การใส่ปุ่ยลงไปในดินเพื่อให้พืชใช้ดูดซึมอาจจะไม่ได้ผล ถ้าคุณยังไม่ได้ปรับสภาพดินให้เหมาะสมเสียก่อน ซึ่งนอกจากจะไม่ได้ผลแล้วบางทีอาจทำให้พืชของคุณที่แย่อยู่แล้วเช่น ใบเหลืองหรือมีสภาพที่ผิดปกติไป ตายเร็วขึ้นก็ได้ ซึ่งนั่นจะเป็นการเสียค่าปุ๋ยของท่านไปโดยเปล่าประโยชน์อีกด้วย พืชทั่ว ๆ ไปมีค่า PH หรือกรด-ด่าง ในดินที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตและเหมาะสมกับการดูดซึมแร่ธาตุอยู่ในระหว่าง 5.5-7 ค่ากรด-ด่าง ที่น้อยกว่า 3 หรือ มากกว่า 7.5 พืชส่วนใหญ่ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ แต่โดยรายละเอียดย่อยพืชแต่ละชนิดก็ยังต้องการความเหมาะสมของค่ากรด-ด่างและความชื้นในดินต่างกันออกไป มิเตอร์วัดความชื้นและกรด-ด่าง ถูกออกแบบมาเพื่อวัดสภาพของดินเพื่อเตรียมความพร้อมในการปรับปรุงพันธุ์พืช หรือให้ปุ๋ยหรือสารละลายอื่น ๆ ให้เหมาะสม
Specification
- ช่วงค่าการวัด กรด-ด่าง 3 - 8
- ช่วงค่าการวัดความชื้นของดิน : 1 - 8
- Metal electrode ป้องกันน้ำได้
- ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่
- ขนาด 160 มม. x 50 มม.
- น้ำหนัก 145 กรัม
หมายเหตุ การวัดดินปกติจะตรวจวัดในระดับที่ลึกเกินกว่า 2 นิ้วจากหน้าดิน เพราะฉะนั้นขุดหน้าดินออกก่อนสัก 2 นิ้วแล้วจึงค่อยนำเครื่องวัดปักลงในดิน รอ 1-3 นาทีแล้วอ่านค่า ดินที่จะตรวจวัดควรมีความชื้นอยู่ด้วยเพราะแร่ธาตุจะละลายออกมาได้ ถ้าดินบริเวณที่จะตรวจวัดแห้งเกินไป ให้รดน้ำดินด้วยน้ำหรือน้ำฝนรอสัก 20 นาทีแล้วค่อยตรวจวัด
จุดที่ตรวจวัดส่วนใหญ่จะอยู่ในส่วนของดินที่ปลายกิ่งก้านสาขาของพืช คือถ้าปลายกิ่งก้านสาขาของพืชอยู่ในจุดใดลากเส้นสมมติตรงลงไปยังดินจุดดังกล่าวมักจะใช้ตรวจวัดเพราะการดูดซึมน้ำและแร่ธาตุมักจะเกิดจากรากฝอยในช่วงนั้น ไม่ได้เกิดจากรากโคนต้นอย่างเดียว
หน้าตาเครื่องเป็นอย่างนี้ครับความยาว 5 นิ้ว เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 นิ้ว
ระดับ PH ที่เหมาะสมสำหรับพืช(ตามคู่มือเครื่องวัดนี้ครับ)
5-6 rosebay, lily of the valley, azalea,rose, กระเจี๊ยบ, กุหลาบ
5-6.5 พืชตระกูลข้าว, มันฝรั่ง, foxtail millet, ข้าวโพด, เปเปอร์มิ้นท์, radish
6-8 ผักโขม, ถั่วแดง, lettuce, หัวหอม, แตงกวา, แครอท, มันฝรั่ง, หัวผักกาด, egg plant, คึนช่าย, หญ้าเจ้าชู้, กะหล่ำปลี, ดอกรักเร่, นาซิสซัส, ทิวลิป, คาร์เนชั่น
7-8 ข้าวบาเรย์, ข้าวสาลี, ไรย์, ดอกบานชื่น, sugar beat, pea, clover,alfalfa
ระดับความชื้นที่เหมาะสมสำหรับพืชพันธุ์บางชนิด
1 - 2 เช่นพันธุ์พืช Freesia, Oriental Orchid เป็นต้น
2 - 3 เช่นพันธุ์พืช Occidental
3 - 5 เช่นพืชพันธุ์ Iris, Carnation, Chrysanthemum, Tulip, Rose, Potato, Grape, Melon, Lettuce, Pea เป็นต้น
3 - 6 เช่นพันธุพืช Foliage
4 - 6 เช่นพันธุ์พืช Cucumber, Watermelon, Celery, Tomato, Eggplant, Pimiento, Strawberry เป็นต้น
ถ้าท่านประสงค์จะอ่านคู่มือการใช้งานก่อนเชิญได้ครับ
คู่มือการใช้งานมิเตอร์วัดค่ากรดด่าง และความชื้นในดิน
ช่วงการวัด : กรดด่าง = 3-8 pH
ความชื้น : 1-8
ความละเอียด +/- 0.2 pH
ความเบี่ยงเบน : +/- 0.2
อุณหภูมิที่เหมาะสมในการใช้งาน : 5 – 50 องศาเซลเซียส
การคาลิเบรท : ขจัดคราบอ๊อกซิเดชั่นจากแถบโลหะด้วยแผ่นใยขัด (แผ่นสก๊อตไบร์ท หรือกระดาษทรายเบอร์ 0) ให้สะอาด เป็นมันเงา
การใช้งาน
1. นำเศษวัสดุหน้าผิวดินที่ต้องการวัดออกประมาณ 2-3 นิ้ว เช่น หญ้า ใบไม้ ก้อนกรวด เป็นต้น ถ้าดินแห้ง หรือมีปุ๋ยมากเกินไป ให้รดน้ำลงในดินและทิ้งไว้ประมาณ 25-30 นาที ก่อนการทดสอบ
2. ก่อนการทดสอบ ให้ทำความสะอาดผิวหน้าโลหะที่หัวอ่านให้สะอาด สำหรับเครื่องใหม่ควรรเสียบหัวมิเตอร์ในดินสัก 2-3 ครั้ง ก่อนการทดสอบจริง เพื่อเป็นการขจัดคราบน้ำมันที่อาจจะเคลือบไว้ที่หัวอ่าน
3. เสียบมิเตอร์ลงในดินที่ต้องการทดสอบจนมิดถึงขอบโลหะสีทอง ให้ผิวโลหะของมิเตอร์แนบเนื้อดินทั้งหมด ทิ้งไว้ประมาณ 3 นาที หรือจนกว่าเข็มอ่านค่านิ่ง แล้วจึงอ่านค่ากรดด่างในดิน แนะนำว่าควรทำการทดสอบหลาย ๆ ครั้งเพื่อหาค่าเฉลี่ย
4. กดปุ่มสีขาวค้างไว้ สำหรับการอ่านค่าความชื้นในดิน
5. หลังการใช้ให้ทำความสะอาดผิวโลหะของมิเตอร์ให้สะอาด และเช็ดให้แห้งก่อนเก็บอุปกรณ์
คำเตือน :
1. ห้ามทิ้งมิเตอร์ไว้ในดินนานเกินไป (ห้ามทิ้งไว้มากกกว่า 1 ชั่วโมง) อาจจะทำให้ผิวโลหะเสียหายได้
2. ให้แน่ใจว่าผิวหน้าโลหะสะอาด และแห้งก่อนการเก็บ
3. อย่าใช้มิเตอร์ใกล้แม่เหล็ก และพยายามเก็บรักษาให้ห่างจากวัสดุโลหะอื่น ๆ
4. ห้ามใช้ทดสอบในของเหลว
5. อย่าจับหัวอ่านที่เป็นโลหะด้วยมือ เพราะคราบน้ำมันบนนิ้วมือจะลดประสิทธิภาพการทำงานได้
กระผมเองมีอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับท่านที่ต้องการใช้ของมียี่ห้อ วัดได้ทั้งพีเอ