เทอร์โมมิเตอร์แบบแอลกอฮอล์
สำหรับวัดอุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุดในระหว่างวัน,
Maximum Minimum Thermometer, Six's Thermometer
สนใจผลิตภัณฑ์ ผมอนันต์ครับ Tel.0868910596
ท่านครับหากท่านมีเทอร์โมมิเตอร์ธรรมดาสักอันหนึ่ง
แล้วท่านต้องการจะทราบว่าในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง เ่ช่นใน 1 ชั่วโมง 2 ชั่วโมง
หรือใน 1 วัน มีอุณหภูมิขึ้นไปสูงสุดที่เท่าไรและตกลงต่ำที่สุดที่เท่าไรกี่องศาเซลเซียส
ตรงนี้ท่านทำได้ครับ คือให้ตั้งเทอร์โมมิเตอร์ตัวนี้ไว้ แล้วก็คอยจดบันทึกไปเรื่อย ๆ ทุก ๆ
1 วินาที โดยไม่ให้คลาดสายตาเลย ฟังดูเหมือนง่ายแต่ไปทำจริง ๆ แล้วคงจะยาก
แล้วมันจะมีวิธีอื่นอีกไหมที่น่าจะง่ายและฉลาดกว่านี้ ในอดีตเมื่อ ค.ศ. 1780
มีคนฉลาด ๆ คนหนึ่งเป็นฝรั่งชาวอังกฤษชื่อว่า Mr. James Six
ประดิษฐ์เทอร์โมมิเตอร์ชนิดหนึ่งขึ้นมาโดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้วัดอุณหภูมิที่แตกต่าง
ระหว่างวัน หรือระหว่างช่วงเวลาที่เราต้องการจะวัด
โดยที่คนวัดไม่ต้องไปคอยนั่งเฝ้าหรือนอนจดบันทึกตลอดเวลา
ซึ่งเทอร์โมมิเตอร์ในลักษณะนี้ในภายหลังถูกเรียกกันหลายชื่อเลย เช่น
Six's thermometer, maximum–minimum, minimum–maximum,
maxima–minima or minima–maxima thermometer
เทอร์โมมิเตอร์แบบนี้มีประโยชน์มากทีเดียวครับ
และผมเองมองเห็นว่าเป็นความชาญฉลาดของมนุษย์นักประดิษฐ์คนนี้(คุณ James Six)
เมื่อ 235 ปีก่อน ซึ่งมนุษย์บางพื้นที่บนโลกยังอาจแม้ไม่ได้ใส่รองเท้า
เทอร์โมมิเตอร์แบบนี้จะมีสองฝั่งครับคล้าย ๆ
กับเทอร์โมมิเตอร์แบบกระเปาะเปียกกระเปาะแห้ง
แต่ว่าถูกออกแบบมาให้เชื่อมกันที่ด้านล่างเป็นลักษณะตัวยู(U Shape Tube)
ด้วยเหตุของความสัมพันธ์กันลักษณะนี้ทำให้การเพิ่มขึ้นของของเหลวที่อยู่ในเทอร์โมมิ
เตอร์ฝั่งหนึ่งจะทำให้ของเหลวที่อยู่ในเทอร์โมมิเตอร์ของอีกฝั่งหนึ่งลดลง
แต่สุดท้ายแล้วของเหลวทั้งสองฝั่งนี้หากนำมาอ่านอุณหภูมิแล้วจะต้องเท่ากันเสมอครับ
หากอ่านอุณหภูมิทั้งสองฝั่งแล้วไม่เท่ากัน
แสดงว่าเทอร์โมมิเตอร์อันนี้กำลังมีปัญหาต้องนำไปแก้ไขครับ ดูรูปครับ
ท่านครับพิจารณาจากรูปเทอร์โมมิเตอร์ลักษณะนี้แล้วท่านจะเห็นว่า
หากท่านสังเกตุดูสีของของเหลวที่อยู่ในหลอดแก้ว(สีฟ้า ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์)
ท่านจะพบว่ามันอ่านอุณหภูมิได้เท่ากันนะครับ เช่นในรูปอุณหภูมิทั้งสองฝั่งจะอ่านได้
28 องศาเซลเซียส แต่ทั้งนี้ท่านต้องไม่สับสนกับตัวเลขครับ คือ
หลอดแก้วที่อยู่ฝั่งขวามือแล้วเมื่อใดก็ตามแต่ที่อุณหภูมิเพิ่มขึ้นตัวเลขก็จะเพิ่มขึ้น
ซึ่งก็จะทำให้แอลกอฮอล์ที่อยู่ในหลอดแก้ววิ่งสูงขึ้นไปด้วย
แต่ในขณะเดียวกันแอลกอฮอล์ที่อยู่ในหลอดฝั่งซ้ายมือแล้ว
หากอุณหภูมิสูงขึ้นแอลกอฮอล์ที่อยู่ในหลอดแก้วจะวิ่งลง แต่ว่าตัวเลขสเกลจะเพิ่มขึ้น
(คือจะเพิ่มขึ้นในทางบวก)
แต่จุดที่น่าสนใจก็คือหลอดแก้วที่อยู่ในทางฝั่งซ้ายแล้ว
หากเมื่อใดก็ตามแต่ที่อุณหภูมิลดลง แอลกอฮอล์ที่อยู่ในหลอดแก้วจะวิ่งขึ้น
ซึ่งตรงนี้จะอธิบายว่ายิ่งแอลกอฮอล์วิ่งขึ้นไปมากเท่าใด
นั่นหมายถึงว่าอุณหภูมิยิ่งลดลงมาก ซึ่งตัวเลขที่อยู่ที่กลางเทอร์โมมิเตอร์จะเป็นเลข 0
หากแอลกอฮอล์ในหลอดแก้ววิ่งขึ้นไปเกินกว่าเลข 0
แล้วนั่นจะหมายถึงอุณหภูมิที่ติดลบครับ เช่นหากอ่านได้ 10 จะหมายถึง ติดลบ 10
องศาเซลเซียส หรือหากอ่านได้ 20 ก็จะหมายถึงอุณหภูมิที่ติดลบ 20 องศาเซลเซียส
ตรงนี้อธิบายเพื่อความไม่สับสน
อุณหภูมิที่อ่านได้จากเทอร์โมมิเตอร์นี้จะมีสองหน่วยครับ
คือเป็นหน่วยองศาเซลเซียสและองศาฟาเรนไฮน์
Six's maximum and minimum thermometer
is used for measuring the day's maximum and minimum temperature.
It consists of a U-shaped capillary tube with bulbs at both ends.
The bend of the U-tube is filled with mercury.
One of the bulbs is completely filled with alcohol and the other bulb is partly
filled with alcohol.
The space in the bulb partly filled with alcohol is originally vacuum (but may
contain alcohol vapor later).
The thermometric liquid is alcohol, whose expansion and contraction allow the
change in temperature to be recorded.
Just above the mercury are two dumbbell-shaped steel indices, which are kept
in place by tiny steel springs.
The two dumbbell-shaped steel indices are reset to their initial positions just
above the mercury by means of a horse-shoe magnet.
The maximum temperature
in the Six's thermometer is recorded as follows.
Due to a rise in the temperature during the day, the alcohol in the
completely-filled bulb expands and exerts a pressure on the mercury.
The mercury moves toward the partly-filled bulb and pushes up the index in
the capillary closer to the partly-filled bulb. Thus, the index closer to the
partly-filled bulb records the maximum temperature.
The minimum temperature
in the Six's thermometer is recorded as follows.
Due to a fall in the temperature during the night, the alcohol in the
completely-filled bulb contracts.
The mercury moves toward the completely-filled bulb and pushes up the index
in the capillary closer to the completely-filled bulb. Thus, the index closer to
the completely-filled bulb records the minimum temperature.
วัดขนาดเทอร์โมมิเตอร์ Maximum Minimum
Thermometer ให้ดูครับ
วิธีการใช้งานเทอร์โมมิเตอร์ Maximum
Minimum Thermometer
ก่อนอื่นหากท่านมองไปที่ด้านบนของแอลกอฮอล์ที่อยู่ในหลอดแก้วทั้งสองฝั่ง
แล้วท่านจะพบว่า มันจะมีแถบหรือขีด
อยู่ในหลอดแก้วทั้งสองในลักษณะเช่นนี้ครับ
แถบนี้โดยปกติเมื่อเริ่มต้นการใช้งานเทอร์โมมิเตอร์
แถบนี้ต้องติดกับระดับบนสุดของแอลกอฮอล์ครับ แถบนี้จะเคลื่อนเองไม่ได้ครับ
นอกจากว่าแอลกอฮอล์ในหลอดแก้วเกิดการเคลื่อนที่จึงจะดันให้แถบนี้เคลื่อนที่ขึ้น
เช่นในกรณีที่อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น
แอลกอฮอล์ในหลอดแก้วด้านขวามือจะขึ้นไปสูงขึ้นก็จะดันให้แถบนี้เลื่อนสูงขึ้นไปด้วย
ในทางกลับกันหากอุณหภูมิลดต่ำลงแล้วแอลกอฮอล์ที่อยู่ในหลอดแก้วฝั่งขวามือจะลดต่ำ
ลง แถบนี้ในหลอดแก้วฝั่งขวามือจะยังคงอยู่กับที่ไม่ลดลง(ยังค้างไว้อยู่)
แต่ว่าระดับของแอลกอฮอล์ในหลอดแก้วฝั่งซ้ายมือจะเพิ่มสูงขึ้น
ซึ่งก็จะทำให้แถบนี้ในฝั่งซ้ายมือถูกดันขึ้นไปด้วย
ซึ่งหากอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้งระดับแอลกอฮอล์ในหลอดฝั่งซ้ายมือก็จะลดลง
แต่ว่าแถบนี้ในฝั่งซ้ายมือก็ยังคงอยู่กับที่ไม่ลดลงตาม(คือยังค้างอยู่อย่างนั้น)
ซึ่งแถบที่ยังคงค้างไว้อยู่อย่างนี้ละครับ
ที่จะบอกว่าอุณหภูมิที่ระดับของแอลกอฮอล์ดันไปอยู่ที่อุณหภูมิเท่าใด
ซึ่งความหมายของมันก็คือ
อุณหภูมิที่เปลี่ยนไปนั้นขึ้นไปที่สูงสุดเท่าใดและลดลงในระดับต่ำสุดเท่าใดนั่นเอง
หากท่านมองไปที่ภาพนี้อีกที ท่านจะเห็นว่าอุณหภูมิ ณ ระดับปัจจุบันอ่านได้เท่ากับ
26.5 องศาเซลเซียส แต่แถบนี้ไปค้างอยู่ที่ระดับอุณหภูมิ 28.5 องศาเซลเซียส
นั่นก็หมายความว่าแถบนี้ เคยถูกดันให้ขึ้นมาถึงอุณหภูมิ 28.5 องศาเซลเซียสนั่นเอง
(เพียงแต่ว่าตอนนี้อุณหภูมิลดลงมาแล้ว)
ซึ่งด้วยเหตุที่แถบนี้ถูกค้างไว้เช่นนี้จึงทำให้เราสามารถจดบันทึกอุณหภูมิที่ค้างไว้อยู่
และยังทราบได้ว่าอุณหภูมิของหลอดแก้วทั้งสอง
ฝั่ง เคยขึ้นสูงสุดที่อุณหภูมิเท่าใดและลดลงต่ำสุดที่อุณหภูมิเท่าใดนั่นเอง
ซึ่งนี้จึงเป็นที่มาที่เรียกเทอร์โมมิเตอร์ลักษณะนี้ว่า Maximum Minimum Thermometer
อุณหภูมิที่เปลี่ยนไปนี้ท่านสามารถเลือกได้ครับว่าจะจดบันทึกในระยะเวลาเท่าใดดี
เช่น จดบันทึกเป็นชั่วโมง จดบันทึกเป็นวัน หรือจดบันทึกเป็นสัปดาห์ เป็นต้น
วิธีการรีเซตเทอร์โมมิเตอร์
หรือทำให้แถบนี้มาชนกับระดับบนสุดของแอลกอฮอล์อีกครั้งก็คือ
ให้ท่านยกเทอร์โมมิเตอร์ตั้งขึ้นก่อนแล้วค่อยกดปุ่มตรงกลาง(ปุ่มสีแดง)
ค้างไว้จนแถบนี้ค่อย ๆ เลื่อนลงมาชนกับระดับบนสุดของแอลกอฮอล์อีกครั้ง
ข้อที่ควรระวังสำหรับการใช้ Maximum Minimum Thermometer
1. เทอร์โมมิเตอร์ลักษณะนี้เวลาใช้งานต้องอยู่ในลักษณะตั้งเสมอครับ
วางนอนเพื่อวัดอุณหภูมิไม่ได้ เพราะว่าจะทำการอ่านค่าไม่ตรงตามความเป็นจริง
(แถบจะเคลื่อนที่ผิดไปจากความเป็นจริง)
2. ไม่ควรให้เทอร์โมมิเตอร์กระทบกระเทือนแรง ๆ
เพราะว่าเป็นไปได้ที่แอลกอฮอล์ที่อยู่ในหลอดแก้วจะขาดออกจากกัน
เมื่อใดก็ตามแต่ที่แอลกอฮอล์ที่อยู่ในหลอดแก้วขาดออกจากกันต้องแก้ไขก่อน
ครับ นำไปใช้งานเลยไม่ได้
คือเทอร์โมมิเตอร์แบบนี้ดีที่สุดควรจะอยู่ในลักษณะที่นิ่งที่สุด
เพื่อการวัดที่สมบูรณ์ที่สุด
หรือแม้แต่การเคลื่อนย้ายก็ควรจะทำด้วยความระวังมาก ๆ
ให้กระทบกระเทือนน้อยที่สุด
3. อุณหภูมิที่อ่านได้ในหลอดแก้วทั้งสองฝั่งแล้วในเวลาปัจจุบัน
(Real Time) จำเป็นต้องเท่ากันเสมอครับ
สิ่งที่จะไม่เท่ากันได้คือแถบที่คงค้างไว้อยู่
หากอ่านอุณหภูมิหรือเช็คอุณหภูมิของหลอดแก้วทั้งสองฝั่งแล้วอ่่านได้ไม่เท่ากัน
เทอร์โมมิเตอร์อันนี้นำไปใช้งานไม่ได้ครับ
ต้องมีจุดขาดของปรอทหรือแอลกอฮอล์แน่นอน ตรวจสอบอีกครั้ง
Diurnal temperature variation
หรือ
อุณหภูมิที่เปลี่ยนไปในระหว่างวัน หรือช่วงเวลาใด ๆ ที่กำหนด
มีผลอย่างมากต่อการตัดสินใจทำอย่างใดอย่างหนึ่งลงไปว่าสิ่งนั้น
สมควรที่จะทำหรือไม่ เช่น การเลือกพืชที่จะเพาะปลูกในสถานที่หนึ่ง
ๆ การตัดสินใจเก็บเกี่ยวผลผลิต เช่น
อุตสาหกรรมการปลูกองุ่นเพื่อทำไวน์
อุณหภูมิของอากาศที่เปลี่ยนไปมีผลต่อ
ระดับน้ำตาลและกรดในองุ่นเป็นอย่างมาก
เมื่อใดที่องุ่นสัมผัสกับแสงแดดก็จะทำให้มันผลิตน้ำตาลได้มาก
ในขณะที่อากาศที่เย็นลงก็จะมีผลต่อระดับกรด(Acid)
ในองุ่นซึ่งมีส่วนสำคัญกับรสชาดของไวน์ที่จะผลิตขึ้น
การเลือกว่าควรจะทำกิจกรรมอะไรในสถานที่นั้น ๆ
สถานที่บางสถานที่ในช่วงเวลาเพียงแค่ 24 ชั่วโมง
สามารถมีอุณหภูมิที่แตกต่างกันผันผวนได้มากอย่างไม่น่าเชื่อ
เช่นในแถบทะเลทราย
หรือบางพื้นที่บนโลกก็สามารถจะมีอุณหภูมิที่แตกต่างกันในระหว่าง
วันมากได้ถึง 57 องศาเซลเซียสก็เคยมีครับ บันทึกสถิติได้ในปี
ค.ศ.1916 ที่ National Park Service Browning, Montana
อุณหภูมิสูงสุดของวันอยู่ที่ 8 องศาเซลเซียส
แต่อุณหภูมิต่ำสุดของวัน(วันเดียวกันนั้นเอง) อยู่ที่ ติดลบ 49
องศาเซลเซียส
ในขณะเดียวกันบางพื้นที่บนโลกกลับมีอุณหภูมิที่ค่อนข้างคงที่ไม่
เปลี่ยนแปลงมากจนเกินไปนัก
ซึ่งประเทศไทยเราก็จัดเป็นหนึ่งในประเทศเหล่านี้
หรือบางพื้นที่อื่นบนโลก อาทิเช่นในเขตเมืองของฮ่องกง
อุณหภูมิสูงสุดต่ำสุดของวันผันผวนอยู่แค่ 4 องศาเซลเซียสเอง
คลิปที่น่าสนใจ
ท่านครับ สำหรับเทอร์โมมิเตอร์แบบ Maximum Minimum
ชนิดที่เป็นแอลกอฮอล์แล้ว สิ่งที่เป็นปัญหาหนึ่งที่น่าสนใจและมักจะเกิดขึ้น
(ค่อนข้างบ่อย) คือมันจะเกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า แอลกอฮอล์ขาด
เหตุการณ์เช่นนี้ อาการก็คือ
ในหลอดแก้วของเทอร์โมมิเตอร์แอลกอฮอล์ที่อยู่ด้านในไม่เชื่อมต่อกันเป็นเนื้อ
เดียวกันทั้งเส้น แต่ขาดออกเป็นช่วง ๆ สั้นบ้างยาวบ้าง
หรือหนักกว่านั้นคือ
แตกออกเป็นหยด ๆ ถ้าอาการเป็นหยด ๆ แล้วก็คงจะค่อนข้างหนัก
การซ่อมแซมเทอร์โมมิเตอร์ที่ขาดไม่เป็นแล้ว เป็นเรื่องใหญ่ครับ
ยิ่งหากไปถามผู้จำหน่ายแล้วมักจะถูก Recommended Buy
หรือแนะนำให้ซื้อใหม่ หรือหากว่าท่านกำลังทำงานอยู่ในภาคสนามไกล ๆ แล้ว
บางทีการออกมาซื้อใหม่คงไม่ค่อยสะดวกนัก
มีคลิปอยู่คลิปหนึ่งครับ ที่เป็นเทคนิคง่าย ๆ
และเป็นเทคนิคพื้นฐานในการซ่อมแซมเทอร์โมมิเตอร์ที่ขาดให้กลับมาต่อหรือ
เชื่อมกันใหม่อีกครั้ง คลิปนี้น่าสนใจและมีประโยชน์มาก ๆ เลยครับ
นำไปใช้จริงแล้วแก้ไขได้จริง ๆ ด้วย ให้ท่านชมดูก่อนครับ
ในคลิปนี้อธิบายได้ง่าย ๆ ดังนี้ครับ คือ แรก ๆ
ก็คือท่านตั้งเทอร์โมมิเตอร์ในระดับ 90 องศาก่อน
แก้ไขโดยใช้ความเย็นเข้าช่วย ก็คือ ให้ใช้น้ำแข็งธรรมดา
หรือหากว่าเป็นเทอร์โมมิเตอร์ที่มีช่วงของการติดลบมาก ๆ เช่น ลบ 30 องศาลงไป
ฃอันนี้อาจจะต้องใช้น้ำแข็งแห้ง(ก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์แข็ง)
ให้ท่านสังเกตุในคลิปด้วยว่าเขาจะไม่จุ่มลงไปตรง ๆ ทีเดียวแล้วแช่ไว้นาน ๆ
อันนี้เขาก็ได้อธิบายไว้แล้วครับว่ามันอาจจะทำให้เทอร์โมมิเตอร์ของเราแตกหรือชำรุดได้
เพราะว่าโดนความเย็นจัดจนเกินกำลังเป็นเวลานาน แต่ว่าเขาจะใช้วิธีแช่แล้วยกขึ้น
แช่แล้วยกขึ้น(ดูในคลิปครับ) แล้วอย่าลืมสะบัดไปด้วย
วิธีนี้เขาอธิบายว่าจะเหมาะสำหรับการแก้ไขเทอร์โมมิเตอร์แบบปรอท
(หรือผมว่าบางทีแบบแอลกอฮอล์ก็คงจะแก้ได้เช่นกัน)
คือหากว่าท่านทำอย่างถูกต้องถูกวิธีแล้ว
สุดท้ายแล้วปรอทจะลงไปรวมกันเป็นจุดเดียวที่ด้านล่างสุดที่ปลายกระเปาะครับ
โดยที่เทอร์โมมิเตอร์ของเราก็ยังเป็นปกติไม่เสียหายไม่แตก
แก้ไขโดยการใช้ความร้อนเข้าช่วย อันนี้เขาใช้ตะเกียงแก๊สในการแก้ไขครับ
แต่คำอธิบายก็คือ อย่านำปลายกระเปาะของเทอร์โมมิเตอร์เข้าไปลนกับไฟตรง
ๆ ครับ เพราะมิเช่นนั้นแล้วเทอร์โมมิเตอร์ของท่านแตกแน่นอน
ก่อนอื่นคือให้ลนที่หัวของเทอร์โมมิเตอร์ก่อน
แล้วจากนั้นจึงค่อยนำปลายของเทอร์โมมิเตอร์ไปเข้าใกล้กับเปลวไฟ
แล้วดึงออกมา(ดูในคลิปครับ) ให้ทำหลาย ๆ ครั้ง
แล้วอย่าลืมกระทบเทอร์โมมิเตอร์อย่างเบา ๆ กับโต๊ะ หลาย ๆ ครั้ง
หากว่าท่านทำอย่างถูกต้องถูกวิธีแล้ว
เทอร์โมมิเตอร์ของท่านก็จะกลับมารวมกันได้อีกครั้งครับ
อย่าลืมเรื่องความปลอดภัยเวลาปฎิบัติการแก้ไขด้วยครับ
สวมถุงมือกันสารเคมีความร้อนแล้วแว่นตากันสารเคมีด้วยครับ
หรือหากว่าเทอร์โมมิเตอร์นี้เป็นแบบ Maximum Minimum แล้ว ผมเจอคลิปนี้ครับ
เป็นคลิปจากประเทศมาเลเซียครับ ผมดูแล้วไปลองทำดู ใช้ได้ครับ ได้ผลจริง หายจริง
มีประโยชน์มาก ๆ ครับ และใช้อุปกรณ์ที่หาได้ง่าย ๆ ประกอบไปกับเทคนิคง่าย ๆ
ที่ผมเองบางทีก็มองข้ามไป ลองชมดูครับ มีประโยชน์จริง ๆ
สรุปจากคลิปครับ
คือตอนแรกคือให้ใช้แม่เหล็กมาดูดเพื่อเลื่อนแถบเข็มบอกระดับอุณหภูมิสูงสุดหรือต่ำสุด
ให้ขึ้นไปด้านบนสุดก่อนครับ
จากนั้นก็ให้นำไดร์เป่าผม ปรับไปที่ปุ่มเป่าร้อนครับ มาเป่าตามที่เห็นในคลิปครับ
เป่าหลาย ๆ จุด ซึ่งแน่นอนว่าเทอร์โมก็จะขยายตัวออก
จากนั้นก็ให้ท่านจับเทอร์โมมิเตอร์ อันนี้ย้ำว่าต้องจับให้ถูกต้องครับ
หากไม่งั้นแล้วจะเป็นการจับที่ผิดวิธีแล้วจะทำให้แก้ไขไม่ได้
ก็คือให้ท่านจับตรงบริเวณด้านหัวของเทอร์โมมิเตอร์ให้อยู่ในอุ้งฝ่ามือ(ตามภาพ)
โดยให้หน้าของเทอร์โมมิเตอร์หันออกครับ ห้ามหันหน้าเข้าเด็ดขาด
ยื่นเทอร์โมมิเตอร์ไปข้างหน้าแล้ว สะบัดลงครับ สะบัดหลาย ๆ
ครั้งแล้วสังเกตุดูว่ามันหายเป็นปกติไหม หากไม่หายให้ลองทำใหม่อีกครั้ง
คือให้ใช้ไดร์เป่าร้อนเป่า แล้วสะบัดอีกครั้ง
อันนี้ผมทดลองทำดูเองแล้วพบว่า
เวลาที่สะบัดต้องสะบัดให้มีความแรงพอควรครับ
หากสะบัดไม่แรงแล้วไม่เป็นผลแอลกอฮอล์จะไม่มารวมกัน
คือก่อนอื่นท่านต้องจับเทอร์โมมิเตอร์ให้แน่นก่อน กันการหลุดมือ
จากนั้นให้สะบัดลงโดยวิธีการสะบัดที่ถูกต้องก็คือมันจะต้องมีเสียงแหวกอากาศ
ระหว่างเทอร์โมมิเตอร์และอากาศ ดังขึ้นจึงจะเรียกว่าสะบัดใช้ได้ถูกวิธี
อันนี้ผมเองลองสะบัดดูสัก 15 - 20 ครั้งครับ หาย เป็นปกติอีกครั้ง
แต่ว่า Maximum Minimum เทอร์โมของผมผมไม่ต้องเป่าด้วยไดร์เป่าผมเลยครับ
ใช้การสะบัดอย่างเดียวก็หายเป็นปกติได้ แต่เทอร์โมของผมจะเป็นแบบปรอทครับ
ซึ่งหากท่านสนใจ Maximum Minimum Thermometer แบบปรอทแล้ว
ผมมีสินค้าเช่นกันครับ ไปชมได้ครับ ใช้ได้เที่ยงตรงและแก้ไขได้ง่าย ๆ หากเกิดปัญหา