ไม้วัดระดับน้ำมัน, น้ำยาวัดน้ำมัน, น้ำยาวัดน้ำที่
ตกค้างอยู่ในน้ำมัน
ไม้วัดระดับน้ำมันที่เหลือในถัง ออกแบบมาเพื่อสำหรับการวัด
ระดับน้ำมันที่ยังคงเหลือในถังน้ำมันขนาด 200 ลิตร
ลักษณะจะเป็นตามรูป ซึ่งรุ่นนี้จะเป็นแสตนเลส ขนาดความยาว 1
เมตร ซึ่งตัวเลขที่อยู่บนไม้วัด จะบอกถึงปริมาณลิตรที่ยังเหลืออยู่ใน
ถังน้ำมันนี้
ก็เนื่องจากถังน้ำมันขนาด 200 ลิตรที่พบเห็นในท้องตลาดก็จะมี
ด้วยกันสองลักษณะ คือลักษณะถังแบบอ้วนเตี้ย และถังแบบผอมสูง
เพราะฉะนั้นไม้วัดระดับน้ำมันนี้จึงมีสองสเกลในไม้เดียวกัน(ตาม
ภาพ) เพื่อใช้วัดกับถังน้ำมันที่เหมาะสม ถังใดเป็นลักษณะใดก็ให้ใช้
สเกลนั้น
ถังน้ำมันเหล็กขนาด 200 ลิตรที่เห็นได้ทั่ว ๆ ไปตามท้องตลาด เท่า
ที่สังเกตุถังทรงผอมสูงจะมีจำหน่ายมากกว่าครับ เป็นถังลักษณะนี้
บนไม้วัดจะมีสองสเกลอยู่คนละด้าน ก็ให้นำด้านที่สเกลตรงกันกับ
ขอบถังมาใช้วัดกับถังน้ำมันถังนั้น ๆ ครับ
ถังสองร้อยลิตร เป็นถังน้ำมันที่ใช้กันไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทย
แต่ใช้กันเรียกได้ว่าทั่วโลกเลย เพราะฉะนั้นแล้วก็คงจะเป็นไปไม่
ได้ที่จะมีผู้ผลิตถังเพียงแค่เจ้าเดียว แล้วผลิตถังขายทั่วโลก กระผม
เองก็ทดลองวัดความยาวของถังเทียบกับไม้วัดให้ดูครับ ก็คือเท่าที่
ทดลองสุ่มวัดถังสองร้อยลิตรที่พบเห็นทั่ว ๆ ไปในท้องตลาด ขนาด
ความสูงของถังจะแปรผันอยู่ระหว่าง 85 - 89 เซ็นติเมตร ซึ่งก็จะ
แล้วแต่โรงงานที่ผลิตถังนั้น ๆ ออกมา แต่ส่วนใหญ่จะใกล้เคียงกัน
มาก ๆ ครับ ถึงจะผลิตกันคนละประเทศก็ตาม
วัดความยาวของไม้วัดให้ดูครับ
ส่วนไม้วัดรุ่นนี้ วัสดุจะเป็นทองเหลือง
มีตัวเลขบอกน้ำมันในหน่วยลิตรเช่นเดียวกัน
วัดความยาวให้ดูครับ
สำหรับไม้ทองเหลืองก็จะมีสองสเกลเช่นเดียวกันกับไม้แสตนเลส
ไม้วัดระดับน้ำมันทองเหลืองขนาดความยาว 2.5 เมตร ขีดแต่ละขีด
ห่างกัน 1 เซ็นติเมตร ขีดสุดท้ายจะอยู่ที่ความยาว 2 เมตร(เหลืออีก
50 เซ็นติเมตร เพื่อเป็นที่สำหรับมือจับ)
ความยาวของไม้วัดระดับน้ำมันแสตนเลส จะยาวกว่าไม้วัดระดับ
น้ำมันที่เป็นทองเหลืองเล็กน้อย คือจะยาว 1.25 เมตร ในขณะที่ไม้
วัดระดับน้ำมันทองเหลืองจะยาว 1 เมตร
วัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของไม้ทั้งสองเทียบกัน
ในส่วนของวัสดุ ไม้วัดระดับน้ำมันแสตนเลส จะเป็นโลหะตัน ส่วนไม้
วัดระดับน้ำมันทองเหลืองด้านในจะกลวง แต่ถึงอย่างไรก็ยังมีน้ำ
หนักที่มากกว่าไม้วัดระดับน้ำมันแสตนเลสเนื่องจากเป็นโลหะคนละ
ชนิด และขนาดที่อ้วนกว่าและเส้นผ่านศูนย์กลางที่มากกว่า
ไม้วัดระดับน้ำมันนี้จะสามารถยาวได้มากกว่า 1 เมตรได้ครับ
ทางผู้ใช้ต้องระบุมา ก็สามารถจัดหาให้ได้เช่นกัน
ก็คือว่าที่ถูกต้องที่สุดแล้ว ผู้ใช้งานจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง
ทราบสเกลของถังน้ำมันของท่าน ซึ่งถังน้ำมันขนาดใหญ่ของแต่ละ
ที่จะมีความกว้างความยาวความอ้วนไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นแล้ว การ
รินหรือใส่น้ำมันลงไปในถัง จึงทำให้ระดับน้ำมันในถังสูงขึ้นมาไม่
เท่ากัน เพราะฉะนั้นแล้วเจ้าของถังที่ถูกต้องที่สุดคือจำเป็นต้อง
ทราบว่าระดับน้ำมันในถังที่สูงขึ้นมา จะหมายถึงระดับน้ำมันในถังที่กี่
ลิตร ตรงนี้ก็อาจจะเริ่มต้นด้วยวิธีง่าย ๆ ที่ทำได้เลยก็เช่น
ต้องเริ่มจากถังน้ำมันเปล่า ๆ ที่ได้ทำความสะอาดแล้ว ทดลอง
เทน้ำมันที่ทราบปริมาณอย่างแน่นอนลงไป ยกตัวอย่างเช่นเทน้ำมัน
ที่ทราบปริมาณแล้วจำนวน 50 ลิตรลงไป ทดลองนำไม้วัดหรือโลหะ
หรือวัสดุอื่นใดก็ได้ ที่ไม่ทำปฎิกิริยากับน้ำมัน จุ่มลงไปในถังตรงนี้จำเป็นต้องจุ่มลงไปในถังในที่จุดที่ท่านกำหนดแล้วว่าต้องเป็นจุดนี้
หากจะวัดทุกครั้งไป จุ่มลงไปจนถึงก้นถัง จากนั้นยกวัสดุที่จุ่มลงไป
ในถังนี้ขึ้นมา ดูที่ขีดน้ำมันสุดท้ายว่าอยู่ที่จุดใด(ตรงนี้อาจจะต้อง
ทาน้ำยาวัดระดับน้ำมันลงไปด้วยก็จะดีมาก ดูที่คลิปด้านล่างครับ)
ให้หาปากกาหรือดินสอ หรือวัสดุแหลม ๆ มาร์คจุดนี้ไว้ จากนั้นก็เท
น้ำมันที่ทราบปริมาณลงไปเรื่อย ๆ และทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ครับ เช่น
อาจจะเริ่มเทในจุดต่อไปที่ระดับน้ำมัน 100 ลิตร, 150 ลิตร, 200
ลิตรไปเรื่อย ๆ หรือจะเทในจุดที่ละเอียดกว่านี้ก็ได้หากผู้ใช้งาน
ต้องการความละเอียด เช่นเทในจุดต่อไปที่ระดับ 60, 70, 80 ลิตร
จุดที่ท่านได้ทำการมาร์คไว้นี้ สำคัญมาก ๆ ครับ และเป็นข้อมูล
ของถังน้ำมันท่านที่ต้องเก็บไว้เลย หากท่านต้องการสั่งทำไม้วัดและ
ท่านได้ทราบจุดมาร์ค ณ จุดต่าง ๆ นี้แล้ว ท่านจึงสั่งไม้วัดที่ผมได้
ไม่ว่าจะเป็นอลูมิเนียมหรือทองเหลืองก็ตาม แล้วก็แจ้งหรือส่งจุด
มาร์คนี้มา เช่นแต่ละขีดให้ห่างกันเท่าไร ซึ่งตรงนี้ท่านก็จะทราบอยู่
แล้วว่าแต่ละขีดจะหมายถึงระดับน้ำมันในถังที่ปริมาณกี่ลิตร
ไม้วัดของผมความยาว สามารถเลือกได้ทุกความยาว แต่ละจุด
มาร์ค หากว่าท่านทราบจุดมาร์คของท่านที่แน่นอนแล้ว แจ้งมา ก็จะ
ทำการส่งไม้วัดที่ท่านสั่งแล้วนำไปสลักจุดมาร์คที่ลูกค้าแจ้งมา ก็
อาจจะใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ครับ ก็จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม หรือ
หากว่าลูกค้าต้องการสั่งไม้วัดแบบเปล่า ๆ ไม่มีสเกลเลยตรงนี้ก็อาจ
จะได้สินค้าเลย หลังจากนั้นลูกค้าก็นำไม้วัดเปล่า ๆ ที่ไม่มีสเกลไป ก็
จะสามารถทำจุดมาร์คได้เองเลยอย่างง่าย ๆ เลยครับ เช่นใช้ปากกา
สีเมจิก หรือสีที่ไม่ละลายหรือจางได้ในน้ำมันมาทาหรือมาร์คจุด
ไว้(โดยวิธีที่ได้กล่าวไว้ด้านบน)
ตรงนี้เป็นตัวอย่างไม้วัดที่ทางลูกค้าผมท่านหนึ่งได้สั่งให้ทำจุด
มาร์คไว้ ก็คือว่าไม้วัดอันนี้ยาว 3 เมตร เป็นทองเหลือง สำหรับสเกล
จะเป็นสเกลขีดขีดแต่ละขีดความห่าง 1 เซ็นติเมตร ตัวเลขสุดท้าย
จะอยู่ที่ 2.50เมตร เพราะว่าไม้วัดระดับน้ำมันขนาดยาวจำเป็นต้อง
เหลือส่วนที่ให้จับ 50 เซ็นติเมตร(จึงจะเหมาะสม) ผมได้ถ่ายภาพ
เทียบขนาดกับรถมอเตอร์ไซด์ที่จอดไว้อยู่ข้างฟุตบาท ที่ระยะความ
ห่าง 1 เซ็นติเมตรนี้ สำหรับถังของลูกค้าผมเขาทราบดีอยู่แล้วครับ
ว่าที่ความห่าง 1 เซ็นติเมตร จะแทนที่ระดับน้ำมันกี่ลิตรสำหรับถัง
ของเขา
ตัวอย่างไม้วัดทองเหลืองสั่งทำยาว 4 เมตร สำหรับสเกล
จะเป็นสเกลขีดขีดแต่ละขีดความห่าง 1 เซ็นติเมตร ตัวเลขสุดท้าย
จะอยู่ที่ 3.50 เมตร เพราะว่าไม้วัดระดับน้ำมันขนาดยาวจำเป็นต้อง
เหลือส่วนที่ให้จับ 50 เซ็นติเมตร(จึงจะเหมาะสม) ผมได้ถ่ายภาพ
โดยวัดเทียบกับตลับเมตร
ส่วนด้านล่างนี้เป็นไม้วัดอลูมิเนียมที่มีความละเอียด 1 เซ็นติเมตร ที่
ผมมีก็จะมีที่ระดับความยาวต่าง ๆ ครับ เช่น ความยาว 3 เมตร ขีด
สุดท้ายอยู่ที่ 2.50 เมตร ความละเอียดของขีด 1 เซ็นติเมตร
(ถ่ายเทียบกับรถกระบะ)
วัดขนาดที่ความยาวของไม้ 2.5 เมตร ขีดสุดท้ายจะไปสุดที่
ความยาว 2 เมตร เหลือส่วนที่ให้มือจับ 50 เซ็นติเมตร
วัดขนาดที่ความยาวของไม้ 3 เมตร ขีดสุดท้ายจะไปสุดที่ความยาว
2.5 เมตร เหลือส่วนที่ให้มือจับ 50 เซ็นติเมตร
ความยาวไม้ 4 เมตร
ขีดสุดท้ายอยู่ที่ 3.50 เมตร ความละเอียดของขีด 1 เซ็นติเมตร
ไม้วัดระดับน้ำมันสแตนเลสความยาว 1.5 เมตร ขีดสุดท้ายอยู่ที่ 1
เมตร(สินค้าเป็นงานสั่งทำ)
ไม้วัดระดับน้ำมันสแตนเลสความยาว 2.5 เมตร ขีดสุดท้ายอยู่ที่ 2
เมตร(สินค้าเป็นงานสั่งทำ)
ไม้วัดระดับน้ำมันสแตนเลสความยาว 3 เมตร ขีดสุดท้ายอยู่ที่ 2.5
เมตร(สินค้าเป็นงานสั่งทำ)
ไม้วัดระดับน้ำมันสแตนเลสความยาว 4.5 เมตร ขีดสุดท้ายอยู่ที่ 4
เมตร(สินค้าเป็นงานสั่งทำ)
ที่ปั่นน้ำมันใช้กับถังสองร้อยลิตร
เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่จำเป็นมาก เมื่อใดก็ตามที่ผู้ใช้ต้องการดึง
น้ำมันหรือของเหลวให้ออกมาจากถัง ใช้กับถัง 200 ลิตรครับ
น้ำยาวัดน้ำมันและน้ำยาวัดน้ำที่ตกค้างในน้ำมัน
เป็นน้ำยาลักษณะครีม ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ป้ายบนไม้วัดระดับ
น้ำมัน เพื่อตรวจสอบค่าหรือจุดที่เราต้องการทราบ อาทิเช่น ระดับ
น้ำที่ผสมอยู่ในน้ำมัน หรือระดับน้ำมันดีเซล, เบนซินที่อยู่ในถังน้ำมัน
ชมคลิปครับ
ครีมวัดน้ำมันเบนซิน น้ำมัน บี7 บี10
ครีมนี้จะเป็นครีมสีชมพู วิธีการใช้งานคือทาครีมนี้ลงไปยังอุปกรณ์ที่
จะใช้วัดให้ทาเป็นปื้น น้ำยานี้จะไม่เปลี่ยนสีคือจะยังคงเป็นสีชมพูหาก
สัมผัสหรือจุ่มลงไปในน้ำธรรมดา แต่ว่าน้ำยานี้จะเปลี่ยนเป็นสีชมพูเข้ม
หากจุ่มลงไปในน้ำมัน เช่น น้ำมัน บี7 หรือ บี10
ชมคลิปครับ
การอ่านค่าระดับน้ำมันในถังเก็บเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งการ
อ่านค่าที่ถูกต้องก็จะเป็นการดีและมีประโยชน์ อยากจะให้ท่านชม
คลิปนี้ครับ ฝรั่งคนสอนเขาสอนวิธีการวัดระดับน้ำมันในถัง ตอนแรก
เขาสอนในจุ่มไม้วัดลงไปในถังก่อนให้สุดไม้วัด จากนั้นก็ยกไม้วัด
ขึ้นมาแล้วดูที่ระดับน้ำมันซึ่งจะอยู่บนไม้วัด แต่ว่ามันจะเห็นไม่ค่อย
ชัด แต่จะพอประมาณได้ว่าอยู่ที่ขีดบนตัวเลขใด จากนั้นเขาเช็ดรอย
น้ำมันตรงบริเวณสูงที่สุดที่รอยบนไม้วัดออก จากนั้นก็ป้ายครีมนี้สัก
ปื้นหนึ่ง(ครีมสีชมพู) ลงไปบริเวณไม้วัดตรงนี้ แล้วจุ่มลงไปในถัง
เหมือนเดิมอีกที จากนั้นยกขึ้นมา ตอนนี้ครีมบนไม้วัดจะเปลี่ยนเป็น
สีชมพูเข้ม ซึ่งก็จะทำให้มองเห็นจุดที่ตัวเลขบนไม้วัดได้ชัดเจนยิ่ง
ขึ้น ซึ่งก็จะทำให้การอ่านค่าถูกต้องยิ่งขึ้นด้วย
ครีมตรวจวัดน้ำที่อยู่ในถังน้ำมัน ใช้กับน้ำมันดีเซล
ครีมนี้จะเป็นครีมสีเหลือง ซึ่งจะเปลี่ยนสีหากสัมผัสกับน้ำ แต่
จะไม่เปลี่ยนสีหากสัมผัสกับน้ำมันดีเซล
Direction for use
Place a thin film of Kolor Kut paste on clean gauge
line, rod or bob approximately where water level is
expected to appear-lower tape or rod into tank until
bottom is reached. Water gauge will appear by positive
contrast of brilliant colors : Gold changes to red on
contact with water level. Instantaneous in gasoline,
Kerosene, And gas oils; A few seconds longer required for
heavy and dark oils.
ชมคลิปครับ
https://www.youtube.com/watch?v=A9pZGHGaUE4
ครีมน้ำยาวัดน้ำในน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซล
เหมาะสำหรับวัดน้ำที่ตกค้างในน้ำมันดีเซล, เบนซิน
ชมคลิปวิธีการใช้ครับ
สรุปครีมน้ำยาวัดน้ำมัน
เจตนาของครีมน้ำยาวัดน้ำมันทั้งหมดนี้ก็คือ เพื่อเป็นการวัดน้ำที่
ตกค้างในน้ำมัน หรือวัดน้ำมันโดยตรง ซึ่งก่อนที่จะทำการวัดได้ผู้ใช้
จำเป็นต้องมีไม้วัดระดับน้ำมันก่อน จากนั้นจึงนำครีมวัดน้ำยานี้ มา
ทาตามจุดต่าง ๆ บนไม้วัดระดับนี้ ซึ่งที่ถูกต้องควรจะทาให้เป็นปื้น
ครีมนี้จะเปลี่ยนสีหากไป
สัมผัสกับสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการวัด เช่น หากผู้ใช้มีเจตนาที่จะวัดน้ำที่
ตกค้างในน้ำมัน หากนำครีมที่จำเพาะกับการวัดนี้ไปวัด ครีมนี้ก็จะ
เปลี่ยนสีหากว่าไปสัมผัสกับน้ำแต่จะไม่เปลี่ยนสีหากไปสัมผัสกับ
น้ำมัน เพียงแต่ว่าผู้ใช้ต้องเลือกให้เหมาะสมด้วยว่าครีมนี้จะไม่
เปลี่ยนสีกับน้ำมันทุกชนิด หรือไม่เปลี่ยนสีกับน้ำมันบางชนิด
อีกนัยหนึ่ง จุดใดหรือส่วนใดก็ตามแต่ของครีมน้ำยาที่ไม่ได้
เปลี่ยนสีไปก็จะบอกถึงส่วนที่เป็นอีกส่วนด้วยเช่นกัน
ยกตัวอย่างเช่น ครีมวัดน้ำยาเพื่อใช้วัดน้ำที่ตกค้างในน้ำมันหลอดนี้
ครีมหลอดนี้จะเปลี่ยนสีทันทีหากไปสัมผัสกับน้ำที่ผสมอยู่ในน้ำมัน
ดีเซลทุกชนิด ตรงนี้ต้องจำเพาะว่าเป็นน้ำมันดีเซลเท่านั้น เพราะว่า
หากนำไปวัดน้ำที่ตกค้างอยู่ในน้ำมันเบนซิน จะวัดไม่ได้เพราะว่า
ครีมก็จะเปลี่ยนสีไปด้วยหากไปสัมผัสกับน้ำมันเบนซิน
ตามภาพด้านล่างนี้จะเป็นการทดสอบน้ำมันดีเซลที่เทน้ำลงไป
ผสมด้วยแล้วใช้ไม้วัดทาด้วยน้ำยาหลอดนี้
โดยนัยนี้แล้วจุดที่น้ำยาบนไม้ที่เปลี่ยนสีไปจะหมายถึงจุดที่น้ำยา
ไปสัมผัสกับน้ำ หรืออีกนัยหนึ่งจุดที่น้ำยาบนไม้ที่ไม่เปลี่ยนสีไป ก็จะ
หมายถึงจุดที่เป็นส่วนของน้ำมันดีเซลนั่นเอง ฉะนั้นแล้วครีมน้ำยานี้
โดยทั้งสองนัยสรุปได้ว่าสามารถวัดได้ทั้งน้ำที่อยู่ในน้ำมันและวัด
น้ำมันโดยตัวครีมน้ำยาเอง จุดใดที่ครีมน้ำยาเปลี่ยนสีคือจุดที่มีการ
ผสมหรือปนเปื้อน จุดที่ไม่เปลี่ยนสีก็คือจุดที่บริสุทธิ์ไม่มีการปน
เปื้อน
หรือจะกล่าวให้ง่ายขึ้นก็คือ หากทาครีมน้ำยานี้ลงบนไม้วัด
แล้ว จุ่มไม้วัดลงไปในภาชนะที่บรรจุผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเช่น
น้ำมัน เมื่อใดที่ยกไม้ที่มีครีมน้ำยานี้ทาอยู่ขึ้นมา หากสีของครีม
น้ำยานี้ไม่เปลี่ยนเป็นสีใดเลย ก็จะหมายถึงว่าในภาชนะที่บรรจุ
ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมนี้มีเพียงสารชนิดเดียว หรือหากจะเกิดการ
เปลี่ยนสีแล้วไม้ที่มีครีมน้ำยานี้เปลี่ยนสีหมดทุกจุดที่ทา ก็จะให้ความ
หมายเช่นเดียวกัน แต่หากใดก็ตามที่ไม้ที่ครีมน้ำยานี้เปลี่ยนสีไป คือ
บนไม้วัดมีสีที่เปลี่ยนไปมากกว่า 1 สี แล้ว ก็จะหมายถึงว่าภาชนะที่
บรรจุผลิตภัณฑ์นี้มีการปนเปื้อนนั่นเอง(ดูจากจุดบนไม้ที่สีเปลี่ยน
ไป)
หรืออีกกรณีนำครีมหลอดนี้ไปวัดในเอทานอลบริสุทธิ์ ครีมนี้ก็ไม่
เปลี่ยนสีเช่นเดียวกัน ตามภาพด้านล่างไม้วัดทางซ้ายมือ ถูกทาไว้
ด้วยครีมสีเหลืองหลอดนี้ ก็จะไม่เปลี่ยนสีใด ๆ คือสีเหลืองก็จะยังคง
เป้นสีเหลืองหากจุ่มลงไปในเอทานอลบริสุทธิ์ ในขณะที่ไม้วัดทาง
ขวามือซึ่งถูกทาไว้ด้วยครีมอีกหลอดคือครีมสีน้ำตาล ก็จะเปลี่ยนสี
หากไปสัมผัสกับเอทานอลบริสุทธิ์
ในขณะที่น้ำยาวัดน้ำมันบางชนิด เช่นหลอดนี้ เป็นครีมน้ำยาสี
น้ำตาล แทบจะใช้วัดน้ำที่ผสมอยู่ในน้ำมันได้กับน้ำมันทุกชนิด ไม่ว่า
จะเป็นน้ำมันดีเซลหรือน้ำมันเบนซิน หรือน้ำมันแก๊สโซฮอลหรือแม้
กระทั่งเอทานอลบริสุทธิ์
ทาน้ำยาลงบนไม้วัดให้เป็นปื้นยาว ๆ
เมื่อจุ่มไม้วัดที่ทาน้ำยาแล้วลงไปในน้ำมันดีเซลที่ไม่มีน้ำผสม
ไม้วัดที่ทาครีมน้ำยาอยู่จะไม่เปลี่ยนสี
ในขณะที่หากในน้ำมันดีเซลถ้วยนี้มีน้ำธรรมดาผสมอยู่ น้ำยาจะ
เปลี่ยนเป็นสีแดงในจุดที่ไปสัมผัสกับน้ำ(ตามภาพด้านล่าง)
ในขณะที่หากในน้ำมันเบนซินถ้วยนี้มีน้ำธรรมดาผสมอยู่ น้ำยาจะ
เปลี่ยนเป็นสีแดงในจุดที่ไปสัมผัสกับน้ำ(ตามภาพด้านล่าง)
เมื่อจุ่มไม้วัดที่ทาน้ำยาแล้วลงไปในน้ำมันเครื่องบิน(น้ำมัน Jet)ที่
ไม่มีน้ำผสมไม้วัดที่ทาครีมน้ำยาอยู่จะไม่เปลี่ยนสี
ในขณะที่หากในน้ำมัน Jet ถ้วยนี้มีน้ำธรรมดาผสมอยู่ น้ำยาจะ
เปลี่ยนเป็นสีแดงในจุดที่ไปสัมผัสกับน้ำ(ตามภาพด้านล่าง)
เมื่อจุ่มไม้วัดที่ทาน้ำยาแล้วลงไปในเอทานอลบริสุทธิ์ที่ไม่มีน้ำผสม
ไม้วัดที่ทาครีมน้ำยาอยู่จะเปลี่ยนสีเป็นสีเหลือง
เมื่อจุ่มไม้วัดที่ทาน้ำยาแล้วลงไปในเอทานอลบริสุทธิ์ที่มีน้ำผสม
ไม้วัดที่ทาครีมน้ำยาอยู่จากสีเหลืองจะเปลี่ยนเป็นสีแดง(สังเกตุที่
ปลายไม้)
หรือสำหรับน้ำยาหลอดนี้
จะใช้วัดน้ำที่ตกค้างในน้ำมัน ซึ่งก็จะเปลี่ยนสีหากครีมนี้ไปสัมผัส
กับน้ำ ในขณะที่จะไม่เปลี่ยนสีหากไปสัมผัสกับน้ำมันดีเซลหรือ
น้ำมันเบนซิน เพราะฉะนั้นก็จะสามารถใช้วัดน้ำที่ตกค้างในน้ำมันได้
ทุกชนิดน้ำมัน
ข้อควรระวัง
ทุกครั้งที่มีครีมน้ำยาสัมผัสกับของเหลวแล้ว(คือมีการวัดแล้ว) ไม่
ว่าของเหลวนั้นจะเป็นน้ำมันหรือน้ำธรรมดาหรือแอลกอฮอล์ หากจะ
มีการวัดในครั้งต่อไป ครีมน้ำยานี้จำเป็นที่จะต้องถูกเช็ดออกให้หมด
ก่อนเสมอ จากนั้นจึงค่อยทางครีมน้ำยาใหม่ลงไปเพื่อที่จะทำการวัด
ในครั้งต่อไป ไม่ควรจะนำครีมน้ำยาที่สัมผัสกับของเหลวมาแล้วไป
วัดอีกครั้งเป็นครั้งที่สองหรือครั้งที่สาม
แกลลอนใส่น้ำมัน
นอกจากรถยนต์ รถจักรยานยนต์ แล้ว เครื่องจักรหลายชนิด
อาทิเช่น เครื่องจักรทางการเกษตร เครื่องสี เครื่องปั่นไฟ รถบรรทุก
ขนาดใหญ่ รถขุดเจาะ ฯลฯ ก็ล้วนแล้วแต่ใช้น้ำมันเป็นตัวขับเคลื่อน
ถ้าเป็นรถยนต์ธรรมดา หรือรถจักรยานยนต์ธรรมดาแล้ว การขับไป
ที่สถานีบริการน้ำมันเพื่อเติมน้ำมันเป็นสิ่งปกติทำได้ง่าย แต่ถ้าหาก
ท่านจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำน้ำมันกลับมาเติมเครื่องจักร
เนื่องจากว่าเป็นเครื่องจักรที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เป็นเครื่องจักรที่มีขนาด
ใหญ่ หรือเป็นเครื่องจักรเครื่องยนต์ที่น้ำมันหมดกลางทาง ตรงนี้
ท่านก็คงจำเป็นต้องหาภาชนะเพื่อนำไปซื้อน้ำมันที่สถานีบริการ
ตรงนี้ผมเองเคยเห็นในอดีตมีคนนำกระป๋องนม นำขวด
พลาสติกใส่น้ำ นำขันใส่น้ำ ไปขอซื้อน้ำมันที่ปั๊ม แต่เด็กปั๊มไม่
สามารถจำหน่ายน้ำมันให้ได้เนื่องจากเหตุผลเรื่องความปลอดภัย
ตรงนี้ไปโกรธสถานีบริการน้ำมันแห่งนั้นหรือเด็กปั๊มคงไม่ได้ครับ
เพราะว่ามันเกี่ยวข้องกับนโยบายความปลอดภัยของสถานีบริการ
ซึ่งหากถ่ายน้ำมันจากที่เก็บอย่างดีลงภาชนะที่ไม่ได้มาตรฐานขึ้น
แล้ว เกิดความร้อนขึ้น ก็เป็นไปได้ที่จะเกิดอุบัติเหตุที่คาดไม่ถึงเช่น
อัคคีภัยขึ้น ก็จะกลายเป็นเรื่องขึ้นมา
อุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับการนำไปใส่น้ำมัน เท่าที่ผมเห็นผู้คน
ใช้กันก็มีหลายอย่างที่พอใช้ได้ ก็คือให้มันเป็นอุปกรณ์ที่มีขนาด
หนาพอประมาณ ไม่เป็นสื่อกับไฟฟ้า มีที่ปิดมีฝาปิดที่แน่นหนาหรือ
เป็นถังใส่น้ำมันโดยเฉพาะ เช่นถังขนาด 200 ลิตร ก็น่าจะใช้ได้แล้ว
แต่ถ้าจะให้เหมาสมที่สุดก็คือนำถังที่ผลิตหรือออกแบบมาเฉพาะ
สำหรับการบรรจุน้ำมันมาใช้ ถังที่ว่านี้จะมีลักษณะเช่นนี้ครับ
คือจะเป็นถังที่ออกแบบมาสำหรับบรรจุน้ำมันโดยเฉพาะเลย
ถังรุ่นด้านบนนี้เป็นถังสีแดง ออกแบบมาเหมาะสำหรับบรรจุน้ำมัน
เบนซิน ก็คือถ้าหากว่าถอดฝาสีดำออกแล้วประกอบมันมีลักษณะ
เช่นนี้
ลักษณจะเป็นงวง
ซึ่งสามารถจะหมุนกลับเข้าไปยังฝาถังได้
ตรงนี้ถ้าหากว่าฝาสีดำปิดอยู่ หรือยังไม่ได้ประกอบเป็นงวง หรือ
ประกอบเป็นงวงแล้วใส่เข้าไปยังฝาถังเหมือนเดิมแล้ว น้ำมันในถังจะ
ไม่หกออกมาข้างนอกครับ ในกรณีที่จะทำให้งวงฝาถังจ่ายน้ำมัน
ออกมาจากถังได้ ก็คือต้องนำไปใส่ใสคอใส่ถังน้ำมันที่รถยนต์ แล้ว
ออกแรงกด ตรงนี้มันออกแบบมาเป็นระบบเซฟตี้ครับ คือจำเป็นต้อง
มีแรงกดเพื่อบังคับให้น้ำมันออกมาจากถังได้ หรือมิเช่นนั้นก็คือต้อง
ถอดฝาถังออกเลยก็จะกลายเป็นแกลลอนน้ำมันธรรมดา ก็จะ
สามารถยกเติมเครื่องจักรที่มีขนาดเล็กได้เช่นเครื่องปั่นไฟ รถ
จักรยานยนต์ ฯลฯ ถังอย่างนี้เหมาะกับการเดินทางเช่นกันครับ เช่น
ท่านนำติดรถไปด้วยในกรณีที่ต้องเดินทางไกล และสถานที่แห่งนั้น
อาจจะหาสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันยาก ในบางสถานการณ์ก็จะ
เป็นความคิดที่ดีที่จะสำรองน้ำมันไว้ก่อนเผื่อในกรณีฉุกเฉิน ก็จะมี
สามขนาดให้เลือกใช้ครับ คือ 5 ลิตร, 10 ลิตร และ 20 ลิตร
ส่วนถังสีเหลืองก็ออกแบบมาเพื่อใช้กับน้ำมันดีเซล
ก็คือเวลาเปิดฝาถัง ให้ท่านกดที่ตรงนี้ก่อนครับ จึงจะสามารถหมุน
ฝาถังได้
จากนั้นวิธีการใช้งานก็จะมีสองวิธี วิธีแรกคือถ้าหากหมุนเฉพาะฝา
ถังกลับไปยังจุดเดิม(งวงไม่ได้ใส่เข้าไปด้วย) ถังนี้ก็จะเป็นแกลลอน
เก็บน้ำมันธรรมดา สามารถบรรจุน้ำมันได้ตามปกติ และยกหิ้วเพื่อ
ไปเท หรือใส่เครื่องยนต์ธรรมดาได้ เช่น รถไถ เครื่องปั่นไฟ เครื่องสี
ข้าว ฯลฯ
แต่ถ้าหากว่าท่านประกอบงวงเข้าไป ก็จะทำให้ถังนี้สามารถนำไป
เติมน้ำมันรถยนต์ หรือรถใหญ่ได้ เพราะว่างวงนี้จะทำการสอดผ่านรู
รับน้ำมันเข้าไปข้างใน ซึ่งถ้าหากไม่มีงวงแล้ว การยกถังขึ้นแล้วเท
ผ่านช่องรับน้ำมัน มันจะทำได้ไม่สะดวกหรืออาจจะทำไม่ได้
เนื่องจากมันจะหกเลอะเทอะ ทำให้สิ้นเปลือง หรือถ้าเป็นน้ำมันดีเซล
ด้วยแล้ว หากหกลงพื้นก็จะทำให้เป็นอันตรายมาก คือจะทำให้พื้น
ลื่น ยานพาหนะที่ผ่านไปมาหากวิ่งมาเหยียบบริเวณนี้ก็เป็นไปได้ที่
จะเกิดอุบัติเหตุ
งวงน้ำมันนี้ออกแบบมาให้เป็นเซฟตี้วาวล์ครับ คือถ้าไม่มีแรงกดมัน
จะไม่ทำงาน คือ น้ำมันจะไม่ไหลออกจากงวง ด้านล่างที่ผมชี้ให้ดู
จุดนี้คือมันจะกดให้เข้าหากันได้
ตรงนี้ผมออกแรงกดให้ดูครับ คือจะเทียบเท่ากับของจริงเลย คือเมื่อ
นำงวงนี้สอดเข้าไปในช่องรับน้ำมันของรถแล้ว เราต้องออกแรงกด
เพื่อให้เซฟตี้วาวล์หยุดทำงาน และปล่อยน้ำมันออกมาจากถัง
แกลลอน
ภาชนะใส่น้ำมันภายนอก
ภาชนะใส่น้ำมันภายนอก ก็พบเห็นได้ทั่วไป ออกแบบมาเพื่อแบ่ง
น้ำมันจากภาชนะขนาดใหญ่เช่นถังสองร้อยลิตรหรือแกลลอนน้ำมัน
มาใส่ เพื่อความสะดวกในการเคลื่อนที่นำไปใช้ ก็เป็นภาชนะที่
ออกแบบมาเพื่อนำน้ำมันที่แบ่งถ่ายออกมาแล้วไปใช้เลยทันที คือนำ
ไปใส่ในเครื่องจักรโดยทันที ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อใช้เก็บน้ำมัน
ภาชนะลิตรตวงน้ำมันผสมน้ำมันรถยนต์ รถใหญ่
ลิตรตรวจสอบน้ำมัน
มีขนาด 1 ลิตร, 2 ลิตร, 5 ลิตร, 10 ลิตร และ 20 ลิตร
ขนาด 1 ลิตร
ขนาด 2 ลิตร
ถ่ายเทียบทั้งสองขนาด 1 ลิตรและขนาด 2 ลิตร
ลิตรตรวจสอบน้ำมันมีไว้เพื่ออะไร ?
ความสำคัญของลิตรตรวจสอบน้ำมัน มีไว้เพื่อทำการตรวจสอบ
น้ำมันจากหัวจ่ายน้ำมันว่าจ่ายน้ำมันออกมาตรงกับที่ตั้งค่าไหม เวลา
ที่ท่านเข้าไปในปั๊มน้ำมัน หัวจ่ายน้ำมันก็จะถูกใส่เข้ามาในถังน้ำมัน
แล้วกดปริมาณน้ำมันตามจำนวนลิตรที่ตั้งไว้ หรือตามจำนวนเงินที่
ต้องการเติม
น้ำมันที่เติมจะไหลลงไปในถังน้ำมัน
ซึ่งตรงนี้ที่ถูกต้องที่สุดแล้ว จำเป็นต้องตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอว่า
จำนวนเงินที่ต้องการเติมนั้นท่านจะได้ถูกต้องตามจำนวนลิตรไหม
จำนวนลิตรที่กดออกมานี้มันตรงกับความเป็นจริงไหม มันบวกลบสัก
เท่าไร อยู่ในสเกลที่ยอมรับได้ไหม ผมยกตัวอย่างด้วยด้านล่างนี้เป็น
ลิตรตรวจสอบขนาด 5 ลิตรครับ
หลังจากที่ตรวจสอบแล้วหากว่าตรงหรือไม่ตรงก็ตามแต่ ก็จำเป็น
ต้องตรวจสอบซ้ำเป็นครั้งสอง หรืออาจจะเป็นครั้งที่สาม
สเกลเนื้อน้ำมันที่ยอมรับได้ ก็จะอยู่ในช่วงบวกลบครับ ถ้าอยู่ใน
ช่วงบวกลบนี้ ก็คือสามารถยอมรับได้ แต่ถ้าไปอยู่นอกช่วงบวกลบนี้
เจ้าของกิจการก็จำเป็นต้องมาตั้งค่าหัวจ่ายไหมครับ แล้วเรียกเจ้า
หน้าที่มาตรวจสอบ
ให้ดูชัด ๆ ครับ ด้านล่างนี้เป็นลิตรตรวจสอบขนาด 1 ลิตร หากว่า
ท่านตั้งค่าหัวจ่ายให้จ่ายน้ำมันออกมาจำนวน 1 ลิตรแล้ว เนื้อน้ำมัน
ที่ออกมาควรจะอยู่ที่ขีด 1 ลิตร แต่ถ้าหากมันไม่อยู่ที่ขีด 1 ลิตรเป๊ะ
ๆ มันก็ควรจะอยู่ในสเกลบวกลบครับ คือดูที่ด้านบนและด้านล่างขีด
1 ลิตร ถ้าอยู่ในช่วงบวกลบนี้ก็คือเป็นค่าที่ยอมรับได้ แต่ถ้าไม่อยู่ใน
ช่วงบวกลบนี้ก็ต้องแก้ไขครับ
สนใจผลิตภัณฑ์ ผมอนันต์ครับ Tel.0868910596