เทอร์โมมิเตอร์กระเปาะเปียก-กระเปาะแห้ง หน่วยองศา
เซลเซียสความละเอียดของอุณหภูมิวัด 0.5 องศา
เซลเซียส
ในประเทศไทย ใช้หน่วยวัดอุณหภูมิตามมาตรฐานของ SI
Unit(หน่วยทางฝั่งยุโรปใช้กัน) คือวัดอุณหภูมิในหน่วยองศา
เซลเซียส ซึ่งในหน่วยขององศาเซลเซียส ก็จะหยาบกว่าหน่วย
องศาฟาเรนไฮน์ ยกตัวอย่างเช่น ที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส ถ้า
หากวัดเป็นองศาฟาเรนไฮน์จะได้เท่ากับ 32.00 องศาฟาเรนไฮน์
หากว่าอุณหภูมิจาก 0 องศาเซลเซียสขยับเป็น 1 องศา
เซลเซียส(ขยับอุณหภูมิขึ้น 1 องศา) หากนำเทอร์โมมิเตอร์ในหน่วย
ฟาเรนไฮน์มาวัด จะวัดได้เท่ากับ 33.80 องศาฟาเรนไฮน์ ก็คือจะ
เห็นได้ว่าการขยับขึ้นของอุณหภูมิ 1 องศาเซลเซียส หากนำมาวัด
ในหน่วยองศาฟาเรนไฮน์จะขยับขึ้นมากกว่า 1 องศาฟาเรนไฮน์
(33.80 - 32.00 = 1.80)
ซึ่งในทางปฎิบัติแล้ว การวัดอุณหภูมิหากนำเทอร์โมมิเตอร์ใน
หน่วยองศาฟาเรนไฮน์มาวัด ก็น่าจะมีโอกาสวัดอุณภูมิได้เห็นใน
หน่วยจำนวนเต็มมากกว่า แต่ถ้าหากว่าอุณหภูมิในหน่วยอุณหภูมิ
องศาเซลเซียสขยับขึ้นไม่ถึง 1 องศาเซลเซียส เช่นขึ้นมาสัก 0.5
องศาเซลเซียส ก็จะสามารถวัดอุณหภูมิในหน่วยองศาฟาเรนไฮน์ได้
เท่ากับ 32.90 องศาฟาเรนไฮน์ ซึ่งก็จะทำให้ความห่างลดน้อย
ลง(32.9 - 32 = 0.9)
https://www.metric-conversions.org/temperature/celsius-to-fahrenheit.htm
เทอร์โมมิเตอร์ชนิดกระเปาะเปียก - กระเปาแห้ง ที่เห็นจำหน่าย
กันโดยทั่ว ๆ ไปตามท้องตลาดประเทศไทย ซึ่งเป็นหน่วยองศา
เซลเซียส มักจะมองเห็นตัวเลขอุณหภูมิช่วงวัดเป็นจำนวนเต็ม เช่น
เริ่มจากติดลบ 20 แล้วก็ไล่ขึ้นมาเรื่อย ๆ เป็น ติดลบ 19 ติดลบ 18
ติดลบ 17.................ไปเรื่อย ๆ ก็มักจะไม่ค่อยเห็นเทอร์โมมิเตอร์
ลักษณะนี้ในหน่วยอุณหภูมิองศาเซลเซียสที่จะย่อยกว่านี้
เทอร์โมมิเตอร์รุ่นข้างล่างนี้ เป็นเทอร์โมมิเตอร์ชนิดกระเปาะ
เปียก - กระเปาแห้ง ที่ออกแบบเทอร์โมมิเตอร์ทั้งสองฝั่งมาเพื่อให้
อ่านค่าในหน่วยองศาเซลเซียส โดยมีความละเอียดที่ 0.5 องศา
เซลเซียส(ตามภาพด้านล่าง)
ซึ่งตรงนี้ในบางงาน บางข้อกำหนด อาจจะมีความจำเป็นที่ผู้วัด
จะต้องรายงานผลของการตรวจวัดให้ละเอียดมากขึ้นในหน่วยองศา
เซลเซียส เทอร์โมมิเตอร์รุ่นนี้จึงได้ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ในข้อ
นี้
ภาพรายละเอียดทั้งหมดของเทอร์โมมิเตอร์รุ่นนี้
วัดขนาดให้ดูครับ
ด้านหลังของเทอร์โม
หน้าเทอร์โม ที่มีช่วงอุณหภูมิในหน่วยองศาเซลเซียส ก็จะมีความ
ละเอียดในหน่วยองศาเซลเซียส 0.5 องศาเซลเซียส
การแปลผลข้อมูลที่อ่านได้
สำหรับเทอร์โมมิเตอร์กระเปาะเปียก - กระเปาะแห้ง รุ่นนี้ซึ่งมี
ความละเอียดของการอ่านที่ 0.5 องศาเซลเซียส กระผมแนะนำให้
ใช้เวบในการแปลค่าครับ เพราะว่าจะสะดวกรวดเร็วกว่า ให้ใช้ลิงค์นี้
https://www.kwangu.com/work/psychrometric.htm
หากเป็นการนำเทอร์โมมิเตอร์ไปใช้งานนอกสถานที่ ไปใช้ใน
หน้างานก็สามารถจะเข้าลิงค์นี้ได้โดยใช้ Smart Phone
เวบนี้มีประโยชน์มากครับ เพราะว่ามันสามารถคำนวนค่า
เปอร์เซ็นต์ความชื้นในอากาศได้ในทุกองศาเซลเซียสเลย
เวบนี้วัดค่าอุณหภูมิในหน่วย SI Unit คือหน่วยองศาเซลเซียส
โดยเฉพาะ เพียงแค่ท่านผู้ใช้นำค่าที่อ่านได้จากเทอร์โมมิเตอร์
กระเปาะเปียก และเทอร์โมมิเตอร์กระเปาะแห้ง กรอกลงไปในช่อง
Dry bulb Temp และ Wet bulb Temp ช่องทั้งสองนี้ท่านผู้ใช้
สามารถจะกรอกลงไปได้ถึงหลังจุดทศนิยมเลย จะใส่เป็นทศนิยม
เพียงตำแหน่งเดียว หรือมากกว่าหนึ่งตำแหน่งก็ยังได้ จากนั้นกดที่
ปุ่ม Calculate ค่าต่าง ๆ ที่ท่านผู้ใช้ต้องการทราบค่าก็จะปรากฎ
ออกมา ซึ่งจะมีหลากหลายค่าเลยทีเดียว ทั้งเปอร์เซ็นต์
ความชื้นสัมพัทธ์, จุด Dew Point(จุดที่อุณหภูมิจะกลั่นตัวให้เกิด
น้ำฝน หรือจุดอุณหภูมิที่ฝนจะตก)และค่าอื่น ๆ อีกมากมาย แต่ถ้าจะ
ให้การคำนวนความชื้นสัมพัทธ์แม่นยำมากยิ่งขึ้น อย่าลืมใส่ระดับ
ความสูงของพื้นที่ที่ท่านกำลังทำการตรวจวัดด้วยครับ(ช่อง
Altitude above sealevel)
สำหรับเทอร์โมมิเตอร์แบบกระเปาะเปียก - กระเปาะแห้ง ความ
ละเอียดในการวัด 0.5 องศาเซลเซียสรุ่นนี้(หรือจะเป็นรุ่นอื่นก็ตาม
แต่) คงจะไม่สามารถไปใช้ชาร์ตอ่านอุณหภูมิกระเปาะเปียก -
กระเปาะแห้งรุ่นอื่นได้ครับ เพราะว่าความละเอียดในชาร์ตอ่านจะมี
ไม่มากพอ(ตามรูปด้านล่าง) จะเห็นว่าช่วงความแตกต่างของ
อุณหภูมิกระเปาะเปียก-กระเปาะแห้งจะมีความละเอียดเป็นหลัง
จุดทศนิยม แต่อุณหภูมิกระเปาะแห้งที่อ่านได้จะต้องอ่านเป็น
จำนวนเต็มเท่านั้น
ไส้ของสารเคมีที่อยู่ในเทอร์โมมิเตอร์กระเปาะเปียก - กระเปาะ
แห้งรุ่นนี้จะเป็นสารแอลกอฮอล์สีครับ ตามภาพ ซึ่งก็แน่นอนที่สุดว่า
เทอร์โมมิเตอร์ทุกชนิด ทุกประเภท ทุกรุ่น ทุกยี่ห้อ สามารถที่จะขาด
ได้(เรียกว่าเทอร์โมมิเตอร์ขาด ภาษาอังกฤษเรียก Discolumn)
เทอร์โมมิเตอร์กระเปาะเปียก - กระเปาะแห้งเป็นเทอร์โมมิเตอร์
ทั่วไปอีกชนิดหนึ่งที่จะสารที่บรรจุในกระเปาะจะสามารถขาดหรือ
Discolumn ได้ ซึ่งตรงนี้สามารถแก้ไขให้กลับมาเป็นปกติได้ครับ
ไม่จำเป็นต้องนำไปทิ้งแล้วซื้อใหม่ใช้
หากว่าเป็นเทอร์โมมิเตอร์ที่ด้านในเป็นปรอท(สารสีเงิน) ก็
ทำได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเองโดยการสะบัดให้ปรอทมารวมกันเหมือนเดิม
ซึ่งตรงนี้ทำได้ง่าย เพราะว่าปรอทจะเป็นสารที่เคลื่อนที่ได้เร็วและไม่
จับหรือมีแรงตึงผิวกับแก้วที่มันบรรจุอยู่
แต่เมื่อใดที่เทอร์โมมิเตอร์นั้นสารที่บรรจุด้านในเป็นของเหลว
แอลกอฮอล์แล้ว บางครั้งการสะบัดอาจจะช่วยเหลือไม่ได้ คือจะไม่
สามารถทำให้แอลกอฮอล์กลับมารวมกันได้ อาจจะเนื่องจากแรงตึง
ผิวของแอลกอฮอล์กับผิวแก้วจะมีมากกว่าปรอท
วิธีการแก้ไข ให้พลิกด้านหลังของเทอร์โมมิเตอร์ จากนั้นก็ให้นำ
ไดร์เป่าผม(เปิดปุ่มเป่าร้อน) และเป่าไปยังปลายกระเปาะ หรือด้าน
หลังของเทอร์โมมิเตอร์ก็ได้ ตามรูปด้านล่าง
ตรงนี้ผมกำลังแก้ เทอร์โมมิเตอร์ที่ขาดในส่วนของกระเปาะเปียก
ซึ่งหากว่าท่านได้เป่าลมร้อนลงไปเรื่อย ๆ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ
เทอร์โมมิเตอร์ก็จะได้รับความร้อนจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น และก็จะวิ่ง
ขึ้นไปเรื่อย ๆ ตามรูป
ตรงนี้ต้องคอยสังเกตุและระวังอย่างให้แอลกอฮอล์วิ่งขึ้นไปเร็ว
จนเกินเหตุ ให้มันค่อย ๆ วิ่งขึ้นไปจนสุดที่ปลายกระเปาะด้าน
บน(ตามรูป)
ระวังว่าอย่าให้ความร้อนมากเกินไปกว่านี้เพราะว่าจะทำให้กระเปาะ
แตกได้ คือเมื่อใดก็ตามที่แอลกอฮอล์วิ่งไปจนสุดด้านบนที่เป็นกระ
เปาะแล้ว สารแอลกอฮอล์สีน้ำเงินทั้งหลอดแก้วก็จะรวมกันโดย
สมบูรณ์
จากนั้นโดยสักชั่วขณะหนึ่ง ให้นำน้ำแข็งสักก้อน มาจ่อที่ปลาย
ของเทอร์โมมิเตอร์ ตามภาพ
เจตนาของเราก็คือต้องการให้สารในหลอดเทอร์โม ไหลกลับลงมา
ให้เร็วที่สุดในเวลาสั้น ๆ แทนที่จะรอให้มันเย็นลงเองแล้วไหลกลับลง
มา ซึ่งอาจจะทำให้ระหว่างทางที่สารไหลลงมาจะขาดกันได้อีก การ
ลดอุณหภูมิลงอย่างเฉียบพลันจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ
นำก้อนน้ำแข็งออก จากนั้นปล่อยให้อุณหภูมิกลับสู่ปกติ
เพียงเท่านี้ เทอร์โมมิเตอร์ของท่านก็จะกลับมาเป็นปกติและใช้งาน
ได้เหมือนเดิม
https://www.kwangu.com/work/psychrometric.htm
สนใจเทอร์โมมิเตอร์กระเปาะเปียก-กระเปาะแห้ง หน่วยองศา
เซลเซียสความละเอียดของอุณหภูมิวัด 0.5 องศาเซลเซียส
ผมอนันต์ครับ Tel.0868910596