ม้วนกระดาษเทียบสีความเข้มข้นของสารฆ่าเชื้อในอุตสาห กรรมอาหาร ช่วงของการวัด 0 - 400
ppm, Quaternary Test (QT-10) Paper
range 0-400 ppm., Range 0 - 500 ppm.(QT-40)., Range 0 - 1000 ppm.(QC-1001)
Cleaning = การทำความสะอาด
Sanitizing = การฆ่าเชื้อ
สองคำนี้มีความหมายที่ต่างกันไม่เหมือนกันทีเดียวกล่าวคือ
การทำความสะอาด(Cleaning)
จะนิยามถึงการใช้น้ำหรือสารซักล้าง เช่น สบู่ ผงซักฟอก ฯลฯ
ผสมกันเพื่อใช้สำหรับเช็ดหรือล้างสิ่งสกปรกหรือเศษอาหารให้ออก
ไปจากภาชนะนั้นหรือบริเวณนั้น ๆ
ในขณะที่การฆ่าเชื้อ(Sanitizing)
จะนิยามถึงการเช็ดหรือล้างภาชนะนั้น ๆ หรือบริเวณนั้น ๆ
ด้วยสารเคมีบางชนิดที่ผลิตออกมาเพื่อใช้ฆ่าเชื้อหรือมิเช่นนั้นก็จะ
ใช้กระบวนการอื่น ๆ เช่นการให้ความร้อนกับภาชนะหรือบริเวณนั้น
ๆ เพื่อฆ่าเชื้อ
เพราะถึงแม้ว่าในภาชนะหรือบริเวณนั้น บางครั้งจะดูสะอาดแล้ว
แต่โดยแท้จริงยังอาจจะมีเชื้อโรคที่ตาคนมองไม่เห็นอยู่
การฆ่าเชื้อเป็นการลดระดับเชื้อโรคที่ตาคนมองไม่เห็นให้อยู่ใน
ระดับที่ปลอดภัยยอมรับได้ บริเวณใด ๆ
ก็ตามแต่ที่สัมผัสกับอาหารที่ถูกต้องแล้วไม่ใช่เพียงแต่จะทำ
ความสะอาด
แต่ถ้าจะให้ดีต้องทำการฆ่าเชื้อโรคด้วยเพื่อป้องกันผู้สัมผัสผู้บริโภค
จากภาวะการเจ็บป่วยหากรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเข้าไป
ก็คือ สารฆ่าเชื้อที่นำมาใช้สำหรับการฆ่าเชื้อนี้
ส่วนใหญ่จะใช้สารที่รู้จัักกันโดยทั่วไปในชื่อเรียกว่า สาร
Quaternary Sanitizer
โดยสารนี้จะผสมลงไปในน้ำให้ได้สัดส่วนที่เหมาะสม
ซึ่งโดยส่วนมากแล้วจะไม่ผสมสารซักล้างเช่นสบู่ ผงซักฟอง
หรือน้ำยาทำความสะอาดลงไป แต่คำถามที่ต้องถามต่อไปก็คือ
แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่า สารฆ่าเชื้อที่ผสมลงไปในน้ำนี้
จะเพียงพอหรือมีความเข้มข้นเพียงพอในระดับที่ยอมรับได้เพื่อที่จะ
ไปใช้ในการฆ่าเชื้อ
วิธีการที่ง่ายที่สุดในการตรวจวัดซึ่งเป็นวิธีที่ประหยัดและใช้เวลา
น้อย(เพียงแค่ 10 วินาที) และมีความน่าเชื่อถือที่รับได้
ก็คือให้ท่านใช้กระดาษที่ออกแบบมาเพื่อใช้วัดปริมาณของ
Quaternary Sanitizer โดยเฉพาะ
กระดาษที่ว่านี้ เมื่อใดก็ตามที่มันสัมผัสกับสาร Quaternary
Sanitizer แล้ว มันจะเกิดการเปลี่ยนสีไปจากเดิม
ซึ่งสีที่เปลี่ยนไปนี้ก็จะบอกถึงระดับของสาร Quaternary Sanitizer
ที่อยู่ในสารละลายว่ามีปริมาณมากเท่าไร(ในหน่วย ppm.) นั่นเอง
ซึ่งวิธีการเทียบสีที่เปลี่ยนไป
ก็คือให้นำกระดาษมาเทียบกับสีมาตรฐานที่อยู่ข้างกล่อง
กระดาษวัด Quaternary รุ่นนี้จะเป็นรุ่น Q-10
ซึ่งมีวิธีการใช้งานกระดาษวัดชนิดนี้ก็เพียงง่าย ๆ ครับ
คือให้ดึงกระดาษออกมาก่อนโดยประมาณ 2 นิ้ว(กระดาษ 1
ม้วนยาวประมาณ 4.5 เมตร)
จากนั้นจุ่มกระดาษนี้ลงไปในสารละลาย Quaternary
Sanitizer ที่ผสมแล้ว
ทั้งนี้แล้วก่อนที่จะจุ่มกระดาษวัดลงไปจะต้องแน่ใจก่อนว่าสารละลาย
ที่ผสมแล้วนี้หมดฟองแล้ว(ฟองยุบหมด)
และสารละลายนี้ต้องอยู่ในอุณหภูมิห้องปกติ
ลัักษณะนี้เป็นวิธีการตรวจวัดที่ผิด
ซึ่งถึงแม้จะอ่านค่าได้แต่ค่าที่ได้ก็อาจจะผิดพลาดได้เพราะว่าใน
สารละลายที่วัดอยู่นั้น เต็มไปด้วยฟองอากาศ
เนื่องจากเพิ่งเปิดสารใหม่ออกมาจากท่อ
การจุ่มกระดาษวัดลงไปในสารละลายลักษณะนี้
เป็นไปได้ว่ากระดาษจะไปจุ่ม หรือแค่ทำให้ฟองอากาศแตกหรือยุบ
โดยที่กระดาษยังไม่ได้จุ่มลงไปจนถึงน้ำสารละลาย
ลักษณะนี้เป็นการวัดที่ถูกต้องคือให้รอจนกระทั่ง
สารที่ต้องการจะวัดอยู่ในสภาพ ที่ปกติ ไม่มีฟองอากาศ
ใด ๆ ลอยขึ้นมา
แช่กระดาษนี้ลงไปโดยจุ่มไว้โดยประมาณ 10 วินาที
ซึ่งเมื่อยกกระดาษขึ้นมาจะพบว่ากระดาษนี้สีจะเปลี่ยนไป
นำกระดาษที่เปลี่ยนสีไปนี้มาเทียบกับ สีมาตรฐานข้างกล่อง
เพื่อเทียบว่าตอนนี้ สารละลาย Quarternary Sanitizer
นี้มีความเข้มข้นอยู่ในช่วงใด
เช่นในกรณีนี้จะวัดและเทียบสีได้โดยประมาณ 200 ppm.
ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ดียอมรับได้
โดยทั่วไปแล้วฝรั่งเขาแนะนำให้ตรวจซ้ำอีกครั้งเพื่อยืนยันความถูก
ต้องครับ หรือจะยิ่งสำคัญมาก ๆ ว่าจะต้องตรวจซ้ำก็คือ
ค่าที่อ่านได้อ่านได้น้อยมาก ๆ เช่นอ่านได้ 0 ppm.
ตรงนี้ต้องตรวจซ้ำแน่นอนครับ
สิ่งที่น่าสนใจอีกเรื่องก็คือ
ค่าปริมาณความเข้มข้นของสารฆ่าเชื้อชนิด Quaternary
เมื่อผสมกับน้ำแล้ว ในหลาย ๆ
ประเทศจะไม่บอกเป็นตัวเลขเฉพาะแต่จะบอกเป็นช่วงหรือค่าเริ่มต้น
ว่าควรจะเป็นเท่าไร เช่น ถ้าเป็นที่สหรัฐอเมริกา
จะระบุว่าค่าสารละลายนี้เมื่อผสมแล้ว ควรจะมีค่าอยู่ระหว่าง
150 - 400 ppm. ส่วนถ้าเป็นในแคนาดา
จะระบุว่าควรจะมีค่าเริ่มต้นตั้งแต่ 200 ppm. ขึ้นไป
ซึ่งการระบุเป็นช่วงลักษณะเช่นนี้จึงทำให้ม้วนกระดาษตรวจวัดสาร
Quaternary นี้มีความเหมาะสมในการนำมาใช้เป็นอุปกรณ์ตรวจวัด
เพราะว่าในแถบสีมาตรฐานเีทียบก็จะบ่งบอกลักษณะเป็นช่วงสีีที่
ในประเทศที่พัฒนาแล้ว อุปกรณ์ที่ใช้ตรวจเช็คสารละลาย
Quaternary ก็ืคือม้วนกระดาษวัดลัักษณะนี้
เป็นสิ่งของสิ้นเปลืองแต่ต้องใช้ประจำในสถานประกอบการ
โรงงานอุตสาหกรรมบางประเภท เช่นอุตสาหกรรมอาหารทะเล
ของกินของใช้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีที่เก็บ Station
ที่มองเห็นได้ชัดและเข้าถึงได้ง่าย
ติดตั้งให้ผู้ใช้งานเห็นได้อย่างชัดเจนและหยิบใช้ได้ทันทีในกรณี
ที่ต้องการตรวจวัด
ช่วงวัด 0 - 500 ppm.
ช่วงวัด 0 - 1000 ppm.
สนใจม้วนกระดาษเทียบสีความเข้มข้นของสารฆ่าเชื้อในอุตสาห
กรรมอาหาร ช่วงของการวัด 0 - 400
ppm, ช่วงของการวัด 0 - 500 ppm. และช่วงการวัด 0 - 1000
ppm. ผมอนันต์ครับ Tel.0868910596