เทอร์โมมิเตอร์กระเปาะเปียกกระเปาะแห้งแบบเซลเซียสช่วง
ของการวัด ติดลบ 30 ถึง บวก 50 องศาเซลเซียส
เทอร์โมมิเตอร์แบบกระเปาะแห้งกระเปาะเปียกที่สามารถวัดค่า
กระเปาะแห้งได้ในช่วงกว้างคือวัดได้ตั้งแต่ช่วงติดลบ 30
องศาเซลเซียสถึง บวก 50 องศาเซลเซียส โดยมีขนาดตามภาพ
เทอร์โมมิเตอร์รุ่นนี้ออกแบบมาเพื่อให้อ่านค่าได้ง่าย
เพราะว่าแยกสีของแอลกอฮอล์ในหลอดอย่างชัีดเจน
ด้วยสีแดงและสีน้ำเงิน ป้องกันความสับสน
ทั้งนี้บนตัวเทอร์โมมีชาร์ตอ่านเพื่อเปรียบเทียบค่าเปอร์เซ็นต์ความ
ชื้นพิมพ์อยู่
หรือสามารถอ่านค่าได้จากชาร์ตกระดาษที่มีให้มา
ในส่วนของเทอร์โมมิเตอร์ทั้งสองฝั่ง
คือฝั่งกระเปาะแห้งและกระเปาะเปียกจะมีปรอทที่มีสีต่างกันเพื่อ
ให้สังเกตุได้ง่าย
ในฝั่งเทอร์โมกระเปาะเปียกมีรางใส่น้ำกลั่นอยู่ สามารถถอดออกได้ง่าย
คู่มือการใช้งานภาษาอังกฤษ
ข้อควรระวังการใช้งานเทอร์โมมิเตอร์แบบกระเปาะเปียก - กระเปาะแห้ง
เทอร์โมมิเตอร์กระเปาะเปียกกระเปาะแห้ง
หากท่านนำมาพิจารณาให้ถี่ถ้วนแล้วจะพบว่า
ปรอทวัดอุณหภูมิทั้งสองข้างจะอยู่ในระดับเดียวกันเท่ากันทุกประการ
ขอบด้านบนสุดของเทอร์โมมิเตอร์ฝั่งกระเปาะแห้งก็จะอยู่เสมอกับขอบ
ด้านบนสุดของเทอร์โมมิเตอร์ฝั่งกระเปาะเปียก ในขณะเดียว
ตำแหน่งขอบด้านล่างสุดของฝั่งกระเปาะแห้ง
ก็จะยังอยู่ในระดับเดียวกันกับขอบด้านล่างสุดของฝั่งเทอร์โมมิเตอร์
กระเปาะเปียก ซึ่งนั่นก็คือเทอร์โมมิเตอร์ทั้งสองฝั่งนี้ มีขนาดความยาว
ความสูง
เท่ากันทุกประการและออกแบบจัดวางใ้ห้อยู่ในระดับเดียวกันทุกประการ
ในส่วนของเทอร์โมมิเตอร์ฝั่งกระเปาะแห้ง
จะมีไว้อ่านค่าอุณภูมิอากาศตามปกติอยู่แล้ว การใช้งานไม่ยุ่งยาก
ไม่มีข้อควรระวังมากนัก
แต่ในฝั่งของเทอร์โมมิเตอร์กระเปาเปียกนั้นมีข้อควรระวังบางอย่าง
ซึ่งสำหรับท่านที่ไม่เคยใช้งานหรือยังไม่เคยใช้งาน
หรือคนใช้งานไม่มีประสบการณ์ในการใช้งาน ก็คือ
รางใส่น้ำสีขาวตามที่เห็นในรูปนี้ ที่ถูกต้องแล้วต้องอยู่ในระดับหย่อน ๆ
แบบนี้เสมอ
นั่นเป็นเพราะว่า หากลองถอดรางใส่น้ำนี้ออกมาดู
จะพบว่าปลายของเทอร์โมมิเตอร์กระเปาะแห้งและปลายของ
เทอร์โมมิเตอร์กระเปาะเปียกจะอยู่ในระดับเดียวกัน
จะต่างกันก็เพียงปลายของเทอร์โมมิเตอร์กระเปาะเปียกนั้น
จะมีผ้าขาวบางพันอยู่
ซึ่งปลายของผ้าขาวบางที่เห็นนี้ก็คือจะเป็นส่วนที่แช่ลงไปในรางใส่น้ำนั่น
เอง จะไม่เกี่ยวกับปลายของเทอร์โมมิเตอร์
นั่นก็คือปลายของเทอร์โมมิเตอร์ฝั่งนี้จะต้องห้ามจุ่มลงไปในน้ำอย่าง
เด็ดขาด มิฉะนั้นแล้วจะอ่านค่าไม่ได้
ก็คือหากปลายของเทอร์โมมิเตอร์จุ่มลงไปในน้ำ
เทอร์โมมิเตอร์นี้ก็จะไปอ่านอุณหภูมิของน้ำแทนนั่นเอง
เพราะฉะนั้นแล้วจะไปดันรางใส่น้ำให้ขึ้นมา
(ตามรูปด้านล่างรูปแรก) ไม่ได้ รางใส่น้ำนี้จะต้องอยู่ในลักษณะหย่อน ๆ
ห้อย ๆ(ตามรูปที่สองด้านล่าง)
เพื่อให้ปลายของผ้าขาวบางได้จุ่มลงไปในน้ำอย่างเดียว
ไ่ม่ให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของเทอร์โมมิเตอร์สัมผัสกับน้ำ
ทดลองทำการใช้จริง ก่อนอื่นเติมน้ำกลั่นลงไปก่อนให้เต็ม ตามรูป
ปรับรางใส่น้ำให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมตามรูป
สังเกตุตามรูปหากหันด้านหลังของเทอร์โมมิเตอร์มาแล้ว ทั้งส่วนปลาย
ของกระเปาะแห้ง และส่วนปลายของกระเปาเปียกจะต้องสัมผัสกับอากาศ
โดยตรง คืออากาศจะต้องผ่านได้ตลอดและสะดวก
หากว่าท่านทำการเติมน้ำและเซตเครื่องให้ถูกวิธีแล้ว สักครู่ปรอททั้งสอง
ฝั่งจะเริ่มอ่านค่าได้ไม่เท่ากัน ตามรูปด้านล่าง ปรอททางฝั่งที่เป็นกระเปาะ
เปียกจะเริ่มอ่านค่าได้ลดลง ซึ่งจะลดลงมากแค่ไหนขึ้นกับสภาพอากาศ
ของวันนั้น ๆ หรือในเวลาขณะนั้น
ให้ทิ้งไว้สักพักจนกระทั่งอุณหภูมิทั้งสองฝั่งอ่านค่าได้คงที่ เช่นตามรูป
อุณหภูมิฝั่งกระเปาะแห้งอ่านค่าได้เท่ากับ 32 องศาเซลเซียส ส่วน
อุณหภูมิฝั่งกระเปาะเปียกอ่านค่าได้เท่ากับ 27 องศาเซลเซียส อย่าลืม
บันทึกวัน, สถานที่ และเวลาที่ตรวจวัดด้วย สำคัญมาก วันที่ทำการตรวจวัด
นี้เป็นวันที่ 10 พฤศจิกายน 2561 เวลา 11.00 น. อุณหภูมิทั้งสองฝั่งที่
อ่านได้สามารถแปลงค่าเป็นความชื้นสัมพัทธ์ ณ เวลาและสถานที่แห่งนี้ได้
เท่ากับ 66 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับชาร์ตตัวเลขบนเทอร์โมมิเตอร์ที่ให้มา
ผู้ใช้บางท่านยังมีประสบการณ์ในการใช้ไม่มาก บางทีไปมัดไว้แบบนี้
โดยมีเจตนาที่จะให้รางใส่น้ำมั่นคง ไม่หล่นลงมา
ซึ่งผิดวิธีครับ นั่นจะทำให้การอ่านค่าผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปหมด
ทำให้การจดบันทึกค่าที่ได้ผิดไปจากความเป็นจริง
ฉะนั้นแล้วทุกครั้งที่ใช้งานหรือมีการเติมน้ำลงไปในราง
ให้ตรวจสอบให้ละเอียดอีกครั้งว่าปลายของเทอร์โมมิเตอร์ฝั่งนี้อยู่พ้นจาก
น้ำ ก่อนนำเทอร์โมมิเตอร์นี้ไปใช้งาน
วิธีหนึ่งที่พอจะบอกได้สังเกตุได้ก็คือ ระดับน้ำที่เติมลงไปในรางใส่น้ำ
ไม่ควรจะอยู่เลยขึ้นมาจากระดับขอบด้านล่างสุดของเทอร์โมมิเตอร์
กระเปาะแห้ง
ซึ่งจะสังเกตุปลายกระเปาะได้ง่ายและเห็นชัดกว่าส่วนปลายของ
กระเปาะเปียก ซึ่งจะมีผ้าขาวบางพันไว้ ทำให้สังเกตุได้ยากกว่า
อีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจและต้องสังเกตุก็คือ
สำหรับเทอร์โมมิเตอร์แบบกระเปาะเปียกกระเปาะแห้งแล้ว
ปลายของเทอร์โมมิเตอร์จะเปิดอย่างอิสระเสมอ
เพื่อให้อากาศในบริเวณนั้นที่ต้องการวัด
ผ่านได้อย่างอิสระทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
ทั้งในส่วนของปลายกระเปาะเปียกและกระเปาะแห้ง
ดูตามภาพ ด้านหลังของปลายเทอร์โมมิเตอร์ฝั่งกระเปาะแห้ง
ไม่มีแผ่นไม้หรือวัสดุใดบังอยู่
ฉะนั้นอากาศจะผ่านเข้าออกได้ทั้งสองฝั่งคือ
ผ่านได้ตลอดทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
อันนี้เป็นด้านหลังของเทอร์โมมิเตอร์แบบ Wet-Dry นี้อีกยี่ห้อหนึ่ง
หรือถ้าหากเป็นบางยี่ห้อก็จะทำให้ปลายเทอร์โมมิเตอร์ฝั่งนี้แยกจากกัน
อย่างชัดเจนกับภาชนะที่ใส่น้ำกลั่น เช่นรุ่นด้านล่างนี้
ปลายจะถูกผ้าพันไว้จากนั้นผ้าจึงหย่อนลงไปในภาชนะใส่น้ำกลั่นซึ่ง
อยู่ด้านล่างลงไป ห่างกันกับปลายเทอร์โมมิเตอร์ค่อนข้างมาก
ดังนั้นแล้วที่ถูกต้องที่สุดในส่วนของเทอร์โมมิเตอร์ฝั่งกระเปาะเปียก
หลังจากที่เติมน้ำลงไปในราง จัดระยะของรางใส่น้ำเรียบร้อยแล้ว
ปลายของเทอร์โมมิเตอร์ฝั่งกระเปาะเปียก
ก็จำเป็นที่จะต้องสัมผัสกับอากาศได้โดยตรง
คืออากาศจะต้องผ่านได้อย่างอิสระเ่ช่นเดียวกัน
ปลายของเทอร์โมมิเตอร์ฝั่งนี้จะลงไปอยู่ในรางไม่ได้
ถึงแม้ว่าปลายเทอร์โมลงไปในรางใส่น้ำแล้วไม่ได้แช่น้ำก็ตามแต่
หากใช้ผิดวิธีแล้วจะทำให้การวัดผิดไป
การอ่านค่าผิดไปจากความเป็นจริงครับ
สนใจผลิตภัณฑ์ ผมอนันต์ครับ Tel.0868910596