สิบภาพยอดเยี่ยมจากกล้อง Hubble
ส่วนตัวผมเองชอบสะสมภาพสวย ๆ
และที่สำคัญต้องเป็นภาพที่หาดูได้ยาก และเป็นภาพที่มิใช่ใครมีกล้อง
หรือมีสตางค์ซื้อกล้องแพง ๆ ก็นำมาถ่าย แต่ผมจะชอบภาพที่หาดูได้ยาก
และดูสวยงาม อย่างเช่น ภาพจักรวาล ดวงดาว แกแลคซี่ เนบิวลา ฯลฯ
ภาพลักษณะนี้ถ่ายไม่ได้บนโลกครับ
ถึงจะถ่ายได้จากหอดูดาวที่มีอุปกรณ์ทันสมัย
ก็อาจจะยังไม่สวยงามชัดเจนเท่ากับการถ่ายมาจากอวกาศ
เพราะ่ว่าในอวกาศไม่มีชั้นบรรยากาศ ไม่มีมลภาวะใด ๆ ที่จะบดบังได้
ทั้งนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้กล้องเฉพาะขององค์การบริหารการบิน
ถ่ายจะได้ภาพที่มีคุณภาพสูง
แต่ทั้งนี้ก็มิใช่ว่าภาพที่ถ่ายออกมาจากกล้อง hubble
จะชัดเจนทุกภาพนะครับ
เพราะมันจะมีเฉพาะบางภาพเท่านั้นที่มีความคมชัดมาก ๆ
เพราะสุ่มตั้งมุมกล้องถูกจุด ถูกจังหวะ(จักรวาลกว้างใหญ่มาก)
ซึ่งบางภาพแม้แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังยอมรับว่ามันเป็นสิ่งที่น่าทึ่งจริง ๆ
มาชมกันครับว่าสิบภาพที่ว่านี้มีอะไรบ้าง
1. Coronal Mass Ejection Erupts
พูดง่าย ๆ คือการระเบิดของดวงอาทิตย์
การระเบิดลักษณะนี้ฝรั่งเรียกว่า Coronal Mass Ejection(ตัวย่อ CME)
การระเบิดอย่างรุนแรงขนาดนี้หาดูหาชมได้ยากครับ
สิ่งที่ตามมาจะเป็นการเกิดพายุสุริยะและการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงที่
จะกระจายออกจากดวงอาทิตย์
ซึ่งเป็นไปได้ว่ามีผลต่ออุปกรณ์การสื่อสารบนโลก
รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กโลก
และดาวบริวารของดวงอาทิตย์ด้วย
2. Star cluster Pismis 24
หรือ กลุ่มดาว Pismis 24
ภาพนี้ถือว่ากล้องฮับเบิลถ่ายได้ชัดมาก ๆ อีกภาพหนึ่ง
กลุ่มดาวนี้อยู่ใกล้กับ เนบิวลา NGC 6357
(ทิศทางกลุ่มดาวแมงป่อง)
ที่ท่านมองเห็นเป็นดาวจุดสีฟ้านี่เป็นดาวที่ใหม่มาก ๆ
ครับคือเพิ่งเกิดใหม่
3. Stellar spire in Eagle Nebula
ภาพเสาแท่งในเนบิวลาอีเกิ้ลนี้
เป็นอีกภาพหนึ่งที่พบเห็นได้บ่อยมากทีเดียว
เป็นภาพที่หาชมได้ยากยิ่ง
เพราะการถ่ายมาจากการสุ่มวางมุมกล้องที่ถูกจุดถูกเวลาจริง ๆ
เนบิวลานี้ถูกค้นพบโดย Jean Philippe de Cheseaux ตั้งแต่ปีค.ศ.
1745 - 1746 ชื่อของมันมาจากรูปทรงที่ดูคล้ายนกอินทรี
4. Cone Nebula
Nebula นี้ถูกค้นพบโดย William Herschel ใน วันที่ 26
เดือนธันวาคม 1785 ถือว่าถ่ายได้อย่างชัดเจนเช่นกันครับ
5. Hubble eXtreme Deep Field.
ภาพนี้เป็นภาพที่ลึกที่สุดของจักรวาล หรือพูดให้เข้าใจง่าย ๆ
คือเป็นการถ่ายภาพที่ลึกที่สุดที่ประสิทธิภาพของกล้องฮับเิบิลจะ
ทำได้
แม้ว่าจะถ่ายได้ไกลแค่ไหนก็ตามแต่
ถ้า่ท่านสังเกตุท่านก็จะเห็นได้ว่าจุดที่ไกลกว่านี้ก็ยังคงมีกระจุกดาว
หรือกาแลคซี่อยู่ดี
เพราะฉะนั้นแล้วจักรวาลนี้กว้างใหญ่ไพศาลเหลือจะประมาณ
จุดที่ไกลที่สุดนี้ประมาณกันว่าไกลถึงหนึ่งหมื่นกว่าล้านปีแสงทีเดียว
(แสงต้องเดินทางเป็นหมื่นล้านปีเพื่อไปให้ถึงยังจุดนี้)
6. Nebula NGC 6302
เป็นอีกหนึ่งภาพที่น่าทึ่งของเนบิวล่านี้ ที่ออกมาเป็นรูปผีเสื้อ
ภาพคมชัดมาก
7. whirlpool galaxy M51 with a companion galaxy
แกลแลคซี่น้ำวน M51
นี้จัดเป็นแกลแลคซี่ที่ความสุกสว่างมากอีกแกลแลคซี่หนึ่ง
และดูเหมือนว่าถูกถ่ายได้อย่างเนือง ๆ ด้วย
ระยะทางห่างจากโลกประมาณ 30 ล้านปีแสง
โดยมีความกว้างประมาณ 60,000 ปีแสง
8. Carina Nebula
ที่ท่านเห็นเป็นเสาแท่งนี้จริง ๆ
คือกลุ่มแก๊สที่กำลังฟูมฟักดาวที่เกิดใหม่
ภาพนี้เป็นอีกภาพที่มีความสวยงามมาก ซึ่งองค์การบริหารอวกาศ
ยอมเผยแพร่ภาพนี้เนื่องในวาระครบรอบ 20 ปี
ของการส่งกล้องฮับเบิลขึ้นสู่วงโคจรของโลกในอวกาศ
เข้าใจว่าถ่ายได้ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2010
9. Galaxy Sombrero M 104
เป็นอีกกาแลคซี่หนึ่งที่สุกสว่างและสวยงามมาก
ท่านจะเห็นว่าขอบของกาแลคซี่นี้เป็นกลุ่มฝุ่นที่หนาทีเดียววนล้อม
อยู่ ซึ่งภาพที่ถ่ายได้นี้ถ่ายในมุมที่เรียกว่า Flat มาก ๆ
คือเรียกได้ว่าถ่ายจากด้านข้างจริง ๆ ของกาแลคซี่เลย
ใจกลางของแกแลคซี่นี้สว่างมากทีเดียว อยู่ห่างจากโลก 28
ล้านปีแสง(แสงเดินทาง 28 ล้านปี) ความกว้างของแกแลคซี่นี้
50,000 ปีแสง
10. Horsehead Nebula
เป็นอีกเนบิวล่าหนึ่งที่กล้องฮับเบิลจับภาพได้ชัดมาก ๆ
Resources