การตรวจสอบเครื่องดับเพลิง, วิธีตรวจสอบเครื่องดับเพลิง
มีวิธีตรวจสอบเครื่องดับเพลิงหลากหลายวิธีครับ
รวมทั้งวิธีบำรุงรักษา
และสิ่งที่ไม่คาดฝันที่อาจจะเกิดกับเครื่องดับเพลิงในกรณีที่เกิดเพลิ
งไหม้ึขึ้น
ท่านครับวิธีตรวจสอบเครื่องดับเพลิงที่ง่ายทีุ่สุดมีสองวิธีด้วยกัน คือ
ดูจากเกจแรงดัน และดูจากฉลาก
ด้านล่างนี้คือฉลากที่ผมถ่ายจากด้านหน้าของเครื่องดับเพลิงที่ทุกเค
รื่องดับเพลิงต้องมีครับ ถ้าเครื่องดับเพลิงเครื่องใดไม่มีฉลาก
ถือว่าใช้ไม่ได้ครับ ต้องไปหามาติด(อย่างเด็ดขาด)
ตรงนี้เป็นเครื่องดับเพลิงคาร์บอนไดอ็อกไซด์ครับ
ความน่าสนใจคือข้อความในฉลากที่ปิดอยู่
ซึ่งข้อความเหล่านี้มีประโยชน์มาก ๆ เลยครับ จะละเลยไม่ได้
เป็นการตรวจสอบที่มีประโยชน์
อันนี้เป็นถังดับเพลิงขนาด 10 ปอนด์ ขออธิบายดังนี้
Weight of agent 4.5 Kgs. อันนี้หมายถึง
น้ำหนักของสารเคมีที่อยู่ในถังครับ
สรุปว่าน้ำหนักเคมีที่อยู่ในถังมีน้ำหนัก 4.5 กิโลกรัม
ท่านครับถังดับเพลิงแบบคาร์บอนไดอ็อกไซด์ ไม่มีเกจความดันครับ
การจะทราบว่าถังดับเพลิงนี้มีเคมีอยู่ในถังหรือไม่
หรือแม้กระทั่งว่าการบรรจุเคมีลงในถังจะทราบได้ว่าได้เคมีครบถ้วน
เต็มถังแล้ว ก็ต้องใช้การชั่งน้ำหนักเช่นกัน
Gross Weight(Approx.) 13.5 Kgs.
อันนี้หมายถึงน้ำหนักทั้งหมดของถังรวมทั้งเคมีที่อยู่ในถังครับซึ่งเท่
ากับ 13.5 กิโลกรัม ตรงนี้เราสามารถสรุปได้ว่าน้ำหนักของถังเปล่า
ๆ ควรจะอยู่ที่ 13.5 - 4.5 = 9 กิโลกรัม
ซึ่งถือได้หนักพอควรเลยครับ
เพราะว่าถังประเภทคาร์บอนไดอ็อกไซด์
จำเป็นต้องออกแบบมาเพื่อให้รับแรงดันมาก ๆ
จุดต่อไปที่มีความน่าสนใจคือคำว่า
Shooting Range 2 - 4 m.
อันนี้หมายความว่าระยะฉีดของเคมีที่จะฉีดไปได้ครับ
ควรจะฉีดอยู่ในระยะ 2 - 4 เมตรจึงจะเหมาะสม
Discharging time 16 secs.
อันนี้หมายถึงระยะเวลาที่ท่านจะฉีดได้ จะอยู่ที่ 16
วินาทีถ้าหากฉีดใช้อย่างต่อเนื่อง ตรงนี้สำคัญว่า
ท่านควรจะฉีดหรือใช้ถังให้มีประสิทธิภาพสูงสุดภายในเวลา 16
วินาทีครับ
ด้านล่างนี้เป็นถังดังเพลิงชนิดเคมีสูตรน้ำ
มีความน่าสนใจเช่นกันครับ
Weight of Agent : 6.8 liters.
ตรงนี้หมายถึงสารเคมีที่อยู่ในถังครับว่ามี 6.8 ลิตร
เนื่องจากเคมีสูตรน้ำเป็นของเหลวที่บรรจุในถังดับเพลิง ฉะนั้น
การแจ้งปริมาณบรรจุ จะแจ้งเป็นหน่วยสากล คือ ลิตร(1 ลิตรคือ
น้ำหนัก1 กิโลกรัม)
Gross weight(Approx.) 9.8 Kgs.
อันนี้หมายถึงน้ำหนักของถังดับเพลิงรวมกับสารเคมีที่อยู่ในถัง
ตรงนี้ทำให้เข้าใจได้ว่า น้ำหนักของถังดับเพลิงอย่างเดียวจะอยู่ที่
9.8 - 6.8 = 3 กิโลกรัม
ถือได้ว่าน้ำหนักของถังดับเพลิงเปล่าชนิดนี้เบาดีทีเดียว
และดูเหมือนว่าจะได้เนื้อของสารเคมีที่บรรจุ บรรจุได้มากด้วยครับ
เพราะแรงดันของถังดับเพลิงชนิดนี้จะน้อยกว่า
จำพวกถังดับเพลิงที่เป็นเคมีหรือก๊าซ
คราวนี้มาดูเครื่องดับเพลิงน้ำยาฮาโลตรอนบ้างครับ
ฮาโลตรอนเป็นเคมีจำพวกก๊าซดับไฟอีกชนิดหนึ่ง
ตัวถังจำเป็นต้องแข็งแรงทำด้วยเหล็ก
และสามารถที่จะรับกับแรงดันได้มาก ๆ ด้วย
Weight of Container 3.3 Kgs.
อันนี้หมายถึงน้ำหนักของถังอย่างเดียวครับ เท่ากับ 3.3 กิโลกรัม
Gross weight 10.2 Kgs.
อันนี้หมายถึงน้ำหนักของถังดับเพลิงรวมกับน้ำยาดับเพลิง
ฉะนั้นแล้ว เฉพาะสารเคมีเนื้อน้ำยาก็จะมีน้ำหนักเท่ากับ 10.2 - 3.3
= 6.9 กิโลกรัม
Shooting Range 2 - 5 M.
อันนี้หมายถึงระยะฉีดที่ควรจะใช้เพื่อให้การฉีดมีประสิทธิภาพสูงสุด
Discharging time 16 secs.
อันนี้หมายถึงเวลาที่ใช้อย่างต่อเนื่องจะสามารถฉีดได้นาน 16 วินาที
อีกวิธีหนึ่งในการตรวจสอบถังดับเพลิง
คือให้ดูที่ Pressure gauge ครับ
ที่ถูกต้องแล้วเข็มจะต้องอยู่ที่ตรงกลางบริเวณแถบสีเขียว
จึงจะถือว่าถูกต้องใช้งานได้ดี
ตรงนี้เข็มค่อนไปทางซ้ายมือเล็กน้อย
แสดงว่ามีแรงดันในถังมากไปสักเล็กน้อย แต่ก็ยังไม่เป็นไรมากครับ
ถือว่าใช้ได้ แต่ถ้าไปมากกว่านี้่มาก ๆ
ควรจะนำไปตรวจสอบอีกครั้งเพื่อความปลอดภัยครับ
อันนี้เป็น Pressure Gauge ของถังแบบน้ำยาเคมีสูตรน้ำ ขนาด 15
ปอนด์ มีสายฉีดเพื่อปล่อยน้ำยา ถังลักษณะนี้ค่อนข้างปลอดภัยครับ
เพราะน้ำยาเคมีสูตรน้ำแล้ว เนื้อของมันเป็นของเหลว
ภายในถังส่วนใหญ่มีแรงดันไม่สูงมาก ๆ ถ้าเป็นถังเล็ก ๆ เช่น 2.2 -
5.0 ปอนด์ด้วยแล้ว สายฉีดก็ยังไม่มีให้ เพราะแรงดันในถังต่ำมาก ๆ
เวลาใช้ให้ใช้ฉีดออกทางกระบอกไปยังจุดที่ไฟลุกไหม้ได้เลย
สุดท้ายแล้ว หลังจากที่ท่านได้ดู Pressure Gauge(เกจแรงดัน)
แล้ว ท่านควรจะนำถังนั้นมาชั่งน้ำหนักอีกครั้งก็จะยิ่งดีครับ
และถ้าหากว่าจะให้ดีกว่านั้น ถ้าเป็นถังจำพวกผงเคมีแห้ง
ให้ท่านเขย่าถังสักหลาย ๆ ครั้ง(เขย่าด้วยมือสองมือ)
เพื่อไม่ให้ผงเคมีในถังจับเป็นก้อน
ถ้าในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุเพลิงไหม้ขึ้นในสถานประกอบการ
เช่นโรงงาน จากประสบการณ์แล้ว พบว่าบางครั้ง ถังดับเพลิงบางถัง
ที่ติดตั้งอย่างเรียบร้อยบนฝาผนัง เมื่อนำออกมาแล้ว
ไม่สามารถใช้งานได้ครับ เพราะหมด อันนี้เป็นอะไรน่าสนใจอย่างยิ่ง
ถ้าหากว่าท่านไม่ตรวจสอบถังดับเพลิงให้แน่ชัด
หรือทำการชั่งน้ำหนักให้แน่นอนแล้ว
ถ้าหากมีเหตุอุบัติเหตุเพลิงไหม้อันไม่พึงประสงค์
และในขณะนั้นไม่มีคนอยู่ในบริเวณนั้นมาก หรือเป็นเวลาวิกาล
ถังดับเพลิงอาจจะถูกนำมาใช้โดยลูกน้องลูกจ้าง เจตนาเพื่อดับไฟ
ซึ่งมีสาเหตุเพลิงไหม้จากอะไรก็ไม่ทราบได้
อุบัติเหตุเพลิงไหม้ ไม่ว่าจะไหม้เล็ก หรือไหม้มาก
จะตั้งใจทำเนื่องจากหยอกล้อ หรือจะไม่ตั้งใจก็แล้วแต่
ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ครับ บางทีคนใช้ไม่กล้าแจ้งว่ามีอุบัติเหตุ
เนื่องจากกลัวการถูกสอบสวนอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นว่าเป็นเพราะอะไร
หรือไม่อยากจะต้องไปให้ปากคำ
ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าอาจจะไม่เป็นผลดีต่อหน้าที่การงานของเขา
ข้อควรต้องระวังเป็นอย่างยิ่ง
เครื่องดับเพลิงถูกออกแบบมาเพื่อดับเพลิงดับไฟครับ
แต่ว่าทั้งนี้ทั้งนั้นมันไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้ทนไฟหรือความร้อน
สูง ๆ ได้นาน ๆ นะครับ
เพราะฉะนั้นแล้วควรระวังในกรณีที่เกิดเหตุเพลิงไหม้
ถ้าท่านพบเห็นเครื่องดับเพลิงกำลังจะถูกเพลิงไหม้ ควรจะรีบ ๆ
เคลื่อนย้ายออกมาจากบริเวณนั้นโดยด่วนก็จะดีครับ
เพราะเครื่องดับเพลิงคือน้ำยาดับเพลิงที่บรรจุอยู่ใต้แรงดัน
การไปถูกความร้อนเผาอยู่เป็นเวลานาน ๆ จะระเบิดขึ้นมาได้ครับ
จุดนี้สำคัญเหมือนกัน ว่าบางสถานที่ที่มีเครื่องดับเพลิงมาก ๆ
แต่ว่าเวลาเกิดเหตุขึ้นจริง ๆ กลับไม่มีคนไปยกถังดับเพลิงมาดับ
ถ้าหากว่าถังดับเพลิงถูกความร้อนจากเปลวไฟเผานาน ๆ
อันตรายมาก ๆ ครับ
ถ้าท่านไม่แน่ใจว่ากรณีที่มีเหตุเกิดขึ้นแล้วจะมีคนมาช่วยดับเพลิงหรื
อมีคนยกถังดับเพลิงมาช่วยดับหรือไม่
หรือบางทีไม่แน่ใจด้วยซ้ำว่าถังดับเพลิงไปติดตั้งอยู่ตรงไหน
หรือที่ใด เพราะติดตั้งนานจนลืมไปแล้วหรือมีการเปลี่ยนกะ
ให้ท่านเลือกใช้เครื่องดับเพลิงแบบติดตั้งเพดานอัตโนมัติก็ไม่เลวเห
มือนกันครับ
เพราะมันจะทำงานเองเมื่อมีเหตุแต่มันจะต้องได้รับความร้อนจนถึงจุ
ดที่มันจะรับได้ครับ
http://www.youtube.com/watch?v=HolOi2x1Vvc
ซึ่งการระวังอันตรายของเครื่องดับเพลิงจะระเบิดขึ้นมานี่
ครอบคลุมไปถึงในเวลาที่ไปฝึกดับเพลิงด้วยครับ
ว่าต้องดูแลเครื่องดับเพลิงให้ดี โดยเฉพาะเป็นการฝึกแบบขั้นก้าวหน้า
หรือแบบ advance ซึ่งจะเป็นการฝึกที่ต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้ากันเอง
หรือฝึกกับการดับเพลิงน้ำมันตามโรงกลั่น
บางครั้งครูฝึกปล่อยให้ผู้ฝึกแก้ปัญหาเฉพาะหน้ากันไปเอง
จนลืมนึกไปถึงความปลอดภัยของเครื่องดับเพลิงที่ไฟกำลังลามมาถึงและ
มีเครื่องตั้งอยู่หลาย ๆ เครื่องในลานฝึก
เหตุการณ์นี้ผมเคยเจอมาแล้วครับ
ครูฝึกเป็นฝรั่งครับ เขาตั้งสถานการณ์จำลองขึ้นมายาก ๆ
จุดไฟขึ้นมาพร้อม ๆ กันหลายจุดแล้วปล่อยผู้ฝึกเข้าสู่สนามฝึก
ทั้งนี้เขาก็อยากจะให้ผู้ฝึกแก้ไขปัญหากันเอง
โดยไม่เข้าไปช่วยอะไรเลยทั้งสิ้น วันนั้นมีเครื่องดับเพลิงผงเคมีแห้งขนาด
15 ปอนด์ อยู่ในลานฝึก 4-5เครื่องแล้วไฟลามมาที่ถังแล้ว เกือบ ๆ
จะย้ายกันไม่ทันไหม้ัถังเสียหายไปเกือบหมด โชคดีถังยังไม่ระเบิดขึ้นมา