เครื่องวัดค่าความเค็ม Model RHS-28 ATC,
รีแฟคโตมิเตอร์วัดความเค็มช่วงการวัด 0 - 28
เปอร์เซ็นต์,
handheld Salinity refractometer
วัดขนาดของรีแฟคโตมิเตอร์รุ่นนี้
ถ่ายจากภาพหน้าจอจริง
These models are developed for measuring salt in brine and
prepared food solution. It's FULLY EQUIPPED with ATC that
automatically adjust itself to correct temperature
discrepancies during use. Capable of measuring with high
accuracy and provides precise results. It's equipped with vivid
and sharp reticle chart for easy and comfortable reading. It
uses ambient light only and no batteries are needed. Made by
experienced craftsmen and are unlikely to break down!
Key Features:
* Determines the amount of dissolved salt and dissolved solids
* Approved by strict quality and safety standards
* Durable and built to last long
* Heavy-duty and lightweight with its aluminum construction
* Easy to focus and calibrate
* Accurate testing results guaranteed
* Made with the highest and finest quality of aluminum & rubber that makes it lightweight
* Cushioned with soft & comfortable non-slip rubber
* Extremely easy-to-use and calibrate
Specifications:
- Measuring Range:Salinity: 0-28%
- Minimum Division: Salinity: 0.2%
- Automatic Temperature Compensation Range:10°C-30°C
น้ำเกลือ, น้ำเค็ม
ท่านครับ น้ำเกลือ, น้ำเค็ม
เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมในบางสาขาครับ
น้ำเค็ม สำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกร่อยแล้ว จำเป็นมาก
ต้องหามาใส่เพื่อให้สารละลายในบ่อเพาะเลี้ยงได้ระดับความเค็มตามมา
ตรฐาน เพราะมิเช่นนั้นแล้ว
สัตว์เศรษฐกิจที่ท่านเพาะเลี้ยงอยู่อาจจะเสียหายได้ เช่น
การเพาะเลี้ยงกุ้งขาว ปลาน้ำจืด ฯลฯ
ซึ่งสารละลายความเค็มในบ่อเพาะเลี้ยงกุ้งขาว โดยประมาณ จะอยู่ในช่วง
3 - 7 ส่วนในพันส่วน(3 - 7 ppt) หรือก็คือ 0.3 - 0.7 เปอร์เซ็นต์
สำหรับในทางอุตสาหกรรมแล้ว
สารละลายน้ำเค็มมีประโยชน์ในหลากหลายสาขาอาชีพ โดยหลัก ๆ
แล้วก็เช่นอุตสาหกรรมที่ต้องนำน้ำบาดาลมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต
น้ำบาดาลเป็นต้นทุนที่ถูกกว่าที่ท่านจะนำน้ำประปามาผลิตครับ
เพราะเป็นน้ำที่ได้มาอย่างที่ไม่ต้องเสียสตางค์ซื้อ
แต่ว่าน้ำบาดาลดิบนี้เมื่อสูบขึ้นมาใหม่ ๆ จะนำไปใช้เลยก็ไม่ได้อยู่ดี
เพราะมันจะกระด้างมาก
สิ่งที่ต้องทำก็คือลดความกระด้างของน้ำบาดาลเสียก่อน
วิธีทำคือให้น้ำไปผ่านระบบเรซิ่น เพื่อที่จะให้น้ำนี้นำไปใช้ประโยชน์ได้
เรซิ่นเมื่อนำไปกรองน้ำบาดาลบ่อยครั้งขึ้นเรื่อย ๆ มันก็จะเริ่มตัน
ซึ่งตรงนี้แล้วจะต้องทำความสะอาดมัน
ซึ่งส่วนใหญ่สารละลายที่ใช้กันก็คือน้ำเค็มนี่เอง
น้ำเค็มที่นำมาล้างระบบเรซิ่นนี้ มาจากหลากหลายแหล่งครับ เช่น
มาจากการนำเกลือสินเธาว์(หรือเกลือเม็ด)
ไปละลายน้ำให้ได้ความเข้มข้นความเค็มของน้ำที่ต้องการก่อน
แล้วนำมาใช้ หรืออีกวิธีหนึ่งที่ง่ายกว่ากันมาก ๆ
และได้สารละลายความเค็มตามต้องการได้มาตรฐาน
ทั้งนี้ยังเป็นสารละลายที่ใสสะอาด มีตะกอนน้อยด้วย
(หรือแทบจะไม่มีตะกอนเลย)
ก็คือไปซื้อน้ำเค็มที่ได้มาตรฐานที่มีคนผลิตขึ้นมาขายมาใช้
เช่นสารละลายความเค็มในขวดที่เห็นนี้ผมเทใส่ขวดแล้วตั้งทิ้งไว้ประมาณ
2 เดือนแล้ว ไม่มีตะกอนนอนก้นเลย
โดยปกติแล้วหากท่านจะนำเกลือเม็ดมาละลายน้ำเพื่อที่จะทำให้ได้สาร
ละลายความเค็มที่มีความเค็มเท่ากับ 25 เปอร์เซ็นต์(25 เปอร์เซ็นต์)
ท่านจะต้องใช้น้ำ 200 ลิตรและใช้เกลือเม็ด 300 กิโลกรัม
หากท่านนำสารละลายความเค็มที่ได้ 25 เปอร์เซ็นต์
มาลองชั่งน้ำหนักแล้ว
1 ลิตรของน้ำเค็มนี้จะมีน้ำหนักมากกว่าน้ำบริสุทธิ์ครับ คือมันจะไม่ใช่หนัก
1 กิโลกรัม แต่จะหนักประมาณ 1.25 กิโลกรัม
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้ว
เกลือเม็ดที่นำมาใช้นี้ต้องได้ความเค็มตามมาตรฐานด้วยครับ
(ซึ่งบางทีแล้วคุมยากเหมือนกันเพราะว่ามาจากคนละแหล่ง)
อีกอย่างหากคุณภาพของเกลือไม่ค่อยสะอาดหรือมีสิ่งเจือปนมากแล้ว
สารละลายน้ำเค็มที่ได้ก็จะขุ่นไปด้วย เช่น บางทีออกเป็นสีแดง
เพราะสิ่งเจือปนในเกลือมีมาก หรือบางทีก็ได้ระดับความเค็มที่ไม่ถึงก็มี
วิธีแก้ไขปัญหาที่ง่ายที่สุดคือไปซื้อน้ำเกลือมาตรฐานมาใช้ครับ
ซึ่งผมทำตารางข้อเปรียบเทียบระหว่างการใช้น้ำเกลือมาตรฐานกับการ
นำเกลือเม็ดมาละลายน้ำ โดยขอสรุปเป็นตารางครับ
น้ำเค็ม, น้ำเกลือ
ที่ได้มาตรฐานค่อนข้างดีหากนำเข้าแลปวิเคราะห์จะได้ค่าที่น่าสนใจดังนี้
ครับ
ผมมีคลิปที่น่าสนใจมาฝากท่านครับ
เพราะมันเป็นคลิปที่อาจารย์ฝรั่ง(เชื้อสายเอเชียเรา)
อธิบายไว้ คาดว่าจะบรรยายในมหาวิทยาลัย
ซึ่งเข้าใจว่าเรา ๆ ก็คงจะเคยเรียนกันมาแล้ว
แต่เพื่อทบทวนความรู้วิชาเคมีกันอีกครั้งมาชมคลิปนี้อีกสั
กครั้งครับ
มีหลายท่านถามผมว่าการที่รีแฟคโตมิเตอร์วัดความเค็มเครื่่องนี้วัดค่าความเค็มเ
ป็นเปอร์เซ็นต์นั้น หมายถึงอะไร
ตรงนี้ตอบว่าเป็นการวัดค่าเปอร์เซ็นต์โดยมวลครับตรงนี้ขออธิบายไปตามคลิป
ครับเพื่อความเข้าใจ
ในเรื่องความเข้มข้นของสารละลาย(ของเหลว)
นั้นวัดกันได้ในสองลักษณะแล้วแต่วัตถุดิบเริ่มต้น เช่น
ถ้าวัตถุดินเริ่มเป็นของแข็งแต่สามารถละลายน้ำได้
เมื่อละลายน้ำแล้วจะวัดความเข้มข้นได้ในลักษณะ เปอร์เซ็นต์โดยมวล(% by
mass)
ในขณะเดียวกันถ้าหากว่าวัตถุดิบตั้งต้นเป็นของเหลวอยู่แล้วเมื่อนำมันมาละลาย
น้ำแล้วจะวัดความเข้มข้นในลักษณะ เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร(% by Volume)
เพื่อความเข้าใจอันรวดเร็วครับมาทบทวนโจทย์วิชาเคมีกันเลย
โดยอ้างอิงโจทย์ที่อาจารย์ท่านยกมาให้ดูครับ
โจทย์ : ตู้ปลาตู้หนึ่งต้องมีสัดส่วนของเกลือ(NaCl) 3.6 กรัม ละลายอยู่ในน้ำ
(H2O) 100 กรัม คำถามคือ แล้วเปอร์เซ็นต์โดยมวลของเกลือในสารละลายนี้จะเป็นเท่าไร
ทบทวนสูตรครับ
เปอร์เซ็นต์โดยมวล = มวลของตัวถูกละลาย(หมายถึงมวลของเกลือครับ)
นำมาหารด้วยมวลของสารละลาย(หมายถึงมวลของเกลือ + มวลของน้ำครับ)
ค่าที่ได้เป็นเ่ท่าไร คูณด้วย 100 นั่นจะเป็นคำตอบ
แทนค่าสูตร
3.6 x 100/(100+3.6) = 3.47 %
คำตอบนี้สรุปว่า ถ้าหากว่าท่านมีเกลือปริมาณ 3.6
กรัมแล้วนำไปละลายในน้ำปริมาณ 100 กรัมแล้ว
ความเข้มข้นของเกลือในน้ำจะเท่ากับ 3.47 เปอร์เซ็นต์ครับ หรือว่าอีกนัยหนึ่ง
ถ้าหากว่าท่านนำสารละลายสารละลายหนึ่งมาวัดเปอร์เซ็นต์ความเข้มข้นโดยใช้
รีแฟคโตมิเตอร์วัดความเค็มรุ่นนี้แล้ว ท่านสามารถอ่านค่าได้เท่ากับ 3.47
เปอร์เซ็นต์แล้วนั่นจะหมายถึงว่าถ้าหากท่านตักสารละลายนี้มา 103.6
กรัมแล้วจะมีเกลืออยู่ในสารละลายนี้ 3.6 กรัมและมีน้ำ 100 กรัม
หรือไม่งั้นถ้าท่านยังงงก็แก้สมการก็แล้วกันนะครับ
3.47 = (100X)/(100+X)
แก้สมการแก้วจะค่า X = 3.6 g.
ในคลิปนี้ยังอาจารย์ท่านยังอธิบายถึง เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร(% by
Volume) อีกด้วย ซึ่งผมจะขออธิบายในส่วนของรีแฟคโตมิเตอร์วัดแอลกอฮอล์
เพราะว่าแอลกอฮอล์เป็นสารละลายตั้งต้นของเหลวครับ