แท่งแก้ววัดเปอร์เซ็นต์ไขมันในนมและผลิตภัณฑ์จาก
นมสัตว์, Butyrometer, ไฮโดรมิเตอร์วัดน้ำนม,
Lactometer
สนใจผลิตภัณฑ์ผมอนันต์ครับ Tel.0868910596
สำหรับแท่งแก้วที่ออกแบบมาเพื่อใช้วัดเปอร์เซ็นต์ไขมันในน้ำนม,
โยเกิร์ติ หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์(Dairy Food)
จะมีชื่อเรียกเฉพาะเรียกว่า Butyrometer(บิวทีโลมิเตอร์)
ลักษณะการใช้งานนี่ต้องเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญใช้งานเป็นครับ
เพราะ้ต้องมีองค์ประกอบการผสมสารเคมี การเขย่าหรือปั่นเหวี่ยงไปด้วย
จึงจะได้ค่าออกมา ชมสินค้ากันได้ครับ
มาชมวิธีการใช้งานแท่งแก้ว Butyrometer ครับ
ค่อนข้างซับซ้อนในขั้นตอนการผสมสาร
แต่สุดท้ายคือการหาเปอร์เซ็นต์ของไขมันในนมหรือโยเกิต
https://www.youtube.com/watch?v=muswKsqvGnM
แต่ทั้งนี้ถ้าเป็นแท่งแก้วที่ออกแบบมาเพื่อใช้วัดความถ่วงจำเพาะของนม
จะมีชื่อเรียกอีกอย่างครับ เรียกว่า Lactometer(Lactohydrometer)
หรือบางที่เขาเรียกว่า Galactometer(Galactohydrometer)
ความถ่วงจำเพาะของน้ำนมบอกถึงคุณภาพของน้ำนมได้เช่นเดียวกัน
สำหรับรุ่นที่ผมมีวัดความถ่วงจำเพาะ(Specific Gravity)ได้ในช่วง
1.000 - 1.040 ความละเอียด 0.001 คาลิเบรตที่อุณหภูมิ 60/60
องศาฟาเรนไฮน์
ถึงแม้ไฮโดรมิเตอร์รุ่นนี้แต่ละอันจะมีขนาดและความยาว และค่า
ความถ่วงจำเพาะที่เท่ากันหมดจะดูไม่ออก แต่ว่าไฮโดรมิเตอร์รุ่นนี้แต่ละ
อันจะมีหมายเลขกำกับ Serial Number เฉพาะไม่ซ้ำ
กัน คือแต่ละอันก็จะมีตัวเลขที่ต่างกันไป เพื่อความสะดวกในการนำไป
ทำการสอบเทียบค่า เพื่อจะได้ระบุไฮโดรมิเตอร์อันที่คาลิเบรตไปแล้วนี้ว่า
เป็นอันใด
แต่ถ้าท่านต้องการจะให้วัดน้ำนมในหน่วย grams/ml(กรัมต่อมิลลิลิตร)
และ Adjusted ค่าที่ 20 องศาเซลเซียส จะมีอยู่ด้วยกัน 4
รุ่นให้เลือกครับ
เป็นน้ำนมที่มีความหนาแน่นตามปกติค่าของมันควรจะเริ่มที่ 1.025
ส่วนน้ำนมที่มีความหนาแน่นต่ำกว่าปกติค่าควรจะเริ่มที่ 1.015 คือ
1. วัดได้ในช่วง 1.025 - 1.035 ความละเอียด 0.0002
2. วัดได้ในช่วง 1.015 - 1.025 ความละเอียด 0.0002
3. วัดได้ในช่วง 1.025 - 1.035 ความละเอียด 0.0005
4. วัดได้ในช่วง 1.015 - 1.025 ความละเอียด 0.0005
5. วัดได้ในช่วง 1.015 - 1.040 ความละเอียด 0.001 อันนี้เป็นของ Funke Gerber
จากประสบการณ์ในการวัด
นมแต่ละยี่ห้อในตลาดมีความหนาแน่นไม่เท่ากันครับ พูดง่าย ๆ
ก็คือมีความเข้มข้นไม่เท่ากัน
นั่นก็จะทำให้มีความมันความอร่อยไม่เท่ากันไปด้วย
นมที่มีความเข้มข้น(Milk Richness) มากกว่าจะมันทานอร่อยกว่าครับ
เมื่อนำมาลองวัดดูความหนาแน่นก็จะมากกว่าด้วย
คือผมลองวัดดูแล้วมันได้เกินกว่า 1.025 g/ml เป็นนมสดยี่ห้อหนึ่ง
(นมสดรสจืดธรรมดาไม่ใช่นมข้นจืด) นมยี่ห้อนี้มักจะนำมาใช้ทำเบเกอรี่
จะได้คุณภาพขนมที่ดีทีเดียว
แต่เท่าที่สังเกตุดูเหมือนนมยี่ห้อนี้จะทำการตลาดโฆษณาน้อยสักหน่อย
ครับ มีขายตามห้างสรรพสินค้าทั่ว ๆ ไปครับ
โดยปกติน้ำนมโคแท้ควรจะมีความหนาแน่นที่ใกล้เคียงกัน
แต่ว่าการที่ความหนาแน่นของน้ำนมที่นำมาจำหน่ายไม่เท่ากัน
เป็นไปได้ว่าเกิดจากการผสมของน้ำลงไปในน้ำนม(adulteration of
water in milk) ที่ไม่เท่ากันได้ครับ
สรุปแล้วถ้าหากท่านประสงค์จะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์นมเพื่อมาทำอาหาร
ทาน หรือทำเพื่อการจำหน่ายแล้ว Lactometer
รุ่นนี้น่าจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ง่ายที่สุดในการตรวจสอบ
เพื่อให้ท่านเลือกใช้ผลิตภัณฑ์นมในยี่ห้อ
ที่ท่านเห็นว่าเหมาะสมที่สุดได้ครับ
ผมมีคลิปวิธีตรวจสอบการผสมของน้ำลงไปในน้ำนมที่ใช้วิธีตรวจสอบได้
อย่างง่าย ๆ เลยคือหยดลงไปบนกระจก แล้วปล่อยให้น้ำนมไหล
น้ำนมที่มีคุณภาพที่ดีกว่า เข้มข้นกว่าจะไหลช้ากว่า
และทิ้งคราบสีขาวไปตลอดทางของการไหล
ส่วนนมผสมน้ำมากจนเกินไปจะเกิดในทิศทางตรงข้ามครับ ลองชมดูครับ
ในปี ค.ศ.1892 มีนักวิทยาศาสตร์ท่านหนึ่งชื่อ Dr.N.Gerber ได้
คิดค้นอุปกรณ์ในการใช้ตรวจสอบไขมันในนมขึ้น ซึ่งเป็นอุปกรณ์
อย่างง่ายใช้งานง่ายและใช้สารเคมีเพียงไม่กี่ชนิดในการทดสอบ
การพัฒนาอุปกรณ์ชนิดนี้โดยช่างเทคนิคอีกท่านหนึ่งชื่อ คุณ Paul
Funke และช่างทำเครื่องแก้วอีกท่านหนึ่ง อุปกรณ์ชนิดนี้ภายหลัง
ถูกเรียกกันว่า Butyrometer หรือถ้าจะให้เรียกชื่ออย่างเต็มครบ
ถ้วน และทั้งนี้ก็เพื่อเกียรติกับผู้คิดค้นด้วยก็จะเรียกว่า Funke-
Gerber Butyrometer ซึ่งวิธีที่ใช้ในการตรวจวัดหาไขมันในน้ำนม
หรือไขมันในผลิตภัณฑ์ที่มาจากนม(Dairy Products) ก็มักจะเรียก
วิธีนี้ว่า Gerber Method หรือวิธีหาไขมันนมโดยวิธีของเกอร์เบอร์
วิธีการหาไขมันนมโดยวิธีของเกอร์เบอร์นี้มีข้อดีดังนี้คือ
- ไม่เสียเวลามาในการคาลิเบรตเครื่องมือ เพราะว่าเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้จะเป็นอุปกรณ์อย่างง่าย ซึ่งหาซื้อได้ทั่วไปในท้องตลาดหรือบางทีก็จะเป็นอุปกรณ์ประจำในห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์อยู่แล้ว
- มีค่าใช้จ่ายในการตรวจวัดไม่สูงจนเกินไปนัก โดยเฉพาะหากว่าต้องมีตรวจวัดเป็นประจำแล้วหากค่าใช้จ่ายในการตรวจวัดสูงก็จะเป็นภาระได้ การตรวจวัดสามารถทำได้อย่างค่อนข้างรวดเร็วไม่จำเป็นต้องผลนานจนเกินไปนัก
- สามารถตรวจวัดได้กับนมได้เกือบทุกชนิด
หลักการอย่างคร่าว ๆ
วิธีการตรวจวัดไขมันในนมด้วยวิธีของ Gerber นี้อธิบายอย่าง
คร่าว ๆ ก็คือ ให้นำหรือเทน้ำนมลงไปในภาชนะเฉพาะที่ได้จัดเตรียม
ไว้ ในที่นี้ก็คือแท่งแก้ว Butyrometer ผลที่วัดออกมาได้จะมีหน่วย
เป็นเปอร์เซ็นต์ ก็คือจะเป็นเปอร์เซ็นต์โดยมวล(Percentage by
Mass) ก็คือไขมันที่อยู่ในนมนี้จะอยู่ในลักษณะเป็นเม็ดกลม ๆ ซึ่งมี
หลายขนาดคือมีขนาดตั้งแต่ 0.1 - 10 ไมโครเมตร กระจัดกระจาย
อยู่ในน้ำนม ภาษาอังกฤษเรียกเเม็ดกลม ๆ เหล่านี้ว่า Globules
เม็ด Globules เหล่านี้ผิวนอกจะมี membrane เคลือบอยู่เป็น
สารโปรตีน, ฟอสโฟไลปิด ก็เพื่อที่จะทำให้สามารถวัดไขมันที่อยู่ใน
membrane นี้ได้ ก็จำเป็นที่จะต้องทำลายสารที่หุ้มเม็ดไขมันนี้ออก
เสียก่อน ซึ่งโดยปกติก็จะใช้กรดซัลฟูริกเข้มข้น 90 - 91
เปอร์เซ็นต์โดยมวล(ในปีค.ศ.1935 ถูกกำหนดให้เป็นวิธีมาตรฐาน
ในการตรวจวัด) ปฎิกิริยาระหว่างกรดเข้มข้นกับน้ำนมจะทำให้
น้ำนมเปลี่ยนสีไปเป็นสีม่วง ซึ่งไขมันที่ membrane ของมันถูก
ทำลายแล้วก็จะกระจายอย่างอิสระปนอยู่ในน้ำนม ก็จะต้องรวบรวม
อีกครั้งโดยการใช้เครื่องเหวี่ยงเพื่อแยกชั้นไขมันออกจากชั้นของ
น้ำนม ซึ่งในขั้นตอนก่อนการปั่นเหวี่ยงนี้ก็จะต้องใส่่สารเคมีอีกชนิด
เข้าไป คือ isoamyl alcohol เพื่อให้การแยกชั้นเกิดขึ้นได้อย่าง
สมบูรณ์จนสามารถสังเกตุเห็นได้ด้วยตาเปล่าได้อย่างชัดเจน ซึ่ง
ภายหลังการปั่นเหวี่ยงแล้ว ชั้นของไขมันก็จะแยกชั้นออกมาจาก
น้ำนมจนสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนตามภาพ
อธิบายย่อ ๆ ไปตามคลิปดังนี้ครับ ขั้นตอนหลัก ๆ มี 5 ขั้นตอน คือ
1. การเตียมสารเคมีที่จะใช้อย่างถูกวิธีกระบวนการ 2.การเตรียม
วัตถุดิบที่จะนำมาทดสอบอย่างถูกวิธี 3.การให้ความร้อนกับสาร
4.การปั่นเหวี่ยง 5.การอ่านค่าที่ได้
ขั้นตอนการเตรียมสารเคมี ให้ใช้ Volumetric Flask ขนาด 100 ml.
จำนวน 1 ลูกพร้อมจุกปิด
ให้เตรียมกรดซัลฟูริกเข้มข้น 90 เปอร์เซ็นต์ และน้ำกลั่นไว้ ตามภาพด้านบน
จากนั้น ไปเปตน้ำกลั่นจำนวน 10 ml. มาใส่ไว้ใน Volumetric Flask จากนั้นให้
เตรียมน้ำที่มีก้อนน้ำแข็งแช่อยู่ ให้ใส่ Volumetric Flask ที่มีน้ำกลั่นนี้ลงไปใน
ภาชนะน้ำที่มีก้อนน้ำแข็งอยู่ให้แช่ไว้ จากนั้น ไปเปตกรดซัลฟูริกเข้มข้น 90
เปอร์เซ็นต์จำนวน 10 ml. ลงไปใน Volumetric Flask เขย่า Flask อย่างเบา ๆ
เพื่อให้กรดซัลฟูริกเข้มข้นนี้ ทำปฎิกิริยากับน้ำกลั่นอย่างช้า ๆ จากนั้นทำวิธีเช่นนี้
ไปอีก 9 ครั้ง คือให้ไปเปตกรดซัลฟูริกจำนวน 10 ml. ลงไปใน Flask นี้ เพราะ
ฉะนั้นใน Volumetric Flask นี้ก็จะมีสารเคมีที่เราต้องการจำนวน 100 ml. อย่า
ลืมเขย่าและหมุน Flask อย่างเบา ๆ ทุกครั้งที่เติมกรดลงไป ปิดจุก Flask นี้ให้
แน่นเมื่อได้สารเคมีที่เราต้องการครบ 100 ml. แล้ว ให้นำสารเคมีที่เราเตรียมไว้นี้
ไปแช่ตู้เย็นให้สารละลายนี้อยู่ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียสไว้ 1 คืน
ขั้นตอนต่อไปคือการเตรียมน้ำนมที่เราต้องการตรวจสอบหาไขมัน ให้ทำการ
ไปเปตน้ำนมที่เราต้องการตรวจสอบใส่ลงไปใน Butyrometer จำนวน 10.75
ml.
จากนั้นนำกรดที่เราเตรียมไว้เมื่อวานออกมาจากตู้เย็น ทิ้งไว้ข้างนอกจนได้
อุณหภูมิห้องหรือ 25 องศาเซลเซียส ไปเปตกรดที่เราเตรียมไว้นี้ออกมา 10 ml.
แล้วใส่ลงไปใน Butyrometer
จะพบว่าน้ำนมจะเปลี่ยนเป็นสีคล้ำเนื่องจาก membrane ที่หุ้มโมเลกุลไขมัน
นมถูกทำลายลง จากนั้นก็ให้ไปเปตสาร Isoamyl Alcohol จำนวน 1 ml. ใส่ลง
ไปใน Butyrometer หลังจากนั้นปิดฝา Butyrometer แล้วเขย่าเบา ๆ ช้า ๆ
ไปมา ๆ
นำหลอด Butyrometer นี้ไปอุ่นในอ่างน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 65 องศาเซลเซียส
เป็นเวลา 5 นาที
นำหลอด Butyrometer นี้ขึ้นมา แล้วนำไปเข้าเครื่องปั่นเหวี่ยง(Centrifuge
Machine) ตั้งความเร็วเครื่องไว้ที่ 1,100 rpm เป็นเวลา 5 นาที
หลังจากเวลา 5 นาทีผ่านไป ให้นำหลอด Butyrometer นี้ออกมาจากเครื่อง
ปั่นเหวี่ยง นำไปแช่ในอ่างน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 65 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 5 นาที
อ่านค่าผลที่ได้ ก็คือให้อ่านตรงชั้นไขมันบริเวณที่เห็นในภาพจะเป็นบริเวณสี
เหลืองใส ซึ่งที่ก้านของ Butyrometer จะมีตัวเลขเป็นเปอร์เซ็นต์บ่งบอกอยู่แล้ว
ให้นำค่าตัวเลขบนสุดที่สีเหลืองใสนี้อยู่แล้วลบด้วยค่าตัวเลขล่างสุดที่สีเหลืองใสนี้
อยู่
การอ่านค่าต้องอ่านให้ถูกต้องครับ คือให้สายตาคนอ่านอยู่ในระดับเดียวกัน
กับ Butyrometer หากว่าตรงจุดที่สารอยู่บริเวณขีดที่มีตัวเลขพอดิบพอดีก็ให้ใช้
ค่านี้ในการจดบันทึก แต่ถ้าหากว่าจุดที่อยู่ บังเอิญไปอยู่นอกขีดที่มีตัวเลข(เช่นใน
ภาพด้านบน ภาพ 7b) ก็ให้ประมาณค่าเอาด้วยสายตา เช่นในภาพด้านบนภาพ
7b ค่าที่อ่านได้จะอ่านได้โดยประมาณ 3.95 ก็เนื่องจากระดับของสารในภาพอยู่
ในระหว่างค่า 4.0 และค่า 3.9
ซึ่งในกรณีไขมันที่เรากำลังตรวจสอบนี้ จะอ่านค่าได้โดยประมาณ
3.5 เปอร์เซ็นต์ครับ
ความน่าสนใจของกระบวนการวัดไขมันในผลิตภัณฑ์นมชนิดต่าง ๆ โดยวิธีของ
ด็อกเตอร์เกอร์เบอร์
ความน่าสนใจคือกระบวนการวัดผลิตภัณฑ์ที่มาจากนม ในส่วนการวัดไข
มันนั้น หากใช้กระบวนการวิธีของด็อกเตอร์เกอร์เบอร์แล้ว จะสามารถวัดได้อย่าง
หลากหลายผลิตภัณฑ์มาก ๆ ซึ่งแต่ละวิธีก็จะแตกต่างไปจากวิธีหลัก คือการวัด
ไขมันในน้ำนมไม่น่าจะมากนัก กระผมเองไม่ได้เชี่ยวชาญในสาขานี้ แต่จากการ
อ่านและศึกษาแล้ว การอธิบายวิธีทำดูแล้วไม่น่าจะยากนัก และไม่ต่างหรือโดดไป
จากวิธีปกติมากนัก จึงขอฝากวิธีต่าง ๆ เหล่านี้ให้ท่านที่สนใจศึกษา และจะแนบ
ผลิตภัณฑ์ บิวทีโลมิเตอร์(Butyrometer) รุ่นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ด้วย
สนใจผลิตภัณฑ์ไฮโดรมิเตอร์วัดน้ำนม,
Butyrometer ผมอนันต์ครับ Tel.0868910596