เทอร์โมมิเตอร์แบบพกพาช่วงการวัดสูง
-50 ถึง 1,350 องศาเซลเซียส
Portable K TYPE Thermometers Digital Thermometer Temperature Measurement meter -50 ~1350 C
มีเทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิอีกลักษณะหนึ่งที่มีความน่าใช้ครับ
ขนาดเล็ก พกพาง่าย และใช้งานไ้ด้ค่อนข้างหลากหลาย และที่สำคัญคือ
สามารถวัดอุณหภูมิในช่วงสูง ๆ ได้
ซึ่งถ้าเป็นเทอร์โมมิเตอร์แบบดิจิตอลรุ่นทั่ว ๆ ไป เช่น Food
Thermometer ไม่สามารถจะทำได้
เพราะว่าจะวัดได้ก็เพียงอุณหภูมิไม่เกินกว่า 300 องศาเซลเซียสเท่านั้น
ในชุดของเทอร์โมมิเตอร์รุ่นนี้จะเป็นเช่นนี้ครับ
คือมีตัวเครื่องและสายเสียบวัดให้ สองเส้น ก็คือมันเป็นเทอร์โมมิเตอร์
แบบ K Type ชนิดหนึ่งนั่นเอง
คุณลักษณะของมิเตอร์รุ่นนี้เป็นดังนี้
วัดขนาดให้ดูครับ
จะสามารถวัดได้ 2 ช่อง(2 Channel)
โดยมีช่วงการวัดที่กว้างมากคือวัดได้ตั้งแต่
ติดลบ 50 ถึง 1,350 องศาเซลเซียส
ปุ่มกด
ใช้ถ่านไฟฉายขนาดเล็ก AAA เป็นแหล่งพลังงานเพียง 2 ก้อน
ช่องสำหรับเสียบโพรบวัดจะอยู่ด้านบน
มีสองช่องเสียบตามรูป
คือช่องเสียบสำหรับโพรบวัดหลัก(T1)
และช่องเสียบสำหรับโพรบวัดรอง(T2)
ที่ถูกต้องแล้วเวลาที่ใช้งาน
หัวโพรบที่เสียบจะต้องเสียบเข้ากับช่องโพรบวัดหลัก(T1)
ก่อนเสมอ เพราะว่าที่ช่องนี้มิเตอร์จะสามารถวัดและบอกค่าของ
Maximum, Minimum และ Max - Min ของอุณหภูมิได้
แต่หากว่านำโพรบวัดนี้ไปเสียบที่ช่องโพรบวัดรอง(T2)
มิเตอร์ก็จะยังสามารถวัดอุณหภูมิได้เช่นกัน แต่จะไม่อ่านค่า
Max, Min ของโพรบวัดรองได้
ความน่าสนใจของการใช้เทอร์โมมิเตอร์รุ่นนี้ก็คือว่า
หากท่านสามารถจะหาหัววัดที่เหมาะสมกับงานที่จะใช้มาเสียบใส่กับ
เทอร์โมมิเตอร์รุ่นนี้ก็จะสามารถทำให้เทอร์โมมิเตอร์นี้ใช้งานได้
อย่างหลากหลายขึ้น
เช่นตามภาพด้านล่าง ผมหาหัวเสียบที่มีลักษณะเป็นแท่งโลหะ
ซึ่งมีขนาดกะทัดรัดไม่ใหญ่จนเกินไปนัก
หัววัดนี้สามารถทนต่ออุณหภูมิได้ในช่วง ติดลบ 50 ถึง 700
องศาเซลเซียส มาเสียบใส่เพื่อใช้งานวัดอุณหภูมิ
หัวเสียบนี้จะสามารถเสียบใส่เข้าไปได้ทั้งสองช่องเสียบครับ
แล้วแต่ความสะดวกของผู้ใช้ เพียงแต่ว่าถ้าหากท่านต้องการจะวัดค่า
Maximum, Minimum ของอุณหภูมิที่หัววัดอ่านได้
ท่านจำเป็นต้องเสียบเข้าไปในช่อง (T1)
ซึ่งในอีกช่องเสียบที่เหลือ ท่านจะนำหัววัดลักษณะใดมาเสียบอีกก็ได้
จุดประสงค์เพื่อที่จะวัดอุณหภูิมิทั้งสองจุดในเวลาเีดียวกัน
เจตนาเพื่อที่จะวัดเทียบ หรือความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิทั้งสองจุด
ตามภาพผมนำโพรบวัดที่มีมากับเครื่อง
มาเสียบเข้าไปยังช่องเสียบที่เหลือ
ทดลองสลับหัววัดดู
ตรงนี้ผมทำการทดลองโดยใช้น้ำผสมน้ำแข็งใส่แก้ว
เพื่อทำการวัดอุณหภูมิ
โดยจะเป็นการวัดเทียบกับอุณหภูิมิของอากาศปกติ
ผมใช้หัววัดแบบแท่งโลหะเป็นแกนหลัก หรือเสียบใส่ช่องวัด (T1)
ส่วนโพรบวัดธรรมดาผมเสียบใส่ช่อง(T2)
หลังจากที่ทิ้งไว้สักระยะจนอุณหภูมิสุดท้ายนิ่ง(อุณหภูมิของโพรบ T1)
ก็นำโพรบวัด T1 ขึ้นจากน้ำแข็ง จากนั้นลองกดที่ปุ่ม T1T2
ก่อนหนึ่งครั้งจากนั้นก็กดที่ปุ่ม Max
เครื่องจะบันทึกค่าอุณหภูมิที่อ่านไ้ด้ว่า 32.2 องศาเซลเซียส
ซึ่งเป็นค่าอุณหภูมิที่ก่อนที่จะจุ่มหัววัดลงไปในน้ำแข็ง
หากท่านกดไปที่ปุ่ม Max อีกครั้ง ค่าที่เครื่องวัดจะอ่านเป็นอุณหภูมิต่ำสุด
Min ที่เครื่องอ่านได้เมื่อสักครู่
ก็คือตอนที่จุ่มหัววัดลงไปในน้ำแข็งและได้อุณหภูมิสุดท้ายที่ต่ำที่สุด
ในที่นี้วัดได้เมื่อสักครู่ 1.7 องศาเซลเซียส
หากท่านกดไปที่ปุ่ม Max อีกครั้ง
ก็จะเป็นการหาค่าระหว่างอุณหภูมิสูงสุด - อุณหภูมิต่ำสุดเมื่อสักครู่
ก็คือ 32.2 - 1.7 = 30.5 องศาเซลเซียส
ตรงนี้ผมทดลองอีกครั้งโดยสลับหัวโพรบวัดจากเดิม T1 มาอยู่อีกข้าง
และแช่หัววัดลงไปในน้ำแข็งเช่นเดิม
จากหน้าจอท่านก็จะเห็นว่ามิเตอร์จะวัดอุณหภูมิทั้งสองหัววัดไปตามปกติ
คือหัววัดแรก(หัววัด T1)
จะเป็นอุณหภูมิของโพรบปกติอ่านค่าได้เท่ากับอุณหภูมิของอากาศปกติ
โดยประมาณ 33 องศาเซลเซียส ส่วนหัววัด T2
จะเป็นอุณหภูมิในแก้วน้ำแข็งตอนนี้อ่านได้เท่ากับ 2.7 องศาเซลเซียส
ซึ่งหากว่าท่านกดไปที่ปุ่ม T1T2
ก็จะเป็นการบอกความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิทั้งสองหัววัดนั่นเอง
มิเตอร์รุ่นนี้ผมจำหน่ายพร้อมกับหัววัดโดยจะมีหัววัด
โพรบสายธรรมดา(สายสีเขียว) ให้ 2 อัน
และจะมีสายแบบแท่งโ่ลหะตามรูป(สายสีเหลือง) ให้ 1 อัน
สามารถใช้งานได้อย่างหลากหลายมากครับ
สามารถวัดได้ทั้งเตาอบ วัดอาหาร วัดของแช่แข็ง ฯลฯ
เพียงแต่ข้อควรระวังจะเป็นที่ตัวเครื่องจะต้องอยู่ใน
ช่วงอุณหภูมิปกติของอากาศเท่านั้น
ส่วนหัววัดเท่านั้นจึงจะสามารถทนต่ออุณหภูมิที่สูงมาก ๆ
หรือต่ำมาก ๆ ได้
สนใจผลิตภัณฑ์ ผมอนันต์ครับ Tel.0868910596