รีแฟคโตมิเตอร์วัดความเค็มช่วงการวัดสูงสุด 35 เปอร์เซ็นต์,
Salted refractometer maximum measurement 35%
3,500.- ผมอนันต์ครับ Tel.0868910596
สำหรับรีแฟคโตมิเตอร์รุ่นที่ผมจะนำเสนอท่านรุ่นนี้
เป็นรีแฟคโตมิเตอร์วัดความเค็มระบบ ATC(Automatic Temperature
Compensation) ครับ
แต่ที่พิเศษสุดคือเปอร์เซ็นต์การวัดที่มากขึ้น คือสามารถวัดได้ถึงสูงสุด 35
เปอร์เซ็นต์ความเค็ม
ท่านครับมีบางท่านสงสัยว่าเหตุใด
รีแฟคโตมิเตอร์รุ่นนี้จึงมีราคาสูงเมื่อเทียบกับรีแฟคโตมิเตอร์รุ่นทั่ว ๆ
ไปที่จำหน่ายกันซึ่งมีราคาไม่น่าจะเกินกว่า 2,500 บาท
คำตอบคือความทนทานและความน่าใช้ครับ มันปึ๊กกว่ากันครับ
จะทราบได้คือต้องดูจากของจริง
ผมลองเปรียบเทียบรีแฟคโตมิเตอร์รุ่นนี้กับรุ่นธรรมดาให้ชมครับ
ท่านเชื่อไหมว่ารีแฟคโตมิเตอร์รุ่นตัวเครื่องสีน้ำเงินที่ผมนำเสนอนี้
ถึงจะมีขนาดที่เล็กกว่า รีแฟคโตมิเตอร์วัดความเค็มธรรมดาก็ตามแต่
แต่ว่าน้ำหนักของมันเรียกว่าเท่าักัน หรือจะหนักกว่าด้วยสักเล็กน้อย
ตัวถังส่วนประกอบของมันแข็งแรงเรียกกันได้ว่าน้อง ๆ
รีแฟคโตมิเตอร์ของญี่ปุ่นยี่ห้อดังยี่ห้อหนึ่งที่ขายกันประมาณ 8,000 บาททีเดียว
แต่เดี๋ยวก่อนรีแฟคโตมิเตอร์ของญี่ปุ่นบางยี่ห้อซึ่งมักจะถูกลูกค้าอ้างอิงถึงในเรื่
องของความหนักความแข็งแรงนั้น ในอดีตผมยอมรับว่าดีจริง
ยกขึ้นมานี่หนักอึ้งเลย แข็งแรง, ปึ๊ก ทนและน่า้้ใช้มาก
แต่ว่าเดี๋ยวก่อนปัจจุบันนี้เท่าที่ผมทราบและไปดูเองแล้ว และสอบถามมา
เข้าใจว่าเลิกผลิตไปแล้วครับ
ผมลองเทียบน้ำหนักรีแฟคโตมิเตอร์รุ่นใหม่ของเขาดูแล้วเท่า ๆ
กับรีแฟคโตมิเตอร์รุ่นธรรมดาของผมเลย
ฉะนั้นแล้วที่เห็นอยู่ในมือลูกค้าที่ซื้อกันมาแล้วหลาย ๆ
ปีปัจจุบันถ้าหากท่านไปหาซื้ออันใหม่ อาจจะไม่ได้มาตรฐานเดิม(
ในเรื่องน้ำหนักของวัสดุ, ความทน)
ก็เป็นไปได้
ดังนั้นถ้าหากท่านยังมองหาหรือปรารถนาจะได้รีแฟคโตมิเตอร์อันใหม่ที่ยังคงคว
ามหนักและทนทานอยู่เหมือนเดิม
ท่านลองใช้รีแฟคโตมิเตอร์รุ่นนี้ดูจะเหมาะมากครับ
ดูฝาปิดก็น่าใช้กว่าแล้วครับ ดูหนาแน่นกว่า
ท่านครับ ผมมีคลิปคลิปหนึ่งที่ผมชมหลายรอบแล้ว พบว่ามีประโยชน์มาก ๆ
เลยครับ มันเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการเจือจางสาร ให้ละลายเจือจางไปเรื่อย
ๆ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ให้เราสามารถวัดค่าความเข้มข้นของสารละลายตั้งต้นได้
ในกรณีที่มิเตอร์เครื่องวัดของท่านไม่มีความสามารถที่จะวัดสารละลายนั้นได้
เพราะว่าวัดค่าที่ความเข้มข้นมาก ๆ หรือสเกลของเครื่องวัดไปไม่ถึง
เช่นถ้าหากเครื่องของท่านวัดค่าความเค็มได้สูงสุด 35 เปอร์เซ็นต์
แต่สารตั้งต้นของท่านมีค่าความเค็มที่สูงกว่าจุดนี้ ท่านก็จะใช้เครื่องนี้วัดไม่ได้
แต่ถ้าหากว่าท่านใช้วิธีตามคลิปวีดีโอ ท่านก็จะสามารถวัดได้ครับ
มาชมคลิปก่อนครับ แล้วผมจะขออธิบายตามหลัง
http://www.youtube.com/watch?v=ZqdU3VfQ_Tc
วิธีที่เห็นในคลิปนี้เรียกว่าวิธี Serial Dilution ครับ
หรือการทำเจือจางอย่างต่อเนื่อง
เริ่มต้นจากผู้บรรยายนำน้ำบริสุทธิ์มาจำนวนหนึ่ง
หลังจากนั้นเขานำออโตไปเปตเหมือนภาพด้านล่างมาดูดน้ำนี้จำนวน 270
ไมโครลิตร ใส่ลงไปในหลุม 8 หลุมจำนวนเท่า ๆ กันทุกหลุม
หลังจากนั้นผู้บรรยายก็นำสีธรรมดานี่ละครับดูดขึ้นมาด้วยออโตไปเปต จำนวน
30 ไมโครลิตร ซึ่งสีนี้มีความเข้มข้น 100 ไมโครกรัม/ไมโครลิตร
หยดลงไปในหลุมแรก(หลุมซ้ายสุด) หลังจากนั้นเขาก็ดูดสารจากหลุมแรก(
หลุมซ้ายสุด) ขึ้นมา 30 ไมโครลิตรแล้วหยดลงไปในหลุมที่สอง
หลังจากนั้นก็ทำไปเรื่อย ๆ จนถึงหลุมที่แปด คือดูดขึ้นมาทีละ 30
ไมโครลิตรจากทุกหลุมและหยดลงไปในหลุมถัด ๆ ไปจนถึงหลุมที่แปด(
ดุวีดีโอประกอบครับ)
อธิบายช้า ๆ ครับ
เราใส่น้ำธรรดา(น้ำกลั่น) จำนวนเท่า ๆ กันลงไปใน 8 หลุม หลุมละ 270
ไมโครลิตร
หลังจากนั้นก็ดูดสีขึั้้นมา 30 ไมโครลิตร ใส่ลงไปในหลุมแรกสุด
เพราะฉะนั้นแล้วในหลุมแรกสุดท่านก็จะมีสารละลาย สี + น้ำ จำนวน 270 + 30
ซึ่งเท่ากับ 300 ไมโครลิตร
หลังจากนั้นท่านก็ดูดสารละลายจากหลุมที่ 1 จำนวน 30
ไมโครลิตรใส่ลงไปในหลุมที่สอง
เพราะฉะนั้นหลุมที่สองของท่านก็จะมีสารละลาย 270 + 30(จากหลุมที่ 1 )
รวมมีสารละลาย 300 ไมโครลิตร หลังจากนั้นท่านก็ดูดและทำเช่นนี้เรื่อย ๆ
ไปจนถึงหลุมที่แปดสุดท้าย
แต่เนื่องจากว่าสีที่เรานำมาหยดมีความเข้มข้นเท่ากับ 100
ไมโครกรัม/ไมโครลิตร
ท่านครับ ท่านดูดสี(เริ่มต้น)ขึ้นมา 30 ไมโครลิตร แล้วใส่ลงไปในหลุมที่ 1
เพราะฉะนั้นแล้วหลุมที่หนึ่งก็จะมีปริมาณสารละลาย 270 + 30 เท่ากับ 300
ไมโครลิตร ฉะนั้นแล้วเราเทียบความเข้มข้นของหลุมที่ 1
กับสีเริ่มต้นจะได้เท่ากับ 30/300
ไมโครลิตร หรือเท่ากับ 1/10 เรียกกันว่า One Tenth dilution
หรือการทำให้เจือจางลง 10 เท่า(หรือเรียกว่า Ten Time dilution factor)
เมื่อเทียบกับสีตั้งต้น
ซึ่งถ้าหากว่าท่านทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ ก็คือท่านดูดสารละลายจากหลุมที่ 1 (
ซึ่งมีสารละลาย 300 ไมโครลิตร) ขึ้นมา 30 ไมโครลิตรแล้วใส่ลงไปในหลุมที่ 2 (
ซึ่งก็จะทำให้หลุมที่สองมีสารละลาย 300 ไมโครลิตร)
จากนั้นดูดสารละลายจากหลุมที่ 2 จำนวน 30 ไมโครลิตรใส่หลุมที่ 3
หลังจากนั้นดูดจากหลุมที่ 3 ไปใ่ส่หลุมที่ 4 ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนถึงหลุมที่แปด
กล่าวสรุปได้ว่า หลุมที่ 2 มีความเข้มข้นเป็น 1 ใน 10 เท่าของหลุมที่ 1
หลุมที่ 3 มีความเข้มข้นเป็น 1 ใน 10 เท่าของหลุมที่ 2
...
...
...
หลุมที่ 8 มีความเข้มข้นเป็น 1 ใน 10 เท่าของหลุมที่ 7
หรือสรุปสุดท้ายก็คือ หลุมที่ 8 มีความเข้มข้นเจือจางลง 100,000,000
เท่าของสีตั้งต้น หรือถ้าหากจะกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า
ถ้าหากท่านอ่านค่าสุดท้ายความเข้มข้นของหลุมที่ 8 ไ้ด้เท่าใด ก็ให้นำ ตัวเลข
100,000,000 คูณเข้าไปก็จะเท่ากับความเข้มข้นของสีตั้งต้นนั่นเอง
การนำเรื่องนี้ไปใช้ประโยชน์
สมมติว่ารีแฟคโตมิเตอร์ของท่านวัดค่าความเข้มข้นได้สูงสุด
35 เปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อท่านนำสารละลายตั้งต้นมาวัดแล้ว
ปรากฎว่าวัดไม่ได้ เพราะว่ามันเกินกว่า 35
เปอร์เซ็นต์ที่เครื่องจะรับจะวัดกันได้
ก็ให้ท่านตวงสารละลายนั้นมา 1
ส่วนใส่ในภาชนะที่สะอาด หลังจากนั้นให้ท่านเติมน้ำ 9
ส่วนลงไป คนให้เข้ากันมาก ๆ และนาน ๆ
แล้ววัดค่าดูด้วยรีแฟคโตมิเตอร์อันนี้
ถ้าหากว่าอ่านค่าได้หรือวัดได้เท่าใด
ก็ตาม ให้ท่านคูณค่าที่อ่านได้ด้วย 10
ท่านก็จะได้สารละลายตั้งต้นที่ท่านอ่านค่าไม่ได้นั่นเองครับ
ยกตัวอย่างเช่น ท่านเจือจางลงครั้งแรกแล้วอ่านค่าได้เท่ากับ 5
เปอร์เซ็นต์
เพราะฉะนั้นสารละลายตั้งต้นท่านก็จะมีความเข้มข้นเท่ากับ 5
x 10 หรือเท่ากับ 50 เปอร์เซ็นต์ครับผม
ถ้าหากว่าถ้วยแรกที่เืจือจางแล้วยังอ่านค่าไม่ได้หรือยังเกินอยู่
ก็ให้ท่านทำถ้วยที่สอง(คือจากวีดีโอคือหลุมที่ 2)
ถ้าทำแล้วอ่านได้เท่าใด ก็คูณด้วย 100
ซึ่งก็จะได้ความเข้มข้นเท่ากับสารละลายตั้งต้นนั่นเองครับ
ุ
ถ้าทำถ้วยที่สามแล้วอ่านค่าได้ก็คูณด้วย 1,000
ถ้าทำถ้วยที่สี่แล้วอ่านค่าได้ก็คูณด้วย 10,000 เป็นต้น
แต่ส่วนใหญ่ที่ผมทำ ทำแค่ถ้วยแรก
ก็เกินพอที่จะอ่านค่าได้แล้วครับ