|
|
เครื่องนี้เป็นมิเตอร์วัดความหนาของชั้นสีที่เคลือบอยู่บนผิววัสดุทั้งที่เป็นโลหะ
และ อโลหะ เครื่องนี้เหมาะสำหรับอู่พ่นสีรถยนต์ หรือโรงงานอุตสาหกรรมทั่ว ๆ
ไป ที่ต้องการวัดความหนาของชั้นสีที่เคลือบบนวัสดุผิว ส่วนสเปคของเครื่อง
ตรวจสอบได้จากทางด้านบน ลองชมภาพประกอบจะเข้าใจง่ายขึ้นครับ
ในชุดจะประกอบไปด้วย ตัวเครื่อง, สายวัด 2 เส้นซึ่งจะวัดแบบโลหะกับอโลหะ, แผ่นเทส 4 แผ่น, และบล็อก
โลหะและบล็อกอโลหะสำหรับเทสอย่างละบล็อก
เครื่องรุ่นนี้ใช้ถ่านไฟฉายธรรมดาเพียง 4 ก้อนเพื่อทำงาน
หน้าปัทม์ของตัวเครื่องเป็นดังนี้ครับ สังเกตุคร่าว ๆ ปุ่มกลางสุดไว้สำหรับเปิดปิดเครื่อง ถ้าเปิดเครื่องแล้ว
เครื่องไม่ขึ้นเลข 0 ให้กดปุ่ม ZERO หรือปุ่มล่างสุด ส่วนปุ่มลูกศรบนล่าง(อยู่ทางซ้ายและขวา) ไว้สำหรับการ
คาลิเบรตเครื่องให้ได้ค่าที่ใกล้เคียงที่สุด
สายวัดที่ให้มาสำหรับวัดจะมีสองเส้นครับ ท่านต้องเลือกใช้ให้ถูกต้องว่าจะวัดความหนาของสีที่เคลือบบน
โลหะหรืออโลหะ
ให้ท่านนำสายวัดเส้นที่เลือกแล้วมาเสียงที่แจ๊กเสียบด้านล่างของเครื่อง
ในชุดที่ให้มาท่านจะพบว่ามีแผ่นเทส ไว้สำหรับคาลิเบรตเครื่องให้ทั้งสิ้นสี่แผ่นด้วยครับ ที่ถูกต้องท่านควรจะ
ต้องทราบความหนาคร่าว ๆ ของชั้นสีที่ท่านจะตรวจวัดด้วยว่าอยู่ในช่วงความหนาประมาณไหน หน่วยที่วัดจะ
เป็นไมครอนครับ
สุดท้ายก่อนนำเครื่องไปใช้ให้ท่านนำแผ่นที่เลือกความหนามาเทสกับบล็อกวัด
โลหะหรืออโลหะ ถ้าเป็นโลหะก็จะเป็นบล็อกที่อยู่ทางซ้ายมือ ส่วนถ้าเป็นอโลหะ
ก็เป็นบล็อกที่อยู่ทางขวามือ ในที่นี้ผมยกตัวอย่างว่า ผมพอจะทราบความหนา
ของชั้นสีว่าอยู่ที่ช่วงใด ผมก็นำมาทดสอบก่อน(คาลิเบรต) ค่าว่าตรงกับช่วง
ความหนานั้นๆ ไหม เช่นในที่นี้ ความหนาอยู่ที่ 296 บวกลบ 3 ไมครอน ก็ให้ท่าน
นำหัววัดมากดลงไปแล้วอ่านตัวเลขที่เครื่อง ถ้าเครื่องขึ้นค่าตัวเลขที่ไม่ตรงตาม
นี้ ก็ให้ท่านคาลิเบรตโดยกดปุ่มเลื่อนขึ้นหรือลง(ปุ่มซ้ายหรือขวา)ตามที่ได้กล่าว
มาแล้วเพื่อให้ได้ค่าการวัดที่ 296 บวกลบ 3 ไมครอน เท่านี้ก็เสร็จสิ้นสามารถนำ
เครื่องไปใช้ได้ทันทีครับ
ท่านครับ ผมมีเครื่องวัดความหนาของชั้นสีอีกรุ่นหนึ่งที่อยาก
จะขอนำเสนอ ลักษณะหน้าตารูปร่างขนาดการใช้งานเหมือน
กันกับเครื่องวัดความหนารุ่น CM-8826FN ทุกประการ ต่างกัน
เพียงเล็กน้อยคือมันไม่มีสายครับ การวัดความหนาของชั้นสีจะ
วัดจากตัวเครื่องเลย คือเอาเครื่องไปแตะกับชิ้นงานแล้วเครื่อง
จะวัดค่าให้เองครับ เครื่องรุ่นที่ผมกล่าวถึงนี้คือ Model
CM-8825FN ราคาอยู่ที่เครื่องละ 13,500 บาท หน้าตาเป็น
แบบนี้ครับ
ผมลองให้ท่านลองเปรียบเทียบกับรุ่น CM-8826FN อีกครั้งและผมจะสรุปให้ทราบคร่าว ๆ ถึงข้อดีและข้อเสียอีกครั้งครับ
เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของทั้งสองรุ่น
ถ้าพูดถึงความสะดวก แล้ว รุ่น CM-8826FN จะง่ายกว่าในการวัดเพราะ
ว่าเวลาวัดเราใช้สายไปวัดเพราะฉะนั้นตัวเครื่องจะยังอยู่ในมืออีกข้างของ
เรา โอกาสตกหล่นเสียหายมีน้อยกว่า และหัววัดนั้นเล็กกว่าแคบกว่า
สามารถวัดในมุมเล็ก ๆ ในจุดเล็ก ๆ ได้เช่น สามารถวัดความหนาของชั้นสี
ในพื้นที่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดเหรียญ 50 สตางค์(สมัยใหม่ได้)
วัดในจุดที่อับ ๆ เช่นใต้ท้องรถวัดได้โดยท่านเองไม่ต้องมุดเข้าไปใต้รถ วัด
โดยใช้สายแหย่ไปในจุดที่จะวัดได้เลยโอกาสอ่านค่าแล้วผิดจะน้อยกว่า
ในขณะที่ถ้าเป็นรุ่น CM-8825FN จะวัดได้ยากกว่า วัดได้เหมือนกันแต่
หน้าแปลนจะใหญ่กว่า ฉะนั้นโอกาสวัดแล้วอ่านค่าผิดเป็นไปได้(แต่เครื่อง
ใช้งานปกติครับ)
ถ้าพูดถึงความทนทานแล้วเป็นไปได้ว่าถ้าเป็นรุ่น CM-8826FN
โอกาสที่สายจะชำรุดมีโอกาสมากกว่า เพราะ้ต้องดึงเข้า ๆ ออก ๆ บ่อย
ครั้งเวลาที่ท่านเลิกใช้(ในกรณีที่ท่านใช้งานบ่อยเป็นประจำ) ไม่เพียงเท่า
การดึงสายวัดออกบ่อยครั้งก็เป็นไปได้ว่าจะทำให้หัวแจ็คเสียบอาจจะ
ชำรุดได้ง่ายด้วยฉะนั้นสำคัญมาก ๆ ครับสำหรับรุ่น CM-8826FN ที่เวลา
ที่ท่านจะดึงสายออกหรือใส่สายเข้าต้องทำอย่างระมัดระวังและทะนุถนอม
มาก ๆ
สังเกตุว่ารุ่น CM-8825FN จะมีปุ่มเพิ่มขึ้นมาอีกปุ่มทางขวามือปุ่มบนสุด
คือปุ่ม F/NF ให้ท่านกดเลือกว่าจะวัดแบบ Ferite หรือ non Ferite ครับ
แต่ถ้าเป็นรุ่น CM-8826FN แล้วท่านต้องเสียบสายวัดก่อนครับหน้าจอถึง
จะขึ้นค่าเป็น Fe หรือ NFe
ผมขออธิบายตามคู่มือการใช้งานอีกครั้งนะครับการวัดโดยใช้สาย
Ferrite(Fe)หมายถึง การวัดความหนาของชั้นสีบนโลหะที่ไม่เป็นตัว
เหนี่ยวนำแม่เหล็ก(แม่เหล็กดูดโลหะชิ้นนั้นไม่ติด) ส่วนการวัดโดยใช้สาย
แบบ Non Ferrite(NFe) หมายถึง การวัดความหนาของชั้นสีบนโลหะที่
โลหะที่วัดอยู่นั้นไม่กระทำตัวเป็นตัวเหนี่ยวนำแม่เหล็ก(แม่เหล็กไม่ดูดกับ
โลหะชิ้นนั้นครับ)
ถ้าท่านประสงค์จะอ่านคู่มือการใช้งานเครื่องวัดความหนาชั้นสีรุ่น
CM-8826FN ผมจัดให้ ณ ที่นี้เลยครับ
สีรถยนต์ย่อมอยู่ภายนอกสุดของรถยนต์
เครื่องตรวจวัดความหนาของสีนี้ผมเองจำหน่ายมาให้ลูกค้า
หลายท่านส่วนใหญ่จะนำไปวัดความหนาหรือพิสูจน์ชิ้นงานเมื่อใดก็ตามที่
ชิ้นงานนั้นถูกทำหรือพ่นขึ้นใหม่แล้ว ว่าได้ความหนาตามต้องการหรือไม่
แต่มีลูกค้าบางท่านเหมือนกันที่มิได้มีอาชีพที่เกี่ยวกับการพ่นสี
เคาะสี หรือทำสีรถยนต์หรือเป็นอู่ซ่อมรถซื้อไปซึ่งผมเองก็สงสัยเหมือน
กันว่าท่านซื้อไปเพื่อประโยชน์ด้านไหน แล้วท่านก็อรรถาธิบายว่า
ท่านซื้อไปเพื่อทดสอบสีของรถท่านให้ลูกค้าท่านดูว่ารถที่ท่านจำหน่าย
คันนี้มันเป็นสีเดิม ๆของรถเก่าจริงมิได้มีการทำสีขึ้นมาใหม่
หรือรถยนต์คันนี้มิได้เคยประสบอุบัติเหตุหรือคว่ำกันมาก่อน ความเก่า
ของรถมิได้ดูกันแค่เครื่องยนต์หรือตัวถังเท่านั้น แต่สิ่งบ่งชี้อีกอย่างคือสี
ครับ ถ้าจะบอกว่ารถคันหนึ่งซึ่งผลิตออกมาเมื่อ 40 - 50 ปีก่อน วันแรกที่
รถคันนี้ออกวิ่งรถคันนี้ก็เจอมลพิษ มลภาวะแล้ว แต่ผ่านไป 40 ปี สีของรถ
คันนี้จางหรือซีดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยที่รถคันนี้ไม่เคยผ่านการทำ
สีใหม่เลย นั่นหมายถึงความทะนุถนอมของเจ้าของรถ การเก็บการบำรุง
รักษาที่ถูกวิธี ผมว่าลักษณะนี้เรียกเป็นของโบราณได้สมกับการตั้งราคา
ขายที่สูง ๆ ซึ่งโดยปกติแล้ว รถมีแต่จะตกรุ่น มีแต่จะถูกลง
ท่านนี้ทดสอบให้ผมดูเป็นตัวอย่าง ผมวัดความหนาชั้นสีรอบ ๆ ตัวรถ
ได้แค่ 170 - 190 ไมครอนเศษ ๆ เองครับ ตรงฝากระโปรงหน้าวัดได้ 200
ไมครอนเศษ ๆ ท่านยอมรับว่าฝากระโปรงหน้าเคยทำสีใหม่จริงแต่นาน
มาก ๆ แล้ว อันนี้ช่วยไม่ได้เพราะฝากระโปรงหน้าของรถแล้ว สารพัดจะ
เจอมลภาวะอยู่แล้ว โอกาส ชำรุด ถลอก มีแน่ ๆ แต่ถึงอย่างไรก็ตามตรง
จุดนี้สรุปได้ว่ารถยนต์คันนี้มันเป็นรถเก่าถนอมรักษามาดีจริงนะครับ
เพราะถ้าเป็นสีที่พ่นขึ้นมาใหม่ ๆ แล้ว ความหนาของชั้นสีจะมากกว่านี้
มากทั้งนี้สภาพรถที่ลูกค้าท่านนี้จำหน่ายก็สวยมาก ๆและอยู่ในสภาพที่
สมบูรณ์มาก ๆเพียงแค่สีรถจะไม่เงาเช้งเหมือนรถป้ายแดงเท่านั้นเอง
รถที่โชว์รูมท่านจำหน่ายนี้ราคาจำหน่ายแพงเสียยิ่งกว่ารถเบนซ์ป้าย
แดงบางรุ่นอีกครับ คันละร่วม 4 ล้านบาทขึ้นไป แต่ก็เป็นรถรุ่น 25 - 30
ปีก่อนขึ้นไปด้วย
ฉะนั้นแล้วการใช้งานเครื่องวัดสีเพื่อเทสทดสอบยืนยันก็ใช้งานได้
หลากหลายสายงานเหมือนกันนะครับ
ความคิดเห็น