x
10 - 12 g. The normal range of HbE is between 28 and
32x10 - 12 g.
ในชุดจะประกอบไปด้วย
อุปกรณ์ชิ้นนี้เรียก Sahli's Haemometer หรืออีกชื่อหนึ่งจะเรียก
กันว่า Comparator Box ใช้สำหรับเป็นที่ใส่หลอด
Haemoglobinometer tube เพื่อนำมาเทียบกับสีส้มด้านข้าง จุดที่
จะใช้ใส่ Haemoglobinometer tube จะเป็นตรงกลาง
(สลอทกลาง)
เรียก หรือหลอดใส่เลือดเพื่อนำ
ตัวอย่างเลือดใส่ในหลอดนี้ และเติมน้ำยาและน้ำกลั่นลงไป เพื่อนำ
ไปเทียบสี หลอดแก้วนี้จะมีสเกลสองฝั่งตามภาพคือสีเหลืองและสี
เลือดหมู
สเกลสีเลือดหมูจะอ่านค่าเป็น Percentage Value
สเกลสีเหลืองจะอ่านค่าเป็นฮีโมโกลบิน กรัมเปอร์เซ็นต์
Hb gram % Value คือปริมาณฮีโมโกลบินเป็นกรัมในเลือด 100
dl. โดยปกติแล้วปริมาณฮีโมโกลบินมักจะรายงานในหน่วยนี้ คือ
g/dl หรือ g%
อุปกรณ์นี้เรียกว่า Haemoglobinometer ไปเปต หรือก็ไปเปตชนิด
หนึ่งจุดประสงค์เพื่อจะดูดเลือดเก็บตัวอย่างเลือดจากปลายนิ้วของผู้
ที่จะทำการทดสอบ เพื่อส่งถ่ายเลือดไปยัง Haemoglobinometer
tube วิธีการใช้งานก็คือเพียงแค่ดูดเลือดที่ปลายนิ้วให้ถึงขีด 20
Haemoglobinometer ไปเปต ก็จะใช้คู่กับสายยางดูด
ขวดสีชาสำหรับใส่สารละลาย N/10 HCl(ก็คือปริมาณกรดไฮโดรคลอริกความเข้มข้น 0.1 นอร์มอล)
สารละลายในหน่วย Normality(เรียกสั้น ๆ ว่านอร์มอล) จะนิยามถึง
1 กรัมของสารนั้นนำมาละลายในน้ำปริมาตร 1 ลิตร สารละลายที่ได้
จะหมายถึง 1 นอร์มอล ซึ่งถ้าหากผู้ใช้งานอยากจะได้ความเข้มข้น
ในหน่วย นอร์มอล ที่มากกว่านี้ก็จำเป็นต้องใช้สารตั้งต้นในปริมาณ
ที่มากกว่านี้มาละลายนั่นเอง(ตรงนี้กระผมจะขออธิบายการเตรียม
สารละลาย N/10 HCl จากสารละลายกรด HCl เข้มข้นในคลิปด้าน
ล่างสุดครับ)
สารละลายที่จะนำมาใช้ทดสอบปริมาณฮีโมโกลบินสำหรับชุด
ตรวจวัดฮีโมโกลบินส่าหลีนี้ จำเป็นต้องใช้กรด HCl ปริมาณ 0.1
นอร์มอลเท่านั้น(หรือก็คือ N/10 HCl จะใช้กรด HCl ที่เข้มข้นไม่
ได้(Conc-HCl) เพราะว่าจะทำให้โปรตีนในฮีโมโกลบินเสื่อมสภาพ
ถูกทำลายและค่าที่อ่านได้จะเป็นค่าที่ผิดไปจากความเป็นจริง
ส่วนอุปกรณ์ชิ้นสุดท้ายก็คือแท่งคนสาร(Glass Rod) ใช้สำหรับ
คนสารละลายที่อยู่ในหลอด Haemoglobinometer tube ให้เข้า
กัน
อีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้งานต้องเตรียมคือน้ำกลั่น จำเป็นต้องใช้น้ำกลั่น
เท่านั้น ห้ามหรือมิควรใช้น้ำก๊อกเพราะว่าความสะอาดและความ
บริสุทธิ์ของน้ำจะไม่ได้มาตรฐาน
หลักเกณฑ์วิธีการสำหรับการตรวจวัดฮีโมโกลบินโดยวิธีส่าหลี
สรุปว่าการประมาณปริมาณของฮีโมโกลบินที่อยู่ในสารละลาย
เลือดจำนวนหนึ่ง เราสามารถที่จะทราบค่าได้ โดยการนำสารละลาย
เลือดจำนวนหนึ่งที่ทราบปริมาณที่แน่นอน มาทำปฎิกิริยากับสารละ
ลายกรดไฮโดรคลอริกที่เจือจาง(N/10 HCl) ตรงนี้ภาษาอังกฤษ
เรียกว่า Acid Haematin จนกระทั่งได้สีที่ถูกต้องกับตารางสี
มาตรฐาน หลังจากการอ่านค่าสีตรงกับตารางสีมาตรฐานแล้ว จึง
สามารถอ่านค่าความเข้มข้นของสารละลายสุดท้ายได้ว่ามีค่าเท่ากับ
เท่าไร
วิธีการใช้งานชุดตรวจวัดฮีโมมิเตอร์ส่าหลี
ตรงนี้กระผมก็ขอสรุปวิธีการทำให้กระชับและเข้าใจง่ายขึ้นครับ
เริ่มแรกคือ ให้ท่านใช้หลอดหยด ดูดสารละลาย N/10 HCl ที่ได้
เตรียมไว้มาใส่ลงไปใน Haemoglobinometer tube ให้ดูที่สเกลสี
เหลือง ให้ใส่จนถึงระดับล่างสุดของสเกลสีเหลือง(ก็คือ 2 กรัม
เปอร์เซ็นต์)
จากนั้นก็ให้นำ Haemoglobinometer tube ใส่ลงไปใน Comparator Box
จากนั้นให้เจาะเลือดที่ปลายนิ้ว ซึ่งปลายนิ้วที่เจาะเลือดควรจะ
เลือกที่นิ้วกลางหรือนิ้วนาง หรือทั้งสองนิ้วเลยก็ได้ เพราะว่าจะได้
ปริมาณเลือดที่มากพอกับความต้องการ หากเป็นการเจาะที่นิ้วใด
เพียงนิ้วเดียว บางทีเลือดที่ออกมาจะมีไม่มากพอจำเป็นต้องบีบต้อง
เค้น ซึ่งที่ที่ถูกต้องที่สุดแล้วเลือดที่จะนำมาตรวจวัดควรจะเป็นเลือด
ที่ออกมาจากภายในร่างกายโดยตรง แต่ถ้าหากไม่บีบไปเค้นแล้ว
เลือดที่ออกมาจะเป็นเลือดที่แทรกซึมอยู่ในเนื้อเยื่อปลายนิ้วผสมมา
ด้วย ซึ่งก็เป็นไปได้ที่จะทำให้การตรวจวัดได้ค่าที่ไม่เที่ยงตรง
นิ้วโป้ง นิ้วชี้ หรือนิ้วก้อย ทางในคลิปกล่าวว่าควรหลีกเลี่ยงที่จะ
เจาะ เพราะว่านิ้วโป้งกับนิ้วก้อย จะเป็นนิ้วที่สั้นกว่านิ้วนางหรือนิ้ว
กลาง ฉะนั้นหากเกิดการติดเชื้อก็เป็นไปได้ที่เชื้อโรคจะแพร่เข้าสู่มือ
หรือแขนได้รวดเร็วกว่า ส่วนนิ้วชี้เป็นนิ้วที่ใช้ประโยชน์หลากหลาย
กว่านิ้วกลางหรือนิ้วนาง จึงควรหลีกเลี่ยงเช่นเดียวกัน เพราะว่าหาก
เกิดการบาดเจ็บที่นิ้วชี้แล้ว จะทำให้การทำงานอื่น ๆ เป็นไปด้วย
ความลำบาก ทุกครั้งที่มีการเจาะเลือดจำเป็นต้องเช็ดปลายนิ้วให้
สะอาดด้วยแอลกอฮอล์ทาแผลทุกครั้ง และก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง
ให้แอลกอฮอล์ระเหยออกไปจากปลายนิ้วให้หมดเสียก่อนจึงจะ
ทำการเจาะเลือด เพราะมิเช่นนั้นแล้วแอลกอฮอล์จะไปปนอยู่กับ
ตัวอย่างเลือดได้
ใช้ Haemoglobinometer ไปเปต กับสายยางดูด ทำการดูดเลือดที่
เจาะจากปลายนิ้วให้เข้าสู่ Haemoglobinometer ไปเปต ให้ดูดจน
เลือดมาถึงขีด 20 ไมโครลิตร
ข้อควรระวัง ระหว่างที่ดูดเลือดเข้าสู่ไปเปต ในไปเปตไม่ควรจะมี
ฟองอากาศ หากพบว่าเลือดที่ดูดเข้าไปมีรอยต่อหรือมีฟองอากาศ
จำเป็นต้องทำใหม่ เพราะว่าปริมาณเลือดที่ได้จะไม่เท่ากับขีดที่ระบุ
ไว้ คือ 20 ไมโครลิตร
ทำการถ่ายเลือดที่อยู่ใน Haemoglobinometer ไปเปต ลงสู่
หลอด Haemoglobinometer
คนส่วนผสมให้เข้ากัน แล้วทิ้งไว้สัก 10 นาที
หลังจากเวลาผ่านไปประมาณ 10 นาที เลือดที่เจาะกับสารละลาย
N10 HCl จะทำปฎิกิริยากันจนเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเรียก
Acid - Haematin
จากนั้นให้ค่อย ๆ หลอดน้ำกลั่นลงไป
ใน หลอด Haemoglobinometer และใช้แท่งแก้วคน คนไปเรื่อย ๆ
โดยค่อย ๆ หยดน้ำกลั่นไปทีละ 2 - 3 หยด แล้วคนไปเรื่อย ๆ ห้าม
หยดน้ำกลั่นลงไปครั้งละมาก ๆ
หยดน้ำกลั่นและคนไปเรื่อย ๆ จนสารละลายสุดท้ายได้สีเทียบเคียง
ได้กับสีที่อยู่ข้าง ๆ Comparator Box
จากนั้นให้นำแท่งแก้วคนออก และยก
หลอด Haemoglobinometer ขึ้นมาอ่านค่าเปอร์เซ็นต์
ค่าโดยปกติของฮีโมโกลบินของมนุษย์จะขึ้นกับอายุ เพศ เผ่าพันธุ์
ลักษณะสถานที่อยู่อาศัย แต่โดยเฉลี่ยจากคนทั่วโลกแล้วพบว่า
ทารกแรกเกิดจะมีปริมาณฮีโมโกลบินที่สูงกว่าผู้ใหญ่พอสมควรเลย
คือจะวัดได้ 23 gm/dl. เพราะว่ามีปริมาณเม็ดเลือดแดงที่สูงมาก
สำหรับผู้ใหญ่เพศชายจะวัดเฉลี่ยระหว่าง 14 - 18 gm/dl. ส่วน
ผู้ใหญ่เพศหญิงจะวัดได้เฉลี่ย 12 - 15.5 gm/dl.
ในภาษาอังกฤษตัวอักษรย่อของคำว่า Haemoglobin คือ Hb หรือ
Hgb ในความเป็นจริงแล้วการประมาณค่า Haemoglobin ก็ไม่ได้มี
เพียงวิธีเดียวที่ใช้กัน วิธีที่ใช้ประมาณ Haemoglobin ด้วยชุดตรวจ
วัดชุดนี้จะเรียกว่าเป็นวิธีของส่าหลี(ภาษาอังกฤษจะเขียนว่า
Sahli's) แต่ยังจะมีวิธีอื่น ๆ มากมายจากนักวิทยาศาสตร์ท่านอื่นที่
คิดค้นขึ้นมา อาทิเช่น วิธีของฮัลเดล-โกลเวอร์(Haldane-
Gower's) วิธีของสเปนเซอร์(Spencer's) วิธีของทอลค
วิส(Tallquist's) วิธีของแดร์(Dare's) และวิธีการเปรียบเทียบ
สี(Color Chart)
วิธีการตรวจหาโดยใช้เครื่องสเปคโตโฟโตมิเตอร์ ก็จะมีหลายวิธีเช่นกันคือ
- Sheard - Sanford oxyhaemoglobin
- Cyanmethaemoglobin
- Alkali - haematin
วิธีการตรวจหาโดยหาความถ่วงจำเพาะ(Specific Gravity)
วิธี Gasometric
วิธี Auto - Analysers
ฮีโมโกลบินที่มากเกินไป High Hb เกิดได้เนื่องจากภาวะความผิดปกติของร่างกายหรือเกิดจากความเจ็บป่วยด้วยโรคภัยบางชนิดอาทิเช่น
- ภาวะมีเม็ดเลือดขาวมากเกินไป(Polycythemia)
- Lung Diseases(COPD)
- โรคหัวใจ(Heart diseases)
- ขาดน้ำ(Dehydration)
- Hypoxia
- สัมผัสกับคาร์บอนมอนอกไซด์มากเกินไป(Carbon monoxide exposure)
- การสูบบุหรี่ที่มากเกินขนาด, การใช้ยาสเตอรอย เป็นต้น
เช่นเดียวกันภาวะฮีโมโกลบินที่น้อยเกินไป Low Hb เกิดได้เนื่องจากภาวะความผิดปกติของร่างกายหรือเกิดจากความเจ็บป่วยด้วยโรคภัยบางชนิดอาทิเช่น
- เป็นมะเร็งบางชนิด(Certain cancers)
- โรคไตเรื้อรัง(Chronic Kidney diseases)
- มะเร็งเม็ดโลหิตขาว Leukaemia
- ภาวะกำลังรับยาบางชนิดประเภท(Certain medications)
- Cirrhosis, Hypothyroidism, Hodgkin's lymphoma
วิธีการเตรียมสาร N / 10HCl
สำหรับสารเคมีที่จำเป็นจะต้องนำมาใช้ตรวจวัดเพื่อให้ทำปฎิ
กิริยากับเลือดในชุดตรวจวัด Haemometer Sahli นี้ ก็จะมีเพียง
สารเดียวตามที่กล่าวมาทั้งหมดในข้างต้น นั่นคือสาร N/10 HCl ซึ่ง
ก็จะมีวิธีการเตรียมอย่างง่าย ๆ ในคลิปข้างต้นที่อาจารย์ท่านนี้ได้
อธิบายไว้ กระผมก็จะสรุปง่าย ๆ ไปเลยครับ มันทำได้ง่ายมาก ๆ
ครับ ทำได้ด้วยตัวเองได้เลย
ก่อนอื่นก็ให้ท่านไปหา หรือไปซื้อ กรดไฮโดรคลอริกเข้ม
ข้น(Conc. HCl) มาสักขวดหนึ่ง หรือจำนวนหนึ่งซึ่งมีปริมาณไม่
มากก็เพียงพอแล้ว ก็คือว่า กรดไฮโดรคลอริกที่เข้มข้นหากว่านำมา
เทียบค่าในหน่วย N(normal) แล้วจะได้เท่ากับ 11.79N
แต่ว่าสิ่งที่เราต้องการนั่นคือ N/10 HCl หรือก็คือ 0.1 N คำว่า
0.1 N จะหมายถึงในสารละลาย 1000 ml. จะมีความเข้มข้น 0.1 N
ดังนั้นก็ให้เข้าสูตรตามที่เคยเรียน ๆ กันมาในสมัยมัธยมครับ คือ
C1V1 = C2V2
C1 จะหมายถึงความเข้มข้นเริ่มต้นของสารละลายกรด HCl เข้มข้น ซึ่งเรารู้ค่าแล้วนั่นคือ 11.79 N
V1 จะหมายถึงปริมาณสารละลายที่ต้องใส่เข้าไป
C2 จะหมายถึงความเข้มข้นของสารที่เราต้องการ นั่นคือ 0.1 N ซึ่งค่านี้เราทราบค่าแล้ว
V2 จะหมายถึงปริมาณที่สาร 0.1 N นี้บรรจุอยู่ ซึ่งทราบค่าแล้วนั่นคือ 1000 ml.
ก็แทนค่าในสูตรธรรมดาแล้วแก้สมการ
(11.79 x V1) / (0.1 x 1000)
V2 = (0.1 x 1000) / 11.79
V2 = 8.48 ml.
สรุป วิธีการเตรียมสารละลาย N /10 HCl โดยใช้สารละลายกรด
HCl เข้มข้น นั่นก็คือให้ตวงสารละลายกรด HCl เข้มข้นออกมา
8.48 ml. จากนั้นก็ให้เติมน้ำกลั่นบริสุทธิ์ลงไปจนได้ปริมาตร
สุดท้าย 1000 ml. ก็พูดง่าย ๆ ก็คือตวงกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น
ออกมา 8.48 แล้วเติมน้ำกลั่นลงไป 991.52 ml. คนส่วนผสมให้เข้า
กัน ท่านก็จะได้ความเข้มข้นสุดท้าย 0.1N หรือก็คือ N / 10 HCl
สนใจผลิตภัณฑ์ชุดตรวจวัด HAEMOMETER SAHLI ฮีโมมิเตอร์ส่า
หลีผมอนันต์ครับ Tel.0868910596