มิเตอร์ปากกาวัดความเค็มของอาหารช่วงการวัด 0 - 10
เปอร์เซ็นต์ salt check meter tester model SB-2000 Pro
ท่านครับ
ถ้าหากว่าท่านประสงค์จะใช้มิเตอร์แบบปากกาวัดความเค็มของ
อาหารที่สามารถจะวัดเปอร์เซ็นต์ได้มากกว่ารุ่น SB-2000
ซึ่งวัดได้ในช่วง 0.0 - 5.0 เปอร์เซ็นต์ความเค็มแล้ว
กระผมมีมิเตอร์อีกรุ่นที่วัดค่าความเค็มได้สูงกว่าครับ
คือมันจะสามารถวัดความเค็มได้ตั้งแต่ 0 - 10
เปอร์เซ็นต์ความเค็มเลย
รูปร่างหน้าตาของสินค้าเหมือนกับของรุ่น SB-2000 ทุกประการ
แต่รุ่นนี้จะมีชื่อเรียกว่า เป็นรุ่น SB-2000 Pro
ผมถ่ายเทียบทั้งสองรุ่นให้ชม(ตามภาพบนครับ)
มิเตอร์รุ่น SB-2000 Pro นี้มีข้อดีอีกอย่างที่เรียกว่าน่าสนใจมาก ๆ
ทีเดียวคือในช่วงเปอร์เซ็นต์ความเค็มไม่มากนัก
คือตั้งแต่ 0 - 3 เปอร์เซ็นต์แล้ว
จะสามารถวัดได้เป็นหลังจุดทศนิยมสองตำแหน่งครับ
คือมันจะอ่านค่าได้ตั้งแต่ 0.00 - 2.99 เปอร์เซ็นต์ความเค็ม
แต่ถ้าหากว่าเปอร์เซ็นต์ความเค็มมากกว่า
3 เปอร์เซ็นต์ไปจนถึง 10 เปอร์เซ็นต์แล้ว
จะอ่านค่าได้หลังจุดทศนิยมหนึ่งตำแหน่งครับ
คือมันจะอ่านค่าได้ตั้งแต่ 3.0 - 10.0 เปอร์เซ็นต์ความเค็ม
กระผมฝากคู่มือการใช้งานสินค้าให้ท่านพิจารณาครับ
มีความน่าสนใจมากเช่นเดียวกัน คือที่เปอร์เซ็นต์ความเค็มที่น้อย ๆ
แล้วเครื่องนี้จะยิ่งมีค่าความแม่นยำ(Accuracy) สูงทีเดียว
ใช้งานง่ายมาก ๆ ครับ
แค่จุ่มลงไปเครื่องมันจะสั่นสองครั้งสองจังหวะ
โดยเว้นช่วงสั่นสักเล็กน้อย หลังจากสิ้นสุดการสั่นจังหวะที่สองแล้ว
เครื่องจะล็อกค่าที่อ่านได้ไว้ทันที โดยค้างค่าไว้บนหน้าจอ
ท่านก็สามารถจะยกมิเตอร์ขึ้นมาอ่านค่าได้เลย
โดยไม่จำเป็นต้องก้มลงไปมองที่หน้าจอ
หรือต้องจุ่มมิเตอร์ให้อยู่ในสิ่งที่วัดตลอดเวลา
เครื่องนี้ปิดเครื่องอัตโนมัติครับ ไม่มีปุ่มใด ๆ
ให้ต้องกดหรือพะวงว่าจะเกิดการกดปุ่มผิด
ถ้าเลิกใช้งานเก็บเครื่องเข้า Package ได้เลยครับปิดเครื่องเอง
หรือถ้าจะวัดต่อเนื่องก็จุ่มลงไปวัดในสารละลายอื่น ๆ
ได้เลยทันทีหลังจากที่เครื่องล็อกค่าไว้แล้ว
เครื่องก็จะอ่านค่าใหม่อีกครั้ง สินค้าของเกาหลีครับ
น่าใช้มากตัวเครื่องสีขาวดูสะอาดตา
ชมคลิปวิธีการใช้งานครับ ใช้งานง่ายมาก ๆ ครับ ไม่ต้องเปิดหรือปิดเครื่อง
เพียงแค่ใส่ถ่านไฟฉายขนาดเล็ก 2 ก้อนแล้วใช้งานได้เลย
เครื่องจะทำงานเปิดเครื่องขึ้นมาเองหากสามารถตรวจวัดตรวจจับสารละลาย
ความเค็มได้ จิ้มมิเตอร์ลงไปในสารละลายนั้นเครื่องจะเริ่มสั่น
รอให้สั่นให้จบครั้งที่สอง แล้วค่อยยกมิเตอร์ขึ้นมา
มิเตอร์จะค้างค่าที่อ่านได้ไว้ให้ท่านได้อ่านได้ง่าย หลังจากนั้น
จุ่มน้ำสะอาดเพื่อทำความสะอาด ปล่อยไว้เครื่องจะปิดไปเอง
(Auto Shut down) ข้อดีคือวัดสารละลายที่ค่อนข้างหนืดได้ด้วย เช่น น้ำเกรวี่,
น้ำหมูแดง, น้ำจิ้ม ฯลฯ
คำนวนและแปลงค่าความเค็มเป็นหน่วยมิลลิกรัมโซเดียม
มิเตอร์วัดความเค็มของอาหารนี้จะวัดออกมาโดยมีหน่วยเป็นเปอร์
เซ็นต์ความเค็มในอาหาร
แต่หากท่านต้องการจะแปลงเปอร์เซ็นต์ความเค็มของอาหารให้เป็น
หน่วยอื่น เช่น มิลลิกรัมของเกลือ หรือมิลลิกรัมของโซเดียม
ซึ่งหน่วยนี้มักจะใช้เป็นหน่วยอ้างอิงของการได้รับหรือควรจะได้รับ
โซเดียมในการบริโภคอาหารในแต่ละวันว่าไม่ควรจะได้รับอย่าง
น้อยเท่านี้ หรือไม่ควรจะได้รับเกินไปกว่านี้
ตรงนี้สามารถคำนวนได้ครับ
ตรงนี้อยากให้ท่านอ่านวิธีคำนวนของสูตรนี้ก่อนครับ
คือในกรณีที่ท่านได้วัดปริมาณความเค็มของอาหารแล้วได้ค่าเปอร์
เซ็นต์ความเค็มออกมา เช่นกรณีนี้เขาทดลองวัดความเค็มของ
ซุบ-ข้นถั่ว bean-paste soup
ทั้งนี้แล้วเขาทราบปริมาณที่แน่นอนแล้วว่าในจานนี้มีอาหารคือ
bean-past soup อยู่ 200 กรัม
ทดลองวัดปริมาณความเค็มแล้วอ่านค่าความเค็มได้เท่ากับ 1.0 %
ตรงนี้หากจะนำค่านี้ไปเปลี่ยนเป็นกรัมของเกลือที่อยู่ในอาหารนี้จะ
คำนวนได้เช่นกันครับ คือคำนวนได้จาก
นำค่าปริมาณอาหารที่ทราบแน่นอนแล้ว คูณด้วย 1/100
ก็คือ 200 x 0.01 = 2 กรัม ซึ่งตัวเลข 2 กรัมนี้ก็จะคือ
เกลือที่อยู่ในอาหารนี้นั่นเอง
แต่ทั้งนี้แล้วท่านต้องนำปริมาณที่คนรับประทานมาคิดคำนวนด้วย
ครับ เช่น ซุบ bean-paste soup ถ้วยนี้รับประมาณ 2
คนก็ต้องนำมาหาร 2 หากรับประมาณ 3 คนก็หาร 3 เป็นต้น
อันดับต่อไปเราต้องแปลงค่าหน่วยกรัมให้เป็นมิลลิกรัม ก็คือว่า
ในน้ำหนัก 1 กรัม ถ้าแปลงเป็นมิลลิกรัม ก็จะคือ 1,000
มิลลิกรัมนั่นเอง ฉะนั้นแล้วในน้ำหนัก 2 กรัม ก็จะหนัก 2,000
มิลลิกรัม
แต่ เกลือ ภาษาวิทยาศาสตร์จะเรียกว่า Sodium Chloride
คือมันจะประกอบไปด้วย โซเดียม
ซึ่งเป็นธาตุอาหารที่จำเป็นชนิดหนึ่งที่ร่างกายมนุษย์และสัตว์
ขาดไม่ได้ โดยที่ในเกลือ 1 หน่วย จะไม่ได้หมายถึงมีโซเดียม เต็ม
1 หน่วย แต่จะมีปริมาณโซเดียมโดยประมาณน้อยกว่านี้(ไม่ถึงครึ่ง)
ซึ่งถ้าหากว่าเราทราบปริมาณเกลือในหน่วยมิลลิกรัมแล้ว
เราก็จะสามารถคำนวนปริมาณโซเดียมได้เช่นกัน
โดยเข้าไปที่หน้าเวบนี้ http://oxsalt.org.uk/db/?page_id=37
ให้เข้าไปที่หัวข้อที่ 2 Salt to Sodium Converter
กรอกปริมาณมิลลิกรัมของเกลือที่ทราบลงไปจากนั้นกดที่ปุ่ม
Calculate Now
ท่านก็จะได้ค่ามิลลิกรัมของโซเดียมที่อยู่ในเกลือนี้ออกมาครับ
ในที่นี้คือ 788 มิลลิกรัม(อยู่ใน ซุบ bean-paste soup ถ้วยนี้)
Different Between Salt and Sodium
(ความแตกต่างระหว่างเกลือกับโซเดียม)
Sodium is a vital element in our body. The daily dosage of
sodium needed for a healthy body is 2,400 milligrams. People
take up sodium in their diet in different forms, and the main
sodium source is salt or sodium chloride. Salt is a sodium
containing compound. Salt mainly contains sodium chloride,
which has sodium cations. Sodium and salt have contradictory
properties from each other. Sodium is very reactive with
oxygen in the air, but salt does not react with oxygen in the air.
Salt is a stable crystal, but sodium is a non stable solid. Salt or
sodium chloride, which we use in food, can be easily produced
from seawater.
สรุปก็คือ โซเดียมจะพบอยู่ในเกลือ
เพราะฉะนั้นเกลือทั้งหมดจะไม่ใช่โซเดียมทั้งหมด
ปริมาณโซเดียมที่เหมาะสมที่จะได้รับต่อวันควรจะอยู่ที่ 2,400 มิลลิกรัม
มิเตอร์รุ่นนี้ผมสั่งมาเพื่อจำหน่ายให้โรงงานแปรรูปอาหารโดย
เฉพาะ(ต้องสั่งพิเศษ) ซึ่งถ้าหากท่านสนใจสินค้าแล้ว
ผมอนันต์ครับ Tel.0868910596 ราคา 4,200 บาท