Whirling Hygrometer with folding Handle, Whirling Psychrometer
Hygrometer หรือเครื่องวัดความชื้นในอากาศมีหลากหลายรูปแบบ
ไซโคมิเตอร์ จัดเป็น Hygrometer
อีกชนิดหนึ่งออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับการวัดความชื้นของอากาศเช่นกัน
ลักษณะของมันจะคล้าย ๆ กับ Wet Bulb Dry Bulb Thermometer
(ตามรูป)
Wet Bulb Dry Bulb Thermometer
ไซโคมิเตอร์
ลักษณะของมันคือเป็น Wet Bulb Dry Bulb Thermometer
ที่ออกแบบมามีด้ามมือจับ เจตนาเพื่อให้เหวี่ยงหรือหมุนได้
(ตามรูปด้านล่าง) ทั้งนี้แล้วยังคงความเป็น Wet Bulb Dry Bulb
Thermometer เอาไว้คือ ยังคงมีเทอร์โมมิเตอร์สองอัน
คือเทอร์โมมิเตอร์กระเปาะเปียกซึ่งต้องเติมน้ำลงไปในกระเปาะ
และเทอร์โมมิเตอร์กระเปาะแห้ง
จุดนี้เป็นที่ใส่น้ำลงไปในกระเปาะเปียก สำหรับไซโคมิเตอร์รุ่นนี้ครับ
เปิดฝาออกแล้วเติมน้ำกลั่นลงไปให้ชุ่มก็ใช้ได้
แล้วถามว่าระหว่าง Wet bulb Dry bulb Thermometer ต่างจาก
ไซโคมิเตอร์อย่างไร
คำตอบคือทั้งสองชนิดสามารถอ่านและวัดค่าความชื้นในอากาศได้เหมือน
ๆ กัน แต่ว่า ไซโคมิเตอร์จะสามารถจะอ่านและจดบันทึกค่าได้เร็วกว่า
และเหมาะที่จะพกพาออกไปวัดความชื้นอากาศภายนอกสถานที่มากกว่า
ปกติแล้วถ้าเป็น Wet Bulb Dry Bulb Thermometer
หากเรานำเครื่องมาใช้ใหม่ ๆ
หลังจากที่ใส่น้ำลงไปในรางกระเปาะเปียกแล้ว
จะต้องรอเวลาสักอย่างน้อย 20 - 30
นาทีจึงจะถึงเวลาเหมาะต่อการอ่านค่า
โดยปกติแล้วอุณหภูมิในกระเปาะแห้งจะสามารถอ่านค่าได้แทบจะทันที
แต่ว่าอุณหภูมิในกระเปาะเปียกนั้นจำเป็นต้องรอให้เทอร์โมมิเตอร์ทำงาน
อย่างเสถียรเสียก่อนจึงจะสามารถอ่านค่าได้
เพราะมิเช่นนั้นจะอ่านค่าได้ไม่ถูกต้องนักหากไปบันทึกค่าเร็วจนเกินไป
เช่นหลังจากเติมน้ำลงไปในรางกระเปาะแห้งแล้ว รอเพียง 2 - 3
นาทีก็จดบันทึกค่าแล้ว(ค่าที่ได้อาจจะยังไม่เสถียรนัก)
แต่ถ้าหากเป็นไซโคมิเตอร์แล้ว
การเหวี่ยงของเครื่องจะเป็นการกระตุ้นหรือเร่งการทำงานของกระเปาะ
เปียกซึ่งตรงนี้นี่เองที่เป็นการลดทอนเวลาที่จะต้องรอเพื่ออ่านค่า
อย่างน้อย 20 - 30 นาทีลงไป ให้เหลือเพียงแค่ 5 นาทีได้
(ส่วนกระเปาะแห้งอ่านค่าได้เลย) ซึ่งนี่เป็นจุดดีของไซโคมิเตอร์
ทั้งนี้ยังเหมาะกว่าที่จะนำออกไปวัดสภาพอากาศภายนอกสถานที่ต่าง ๆ
อีกด้วย ไม่เพียงเท่านั้น ความเที่ยงตรงมีค่อนข้างมาก
หากวัดอย่างถูกวิธีแล้ว
เพราะไซโคมิเตอร์มันก็คือเทอร์โมมิเตอร์แบบปรอทธรรมดานี่เอง
ไม่ใช่อุปกรณ์ิดิจิตอล จึงอ่านค่าได้ค่อนข้างตรงและเชื่อถือได้สูง
คำถามต่อไปก็คือ แล้ว ไซโคมิเตอร์นั้น มีวิธีการใช้งานอย่างไร
และควรจะวัดให้ได้ลักษณะไหน จึงจะเป็นวิธีการใช้งานที่ถูกต้องที่สุด
ค่าที่จดบันทึกได้จึงจะมีความน่าเชื่อถือมากที่สุด
อันนี้ผมมีคลิปอยู่คลิปหนึ่งที่น่าสนใจมาก ๆ ครับ
เพราะมันเป็นวิธีการใช้ไซโคมิเตอร์อย่างถูกวิธี
ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ไม่เคยใช้งานมาก่อนจะพีงศึกษา
ลองชมคลิปครับ แล้วผมจะอธิบายตาม
ในคลิปเขาอธิบายวิธีการใช้งาน ไซโคมิเตอร์ตั้งแต่ต้นจนจบครับ
โดยวิธีที่ถูกต้องคือ
1. เปิดฝาของช่องเติมน้ำในกระเปาะเปียกออกก่อน
จากนั้นเติมน้ำลงไปให้ชุ่ม
2. เหวี่ยงไซโคมิเตอร์อย่างช้า ๆ
ทั้งนี้ให้รอบของการเหวี่ยงสม่ำเสมอที่สุดคือ โดยประมาณ 2
วินาทีต่อรอบและอย่าลืมว่าเวลาเหวี่ยงนั้นที่ถูกต้องแล้วไซโคมิเตอร์ควร
จะอยู่ห่างตัวคนเหวี่ยงพอสมควรด้วย(ตามรูป)
เหตุผลเพื่อมิให้อุณหภูมิในร่างกายและรอบ ๆ
ร่างกายของคนเหวี่ยงไปมีผลต่อค่าที่เทอร์โมมิเตอร์ในไซโคมิเตอร์จะ
บันทึกได้
การเหวี่ยงในลักษณะนี้อย่างต่อเนื่องมีผลทำให้น้ำค่อย ๆ
ระเหยออกจากกระเปาะเปียกไปเรื่อย ๆ
ตามแรงเหวี่ยงและสภาพอากาศในขณะนั้น
ผ่านไปสักประมาณ 1 - 2 นาที ให้ท่านหยุดเหวี่ยงก่อน
ลองจดบันทึกค่าอุณหภูมิของกระเปาะเปียกที่อ่านค่าได้
(ในที่นี้อ่านได้เ่ท่ากับ 24 องศาเซลเซียส)
จากนั้นให้เหวี่ยงต่อไปอีกสัก 1 - 2 นาที
จดบันทึกค่าที่อ่านได้จากอุณหภูมิในกระเปาะเปียกอีกครั้ง
ตรงนี้สำคัญนะครับ
คืออุณหภูมิในกระเปาะเปียกที่ท่านอ่านได้ที่ถูกต้องที่สุดแล้ว
อุณหภูมิในกระเปาะเปียกควรจะเท่ากันทั้งสองครั้งที่จดบันทึกครับ
หากว่ามันไม่เท่าักันแล้ว
อันนี้แปลว่าอุณหภูมิในกระเปาะเปียกยังไม่เสถียรต้องทำการเหวี่ยงใหม่
คือต้องเหวี่ยงและจดบันทึกค่าอุณหภูมิในกระเปาะเปียกจนกว่ามันจะเท่า
กันทั้งสองครั้ง จึงจะเป็นการใช้ได้(คือเหวี่ยงสัก 1 - 2 นาทีแล้วจดบันทึก
จากนั้นเหวี่ยงอีกแล้วบันทึกอีก)
หลังจากที่อุณหภูมิในกระเปาะเปียกเสถียรและบันทึกค่าไปแล้ว
ให้ท่านบันทึกค่าอุณหภูิมิที่อ่านได้ในกระเปาะแห้งต่อไปครับ
ในที่นี้อ่านค่าอุณหภูมิในกระเปาะแห้งได้เท่ากับ 30 องศาเซลเซียส
อันนี้เป็นอีกข้อสังเกตุครับว่า
อุณหภูมิของกระเปาะแห้งที่ถูกต้องแล้วก็ควรจะถูกตรวจสอบเช่นกันว่า
สองครั้งที่เหวี่ยงนั้นได้ค่าที่ตรงกันหรือไม่
ซึ่งที่ถูกต้องแล้วมันควรจะต้องตรงกันด้วยครับ
อันดับต่อไปก็คำนวนค่าความต่างของอุณหภูมิทั้ง 2
กระเปาะแล้วนำไปเทียบค่าเปอร์เซ็นต์ความชื้น 30 - 24 = 6
องศาเซลเซียส(ตามตารางด้านล่าง)
แล้วนำไปเทียบค่าในตารางก็จะได้ค่าเปอร์เซ็นต์ความชื้นในอากาศขณะ
นั้นออกมา
ซึ่งในกรณีนี้เปอร์เซ็นต์ของความชื้นในอากาศขณะนั้นจะเท่ากับ
61 เปอร์เซ็นต์ครับ
สนใจผลิตภัณฑ์ Whirling Psychrometer (2,900 Baht)
ผมอนันต์ครับ Tel.0868910596