ปืนตรวจวัดอุณหภูมิอินฟาเรด Model Fluke62
Max และ Model Fluke62 Max Plus
หลาย ๆ ครั้งที่ผมถูกถามถึงปืนวัดอุณหภูมิแบบอินฟาเรด
ซึ่งบางท่านกำลังมองหาสินค้าที่มียี่ห้อ ตรงนี้กระผมแนะนำเป็นยี่ห้อ
Fluke ครับ สินค้านี้จำหน่ายทั่วโลก และจำหน่ายได้ค่อนข้างดี
ทั้งนี้แล้วราคาก็ตามความมียี่ห้อไปด้วยครับ
Fluke รุ่น Fluke 62 ธรรมดา
ดูเหมือนว่าปัจจุบันนี้จะตกรุ่นแล้วครับ
เพราะว่าผลิตภัณฑ์ใหม่ของปืนวัดอุณหภูมิยี่ห้อ Fluke
แล้วจะออกมาอีกให้ท่านเลือกได้ 2 รุ่น คือ รุ่น Fluke62 Max
และรุ่น Fluke62 Max+
ทั้งนี้แล้วสเปคสินค้าและความแตกต่างของทั้งสองรุ่นนี้กระผมได้ทำ
สรุปไว้ที่ตารางด้านล่างแล้วครับ
ถ้าท่านสนใจผลิตภัณฑ์แล้วสามารถติดต่อผมได้ครับ
ผมอนันต์ครับ Tel.0868910596
คุณสมบัติที่แตกต่างกันระหว่างปืนวัดอุณหภูมิทั้ง
สองรุ่นนี้เป็นดังนี้ครับ
ช่วงการวัดอุณหภูมิแล้ว รุ่น 62 max+
จะไปได้ไกลกว่าครับคือไปได้ถึง 650 องศาเซลเซียส
ทั้งนี้ความแม่นยำ(Accuracy) ก็ดูเหมือนจะมากกว่าด้วย
การตอบสนองต่อการวัดก็มากกว่า ค่า D:S หรือ Distance to
Spot Ratio ก็มากกว่าด้วยคือได้ถึง 12:1 ทั้งสองรุ่นใช้ถ่าน 2A
เป็นแหล่งพลังงานครับ
สนใจผลิตภัณฑ์ ผมอนันต์ครับ Tel.0868910596
ในที่นี้ผมจะขอสาธิตการใช้งานปืนวัดอุณหภูมิ
รุ่น Fluke 62 Max ครับ
หน้าตาของเครื่องจะเป็นดังนี้
หน้าจอจะมีแสงไฟ(Backlight) ให้ด้วย สามารถวัดได้ทั้งหน่วย องศาเซลเซียส
หรือฟาเรนไฮน์ ตั้งค่า EMS(Emissivity ได้) สามารถวัดแบบแสกนอุณหภูมิได้
โดยการกดปุ่มวัดค้างไว้ แล้วหาค่า Max, Min, AVG ได้
มีแสงเลเซอร์ให้หรือจะปิดไม่ใช้ก็ได้ครับ
สิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานปืนวัดอุณหภูมิที่มีฟังก์ชั่นการใช้
งานที่ค่อนข้างดีก็คือ ถ้าหากท่านกดปุ่มวัดอุณหภูมิค้างไว้(ไม่ปล่อยมือ)
นั่นจะหมายถึงเครื่องจะตรวจวัดไปตลอดเวลาซึ่งจะมีคำหนึ่งปรากฎขึ้นที่
หน้าจอคือคำว่า Scan กรณีนี้สำคัญครับ
คือในกรณีที่เครื่องวัดรุ่นที่สามารถหาค่าอุณหภูิมิ Max, Min, Avg
หรือค่า Dif ได้แล้วการวัดแบบ Scan นี้จะทำให้ท่านวัดค่าเหล่านี้ได้
ซึ่งหลาย ๆ ท่านจะค่อนข้างสงสัยว่าค่าเหล่านี้คืออะไร หมายถึงอะไร
และมีวิธีใช้กันอย่างไร ค่า Max คือค่าอุณหภูมิสูงสุดที่เครื่องจับวัดได้
ค่า Min คือค่าอุณหภูมิต่ำสุดที่เครื่องจับวัดได้ ค่า AVG
คือค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิ ส่วนค่า Dif
คือค่าความต่างระหว่างอุณหภูมิสูงสุดกับต่ำสุด
วิธีใช้งานก็คือให้ท่านกดปุ่มวัดค้างไว้แล้วกวาดพื้นที่การวัดไปเรื่อย ๆ
ตามจุดที่ท่านต้องการจะวัด หรือแม้แต่ว่าจะวัดเพียงแค่จุดเดียวก็ตามแต่
ก็ให้ท่านกดปุ่มวัดค้างไว้สักครู่ เช่นกดค้างไว้สัก 10 วินาที
แล้วปล่อยมือออก จากนั้นให้กดที่ปุ่ม ซ้ายสุด(Sel)
ท่านก็จะทราบได้ถึงค่า Max, Min, Avg, Dif ได้ พูดง่าย ๆ
ก็คือการกดและปล่อยทุกครั้งจะหมายถึงการหาค่าเหล่านี้ใหม่ ๆ นั่นเอง
(กดครั้งต่อไปก็คือเป็นการหาค่า Max, Min, Avg, Dif ครั้งใหม่นั่นเอง)
ถ้าจะถามว่าการวัดแบบ Scan นี้มีข้อดีอย่างไร
อันนี้ตอบว่ามันทำให้ท่านสามารถทราบถึงจุดที่อาจจะเป็นปัญหาคร่่าว ๆ
ได้ และหยุดเพื่อทำการตรวจสอบให้ชัดเจน เช่น
ท่านกำลังวัดอุณหภูมิของสายไฟฟ้าว่ามีความสม่ำเสมอหรือไม่
หรือท่านกำลังวัดท่อส่งกำลังว่ามีอุณหภูิมิที่ผิดปกติหรือไม่
หากท่านกดปุ่มวัดค้างไว้แล้วเดินไปตามสายไฟหรือท่อไปเรื่อย ๆ
ท่านสามารถสังเกตุเห็นอุณหภูมิที่เปลี่ยนไปได้จากหน้าจอปืนวัดได้
หากว่ามีจุดใดที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นหรือผิดไปอย่างผิดปกติ
ท่านก็สามารถจะสงสัยไว้ก่อนว่าจุดนั้นอาจจะมีการลัดวงจร
หรือมีการรั่วไหล เป็นต้น
มาดูรูปแบบปืนรุ่น Fluke 62 Max Plus ครับ
ลักษณะโดยรวมจะคล้าย ๆ กันครับ
แต่จะต่างกันตรงที่วัดอุณหภูมิได้สูงกว่าประมาณสัก 100 องศาเซลเซียสครับ
และสิ่งที่เป็นความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดระหว่างปืนวัดอุณหภูมิรุ่น Fluke 62
max กับรุ่น Fluke 62 max Plus คือสิ่งนี้ครับ
ปืนรุ่น Fluke 62 max plus จะแสกนอุณหภูมิได้ทั้งบนและล่าง
สังเกตุว่าจะมีจุดให้เลเซอร์ออกมา 2 จุดถ้าเทียบกับ รุ่น Fluke 62 max
แล้วจะมีจุดเลเซอร์เพียงแค่จุดเดียว
ตรงนี้จะทำให้ความแม่นยำในการวัดอุณหภูมิมีเพิ่มมากขึ้นครับ(ดูตามภาพครับ)
มีคลิปหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับค่า Distance to Spot
ratio ที่ผมดูแล้ว Fluke อธิบายได้ดีทีเดียว
ค่านี้ถ้าใน Spec สินค้าของ Fluke จะใช้คำว่า
Optical Resolution ครับ ลองชมดูครับ
ในคลิปนี้จะอธิบายถึงค่า Distance to spot ratio
โดยอธิบายให้ท่านเข้าใจได้ง่าย ๆ ว่า
ค่านี้จะเป็นอัตราส่วนของระยะทางที่ปืนวัดอุณหภูมิอยู่ห่างจากวัตถุ
เทียบกับการเฉลี่ยของอุณหภูมิที่ปืนวัดได้
ซึ่งค่านี้จะเป็นอัตราส่วนกันครับ เช่น 10:1, 12:1, 20:1 เป็นต้น
ค่าอัตราส่วนตรงนี้อธิบายได้เช่นนี้ครับ(ดูรูป)
สมมติว่าปืนวัดอุณหภูมิอินฟาเรดรุ่นนี้แจ้งว่ามีค่า Distance to Spot
Ratio(หรือบางทีเรียกว่า Optical Resolution) เท่ากับ 10:1
จะมีความหมายเท่ากับว่า ที่ระยะห่างจากจุดที่วัด 10 หน่วย(เช่น 10 ฟุต,
หรือ 10 เมตร, หรือ 10 นิ้ว)
ปืนวัดอุณหภูมิรุ่นนี้จะสามารถวัดอุณหภูมิเฉลี่ยได้ในเส้นผ่านศูนย์กลาง
1 หน่วย(คือวัดอุณหภูมิเฉลี่ยได้ใน 1 ฟุต, 1 เมตร หรือ 1 นิ้ว)
ด้วยนัยนี้แล้วจึงสามารถสรุปได้ว่าที่ค่า Distance to spot ratio
ที่มาก ๆ
ก็ย่อมจะดีกว่าหรือเป็นปืนวัดอุณหภูมิที่มีคุณภาพที่ดีกว่าปืนที่มีค่านี้น้อย
ๆ เช่น 50:1 ย่อมจะมีคุณภาพที่ดีกว่า 20:1, 12:1, 10:1 เป็นต้น
เหตุผลก็เพราะถ้าหากท่านถอยหลังออกไปได้ไกล ๆ
ท่านก็ยังคงสามารถจะวัดอุณหภูมิได้ในวงวงเดิม คือ
ถ้าหากท่านถอยหลังออกจากวัตถุที่ท่านต้องการจะวัด 10
นิ้วแล้วท่านวัดอุณหภูมิเฉลี่ยได้ 1 นิ้ว แล้ว
ถ้าหากท่านถอยหลังออกจากวัตถุออกไป 50
นิ้วแล้วท่านยังคงวัดอุณหภูมิเฉลี่ยได้ 1 นิ้วเ่ท่าเดิม นั่นหมายความว่า
ปืนวัดอุณหภูมิรุ่นนี้จะมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า
ซึ่งแน่นอนราคาก็ย่อมจะสูงตามไปด้วยครับ
คู่มือการใช้งานปืนวัดอุณหภูมิแบบอินฟาเรด รุ่น Fluke 62 Max Plus
ปืนวัดอุณหภูมิอินฟาเรด รุ่นนี้สามารถทำการตรวจวัดได้อย่างหลากหลาย
เช่นการวัดเป็นจุดจุดเดียว
วิธีการทำคือให้ท่านเล็งปืนวัดอุณหภูมิไปยังจุดที่ท่านต้องการจะวัดและกดปุ่มไก
ปืนเพียง 1 ครั้ง หลังจากนั้นปล่อยนิ้วออกและอ่านค่าที่ได้จากหน้าจอ
ค่าที่ได้ก็คืออุณหภูมิ ณ จุดนั้น ๆ นั่นเอง
การวัดอุณหภูมิแบบแสกน Scan Measurement
วิธีการตรวจวัดด้วยวัตถุประสงค์นี้ก็คือ
ท่านต้องการจะวัดเป็นแบบค่าเฉลี่ย
หรือดูอุณหภูมิที่เปลี่ยนไปว่ามีค่าต่ำสุดที่เท่าใด มีค่าสูงสุดที่เท่าใด
มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่กี่องศาเซลเซียส และค่าสูงสุดและต่ำสุดต่างกันเท่าใด
วิธีการตรวจวัดด้วยวิธีนี้ก็คือให้ท่านเล็งปืนวัดอุณหภูมิไปยังจุดหรือเป้าหมายที่
ท่านต้องการจะตรวจวัด หลังจากนั้นให้ท่านกดปุ่มไกปืน แต่ว่าให้กดค้างเอาไว้
หลังจากนั้นให้ท่านกวาดพื้นที่ที่ท่านต้องการจะตรวจวัดอุณหภูมิไปเรื่อย ๆ
เช่นสมมติว่าท่านสงสัยว่าสายไฟเส้นหนึ่งที่อยู่บนเพดานจะมีสายฉนวนหุ้มทอง
แดงรั่วหรือไม่
ท่านก็ให้กดปุ่มไกปืนค้างไว้และกวาดพื้นที่ไปตามสายไฟเส้นนั้นโดยเดินตาม
สายไฟไปเรื่อย ๆ จนถึงจุดที่ท่านพึงพอใจแล้ว จึงค่อยปล่อยมือออก
ข้อพึงระวังการวัดอุณหภูมิแบบสแกน คือ
ท่านต้องแน่ใจเสมอว่าท่านยังไม่ได้ปล่อยมือออกจากไกปืน
คือท่านต้องกดค้างไว้ตลอดตอนตรวจวัด
ท่านจะปล่อยนิ้วออกก็ต่อเมื่อถึงจุดที่ต้องการแล้ว
หากท่านเผลอปล่อยนิ้วออกในจังหวะใดจังหวะหนึ่ง
ท่านต้องเริ่มการตรวจวัดใหม่ครับ เพราะหากเมื่อใดที่เราปล่อยนิ้วออกจาก
ไกปืน ปืนจะเข้าใจว่าการตรวจวัดสิ้นสุดแล้ว
วิธีการอ่านค่าอุณหภูมิแบบแสกน คือ ที่ปุ่มซ้ายมือสุดจะมีตัวอักษร SEL
หลังจากที่ท่านปล่อยนิ้วชี้ออกจากไกปืนแล้ว
ท่านต้องระวังอย่าให้หน้าจอเครื่องดับไป เพราะว่าอะไร
เพราะว่าหากเมื่อใดก็ตามแต่ที่ท่านปล่อยนิ้วออกจากไกปืนแล้ว
ท่านมิได้มีการกดปุ่มใด ๆ เพิ่มเติม
เครื่องหรือหน้าจอจะปิดไปเองโดยอัตโนมัต(Auto Shut Down)
เมื่อเวลาผ่านไป 10 วินาทีด้วยเหตุผลเพื่อการประหยัดแบตเตอรี่
(เป็นค่ามาตรฐานที่ตั้งมาจากโรงงาน)
คือหลังจากที่ท่านได้ปล่อยนิ้วออกจากไกปืนแล้ว ภายในเวลา 10 วินาที
ให้ท่านกดไปที่ปุ่ม SEL ที่หน้าจอหากท่านกดไปเรื่อย ๆ มันจะปรากฏคำว่า
Max, Min, Avg, Diff คำเหล่านี้หมายถึง ค่าอุณหภูมิสูงสุด, ค่าอุณหภูมิต่ำสุด,
ค่าอุณหภูมิเฉลี่ย, ค่าความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุด
ท่านสามารถจะเลือกดูซึ่งเครื่องจะบอกค่าเหล่านี้หลังจากที่แสกนอุณหภูมิไว้ว่า
มีค่าแต่ละค่าเท่าไร
วิธีการปรับค่าต่าง ๆ ของปืนวัดอุณหภูมิรุ่นนี้
ปืนวัดอุณหภูมิรุ่นนี้สามารถปรับค่าต่าง ๆ ได้คือ
1. สามารถปรับให้หน้าจอมีแสง หรือไม่มีแสงได้
วิธีการทำก็คือตอนที่หน้าจอยังเปิดอยู่ ให้ท่านกดไปที่ปุ่ม SEL จนเจอคำว่า
Liee ให้ท่านเลือกโดยกดไปที่ปุ่มขวามือสุด(ปุ่ม SET)
ท่านสามารถเลือกให้หน้าจอมีแสงหรือไม่มีแสงได้ คือเลือกที่คำว่า On หรือ Off
2. ปืนวัดอุณหภูมิรุ่นนี้สามารถปรับให้แสงเลเซอร์ในการตรวจวัดมีหรือไม่มีก็ได้
ทำได้โดยให้ท่านกดปุ่ม SEL แล้วกดไปเรื่อย ๆ จนเจอคำว่า LAS
ให้ท่านเลือกโดยกดไปที่ปุ่มขวามือสุด(ปุ่ม SET)
ท่านสามารถเลือกให้มีแสงเลเซอร์ออกมาหรือไม่ให้ออกมาก็ได้ คือเลือกที่คำว่า
On หรือ Off ปกติแล้วปืนวัดอุณหภูมิรุ่นนี้จะมีแสงเลเซอร์ตรวจวัด
2จุดเพื่อเป็นการหาค่าเฉลี่ยที่แม่นยำและถูกต้องมากขึ้นหากไปเทียบกับปืนวัด
อุณหภูมิอินฟาเรดรุ่นอื่น ๆ
3. ปืนวัดอุณหภูมิรุ่นนี้จะสามารถตั้งให้หน้าจอเตือนกระพริบได้หากอุณหภูมิที่อ่าน
ได้สูงกว่าที่ตั้งค่าไว้ วิธีการทำก็คือให้ท่านกดไปที่ปุ่ม SEL จนเจอคำว่า Alarm
Hi ปกติแล้วค่ามาตรฐานที่ทางโรงงานตั้งมาจะอยู่ที่ 400 องศาเซลเซียส
หากท่านต้องการปรับเปลี่ยน ก็ให้ท่านเลือกไปที่ปุ่มกลาง
ซึ่งจะมีสัญลักษณะขึ้นหรือลง โดยให้เลือกไปจนได้อุณหภูมิที่ท่านต้องการได้
4. ปืนวัดอุณหภูมิรุ่นนี้จะสามารถตั้งให้หน้าจอเตือนกระพริบได้หากอุณหภูมิที่อ่าน
ได้ต่ำกว่าที่ตั้งค่าไว้ วิธีการทำก็คือให้ท่านกดไปที่ปุ่ม SEL จนเจอคำว่า
Alarm Lo ปกติแล้วค่ามาตรฐานที่ทางโรงงานตั้งมาจะอยู่ที่ 25 องศาเซลเซียส
หากท่านต้องการปรับเปลี่ยน ก็ให้ท่านเลือกไปที่ปุ่มกลาง
ซึ่งจะมีสัญลักษณะขึ้นหรือลง โดยให้เลือกไปจนได้อุณหภูมิที่ท่านต้องการได้
5. ปืนวัดอุณหภูมิรุ่นนี้สามารถตั้งค่า EMS หรือค่า Emissivity ได้
ค่านี้มาตรฐานทางโรงงานตั้งไว้ที่ 0.95 ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานสากล
แต่หากเมื่อใดที่ท่านต้องการจะปรับเปลี่ยนค่านี้ท่านสามารถทำได้โดยกดไปที่
ปุ่ม SEL กดไปเรื่อย ๆ จนเจอคำว่า EMS
จากนั้นให้ท่านเลือกโดยกดไปที่ปุ่มขึ้นหรือลง(ปุ่มกลาง) เพื่อเลือกค่า EMS
ที่ท่านต้องการได้
6. ปืนวัดอุณหภูมิรุ่นนี้สามารถเปลี่ยนค่าองศาการวัดจาก
เซลเซียสเป็นฟาเรนไฮน์ได้ ท่านสามารถทำได้โดยกดปุ่ม SEL ไปจนเจอตัว
อักษร องศาเซลเซียส หากท่านเลือกโดยกดปุ่ม SET
ค่าอุณหภูมินี้จะเปลี่ยนไปเป็นองศาฟาเรนไฮน์ได้
โดยสามารถเปลี่ยนสลับกันไปมาได้
ปืนวัดอุณหภูมิรุ่นนี้ใช้ถ่านไฟฉายขนาด AA 1 ก้อนเป็นแหล่งพลังงานครับ