ท่านเคยไปทานอาหารข้างนอกตามร้านอาหารหรือแผงขายอาหารธรรมดาข้าง
ทางไหมครับ เพราะบางครั้งบางร้านผมทานแล้วผมได้กลิ่นแปลก ๆ ออกมาจาก
เนื้อสัตว์ ทำให้ไม่ค่อยจะอยากรับประทานต่อ นั่นไม่ใช่อะไรอื่น เป็นเพราะอาหาร
ที่เขาซื้อมาไม่สด หรือมิเช่นนั้นก็เป็นเพราะอาหารที่เขาตอนซื้อมาสดอยู่แล้วแต่
ระบบการถนอมอาหารยังขาดความเป็นมืออาชีพ เมืองไทยเป็นเมืองร้อนการ
ถนอมอาหารย่อมเป็นสิ่งสำคัญ เช่น พืชผักควรจะเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิเท่าใด
หรือ เนื้อสัตว์ควรจะเก็บรักษาที่อุณหภูมิเท่าใด ซึ่งในกรณีนี้ท่านอาจจะเชื่อ
อุณหภูมิที่ให้ปรับในตู้แช่ท่านได้ก็ต่อเมื่อท่านมีเทอร์โมที่จะวัดได้ให้เห็น เข่น
ที่ช่องแช่แข็งในตู้เย็นบ้านผมตั้งอุณหภูมิได้ต่ำสุด - 20 องศาเซลเซียส แต่เมื่อ
ผมลองตั้งอุณหภูมิไว้ที่ - 10 องศาเซลเซียส แล้วปิดตู้เย็นไว้สักพักใหญ่ ๆ ไปวัด
อุณหภูมิโดยใช้เทอร์โมมิเตอร์ด้านล่างปรากฎว่าวัดได้ไม่ถึง - 10 ซึ่งถ้าพูดถึง
ความเป็นมืออาชีพแล้วท่านควรมีเทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิห้องเย็นจะเหมาะกว่า
ยิ่งถ้าท่านเป็นร้านอาหารใหญ่ ๆ ที่มีชื่อเสียงแล้วความสดสะอาดย่อมเป็นเรื่อง
สำคัญแรก ๆ ที่ท่านจะคำนึงถึงเสมอ
Fridge & Freezer Thermometer
Avoid the risk of food damage by running your appliance too warm.
Avoid wasting electricity by having your appliance unnecessarily
cold.
For instance Refrigerator
- Food must be kept between 0 celcius and +5 celcius
- Freezer - Food should be kept below -18 celcius
มีทั้งแบบนำไปตั้งธรรมดาในตู้แช่ หรือแบบแขวนให้เลือกครับ
ถ้าเป็นแบบหน้าปัทม์กลมวัดอุณหภูมิได้ในช่วง - 30 องศาเซลเซียส ถึง 27
องศาเซลเซียส
ถ้าเป็นรุ่นข้างล่างนี้เป็นดิจิตอลตัวเครื่องไม่จำเป็นต้องเข้าไปอยู่ในตัวตู้แต่
สามารถอ่านอุณหภูมิภายในตู้แช่ได้ รวมทั้งทราบอุณหภูมิภายนอกด้วย วัด
อุณหภูมิในช่วง-50 องศาเซลเซียส ถึง +70 องศาเซลเซียส
อ่านคู่มือการใช้แล้วจะเข้าใจครับ
สำหรับรุ่นดิจิตอลนี้ ตัวเครื่องที่จะติดตั้งต้องอยู่ภายนอกตัวตู้แช่นะครับ
เพราะถ้าหากท่านนำไปติดในตัวตู้แช่ เซ็นเตอร์จะได้รับไอน้ำมากจนเกิน
ไปอาจจะชำรุดได้ เซ็นเซอร์จะอยู่ที่นี่ครับ
เมื่อท่านดำเนินการติดตั้งแล้วให้ปรับไปที่ On และให้เลือกค่าว่าจะให้เป็น
ตู้เย็นหรือตู้แช่ก็ได้ครับ(ส่วนใหญ่ต้องเลือกตู้แช่ คือ เลือกเป็น Freezer)
หลังจากนั้นให้ลากสายเข้าไปในจุดที่ต้องการวัด(ในตัวตู้แช่) แล้วปิดตู้แช่
โดยทับสายได้เลย
Instructions
1. open the door on the back of the unit and insert the AAA battery. Estimated
Battery life is 2 years.
2. To select the Celcius or Fareinhind display.
Press the celcius of fareinhind button on the bottom of the Thermometer.
3. Installing the Thermometer
Mount the unit on the outside of your fridge or freezer using the pads provided. run
the wire in the door and mount the sensor inside the fridge or freezer towards the
back, using the suction cup.
4. The lelf Screen will display the room temperature and the right screen will now
show the sensor Temperature.
5. To operate the alarm
Set the Freezer Refrigerator switch as required.
Set the Alert Switch to ON.
The alarm will be activated and the LEDs will flash if the Temperature goes outside
the safety zone. The alarm sounds and the lights flash for 5 secounds every minute
ข้อพึงสังเกตุ ในเพจเกจเครื่องจะแกะไม่ได้ครับ(ซีลมาจากต่างประเทศ
ปิดตาย) ถ้าแกะคือต้องใช้เลย
คลิปปิดท้ายครับ เมืองไทยเป็นเมืองร้อน โดยเฉพาะในฤดูร้อน
มักจะชอบหาเครื่องดื่มเย็น ๆ
แต่ว่ามันจะมีกี่วิธีที่จะทำให้เครื่องดื่มเย็นลงได้
วิธีที่ง่ายที่สุดอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้เครื่องดื่มในกระป๋องน้ำอัดลม
หรือเครื่องดื่มในขวดที่ยังไม่ได้เปิด เย็นลงจนน่าดื่ม
โดยที่ไม่ทำให้รสชาดเสียไป
โดยเปิดกระป๋องแล้วเทลงไปในแก้วที่มีน้ำแข็ง
ซึ่งก็จะทำให้รสชาดของเครื่องดื่มจืดลง
วิธีที่ง่ายดีโดยใช้ระยะเวลาที่น้อยที่สุดเพียงแค่ 2 นาที
และเป็นวิธีที่ประหยัดที่สุด
อาจจะเป็นวิธีที่ประหยัดกว่าการนำไปแช่ในตู้แช่ก็เป็นไปได้แต่น้อยคนจะ
รู้ ฝรั่งเขามีเทคนิคใช้วิธีนี้ครับ
ก็คือให้หาชามมาสักใบใหญ่ ๆ ใส่น้ำเปล่าลงไปก่อน
จากนั้นใส่น้ำแข็งลงไปเยอะ ๆ แล้วเติมเกลือผงลงไปสัก 3 ช้อน คนให้เข้ากัน
แล้วนำน้ำอัดลมกระป๋องลงแช่ เขาลองจับเวลาดู 2 วินาที แล้วพบว่า
น้ำอัดลมกระป๋องซึ่งเดิมวัดอุัณหภูมิได้ที่ 25 องศาเซลเซียสก่อนแช่
สามารถจะลดอุณหภูมิลงได้ถึง 19 องศาเซลเซียส คือจากอุณหภูมิ 24
ลดลงไปอยู่ที่ 5 องศาเซลเซียส ในเวลาแค่ 2 นาทีและลงทุนเพียงแค่เล็กน้อย
จากนั้นน้ำแข็งนี้ยังนำไปแช่กระป๋องอื่น ๆ ได้อีกต่อไปด้วย
ผมดูแล้วน่าจะถูกกว่าประหยัดไฟกว่าที่จะนำกระป๋องน้ำอัดลมไปแช่
ในช่องแช่แข็งโดยตรงเสียอีกเพราะว่าถ้าเราแช่อยู่ในช่องแช่แข็งนานเกินไป
เวลานำออกมา มันก็ดื่มไม่ได้อยู่ดีเพราะว่าเปิดออกมาแล้วเป็นน้ำแข็งหมด
เพราะว่ามันคำนวนเวลาที่จะให้เครื่องดื่มในกระป๋องเย็นไม่ได้
แต่วิธีนี้เขาทดลองจับเวลาดู ใช้เวลาแน่นอน 2 นาที
ต้องทดลองทำดูครับ ในกรณีที่ท่านอยู่ในภาคสนามแล้วต้องการความเย็น
โดยที่บริเวณนั้นไม่มีตู้แช่ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าใด ๆ ที่จะให้พลังงานความเย็นได้
วิธีนี้อาจจะมีประโยชน์อย่างที่บางทีเองก็คิดไม่ถึงว่ามันจะต้องใช้วิธีแบบนี้
อีกสิ่งที่น่าสนใจคืออยากให้ท่านอ่าน Comment
ของคลิปนี้ด้านล่างที่ฝรั่งเขาโพส ๆ กัน น่าสนใจเหมือนกันครับ
บางคนก็ตั้งคำถามได้ดีมากด้วย เช่น
ว่าหากเรานำกระป๋องน้ำอัดลมนี้ไปใส่ไว้ในช่องแช่แข็ง แล้วจับเวลาใ้ห้ได้
2 นาทีแล้วนำออกมาเปิดและวัดอุณหภูมิื
น้ำในกระป๋องจะอ่านค่าอุณหภูมิได้ที่เท่าไร เขาบอกว่ายังไงก็วัดไม่ได้
5 องศาเซลเซียส เพราะว่ามันต้องใช้เวลาที่นานกว่านี้
บางคำถามที่น่าสนใจก็เช่น หากว่าเราทราบอยู่แล้วว่าเกลือผง
จะเป็นตัวเร่งให้น้ำแข็งละลายเร็วขึ้นกว่าปกติ
ซึ่งก็คือทำให้น้ำแข็งคายความร้อนออกมาในเวลาที่รวดเร็ว
หากว่าเราทดลองนำน้ำเปล่าไปใส่เกลือมาก ๆ
แล้วนำน้ำเกลือนี้ไปแช่ให้แข็งจนเป็นน้ำเกลือแข็ง จากนั้น
นำน้ำแข็งน้ำเกลือมาทำแบบเดิมคือ เทน้ำเกลือแข็งลงไปในชาม
จากนั้นใส่น้ำเกลือธรรมดาลงไป เติมผงเกลือ
แล้วนำกระป๋องน้ำอัดลมธรรมดามาแช่แล้วจับเวลาให้ได้ 2 นาที
อุณหภูมิน้ำในกระป๋องที่วัดได้จะเย็นขึ้นกว่าเดิมหรือไม่
เพราะว่าถ้านำเกลือผงมาละลายน้ำให้เป็นน้ำเกลือแล้วนำน้ำเกลือนี้ไปแช่แข็ง
น้ำเกลือจะแข็งเป็นน้ำแข็งจะอยู่ที่อุณหภูมิ ติดลบ 4 องศาเซลเซียส ไม่ใช่ 0
องศาเซลเซียสเหมือนกับน้ำเปล่าทั่ว ๆ ไป
อธิบายตามหลักวิทยาศาสตร์ได้ด้วยกฎข้อที่สองของเทอร์โมไดนามิค คือ
สรรพสิ่งสองสิ่งที่นำมาอยู่ด้วยกันด้วยการสัมผัสกัน
สรรพสิ่งทั้งสองที่สัมผัสกันนั้น
จะถ่ายเทพลังงานให้กันจนกระทั่งพลังงานของสรรพสิ่งทั้งสองที่สัมผัสกันอยู่
อยู่ในภาวะสมดุล ถ้าคิดย้อนกลับการนำน้ำอัดลมกระป๋องไปแช่ในช่องแช่แข็ง
สิ่งที่สัมผัสกับกระป๋องน้ำอัดลมคือไอเย็นในช่องแช่แข็งซึ่งมันก็คืออากาศเย็น ๆ
ในช่องแช่แข็งซึ่งมีความห่างของโมเลกุลที่มากกว่าของเหลว
แต่ว่าวิธีนี้แล้วสิ่งที่สัมผัสกับกระป๋องน้ำอัดลมคือน้ำแข็งเย็น ๆ ผสมน้ำ
ซึ่งน้ำแข็งนี้กำลังละลายอย่างรวดเร็ว
คือละลายเร็วกว่าที่จะให้น้ำแข็งละลายไปตามปกติ
ด้วยที่ว่าเราเติมเกลือผงลงไป
น้ำแข็งผสมน้ำแล้วเติมเกลือ ซึ่งก็จะมีมวล
(ความหนาแน่นที่มากกว่าหรือความห่างของโมเลกุลที่น้อยกว่า)
ที่มากกว่าอากาศ
และสัมผัสกับทุกอณูของกระป๋องน้ำอัดลม
มันจึงเป็นไปได้ที่จะทำให้วัตถุที่มันสัมผัสอยู่นั้น
เย็นลงในเวลาที่รวดเร็วเช่นเดียวกัน