Ultrasonic Digital 1.00-200.00mm Thickness Meter with metric & imperial (mm & inches) units (TM-8812)
สินค้านำเข้า 12,000 บาท
ผมอนันต์ครับโทร 086-8910596
Ultrasonic thickness measurement (UTM)
เป็นวิธีการวัดความหนาของวัตถุสิ่งของโดยที่ไม่ได้ไปทำลายเนื้อของวัตถุสิ่งของนั้น ๆ
กระบวนการวัดอาศัยหลักการทำงานของคลื่นเสียงอัลตราโซนิค
โดยใช้หลักความจริงที่ว่าคลื่นเสียงความถี่สูงนั้นสามารถเคลื่อนที่ไปในของแข็งได้ในความเร็วที่่ค่อ
นข้างคงที่และสูญเสียพลังงานน้อยมากทั้งนี้อุณหภูมิของวัตถุก็มีผลไม่มากนักต่อการเคลื่อนที่ของเ
สียง อันทำให้เกิดสมการที่ว่า
lm = ct/2 หรือถ้าจะกล่าวให้ง่ายขึ้นในวิชาฟิสิกส์ที่เราเรียนกันมาคือ s = vt(
ระยะทางเท่ากับความเร็วคูณเวลาที่เคลื่อนที่)
แต่ที่ต้องหารสองก็เพราะเป็นการเคลื่อนที่เพียงครึ่งเดียวของคลื่นเสียงกลับมายังแหล่งกำิเนิด(
คลื่นเคลื่อนจากจุดที่ปล่อยไปยังด้านปลายของวัตถุที่วัดแล้วเคลื่อนที่สะท้อนกลับมายังจุดเดิม)
source : olympus-ims.com
ข้อดีของการวัดความหนาวัตถุสิ่งของโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงวัด
- วัตถุนั้น ๆ ไม่ต้องถูกทำลาย
- ไม่จำเป็นต้องวัดทั้งสองด้านสามารถวัดเพียงด้านใดด้านหนึ่งของวัตถุได้เพียงแต่อีกด้านต้องมีปรา
กฎและไม่เกินไปกว่าความหนาที่เครื่องนั้นออกแบบมาให้วัดได้
- มีความแม่นยำในระดับที่รับได้
- ใช้งานง่ายไม่จำเป็นต้องทำการทดลองในห้องปฎิบัติการ ใช้งานในภาคสนามได้ง่าย
วิธีวัดเพียงทำความสะอาดจุดที่ต้องการวัดแล้วทาเจลทาบหัววัดแล้ววัด
สิ่งของส่วนใหญ่ที่นิยมตรวจวัดจะเป็นสิ่งของที่สึกกร่อนตามระยะเวลาการใช้งาน
ซึ่งการสึกกร่อนนั้นมีผลต่อการใช้งานหรือมีผลต่อความปลอดภัยของผู้ใช้งานซึ่งถ้าสิ่งของนั้นผุกร่อ
นไปเรื่อย ๆ โดยไม่ได้ทำการซ่อมแซม เช่น ลำเรือที่ต้องสัมผัสกับน้ำตลอดเวลา
ท่อส่งสารเคมีปิโตรเลียมน้ำมัน พลาสติก เหล็กหล่อ
ในชุดจะประกอบไปด้วย 1. ตัวเครื่อง 2. สายวัด
3. กลีเซอรีนไว้สำหรับทาที่ผิววัตถุที่ต้องการจะวัด
วิธีใช้งานคือให้ท่านใส่ถ่านขนาด 3AAA ลงไปทางด้านหลังเครื่องก่อน
แล้วเสียบสายวัดเข้าไปที่ด้านข้างเครื่อง
หัววัดจะมีลักษณะเป็นเช่นนี้ครับ
วิธีวัดก็เพียงนำกลีเซอรีนทาไปบนผิววัตถุที่จะวัดแล้วนำหัววัดมากดลงไปแล้วอ่า
นค่า เครื่องนี้จะวัดความหนาของวัตถุได้ประมาณ 11 ชนิด
และไม่ต้องเป็นห่วงถ้าหากท่านทราบความเร็วของเสียงในวัตถุนั้น ๆ
ได้ท่านก็จะสามารถวัดความหนาวัตถุโดยเลือกอัตราเร็วเสียงก็ได้ สะดวกมาก
|
||||||||||||||||||||||||||
|
มาชมคลิปวีดีโอที่เกี่ยวกับวิธีการใช้เครื่องรุ่นนี้กันครับ
คลิปนี้เป็นวีดีโอเกี่ยวกับวิธีการคาลิเบรตมิเตอร์วัดความหนารุ่นนี้ครับ
วิธีทำคือ ให้เปิดเครื่องขึ้นมาก่อน
หลังจากนั้นให้นำกลีเซอรีนที่มีให้มาทาบริเวณ
บล็อกคาลิเบรตที่อยู่ด้านข้าง หลังจากนั้นกดปุ่ม Cal
และนำหัววัดมาสัมผัสกับบล็อกวัด รอจนตัวเลขขึ้นที่ 5.0 ก็ให้กดปุ่ม Cal
อีกครั้งเป็นอันเสร็จครับ
ส่วนคลิปนี้เป็นวิธีการใช้งานจริงของเครื่องรุ่นนี้ที่ฝรั่งนำมาทดสอบความ
หนาของทองคำแท่งครับ
ฝรั่งเขาใช้วิธีการวัดแบบทราบความเร็วของคลื่่นเสียงในทองคำมาเป็นตัว
วัดครับ เขาใช้ความเร็วเสียงที่ 3,240 m/s
มาชมวิธีการใช้งานที่ถูกวิธีกันครับ
ก่อนอื่นคือให้ทาผิวงานด้วยกลีเซอรีนก่อนสักหยด
จากนั้นก็ให้กดหัววัดลงไปแล้วอ่านค่าที่ได้
ฝรั่งเขาวัดทั้งสันและท้องทองคำ
คู่มือการใช้งานเครื่องครับ
กระผมเองพยายามหาความเร็วของคลื่นเสียงในวัตถุแต่ละชนิดมาให้ท่านเลือกใ
ช้งานได้ครับ เพราะว่าเครื่องนี้จะวัดได้โดยสองวิธี
วิธีแรกคือเลือกว่าวัตถุใดที่จะวัด โดยให้ท่านดูที่คู่มือด้านบนที่ผมให้ไว้
จะเห็นว่ามีให้เลือกได้ 11 ชนิดวัตถุที่จะตรวจวัดได้
แต่ว่าถ้าหากวัตถุที่ท่านจะตรวจวัดมิได้อยู่ใน 11
ชนิดข้างต้นแต่ว่าท่านทราบความเร็วของคลื่นเสียงในวัตถุชนิดนั้นแล้วก็ให้ท่าน
เลือกความเร็วคลื่นเสียงและปรับค่าโดยใช้ลูกศร ขึ้น-ลง ปรับได้เลยครับ
ซึ่งตารางด้านล่างนี้เป็นความเร็วของคลื่นเสียงอัลตราโซนิคในวัตถุแต่ละชนิดกั
นครับ
Ultrasonic Velocities in Common Materials
Material | V (in./µsec) | V (m/sec) |
Acrylic (Perspex) | 0.1070 | 2730 |
Aluminum | 0.2490 | 6320 |
Beryllium | 0.5080 | 12900 |
Brass | 0.1740 | 4430 |
Composite, graphite/epoxy |
0.1200 | 3070 |
Copper | 0.1830 | 4660 |
Diamond | 0.7090 | 18000 |
Fiberglass | 0.1080 | 2740 |
Glycerin | 0.0760 | 1920 |
Inconel® | 0.2290 | 5820 |
Iron, Cast (soft) | 0.1380 | 3500 |
Iron, Cast (hard) | 0.2200 | 5600 |
Iron oxide (magnetite) | 0.2320 | 5890 |
Lead | 0.0850 | 2160 |
Lucite® | 0.1060 | 2680 |
Molybdenum | 0.2460 | 6250 |
Motor oil | 0.0690 | 1740 |
Nickel, pure | 0.2220 | 5630 |
Polyamide | 0.0870 | 2200 |
Nylon | 0.1020 | 2600 |
Polyethylene, high density (HDPE) |
0.0970 | 2460 |
Polyethylene, low density (LDPE) |
0.0820 | 2080 |
Polystyrene | 0.0920 | 2340 |
Polyvinylchloride, (PVC) | 0.0940 | 2395 |
Rubber, polybutadiene | 0.0630 | 1610 |
Silicon | 0.3790 | 9620 |
Silicone | 0.0580 | 1485 |
Steel, 1020 | 0.2320 | 5890 |
Steel, 4340 | 0.2300 | 5850 |
Steel, 302 austenitic stainless | 0.2260 | 5740 |
Tin | 0.1310 | 3320 |
Titanium | 0.2400 | 6100 |
Tungsten | 0.2040 | 5180 |
Water (20°C) | 0.0580 | 1480 |
Zinc | 0.1640 | 4170 |
Zirconium | 0.1830 | 4650 |
ที่มา http://www.olympus-ims.com/en/ndt-tutorials/thickness-gage/appendices-velocities/
ท่านครับ ตารางข้างบนมีประโยชน์มาก ๆ ครับ
เพราะเครื่องวัดความหนาระบบเสียง Ultrasonic
เครื่องนี้ตามที่ผมเรียนแล้วว่าสามารถเลือกใช้ฟังก์ชั่นในกรณีที่ท่านทราบ
ว่าความเร็วของเสียงในเนื้อวัตถุของท่านมีเท่าใด
เพราะมันจะทำให้เราสามารถปรับค่าความเร็วได้ตามต้องการ
ซึ่งสุดท้ายมันก็จะสามารถทำให้เราวัดความหนาของวัตถุได้แทบทุกชนิดเ
ลยครับ วิธีทำคือ
ให้ท่านกดที่ปุ่ม VEL. จะพบว่ามีตัวเลขปรากฎขึ้นมา
หลังจากนั้นจะมีปุ่มลูกศรขึ้น - ลง
ให้ท่านกดเพื่อเลือกค่าความเร็วเสียงที่ต้องการ ตามตารางข้างบนที่ผมให้ไว้
เช่นลูกค้าผมท่านหนึ่งทราบว่าวัตถุของเขาคือ ไฟเบอร์กลาส
ลูกค้าผมท่านนี้ก็ควรจะกดตัวเลขลงมาที่ 2740 จึงจะใช้งานได้
หลังจากนั้นให้กดปุ่ม VEL. อีกครั้ง เป็นอันจบครับ นำไปวัดได้(ค่าที่กดขึ้น -
ลงจะเพิ่มหรือลงทีละ 10 ครับ)