แท่งแก้ววัดเปอร์เซ็นต์ความหวาน, Hydrometer
วัดความหวาน
ท่านครับแท่งแก้ววัดสารละลาย(Hydrometer)
นี้ถ้าหากว่าออกแบบมาเพื่อใช้วัดเปอร์เซ็นต์ความเข้มข้นของความหวาน
แล้วจะมีชื่อเรียกเฉพาะครับ โดยจะเรียกกันว่า Saccharometer หรือ
Brix Hydrometer โดยมีคำนิยมของไฮโดรมิเตอร์ชนิดนี้เป็นดังนี้ครับ
Birx (BX) hydrometers is a hydrometer use for determining the
percentage of weight by sucrose. One degree Brix is 1 gram of
sucrose in 100 grams of solution and represents the strength of
the solution as percentage by weight (% w/w) (strictly
speaking, by mass). If the solution contains dissolved solids
other than pure sucrose, then the °Bx only approximates the
dissolved solid content. The °Bx is traditionally used in the
wine, sugar, fruit juice, and honey industries.
เปอร์เซ็นต์ Brix จะหมายถึง เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักครับ
(Percentage by weight) อธิบายคือ
มีกี่กรัมของตัวถูกละลายในสารละลาย เช่นถ้าวัดความหวานได้ 1
เปอร์เซ็นต์(Brix) ก็จะหมายถึงว่าในสารละลายนั้น 100 ml จะมีน้ำตาล 1
กรัมละลายอยู่
อธิบายถึงคำว่า ml และ cc และ g อันนี้ให้ท่านเข้าใจว่าเท่ากันหมดครับ
กล่าวโดยง่าย ๆ คือ 1 ml. = 1 cc. = 1 g.
แท่งแก้วตรวจวัดเปอร์เซ็นต์ความหวานที่ผมมีจำหน่ายนี้มีทั้งแบบเป็นชุด
และแบบแท่งเดี่ยวครับซึ่งจะมีอยู่ 3 ช่วงให้ท่านเลือกนำไปใช้งานได้คือ
0 - 50 เปอร์เซ็นต์ความหวาน
50 - 100 เปอร์เซ็นต์ความหวาน
0 - 100 เปอร์เซ็นต์ความหวาน
ในส่วนของช่วงย่อยจะมีให้เลือกด้วยกัน 4 ช่วงคือ
0 - 10 เปอร์เซ็นต์ความหวาน
10 - 20 เปอร์เซ็นต์ความหวาน ความละเอียด 1 เปอร์เซ็นต์
20 - 30 เปอร์เซ็นต์ความหวาน ความละเอียด 1 เปอร์เซ็นต์
30 - 40 เปอร์เซ็นต์ความหวาน ความละเอียด 1 เปอร์เซ็นต์
0 - 100 เปอร์เซ็นต์ความหวาน ความละเอียด 1 เปอร์เซ็นต์
รีแฟคโตมิเตอร์วัดความหวานนั้น
ต้องใช้คู่กับกระบอกตวงที่ทราบปริมาตรที่แน่นอนจะเข้ากันและเหมาะสม
มาก ๆ กับการใช้วัดเปอร์เซ็นต์ความหวานที่อยู่ในสารละลายนั้น ๆ
และสุดท้ายจะสามารถนำไปสู่การคำนวนกรัมของน้ำตาลที่อยู่ในสารละ
ลายนั้น ๆ ได้ว่ามีจำนวนเท่าไร
ท่านครับเมื่อจะอ่านค่าไฮโดรมิเตอร์
ให้อ่านที่ท้องน้ำหรือจุดต่ำสุดของน้ำนะครับ
อย่าไปอ่านที่ขีดบนตรงจุดที่น้ำโค้งขึ้น
เพราะจะเป็นการอ่านค่าที่ผิดพลาด
อีกจุดหนึ่งที่ต้องระวังคือ สารที่มีความถ่วงจำเพาะที่น้อย(ดูรูป)
แท่งแก้วจะจมลงไปมากกว่าสารที่มีความถ่วงจำเพาะที่มาก
(ตัวเลขมากกว่า)
คือหากว่าความถ่วงจำเพาะของสารมีมากแล้วแท่งแก้วจะลอยขึ้นมาได้มา
กกว่า ฉะนั้นถ้าหากความถ่วงจำเพาะที่น้อยถึงน้อยมาก
ควรระวังไม่ให้แท่งแก้วไปกระทบกับก้น Cylinder ได้
ซึ่งวิธีนี้ป้องกันได้โดยการใส่สารที่จะวัดลงไปใน Cylinder ให้มากกว่า 80
เปอร์เซ็นต์ของความสูงของแท่งแก้ววัดของท่านครับ จึงจะปลอดภัย
ผมมีคลิปที่น่าสนใจมาก ๆ
ทีเดียวที่เกี่ยวข้องกับแท่งแก้วตรวจวัดเปอร์เซ็นต์ความหวานหรือ
ไฮโดรมิเตอร์วัดความหวาน
ซึ่งมันจะเป็นการคำนวนค่่ากรัมของน้ำตาลในสารละลายได้
ซึ่งถ้าท่านไปใช้รีแฟคโตมิเตอร์วัดความหวานวัดแล้ว
ท่านจะทราบก็แต่เปอร์เซ็นต์ความหวานได้อย่างเดียว
แต่ไม่อาจจะทราบจำนวนกรัมของน้ำตาลได้ ซึ่งน่าสนใจมาก
ๆ ครับ ตรงนี้ท่านสามารถนำไปประยุกต์กับเครื่องดื่มที่อร่อย ๆ
ได้เลยว่าเขาควรจะใช้น้ำตาลใส่ลงไปมากสักเท่าไร จึงได้รสชาดเช่นนั้น
อยากให้ท่านชมครับ แล้วผมจะอธิบายตาม
ในคลิปนี้ผู้วัดต้องการจะทราบน้ำหนักของน้ำตาลที่อยู่ในสารละลายที่เขา
จะวัดว่า ควรจะมีสักเท่าไร ในที่นี้เขาใช้อยู่ 3 สิ่งครับ คือ
ใช้แท่งแก้วตรวจวัดเปอร์เซ็นต์ความหวาน, ใช้กระบอกตวงพลาสติก
(หรือแก้วก็ได้)ที่เขาใช้เป็นขนาด 500 ml. ครับ
และสุดท้ายเขาใช้น้ำโคลายี่ห้อหนึ่งที่ต้องทำให้หมดฟองหมดความซ่า
แล้ว
ตรงนี้สำคัญครับเพราะ่ว่าสารละลายใด ๆ
ที่นำมาวัดโดยแท่งแก้วตรวจวัดต้องไม่ควรจะมีผลต่อการลอยของ
แท่งแก้วตรวจวัดโดยเด็ดขาด
แท่งแก้วตรวจวัดควรจะลอยได้อย่างอิสระจากเปอร์เซ็นต์ความเข้มข้น
ของสารละลายนั้น ๆ
มันไม่ควรจะลอยได้ด้วยแก๊สที่ผสมอยู่ในสารละลายนั้น ๆ
มิเช่นนั้นแล้วเวลาอ่านค่าจะได้ค่าที่ไม่ถูกต้องเที่ยงตรง
สารละลายประเภทโคลา ปกติแล้วจะอัดแก๊สเพื่อเพิ่มรสชาดความอร่อย
ตรงนี้ถ้านำมาวัดตรง ๆ เลยใช้ไม่ได้ครับ ต้องทำให้หมดความซ่า(Flat)
เสียก่อน
ซึ่งในที่นี้สารละลายโคลาของเขานั้นบรรจุอยู่ในขวดมีปริมาตรสารละลาย
ทั้งสิ้น 591 ml. หรือ 20 ออนซ์
แรกสุดก็เทสารละลายโคลาปริมาตร 591 ml.
ลงไปในกระบอกตวงพลาสติกขนาด 500 ml.
ให้หมดทั้งขวดครับซึ่งก็จะเลยขีดบนสุดของสเกลขึ้นมาเล็กน้อย
ถือว่าใช้ได้ครับ เพราะระดับบนสุดของสารละลายอยู่สูง
จะทำให้อ่านค่าได้ง่าย
หลังจากนั้นก็หย่อนแท่งแก้วตรวจวัดเปอร์เซ็นต์ความหวานลงไปครับ
ตรงนี้สำคัญว่าให้หมุนแท่งแก้วสักเล็กน้อยเพื่อไล่อากาศที่ปลายแท่งแก้ว
ออกให้หมด และที่สำคัญเวลาอ่านค่าแท่งแก้วต้องไม่ไปชนกับข้าง ๆ
ภาชนะเด็ดขาดครับ คือต้องให้ลอยนิ่ง ๆ
อยู่ในของเหลวก่อนแล้วจึงอ่านค่า
ซึ่งในที่นี้แท่งแก้วตรวจวัดอ่านค่าได้โดยลอยนิ่งอยู่ที่เลข 11
(11 เปอร์เซ็นต์ Brix)
ซึ่งตัวเลขนี้ผมอธิบายแต่แรกแล้วก็จะมีความหมายถึง
11 กรัมของน้ำตาลในสารละลาย
100 ml. ก็ให้จดบันทึกค่าไว้
แต่อย่าลืมว่าสารละลายโคลาที่ท่านนำมาตวงใส่กระบอกตวงมันไม่ใช่
100 ml. แต่ท่านเทมันหมดทั้งขวดมีปริมาตร 591 ml.
ฉะนั้นสารละลายโคลานี้มันก็ไม่ควรจะมีน้ำตาลผสมอยู่แค่ 11 กรัม
เพราะฉะนั้นแล้วท่านจำเป็นต้องคำนวนต่อ
ต่อไปก็เข้าสูตรการคำนวนครับ วิธีทำคือใช้สูตรด้านล่างคือ
ค่าที่แท่งแก้วตรวจวัดได้/100 =
จำนวนกรัมของน้ำตาลทั้งหมดที่อยู่ในสารละลายที่นำมาวัด/ปริมาตรของ
สารละลายที่นำมาวัด
ซึ่งจริง ๆ แล้ว สูตรนี้มันก็คือสูตรหาอัตราส่วนอย่างง่ายนั่นเองครับ
คือ A/B = C/D
แทนค่าสูตรแล้วแก้สมการครับ
11/100 = จำนวนกรัมของน้ำตาลทั้งหมดที่อยู่ในสารละลาย/591
แก้สมการโดยการคูณแทยง
ท่านก็จะได้จำนวนกรัมของน้ำตาลที่อยู่ในสารละลายที่นำมาวัด(ปริมาตร
591 ml.) ว่าได้เท่ากับ 65 กรัม
หรือโดยประมาณก็น้ำตาลที่เห็นตามภาพด้านล่าง
ตรงนี้มีความน่าสนใจมากเช่นกันครับ
เพราะว่าเปอร์เซ็นต์ความหวานหรือเปอร์เซ็นต์ Brix นั้น
ไม่เพียงแต่จะบอกว่าสารละลายนั้น ๆ
มีความหวานมากหรือน้อยแต่เพียงอย่างเดียว
แต่อีกนัยหนึ่งมันบอกอ้อม ๆ ไปด้วยว่าในสารละลายนั้น ๆ
ควรจะมีน้ำตาลอยู่กี่กรัมผสมอยู่
และถ้าหากท่านจะเตรียมสารละลายให้มากขึ้นหรือน้อยลงท่านควรจะใส่
น้ำตาลลงไปกี่กรัม ยกตัวอย่างก็เช่นในกรณีเช่นนี้
น้ำโคลาที่เขานำมาทดสอบมีปริมาตร 591 ml.
ถ้าเราจะถามว่าถ้าจะผลิตน้ำโคลานี้สัก 100,000 ml.
แล้วเราควรจะเตรียมน้ำตาลไว้ใส่กี่กรัม จึงจะได้ความหวานระดับนี้
เป็นต้น
สนใจผลิตภัณฑ์แท่งแก้ววัดเปอร์เซ็นต์ความหวาน
และกระบอกตวงวัด ผมอนัันต์ครับ
Tel.0868910596