น้ำยาทดสอบคุณภาพน้ำ
น้ำยาทดสอบคุณภาพสารที่อยู่ในของเหลว
เป็นวิธีตรวจสอบของเหลวที่ง่ายที่สุดก็ว่าได้ ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ใด ๆ
มาก่อนก็สามารถทำได้ เพราะวิธีใช้ก็เพียงหยดน้ำยาแล้วเทียบสีที่อ่านได้
หรือมิเช่นนั้นก็ทำการไตเตรท ซึ่งทำตามขั้นตอนที่มีในคู่มือที่ให้มา
สามารถพกติดตัวไปได้ทุกสถานที่่และราคาก็ไม่สูงจนเกินไปนัก
ทั้งนี้ยังสามารถทราบค่าได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องรอผลทางห้องปฎิบัติการทาง
วิทยาศาสตร์
น้ำยาทดสอบค่าความเป็นกรด - ด่างของน้ำ
วิธีการอ่านค่า : หยดน้ำยาแล้วเทียบสีที่อ่านได้
ช่วงพีเอชที่สามารถตรวจสอบได้ 4.5, 5, 5.5, 6, 6.5, 7, 7.5, 8, 8.5, 9.0
ขนาดบรรจุ : 25 ml. หรือใช้ได้ 250 เทส
เป็นน้ำยาตรวจสอบค่าความเป็นกรด - ด่าง หรือ pH
ในอุตสาหกรรมภาคส่วนต่าง ๆ เช่นอุตสาหกรรมอาหาร, อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม,
อุตสาหกรรมสิ่งทอ, อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ฯลฯ
ทั้งนี้ยังสามารถตรวจสอบค่าความเป็น กรด - ด่าง
ของอาหารและเครื่องดื่มในครัวเรือนได้
แม้กระทั่งแหล่งน้ำดิบที่จะนำมาใช้บริโภคหรือบ่อบำบัดน้ำเสียก็สามารถวัดได้
เช่นกัน ใช้ง่าย ๆ ครับ ก่อนอื่นเติมน้ำที่จะตรวจวัดลงไป 5 ml.
หยดน้ำยาลงไป 3 หยด(ห้ามหยดน้อยหรือมากกว่านี้) แล้วเขย่าให้เข้ากัน
วางขวดทดลองลงไปบนกระดาษเทียบสีแล้วอ่านค่าสีที่ได้
คือต้องวางขวดทดลองลงไปบนกระดาษ ห้ามยกขึ้น
แล้วเปรียบเทียบสีที่อ่านได้ว่าอยู่ในช่วงใด เช่นในกรณีนี้
ค่าที่อ่านได้ถ้าเทียบสีแล้วจะอยู่ระหว่าง 7.5 - 8.0 ครับ
น้ำยาทดสอบค่าความเป็นกรด - ด่างของน้ำ
วิธีการอ่านค่า : หยดน้ำยาแล้วเทียบสีที่อ่านได้
ช่วงพีเอชที่สามารถตรวจสอบได้ 7.0, 7.3, 7.6, 7.9, 8.2, 8.5, 8.8, 9.1
ขนาดบรรจุ : 25 ml. หรือใช้ได้ 200 เทส
น้ำยาทดสอบคลอรีนในน้ำ
วิธีการอ่านค่า : หยดน้ำยาแล้วเทียบสีที่อ่านได้
ช่วงคลอรีนที่สามารถตรวจสอบได้ 0, 0.15, 0.25, 0.5, 0.75, 1.0, 1.5, 2.0 ml/L(ppm)
ขนาดบรรจุ : 25 ml. หรือใช้ได้ 250 เทส
เป็นน้ำยาตรวจสอบค่าคลอรีนในน้ำ
เหมาะสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมภาคส่วนต่าง ๆ
เช่นอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ,
อุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงปลาหรือปลาสวยงาม, อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม,
ฟาร์มเลี้ยงหรือเพาะสัตว์น้ำ, โรงพยาบาล
หรือใช้เพื่อเป็นน้ำยาเพื่อเทียบตัวตั้งค่าเริ่มต้น(น้ำยาคาลิเบรต)
น้ำยาทดสอบคลอรีนในน้ำ
วิธีการอ่านค่า : หยดน้ำยาแล้วเทียบสีที่อ่านได้
ช่วงคลอรีนที่สามารถตรวจสอบได้ 0, 0.1, 0.5, 1.0, 2.0, 4.0, 6.0, 8.0 ml/L(ppm)
ขนาดบรรจุ : 25 ml. หรือใช้ได้ 250 เทส
เป็นน้ำยาตรวจสอบค่าคลอรีนในน้ำ
เหมาะสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมภาคส่วนต่าง ๆ
เช่นอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ,
อุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงปลาหรือปลาสวยงาม, อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม,
ฟาร์มเลี้ยงหรือเพาะสัตว์น้ำ, โรงพยาบาล
หรือใช้เพื่อเป็นน้ำยาเพื่อเทียบตัวตั้งค่าเริ่มต้น(น้ำยาคาลิเบรต)
น้ำยาทดสอบค่าไนไตรท์( NO2- ) ในน้ำ
วิธีการอ่านค่า : หยดน้ำยาแล้วเทียบสีที่อ่านได้
ช่วงของไนไตรท์ที่สามารถตรวจสอบได้ 0.02, 0.05, 0.1, 0.2, 0.5, 1.0
ขนาดบรรจุ : 20 ml. หรือใช้ได้ 80 เทส
เป็นน้ำยาตรวจสอบค่าไนไตรท์ในน้ำ
เหมาะสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หรืออุตสาหกรรมอื่น ๆ
ในน้ำนั้นไนไตรท์มีสาเหตุมาจากการเน่าเสียของสารอินทรีย์
ซึ่งไนไตรท์นี้ถ้ามีปริมาณที่สูงเกินไป เช่นมากกว่า 0.5 mg/L
จะถูกดูดซึมเข้าสู่สัตว์น้ำที่เลี้ยงไว้ทางเหงือก
และจำไปทำปฎิกิริยากับฮีโมโกลบินหรือฮีโมไซยานินในเลือด
เป็นผลให้ไม่สามารถถ่ายเทอ็อกซิเจนได้สะดวก
ทั้งนี้จะเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเลือดสีน้ำตาลและสุดท้ายจะทำให้สัตว์น้ำที่เลี้ยง
ไว้ตายได้
น้ำยาทดสอบค่าอัลคาไลน์(CaCo3)ในน้ำ
วิธีการอ่านค่า : ใช้วิธีไตเตรทแล้วเทียบค่าที่อ่านได้จากสี
ช่วงของอัลคาไลน์ที่สามารถตรวจสอบได้คือ 0, 17, 34, 51, 68, 85, 102,
119, 136, 153, 170, 187, 204, 221.........., 510 mg/l(ppm.)
ขนาดบรรจุ 30 ml. หรือใช้ได้ประมาณ 50 ครั้ง
ค่าอัลคาไลน์ในน้ำนี้
จะเป็นค่าที่บ่งบอกถึงความสามารถในการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรด -
ด่าง(pH) ได้ ค่าอัลคาไลน์(Alkalinity) นี้มีผลต่อการเป็นบัฟเฟอร์(Buffer)
ในน้ำ ถ้าหากค่าอัลคาไลน์ต่ำเกินไป จะทำให้ค่า pH เปลี่ยนแปลงได้รวดเร็ว
ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าจะทำให้สัตว์น้ำเศรษฐกิจที่ท่านเลี้ยงไว้เป็นอันตรายได้
ดังนี้การตรวจสอบค่าอัลคาไลน์นี้ จึงเหมาะสำหรับงานตรวจวัดน้ำทั่ว ๆ
ไปจึงถึงภาคส่วนอุตสาหกรรม เช่น ฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้ง, น้ำในสระว่ายน้ำ,
เพาะเลี้ยงพืชน้ำ, อุตสาหกรรมต่าง ๆ ฯลฯ
น้ำยาทดสอบค่าแอมโมเนีย(unionized Ammonia)ในน้ำ
วิธีการอ่านค่า : หยดแล้วเทียบสี
ช่วงของแอมโมเนียที่สามารถตรวจสอบได้คือ 0 - 10 mg/l(ppm.)
สามารถขึ้นค่าได้ครั้งละ 0.2 ppm.
ขนาดบรรจุ 20 ml. หรือใช้ได้ประมาณ 50 ครั้ง
ค่าแอมโมเนียม NH4+ ในน้ำนี้
มีผลสำคัญเป็นอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ
สัตว์น้ำนั้นทั้งบริโภคอาหารและขับถ่ายอยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวของมันเองนั่นคือ น้ำ
ซึ่งจะขับถ่ายออกมาในรูปแอมโมเนีย
ฉะนั้นแล้วแอมโมเนียมในน้ำที่มีปริมาณมากจะเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำได้
และเป็นอีกสัญญาณในการเปลี่ยนน้ำหรือบำบัดน้ำได้
ทั้งนี้แล้วแอมโมเนียมยังเป็นปุ๋ยสำหรับการเจริญเติบโตของแพลก์ตอนพืชน้ำอีกด้วย
จึงเหมาะสำหรับงานตรวจวัดน้ำทั่ว ๆ ไปจึงถึงภาคส่วนอุตสาหกรรม เช่น
ฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้ง, น้ำในสระว่ายน้ำ,เพาะเลี้ยงพืชน้ำ, อุตสาหกรรมต่าง ๆ ฯลฯ
น้ำยาทดสอบค่าอ็อกซิเจนที่ละลายในน้ำ(Dissolved Oxygen)
วิธีการอ่านค่า : ใช้วิธีไตเตรท
ช่วงของอ็อกซิเจนละลายในน้ำที่สามารถตรวจสอบได้คือ 0.5, 1, 1.5, 2, 2.5, 3, 3.5, 4,
4.5, 5, 5.5, 6, 6.5, 7, 7.5, 8, 8.5, 9, 9.5, 10, 10.5, 11, 11.5, 12, 12.5, 13, 13.5,
14, 14.5, 15 mg/l(O2)
ขนาดบรรจุ 20 ml. หรือใช้ได้ประมาณ 50 ครั้ง
ค่าอ็อกซิเจนที่ละลายในน้ำนี้(Dissolved Oxygen)
เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงคุณภาพของน้ำโดยตรงและทั้งนี้น่าจะเป็นวิธีแรก ๆ
ในการตรวจสอบคุณภาพน้ำด้วย
ปริมาณอ็อกซิเจนในน้ำที่น้อยจนเกินไปมีผลต่อสัตว์น้ำที่ท่านเลี้ยงไว้ได้
และมีผลต่อกิจกรรมอื่น ๆ เช่น คุณภาพของน้ำดื่ม, น้ำใช้ทั่วไป, การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ,
น้ำที่ผ่านกระบวนการบำบัด หรือน้ำในอุตสาหกรรมต่าง ๆ
น้ำยาทดสอบแคลเซียมในน้ำ(Dissolved Calsium test)
วิธีการอ่านค่า : ใช้วิธีนับหยดไตเตรท
ช่วงของแคลเซียมละลายในน้ำที่สามารถตรวจสอบได้คือ 20, 40, 60, 80, 100, 120,
140, 160, 180, 200, 220, 240,.............. , 600 mg/L(ppm)
ขนาดบรรจุ 20 ml. หรือใช้ได้ประมาณ 50 ครั้ง
ค่าแคลเซียมที่ละลายในน้ำนี้(Dissolved Calcium)
เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงคุณภาพของน้ำ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากท่านมีกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
แคลเซียมเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบในการเปลี่ยนแปลงค่าความเป็นกรด - ด่าง(PH)
ทั้งนี้สัดส่วนของแคลเซียมที่ถูกต้องและเหมาะสมจะเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงสุขภาพของสัตว์
น้ำที่จะอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนั่นด้วย
น้ำยาทดแมกนีเซียมในน้ำ(Dissolved Magnesium test)
วิธีการอ่านค่า : ใช้วิธีนับหยดไตเตรท
ช่วงของแมกนีเซียมละลายในน้ำที่สามารถตรวจสอบได้คือ 0, 48, 96, 144, 192, 240,
288, 336, 384, 432, 480, 528,.............. , 1,447 mg/L(Mg)
ขนาดบรรจุ 20 ml. หรือใช้ได้ประมาณ 50 ครั้ง
ค่าแมกนีเซียมที่ละลายในน้ำนี้(Dissolved Magnesium)
เป็นสิ่งที่เหมาะที่จะใช้หาค่าสารในน้ำทะเล(Mg+2)
แมกนีเซียมนี้เป็นสารที่มีความจำเป็นในการสร้างเปลือกหรือกระดูกของสัตว์น้ำเศรษฐกิจ
ที่ท่านเลี้ยงไว้ เช่น กุ้ง, ปลา
ทั้งนี้สารดังกล่าวยังมีความสำคัญโดยเป็นหนึ่งในส่วนประกอบของร่างกายมนุษย์อีกด้วย