เทอร์โมมิเตอร์แบบ Wet-Dry
ที่วัดอุณหภูมิได้ทั้งในหน่วยองศาเซลเซียสและองศาฟาเรนไฮน์
1,200.- ผมอนันต์ครับ Tel.0868910596
ท่านครับ ถ้าหากท่านทำงานในหน่วยงานหรือบริษัทสัญชาติอเมริกา
หรือท่านมีผู้บังคับบัญชาเป็นคนอเมริกันแล้ว ถ้าหากท่านต้อง
การตรวจวัดอุณหภูมิและรายงานผลแล้ว
ท่านควรจะรายงานผลการตรวจวัดในหน่วยองศาฟาเรนไฮน์ครับ
เพราะว่าเป็นหน่วยอุณหภูมิืสากลที่ใช้กันโดยทั่วไปในประเทศสหรัฐ
อเมริกาครับ
หน่วยการวัดที่เป็นฟาเรนไฮน์แล้วมีความละเอียดกว่าหน่วยอุณภูมิที่เป็น
องศาเซลเซียสครับ เพราะว่า 1 องศาฟาเรนไฮน์แล้วจะเท่ากับ
0.5555555555555556 องศาเซลเซียส ซึ่งจะยังไม่ถึง 1
องศาเซลเซียส
โดยนัยนี้แล้วถ้าหากท่านนำทฤษฎีที่ว่าองศาฟาเรนไฮน์มีความละเอียด
กว่าองศาเซลเซียสมาใช้กับเทอร์โมมิเตอร์แบบ Wet-Dry
และท่านอ่านค่าอุณหภูมิในหน่วยขององศาฟาเรนไฮน์เสมอ
และนำค่าที่อ่านได้ทั้งฝั่งกระเปาะแห้งและกระเปาะเปียกไปเทียบค่า
ความชื้นมาตรฐานแล้ว
ค่าความชื้นมาตรฐานที่แปลผลได้ก็จะมีความละเอียดมากขึ้นอีกครับ
ซึ่งผมจะยกตัวอย่างให้เห็นในด้านล่างครับ
เทอร์โมมิเตอร์รุ่นนี้วัดอุณหภูมิได้ในหน่วยที่เป็นองศาเซลเซียสและ
องศาฟาเรนไฮน์ได้ในตัวเดียวกัน
แต่มีข้อเสียคือไม่มีตารางให้เทียบค่าความชื้นครับ
กรณีนี้ท่านต้องไปเข้าเวบแปลงค่า ซึ่งผมทำลิงค์ให้แล้วด้านล่าง
เวลาท่านใช้งานจริง ควรจะอยู่ใกล้สัญญาณเนตจะดีมากครับ หรือมี
Smart Phone สักเครื่องเพราะว่าจะได้อ่านค่าแล้วเข้าเวบแปลงค่าได้เลย
น้ำที่นำไปใส่ในกระบอกของกระเปาะเปียกควรจะเป็นน้ำกลั่นบริสุทธิ์จะ
เหมาะสมที่สุดครับ
ในชุดจะมีชาร์ตตารางเทียบค่าความชื้นให้
ข้อดีของเทอร์โมมิเตอร์แบบ Wet-Dry รุ่นนี้คือ
ถ้าพิจารณาจากการออกแบบของเทอร์โมมิเตอร์รุ่นนี้ทั้งทาง
ด้านหน้าและด้านหลังแล้วจะพบว่า ออกแบบได้ค่อนข้างจะดีมาก
ก็คือในฝั่งของเทอร์โมมิเตอร์ฝั่งกระเปาะเปียก
(Dry Bulb Thermometer) นั้น
ปลายของเทอร์โมมิเตอร์ฝั่งนี้ถูกออกแบบมาให้ห่างจากรางหรือ
ภาชนะเก็บน้ำค่อนข้างมากพอควร หรือพูดง่าย ๆ
ว่าปลายเทอร์โมมิเตอร์ฝั่งกระเปาะเปียก
แยกกันอย่างชัดเจนกับภาชนะใส่น้ำ
ดังนั้นแล้วผู้ใช้สามารถเติมน้ำลงไปในภาชนะนี้แล้วไขแน่นได้เลย
และนำไปใช้วัดได้เลยโดยไม่ต้องระวังอะไร
ซึ่งถ้าหากนำไปเทียบกับเทอร์โมมิเตอร์ลักษณะเดียวกัน
แต่เป็นของยี่ห้ออื่นแล้ว เช่นภาพด้านล่างนี้
เทอร์โมมิเตอร์แบบ Wet-Dry รุ่นนี้
ถูกออกแบบมาให้ปลายของเทอร์โมมิเตอร์ฝั่งกระเปาะเปียกอยู่
ใกล้กันกับรางน้ำหรือภาชนะใส่น้ำค่อนข้างมาก
หรือแทบจะพูดได้เลยว่าอยู่ติดกัน
เทอร์โมมิเตอร์รุ่นนี้เวลานำไปใช้งาน
คือหลังจากที่ท่านเติมน้ำหรือใส่น้ำลงไปในภาชนะใส่้น้ำฝั่ง
กระเปาะเปียกแล้ว
ที่ถูกต้องท่านจำเป็นต้องเลื่อนภาชนะใส่น้ำลงไปอีก
ทั้งนี้เพื่อที่จะให้ปลายของเทอร์โมมิเตอร์ฝั่งกระเปาะเปียกนี้
อยู่พ้นจากภาชนะใส่น้ำ
ไม่ให้ปลายของเทอร์โมมิเตอร์นี้จมลงไปในน้ำ มิเช่นนั้นแล้ว
เทอร์โมมิเตอร์ฝั่งกระเปาะเปียกนี้ก็จะไปวัดอุณหภูมิของน้ำแทน
ซึ่งจะทำให้การวัดอุณหภูมิฝั่งนี้ผิดพลาดได้
และผู้ใช้งานที่ไม่เคยใช้งานมาก่อน
หรือยังมีประสบการณ์ในการใช้งานไม่มากนัก มักจะไม่ทราบ
คือหลังจากเติมน้ำแล้วก็นำไปใช้เลย
ก็คือว่าทฤษฏีของการใช้งานเทอร์โมมิเตอร์ประเภท Wet - Dry
นี้ก็คือ
อากาศที่เราต้องการวัดขณะนั้นจะต้องผ่านไ้ด้อย่างอิสระทั้งปลาย
ของเทอร์โมมิเตอร์ฝั่งกระเปาะแห้ง และฝั่งกระเปาะเปียก
ปลายของเทอร์โมมิเตอร์ทั้งสองฝั่งจะเป็นจุดวัดอุณหภูมิของอากาศ
ฉะนั้น จะลงไปแช่หรือลงไปจุ่มในน้ำไม่ได้ สังเกตุว่า
ผู้ออกแบบได้ออกแบบมาโดยทำเป็นช่องให้อากาศผ่านได้อย่าง
สะดวก ถ้าหากมองจากทางด้านหลังหรือมองจากทางด้านหน้า
ลิงค์ด้านล่างนี้ให้ท่านลองคลิกเข้าไปชมดูนะครับ มีประโยชน์มาก
จริง ๆ ครับ เพราะมันเป็นเวบที่ใช้เปรียบเทียบค่าอุณหภูมิ Wet-Dry
ในหน่วยองศาฟาเรนไฮน์ครับ ซึ่งมีความละเอียดมากขึ้นอีก
http://www.csgnetwork.com/dewptrelhumcalc.html
วิธีการใช้งานก็คือให้ท่านพิมพ์อุณหภูมิที่อ่านได้จากกระเปาะแห้ง
และกระเปาะเปียกลงไปในช่องที่เห็น
แต่ทั้งนี้ต้องพิมพ์ลงไปในหน่วยขององศาฟาเรนไฮน์เท่านั้นครับ
ในกรณีสมมติว่าท่านไม่ทราบว่าอุณหภูมิในหน่วยองศาฟาเรนไฮน์เป็น
เท่าใด
เพราะว่าเทอร์โมมิเตอร์ของท่านอ่านค่าได้ในหน่วยองศาเซลเซียสเท่านั้น
ก็ให้ท่านแปลงหน่วยก่อนครับ
โดยพิมพ์หน่วยอุณหภูมิองศาเซลเซียสลงไปในช่องล่างซ้าย แล้วกด
enter ท่านก็จะได้ค่าอุณหภูมิในหน่วยองศาฟาเรนไฮน์เอง
ผมลองสมมติค่าอุณหภูมิของกระเปาะเปียกและกระเปาะแห้งที่วัดได้ใน
หน่วยองศาฟาเรนไฮน์ที่ใกล้กันมาก ๆ ให้ท่านชมสักตัวอย่างครับ
แต่เรียนไว้ก่อนว่าอุณหภูมิที่แสดงนี้เทอร์โมมิเตอร์ของผมอันนี้วัดได้ไม่
ละเอียดพอนะครับ ถ้าหากท่านหาเทอร์โมที่มีขีดความละเอียดมาก ๆ
มาวัดได้เวบนี้จะมีประโยชน์อย่างมหาศาลเลยครับ
สมมติว่าผมวัดอุณหภูมิกระเปาะแห้งได้เท่ากับ 98 องศาฟาเรนไฮน์
ในขณะที่วัดนั้นเป็นวันที่กรุงเทพฯ มีความชื้นสูงมาก ๆ ทีเดียว
และในตอนบ่ายพอดีผมก็วัดอุณหภูมิของกระเปาะเปียกได้แทบไม่
ต่างจากกระเปาะแห้งเลย คือวัดได้เท่ากับ 97.5 องศาฟาเรนไฮน์
ถ้าผมลองนำค่าทั้งสองนี้มาแทนลงในช่องด้านบน แล้วกด enter
ค่าความชื้นที่อ่านได้ก็จะประมาณเท่ากับ 98.18 เปอร์เซ็นต์ครับ
ซึ่งท่านครับถ้าหากว่าช่วงขององศาเซลเซียสนั้นมีความหยาบกว่า
ช่วงองศาฟาเรนไฮน์แล้ว จุดทศนิยมของช่วงองศาเซลเซียส
ก็ย่อมจะมีความหยาบมากกว่าจุดทศนิยมของช่วงองศาฟาเรนไฮน์
ไปด้วยนะครับ ฉะนั้นแล้วถ้านำค่ามาแทนในเวบนี้แล้ว
ช่วงอุณหภูมิในหน่วยองศาฟาเรนไฮน์ที่นำไปแทนเพื่อหาค่าความ
ชื้นสัมพัทธ์ ความชื้นสัมพัทธ์ที่อ่านได้ก็ย่อมจะละเอียดกว่าด้วย
ยกตัวอย่างเช่น ที่อุณหภูมิ 32 องศาฟาเรนไฮน์จะเท่ากับ 0
องศาเซลเซียส แต่ถ้าหากเราเพิ่มจุดทศนิยมไปเป็น 32.1
องศาฟาเรนไฮน์แล้วจะอ่านค่าในองศาเซลเซียสได้เท่ากับ
0.05555555555555635 ซึ่งมันยังไม่ถึง 0.1
องศาเซลเซียสด้วยซ้ำไป
ผมมีคลิปวิธีใช้เทอร์โมมิเตอร์แบบ Wet Bulb dry Bulb
ลักษณะเป็นพลาสติกเคสคล้าย ๆ กับรุ่นนี้ให้ชมครับ
แต่เรียนว่าเป็นคนละรุ่นกับรุ่นที่ผมจำหน่ายนะครับ
เพราะรุ่นที่ผมจำหน่ายจะมีหน่วยเป็นองศาฟาเรนไฮน์ด้วย
เพียงแต่จะไม่มีชาร์จเปรียบเทียบเปอร์เซ็นต์ความชื้นติดอยุ่บนตัวเทอร์
โมมิเตอร์
ซึ่งตรงนี้ผมจะพิมพ์ชาร์จเปรียบเทียบแนบไปให้ในกรณีที่ท่านสั่งซื้อครับ
แต่รุ่นที่คลิปนำมาเสนอนี้มีชาร์จเทียบเปอร์เซ็นต์ความชื้นติดอยู่บนตัว
เทอร์โมมิเตอร์เลย
แต่ว่าเป็นเทอร์โมมิเตอร์ที่ไม่มีหน่วยเป็นองศาฟาเรนไฮน์ครับ
เพราะฉะนั้นแล้ว ดีอย่างเสียอย่างครับ
Psychrometric Charts
ท่านครับสำหรับผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับภูมิอากาศทั่วโลก
มีกราฟอยู่กราฟหนึ่งที่เป็นกราฟสากลและใช้กันทั่วโลก ใช้กันทั่ว ๆ
ไปจนถึงนักศึกษาในมหาวิทยาลัย กราฟอันนี้เรียกว่า
ไซโคเมตริกชาร์จ(Psychrometric Charts)
และด้วยที่ว่ามันถูกใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก
เพราะฉะนั้นแล้วดีที่สุดเราควรจะรู้จักกราฟนี้ และใช้ให้เป็นด้วยจะเป็นสิ่งที่ดีครับ
ด้วยกราฟอันนี้แล้วถ้าเราทราบเพียงแค่ 2 สิ่งแล้ว เราจะหาสิ่งอื่น ๆ
ได้อีกประมาณ 4 - 5 สิ่ง สำหรับผู้ที่เริ่มต้นศึกษาแล้วยอมรับว่างงมาก ๆ
ที่ว่างงคือลายเส้นมันเยอะ ดูแล้วสับสน(ทั้งที่มันก็ไม่ยากอะไร)
เพราะ่ฉะนั้นวิธีการที่ดีที่สุดที่จะศึกษากราฟนี้คือ
ให้ท่านพิมพ์กราฟใส่กระดาษเสียก่อน(พิมพ์ไว้เยอะ ๆ)
แล้วนำกราฟมาพล็อตข้างนอกจะเห็นภาพได้ชัดเจนกว่า
และมีโอกาสผิดพลาดน้อยกว่าจะไปมองในจอคอมครับ
แต่ถ้าหากท่านที่ชำนาญแล้วก็มองจากจอคอมแล้วตอบได้เลยละครับ
โดยกราฟด้านล่างที่ผมนำมาเสนอนี้เป็นกราฟของอุณหภูมิองศาฟาเรนไฮน์โดย
นิยามถึงอุณหภูมิของกระเปาะแห้งเริ่มต้นตั้งแต่ 20 - 110 องศาฟาเรนไฮน์ครับ
ให้ท่านคลิกไปที่รูป(มันจะขยายออก) แล้วพิมพ์ใส่กระดาษ A4
ออกมาได้เลยครับ
ส่วนชาร์ตด้านล่างนี้หน่วยเป็นองศาเซลเซียส
อยากจะให้สังเกตุอีกครั้งว่าชาร์ตของ Psychrometric
นี่จะใช้งานได้ดีและเหมาะสมให้ค่าการอ่านที่ถูกต้องที่สุดต้องอยู่ที่
ระดับความสูงที่พื้นราบครับคือระดับน้ำทะเล
(SEA LEVEL 101.325kPa)