เครื่องวัดความเค็ม, รีแฟคโตมิเตอร์วัดความเค็ม
กล้องตรวจวัดค่าความเค็มหรือน้ำเค็ม
เครื่องวัดความเค็ม, เครื่องวัดค่าความเค็ม,
[RHS-10ATC]
ราคา 1,800 บาท
ผมอนันต์ 086-8910596
ด้านบนทั้งสามภาพคือวิธีใช้งานรีแฟคโตมิเตอร์ที่ถูกวิธีครับ
อันดับแรกคือเปิดฝาหน้าขึ้นแล้วหยดสารละลายที่จะวัดลงไป
หลังจากนั้นปิดฝาลงแล้วส่องกับแสงสว่างมาก ๆ เช่นแสงแดด
ซึ่งภาพที่ท่านจะเห็นก็จะเป็นดังภาพสุดท้าย
จุดตัดระหว่างสองสีคือค่าความเข้มข้นสารละลายที่ท่านต้องการทราบค่าครับ
Salinity Refractometer is designed for testing the concentration of salt water and
brine and used for quality control in research and clinical laboratories and marine
industry. Its scale provides a direct reading of the specific gravity and concentration
(part per Thousand) of salt in water. One scale checks the NaCl levels with the range
of 0-100 ppt (with 1 ppt scale divisions) and the other scale gauges Specific Gravity
with a range of 1.000 to 1.070 (±0.001 accuracy). Both enables the direct
determination of salinity in water that contains dissolved salt and little or no other
dissolved solids. It is suitable for a marine saltwater tank. It's FULLY EQUIPPED with
ATC that automatically adjust itself to correct temperature discrepancies during use.
Capable of measuring with high accuracy and provides precise results. It's equipped
with vivid and sharp reticle chart for easy and comfortable reading. It uses ambient
light only and no batteries are needed. Made by experienced craftsmen and are
unlikely to break down! Plus an option to get an extra 50pcs of transfer pipettes in
1ml and/or 3ml, a bottle of dioptic oil (calibration oil) and a reference block just by
adding a small amount to your order,
Key Features:
Equipped with scale measurement that provides direct reading
* Determines the amount of dissolved salt and dissolved solids
* Approved by strict quality and safety standards
* Durable and built to last long
* Heavy-duty and lightweight with its aluminum construction
* Easy to focus and calibrate
* Accurate testing results guaranteed
* Made with the highest and finest quality of aluminum & rubber that makes it lightweight
* Cushioned with soft & comfortable non-slip rubber
* Extremely easy-to-use and calibrate
Specifications:
- Measuring Ranges: 0-100 ppt of NaCl and 1.000 to 1.070 Specific Gravity (0-10%)
- Divisions: 1 ppt / 0.001 Specific Gravity
- Accuracy: ±1 ppt / 0.001 Specific Gravity (±0.10%)
- Length : 170mm
- Weight: 240g
Accessories:
- (included) Pipette for FREE
- * Operations manual
- * Mini-screw driver
- * Soft protective carryingcase
-
- รุ่นนี้เป็นรีแฟลคโตมิเตอร์วัดความเค็มวัดได้ 10%(หรือ 100 ppt เป็น Model RHS-10ATC) มีรุ่นที่วัดได้ 28%ด้วย (Model RHSN-28ATC)
การวัดค่าความเค็มนั้น หน่วยที่วัดกันทั่วไปไม่ได้บอกเฉพาะเป็นเปอร์เซ็นต์อย่างเีดียว
มิเตอร์วัดค่าความเค็มหลาย ๆ รุ่นบอกหน่วยที่วัดเป็น ppt(part per thousand)
ได้ด้วยคือบอกเป็นส่วนในพันส่วน สัญลักษณ์โดยทั่วไปที่วัดเป็นเปอร์เซ็นต์คือใช้สัญลักษณ์ %
คือใช้เครื่องหมายเปอร์เซ็นต์ธรรมดาแต่ถ้าจะบอกหน่วยเป็นส่วนในพันส่วนจะบอกได้ 2
สัญลักษณ์คือ ppt หรือ ‰ (ลักษณะคล้าย ๆ
เครื่องหมายเปอร์เซ็นต์แต่มีวงกลมเพิ่มขึ้นอีกวงหนึ่ง)
ความเค็มของน้ำนิยามได้หลายอย่างขึ้นกับความเข้มข้นของความเค็มในสารละลาย เช่น
น้ำจืด(Fresh Water) มีค่าความเค็มที่น้อยกว่า 0.05% หรือ น้อยกว่า 0.5 ppt(<0.5 ‰)
น้ำกร่อย(Barckish Water) มีค่าความเค็มที่ 0.05-3% หรือ 0.5-30 ppt(0.5-30 ‰)
น้ำเกลือ(Saline Water) มีค่าความเค็มที่ 3-5% หรือ 30-50 ppt(30-50 ‰)
น้ำเค็มหรือน้ำทะเล(Brine Water) มีค่าความเค็มที่มากกว่า 5% หรือมากกว่า 50 ppt(>50 ‰)
จากสเกลของรีแฟคโตมิเตอร์ที่ออกแบบมาให้วัดความเค็มจะพบว่า
นอกจากเป็นเสกลที่วัดค่าความเค็มได้แล้วยังมีสเกลใช้วัดค่าความถ่วงจำ
อันนี้ผมถ่ายจากหน้าจอของจริงในเครื่องมาให้ดูครับ
หน้าจอนี้คือเป็นหน้าจอปกติที่ยังไม่ได้มีการหยดน้ำเพื่อการวัด
แต่เมื่อใดที่หยดน้ำที่ต้องการวัดลงไปก็จะปรากฎแถบขาวขึ้นมา
เช่นในกรณีนี้ผมหยดน้ำกลั่นลงไป
ปรากฎว่าแถบขาวตัดกับแถบสีฟ้าที่เลข 0
นั่นคือความเค็มของน้ำกลั่นเป็น 0
ซึ่งค่าความถ่วงจำเพาะนี้บ่งบอกถึงมวลของสารละลายที่หนักกว่าน้ำกลั่นธรรมดา
(ซึ่งน้ำกลั่นธรรมดาจะมีความถ่วงจำเพาะเท่ากับ 1)
สารละลายที่มีความเค็มมากขึ้นจะมีความถ่วงจำเพาะที่มากขึ้นด้วย
ความถ่วงจำเพาะเป็นค่าที่บ่งบอกถึงมวลของสารละลายความเค็มที่จะหนั
กกว่าหรือเบากว่าน้ำกลั่นปกติ ถ้าเทียบโดยปริมาตรของสารละลายนั้น ๆ
กับสารละลายน้ำกลั่นที่เท่า ๆ กัน
(โดยปกติสารละลายความเค็มมีค่าความถ่วงจำเพาะที่มากกว่าน้ำกลั่นปกติ)
อะไหล่ฝาปิดรีแฟคโตมิเตอร์(Cover Slip)
ในกรณีที่ฝาปิดชำรุดมีอะไหล่เสริมเพื่อเปลี่ยนใช้ได้
คำถามที่มักจะถูกถามบ่อย Frequently asked questions.
ท่านครับสำหรับรีแฟคโตมิเตอร์วัดความเค็มรุ่นนี้แล้ว
เป็นรุ่นที่ผมจำหน่ายได้มากทีุ่สุดเพราะว่าเป็นรุ่นที่เกษตรกรเพาะเลี้ยง
สัตว์น้ำ และเกษตรกรที่ปลูกพันธุ์พืช เช่น ผัก ผลไม้ ไม้ประดับ
นิยมซื้อไปเพื่อวัดความเค็มของน้ำของเขาที่จะนำมาทำการเกษตรว่าอยู่
ในระดับที่เหมาะสมแล้วหรือไม่
ซึ่งตรงนี้แล้วเป็นความขัดแย้งกันก็อาจจะเรียกได้ครับ
เพราะว่าเกษตรกรที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเท่าที่ผมเคยนำไปจำหน่ายส่วน
ใหญ่จะเป็นเกษตรกรเพาะเลี้ยงกุ้ง เช่น กุ้งขาว
พบได้มากทีเดียวในพื้นที่ภาคกลาง สมุทรสาคร สมุทรสงคราม
นครปฐม ฯลฯ
เท่าที่ผมสอบถามมาท่านเล่าว่าความเค็มที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงกุ้ง
ขาวจะอยู่ที่ประมาณ 3 - 7 ppt
หรือหากความเค็มมากกว่านี้ก็เลี้ยงได้เช่นกันกุ้งไม่ตาย
แต่ถ้าหากความเค็มของน้ำที่ใช้เลี้ยงต่ำไปกุ้งจะไม่แข็งแรง เซื่องซึม
สังเกตุเวลายกยอขึ้นมากุ้งจะไม่กระโดดนัก อยู่นิ่ง ๆ
อันนี้ท่านกล่าวว่าต้องปรับแก้โดยการวัดความสะอาดและความเค็มของ
น้ำโดยด่วนเพื่อการแก้ไขให้ถูกต้องถูกวิธีและทันเวลา
ในขณะเดียวกันเกษตรกรที่ผมนำรีแฟคโตมิเตอร์วัดความเค็มรุ่นนี้ไป
จำหน่าย เช่นเกษตรกรที่เพาะพันธุ์พืช เช่นกล้วยไม้ ดอกไม้ ทุเรียน ฯลฯ
ซึ่งบางทีอยู่ใกล้กันกับบ่อเพาะเลี้ยงกุ้งมาก ๆ
หรือบางครั้งในช่วงหน้าร้อนน้ำทะเลหนุนสูง
น้ำกร่อยรุกล้ำเข้าไปในพื้นที่ทำเกษตรอยู่
มีฤดูร้อนปีหนึ่งผมเคยเข้าไปวัดน้ำให้กับเกษตรกรปลูกทุเรียน
ในสวนทุเรียนจังหวัดนนทบุรี ตักน้ำในสวนทุเรียนมาวัด วัดได้ 3 ppt
คำถามที่มักจะถูกถามมาคือ
แล้วระดับความเค็มเท่าไรจึงจะปลอดภัยไม่เป็นอันตรายสำหรับพันธุ์พืช
ตรงนี้ผมเคยสอบถาม
เกษตรกรเพาะเลี้ยงกุ้งท่านหนึึ่่ง(อยู่นครปฐม)
ท่านซื้อรีแฟคโตมิเตอร์รุ่นนี้ของผมไปใช้หลายตัวทีเดียวท่านกล่าวว่า
ระดับความเค็มของน้ำที่ยังไม่มากไปกว่า 5 ppt
(0.5 เปอร์เซ็นต์ความเค็ม)
ถือว่ายังปลอดภัยสำหรับการเพาะพันธุ์พืชครับ
แต่ท่านว่าห้ามหรือไม่ควรจะสูงกว่าจุดนี้หากจะใช้น้ำเพาะปลูก
ตรงนี้ผมถามต่อไปว่าท่านเอาอะไรมาเป็นสิ่งชี้วัด
ท่านตอบว่าสังเกตุจากพันธุ์พืชที่ท่่านปลูกอยู่โดยรอบ ๆ
บ่อเลี้ยงกุ้งของท่านเองครับ ท่านปลูกพืชหลายอย่างทีเดียว
พบว่าหากความเค็มอยู่ในระดับไม่เกินกว่านี้
พืชทนได้เจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ แต่หากเกินกว่านี้แล้ว ไม่เหมาะ
แต่ถึงอย่างไรก็ตามแต่
พืชแม้แต่ชนิดเดียวกันก็ยังมีหลายสายพันธุ์และแต่ละพันธุ์พืชอาจจะทน
ต่อระดับความเค็มได้ไม่เท่ากันครับ
ดีที่สุดท่านเกษตรกรที่เพาะเลี้ยงพันธุ์พืชที่มีราคาสูงและเพาะจำนวนมาก
ควรอย่างยิ่งที่จะปรึกษาผู้มีความรู้ในด้านนี้อีกครั้งจะเป็นการดีที่สุดครับ
ตัวเลข 5 ppt นี้ผมอ้างอิงจากเกษตรกรท่านที่เพาะเลี้ยงบ่อกุ้งนี้ที่ท่านมี
ประสบการณ์ในการเพาะพันธุื์์พืชรอบ ๆ บ่อของท่านครับ
เกร็ดการใช้รีแฟคโตมิเตอร์
มีความน่าสนใจอีกประการหนึ่งสำหรับรีแฟคโตมิเตอร์วัดความเค็ม
คือถ้าหากว่าความเค็มที่ท่านต้องการตรวจวัดมากกว่าค่าที่เครื่องจะวัดได้
เราจะยังสามารถวัดค่าความเข้มข้นของสารละลายได้ไหม
คำตอบคือวัดได้ครับ แล้วทำอย่างไร
วิธีทำก็คือ ให้ท่านตักหรือแบ่งสารละลายมาส่วนหนึ่ง เช่น หนึ่งช้อนชา(
หรือตักขึ้นมา 1 ส่วน)
ในที่นี้ผมลองใช้ซีอิ้วขาว หลังจากนั้นให้ท่านตักน้ำจำนวนหนึ่งช้อนชาเท่า
ๆ กัน 9 ช้อนชา(หรือตักขึ้นมา 9 ส่วน)แล้วใส่ลงไป
หลังจากนั้นคนให้เข้ากันคนให้นาน ๆ
ให้แน่ใจว่าเข้ากันแล้วเป็นอย่างดี และนำสารละลายนี้มาวัด
ค่าที่อ่านได้ถ้าอ่านได้เท่าไรให้คูณด้วย 10 ครับ(
เพราะว่าเราเจือจางมันไปแล้วต้องคูณคืน)
ผมวัดซีอิ้วขวดนี้ด้วยรีแฟคโตมิเตอร์ที่สามารถวัดความเค็มได้สูงสุด 28
เปอร์เซ็นต์ ปรากฎว่าวัดไม่ได้ครับถ้าวัดกับซีอิ้วนี้โดยตรง
แต่ผมลองใช้วิธีเจือจางสารละลายตามวิธีดังกล่าวแล้ววัดค่าได้สุดท้ายเท่
ากับ 4.2 เปอร์เซ็นต์ หลังจากคูณค่าคืนด้วย 10
แล้วจะพบว่าสารละลายซีอิ้วขาวขวดนี้จริง ๆ
แล้วมีความเข้มข้นของความเค็มเท่ากับ 4.2 x 10 = 42 เปอร์เซ็นต์ครับ
ก็จะวัดได้แล้วครับ
มีลูกค้าหลายท่านอยากจะได้รีแฟคโตมิเตอร์ที่วัดค่าความเค็มได้สูง ๆ
หรือมีบางท่านอยากจะได้แบบดิจิตอลด้วย
ตรงนี้เรียนว่ายี่ห้อดังรีแฟคโตมิเตอร์แบบดิจิตอลที่วัดความเค็มล่าสุดที่ผม
เช็ควัดได้เต็มที่ 28 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
ส่วนของผมเป็นแบบธรรมดา(Handheld)
วัดความเค็มได้สูงสุด 35 เปอร์เซ็นต์
ถ้าหากสารละลายท่านมีค่าความเค็มสูงกว่าจุดนี้ ต้องใช้วิธีนี้เท่านั้นครับ
จึงจะวัดได้ ไม่เช่นนั้นต้องหารุ่นใหม่
แต่ท่านต้องไม่ลืมอีกอย่างครับ คือ
ถ้าท่านต้องการความแม่นยำของค่าีที่วัด(ในกรณีที่จะเจือจาง)
ให้แม่นยำที่สุด การตัก การตวงสาร ความสะอาดของอุปกรณ์
การคนให้เข้ากัน ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งจำเป็นและ
จำเป็นต้องได้มาตรฐานครับ ที่ถูกที่สุดท่านไม่ควรไปตักด้วยช้อนชาครับ
เพราะมีความเป็นไปได้ว่าท่านจะตักในปริมาณที่ไม่เท่ากันแต่ละช้อนชาไ
ด้
ท่านควรจะใช้ไปเปตที่มีสเกลดูดขึ้นมาครับ(ตามภาพด้านล่าง)
ให้ดูดขึ้นมาตามสเกลที่ต้องการ เช่นดูดขึ้นมา 1 ml.
หลังจากนั้นให้ล้างไปเปตให้สะอาด และดูดน้ำกลั่นขึ้นมาอีก 9 ml.
ผสมลงไปคนให้เข้ากันนาน ๆ ในภาชนะที่สะอาดมาก ๆ
ค่าที่ไ้ด้ก็จะแม่นยำมากยิ่งขึ้นครับ
ผมเจอคลิปเทคนิคการทำเจือจาง(Serial dilution) น่าสนใจมาก ๆ
ครับ ดูแล้วเข้าใจง่ายมาก ๆ ด้วย มันเหมาะมาก ๆ
สำหรับการหาความเข้มข้นของสารละลายที่มีค่าตั้งต้นสูงมาก ๆ
ถ้าหากเรานำมันมาทำการเจือจางจนถึงจุดที่เราวัดค่าความเข้มข้นได้แล้ว
เราสามารถจะคูณค่าคืนกลับไปที่เดิมได้ ว่าเราเจือจางมาแล้วกี่ครั้งกี่รอบ
ลองชมดูครับ