มิเตอร์วัดอุณหภูมิและความชื้นแบบอนาล็อกเข็มวัดรุ่น 7540
ยี่ห้อ SATO Model HIGHEST I
6,500.- สนใจผลิตภัณฑ์ ผมอนันต์ครับ Tel.0868910596
ท่านครับมีมิเตอร์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้วัดอุณหภูมิและความชื้นอยู่รุ่นหนึ่งที่มี
ความน่าสนใจเช่นกัน
มิเตอร์วัดความชื้นและอุณหภูมิรุ่นนี้เป็นผลิตภัณฑ์ของญี่ปุ่น ยี่ห้อ SATO
ความน่าใช้งานของมันก็คือกลไกภายในเครื่องนี้ที่ตรึงกับเข็มวัด(Pointer)
จะทำด้วยมัดเส้นผมของมนุษย์(Human Hair Bundle)
เส้นผมเส้นขนของมนุษย์และสัตว์ไวต่อการเปลี่ยนแปลงความชื้นและอุณหภูมิ
ครับ จากการทดลองทางวิทยาศาสตร์แล้ว พบว่า
เส้นผมของมนุษย์จะยืดและหดเมื่อความชื้นของสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป
เช่นสภาพเส้นผมในฤดูร้อนจะต่างจากสภาพของเส้นผมในฤดูหนาวอย่างเห็น
ได้ชัด
คือหากอากาศมีความชื้นมากผมมนุษย์จะขยายยาวขึ้นและหากว่าความชื้นลดลง
ผมของมนุษย์ก็จะหดสั้นลง
ซึ่งมนุษย์ใช้การสังเกตุสิ่งนี้และนำมาประยุกต์ใช้กับมิเตอร์แบบนี้ได้นะครับ
ภาพด้านบนและล่างนี้ผมวัดขนาดของหน้าปัทม์มิเตอร์ให้ดูครับ
สำหรับสารที่อยู่ในเทอร์โมมิเตอร์ของเครื่องที่เห็นเป็นสารสีแดง
จะเป็นสารแอลกอฮอล์ครับ
ส่วนประกอบชิ้นต่าง ๆ ของเครื่อง
หมายเลข 1 จะเรียกว่า Scale Plate หรือก็คือสเกลนั่นเองครับ
ความละเอียดที่อ่านได้คือ 1 เปอร์เซ็นต์
หมายเลข 2 จะเรียกว่า Pointer หรือก็คือเข็มวัดนั่นเอง
เข็มวัดนี้จะถูกผูกกับมัดเส้นผมที่อยู่ด้านในของเครื่องครับ
หมายเลข 3 จะเรียกว่า เทอร์โมมิเตอร์ของเครื่อง
หมายเลข 4 จะเรียกว่า Hook หรือขอเกี่ยวไว้แขวนกับผนังหรือเพดานครับ
มิเตอร์รุ่นนี้เวลาท่านจะเริ่มต้นใช้งานจำเป็นต้องดึงฝาจุกสีขาวที่เห็นอยู่ที่
ด้านหลังเครื่องออกก่อนนะครับ
เพราะว่าจุดนี้จะเป็นทางเข้าของอากาศที่จะเข้าไปสู่ตัวเครื่องเพื่อทำการวัด
และอีกจุดหนึ่งที่จะเป็นทางเข้าของอากาศเช่นกันก็คือ
รูที่เห็นอยู่ด้านข้างของตัวเครื่องครับ
คุณลักษณะของมิเตอร์วัดความชื้นรุ่นนี้โดยรวม
ข้อควรระวังในการติดตั้งมิเตอร์วัดความชื้นและอุณหภูมิแบบเข็ม
ที่ถูกต้องแล้ว ทางผู้ผลิตมิเตอร์วัดอุณหภูมิและความชื้นแบบเข็ม
เขาจะเจาะจงมาเลยว่าท่านควรจะติดตั้งในลักษณะที่ตั้งฉากกับพื้นห้อง(ตามรูป)
หรือก็คือติดตั้งให้อยู่ในแนวเดียวกับแรงโน้มถ่วงของโลก
การติดตั้งแบบวางนอนกับพื้นผิว หรือ แบบเอียง ๆ เฉียง ๆ ใช้ไม่ได้นะครับ
เพราะมันจะทำให้การอ่านค่าของมิเตอร์ผิดไปจากความเป็นจริง
เหตุเพราะมิเตอร์นี้ทางผู้ผลิตเขาคาลิเบรตมิเตอร์มาในลักษณะที่ตั้งฉากกับพื้น
ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการติดตั้งมิเตอร์ที่ถูกวิธีก็เช่น
ห้ามติดตั้งมิเตอร์ในจุดที่เกิดการสั่นสะเทือนตลอดเวลา
เช่นติดตั้งบนเครื่องจักรที่กำลังทำงาน
เพราะจะทำให้การทำงานของมิเตอร์ผิดพลาดได้เนื่องจากปัจจัยกลภายนอกที่
ไม่เกี่ยวกับอากาศที่เปลี่ยนไป
ห้ามติดตั้งมิเตอร์ในจุดที่รับกับแสงอาทิตย์โดยตรง
หรือใกล้กับเตาความร้อนเพราะว่าปัจจัยเรื่องความร้อนที่ผิดไปจากอากาศปกติ
จะมีผลต่อการอ่านค่าของเครื่องได้
ห้ามติดตั้้งมิเตอร์ในจุดที่มีไอระเหยของกรดเข้มข้นหรือด่างเข้มข้น
เพราะว่าจะมีผลต่อการอ่านค่าของมิเตอร์ได้เช่นกันครับ
Dew Point Temperature and Relative Humidity
ท่านครับ สำหรับคำอธิบายเรื่องจุด Dew Point
หรือจุดที่ไอน้ำอิ่มตัวที่สุดและจะทำให้เกิดเหตุการณ์ฝนตก หรือหิมะตก
มีคนถามผมมากทีเดียวว่ามันคืออะไร อธิบายอย่างไรใช้เหตุผลอะไรมาประกอบ
อันนี้ผมดูมาแล้วหลาย ๆ คลิป
แต่มีอยู่คลิปหนึ่งที่ผมดูแล้วทำให้เข้าใจได้ง่ายดายที่สุด ผมดูที่คลิปนี้ครับ
ฝากให้ท่านชมครับ
ในตอนครึ่งหลังของคลิปเขาอธิบายวิธีการใช้กราฟการอ่านกราฟอย่างง่าย ๆ
อีกด้วยครับ มีประโยชน์ดีจริง ๆ เข้าใจง่ายด้วย
ในคลิปนี้เขาอธิบายว่า
อากาศที่อุ่นกว่าหรืออากาศร้อนจะสามารถเก็บน้ำหรือไอน้ำ
ได้มากกว่าอากาศที่อุ่น
น้อยกว่าหรืออากาศที่เย็น ความชื้นสัมพันธ์ หรือ Relative Humidity
จะนิยามถึงปริมาณเปอร์เซ็นต์ของไอน้ำในกาศในขณะนั้นที่อยู่ในอากาศใน
ขณะนั้น ๆ และอุณหภูมินั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น
ถ้าหากอากาศในสถานที่แห่งหนึ่งมีอุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส
หากว่าจะเติมไอน้ำลงไปในอากาศให้ได้มากที่สุดจนกระทั่งอากาศมีความชื้นสูง
ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ คือ 100 เปอร์เซ็นต์ หรือ 100 % Relative Humidity
ท่านจะสามารถเติมน้ำหรือไอน้ำลงไปในอากาศได้มากที่สุด
ไม่เกินกว่า 15 กรัมต่อ 1 กิโลกรัมของอากาศ
พูดง่าย ๆ ก็คือที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียสซึ่งมีไอน้ำในอากาศ 15 กรัม
จะเรียกว่าเป็นจุด Dew Point หรือจุดที่อากาศเต็มอิ่มไปด้วยไอน้ำแล้ว
ไม่สามารถรับไอน้ำเพิ่มได้อีกต่อไปแล้ว
ซึ่งหากท่านพยายามไปเพิ่มน้ำลงไปในอากาศที่อุณหภูมิ 20
องศาเซลเซียสนี้อีกให้มากกว่า 15 กรัมต่อ 1 กิโลกรัมของอากาศแล้ว
อากาศที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียสนี้ จะไม่สามารถรับน้ำได้อีกต่อไป
คือไอน้ำในอากาศมันจะตกหรือกลั่นตัว(Condense)
ลงมาเป็นฝนหรือไม่เช่นนั้นก็จะเป็นหิมะ, น้ำแข็ง ฯลฯ
ในอีกทิศทางหนึ่ง หากอากาศในขณะนั้นมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น
เช่นมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นเป็น 32 องศาเซลเซียสแล้ว
อากาศที่อุณหภูมินี้จะสามารถรับน้ำหรือไอน้ำได้มากกว่า 15 กรัมต่อ
1 กิโลกรัมของอากาศครับ
คืออากาศที่อุณหภูมิ 32 องศาเซลเซียสแล้ว ปริมาณน้ำแค่ 15
กรัมนี้จะทำให้อากาศมีความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity)
มีอยู่เพียงแค่ 50 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น แทนที่จะเป็น 100
เปอร์เซ็นต์เหมือนกับตอนที่อากาศมีอุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส
หรือหากว่าอากาศเย็นลง เช่นอุณหภูมิของอากาศลดลงเหลือเพียง 10
องศาเซลเซียสอากาศที่อุณหภูมินี้จะสามารถจุน้ำได้มากที่สุดเพียงแค่ 8 กรัมต่อ
1 กิโลกรัมของอากาศเท่านั้น
ฉะนั้นแล้วปัจจัยที่จะทำให้เกิดเหตุการณ์การกลั่นตัวแล้ว คือความชื้นในอากาศ
ต้องมากหรือมิเช่นนั้นอีกปัจจัยก็คือ อุณหภูมิอากาศลดลง
(โดยที่ความชื้นในอากาศมีมาก ๆ )
MOLLIER Diagram
ถ้าพูดถึงเรื่องของอากาศแล้วบนโลกใบนี้ มี 3 สิ่ง
ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างมาก จนไม่สามารถจะแยกออกจากกันได้ นั่นคือ
1. ปริมาณของไอน้ำในอากาศขณะนั้น
2. อุณหภูมิในอากาศขณะนั้น และ
3. ความชื้นในอากาศขณะนั้น
ทั้งนี้หากท่านทราบ 2 สิ่งแล้วท่านจะสามารถทราบสิ่งที่ 3 ได้ จากการดูกราฟ
จากกราฟ แกนตั้งกราฟด้านซ้าย(แกน Y)
มือจะหมายถึงอุณหภูมิของอากาศในขณะนั้น ส่วนแกนนอนด้านบน(แกน X)
จะหมายถึง ปริมาณไอน้ำในขณะนั้นที่เป็นกรัมต่ออากาศในหน่วยกิโลกรัม
ส่วนเส้นเอียง ๆ จะเป็นตัวแทนของความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศในขณะนั้น
ลองดูสัก 2 ตัวอย่างโจทย์ครับ จะเข้าใจดีขึ้น
โจทย์ข้อ 1 หากว่าอากาศในขณะนั้นมีปริมาณไอน้ำในอากาศ 8.8
กรัมต่อ 1 กิโลกรัมของอากาศ ทั้งนี้แล้วอากาศในขณะนั้นมีอุณหภูมิ 20
องศาเซลเซีึยสแล้ว คำถามคืออากาศขณะนี้มีจะความชื้นสัมพัทธ์เท่าใด
วิธีทำก็คือให้ท่านลากเส้นโดยเิริ่มจากแกนนอนที่ 8.8 ลากลงมาจนเจอเลข
20 ทางด้านซ้ายมือแนวตั้ง กราฟตัดกันที่จุดใดหรือเส้นใด
เส้นนั้นก็คือความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศในขณะนั้นนั่นเอง
ซึ่งในที่นี้อ่านได้เท่ากับ 60 เปอร์เซ็นต์
ที่ปริมาณไอน้ำในอากาศ 15 กรัมต่อกิโลกรัมของอากาศ
หากว่าจะทำให้เกิดการฝนตก หรือพูดง่าย ๆ
ก็คือให้อากาศมีความชื้นสัมพัทธ์เท่ากับ 100 เปอร์เซ็นต์ แล้ว
ท่านจะต้องลดอุณหภูมิให้เหลือเพียง 20 องศาเซลเซียส
ฝนหรือหิมะจึงจะตกลงมาได้ หรือที่อุณหภูมิ ณ จุดนี้ก็คือจุด Dew Point นั่นเอง