การจัดอิเลคตรอน 5f146d107s27p3
ถ้าจะพูดถึงเรื่องแรงดึงดูดแล้วมันเป็นสิ่งที่มนุษย์โลกมีความรู้น้อยมาก ๆ ครับ
เรารู้เพียงแค่ว่ามันทำให้วัตถุตกถึงพื้นดินได้โดยไม่ต้องออกแรงช่วย
แต่จากการตกของยูเอฟโอลงมานั้น คุณลาซา
กล่าวว่าเราได้ความรู้อะไรเกี่ยวกับแรงดึงดูดเพิ่มขึ้นอีกพอควร
แรงดึงดูดมีผลที่จะทำให้อะตอมอยู่ด้วยกันได้โดยไม่แตกสลาย
แรงดึงดูดทำให้โลกและดวงอาทิตย์โคจรรอบจักรวาลได้
โดยไม่หลุดออกไปจากวงโคจรก่อน
แรงดึงดูดทำให้คนเดินอยู่บนพื้นโลกได้โดยไม่ลอยไปที่ไหน
คุณลาซากล่าวว่าแรงดึงดูดมีผลต่อการเบี่ยงเบนภาพได้
เช่นการเห็นภาพของยูเอฟโอในลักษณะแปลก ๆ
ถ้าไปยืนอยู่ใต้ยูเอฟโอคือจะเห็นยูเอฟโอในลักษณะ บิด ๆ เบี้ยว ๆ
การที่มนุษย์บนโลกสามารถมองเห็นดาวที่อยู่ข้างหลังดวงอาทิตย์ได้ทั้ง ๆ
ที่ถูกดวงอาทิตย์บังอยู่
ทั้งนี้เป็นผลจากแรงดึงดูดสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์ซึ่งมีปริมาณมหาศาล
สามารถเบี่ยงเบนแสงจากดาวให้ยกขึ้นเหนือดวงอาทิตย์ได้
แปลกเหมือนกันครับ
ผลจากการจับยูเอฟโอได้ทำให้พอจะทราบว่า แรงดึงดูด, จักรวาล
และเวลามีความสัมพันธ์กันจนแยกไม่ออก แรงดึงดูดเบี่ยงเบนจักรวาลได้
แรงดึงดูดเบนเวลาได้
คุณลาซาอธิบายต่อไปว่าถ้าคุณสามารถสร้างเครื่องผลิตแรงโน้มถ่วงเทียม(arti
ficial gravity)ซึ่งสร้างแรงโน้มถ่วงได้เข้มข้นมาก ๆ แล้ว
คุณจะเบี่ยงเบนจักรวาลและเวลาได้
ซึ่งนั่นจะทำให้คุณเดินทางข้ามอวกาศได้โดยใช้เวลาที่้น้อยมากและระยะทางที่สั้
นมาก ๆ
ถ้าจะถามว่าบนโลกที่เราอาศัยนี้มีวิธีใดที่จะทำให้วัตถุเคลื่อนที่ได้โดยไม่ต้องออ
กแรงช่วย ไม่ต้องเติมน้ำมัน หรือใช้พลังงานในรูปอื่น เช่น ลม แสงอาทิตย์ น้ำ
ฯลฯ มันจะมีวิธีใดบ้าง คำตอบคือ มันมีแค่วิธีเดียวและเป็นวิธีเดียวจริง ๆ ครับ
ที่จะทำให้วัตถุเคลื่อนที่ได้โดยไม่ต้องใช้วิธีอื่นช่วยเลย คือ ให้มันตกลงมาเอง
หรือให้มันตกลงมาเฉย ๆ มนุษย์ใช้ประโยชน์ตรงจุดนี้น้อยมาก
เช่นถ้าท่านจะสอยมะม่วงลงมาเพียงแค่ท่านตัดขั้วมันออกมันก็จะตกลงมาเองโด
ยไม่ต้องปีนขึ้นไปเก็บ หรือถ้าหากว่าท่านจะขับรถลงเขา
ท่านไม่จำเป็นต้องเร่งเครื่องเลยก็ยังได้เพราะรถจะเคลื่อนที่ลงมาได้เอง
นั่นคือประโยชน์ของแรงดึงดูดที่คนใช้กัน
การเคลื่อนที่ของยานพาหนะบนโลกใช้หลักการของเครื่องยนต์และเชื้อเพลิงครั
บ เช่นเครื่องบินจำเป็นต้องเติมน้ำมันลงไป
เพื่อให้เครื่องยนต์ผลิตพลังงานให้มากพอที่จะพ่นไอออกทางด้านหลังเครื่องยน
ต์เพื่อส่งเครื่องไปยังด้านหน้า แต่คุณลาซากล่าวว่า
ยูเอฟโอใช้หลักการเคลื่อนที่ต่างจากยานพาหนะบนโลกอย่างสิ้นเชิง
คือใช้หลักทางฟิสิกส์ในเรื่องของแรงโน้มถ่วง
คุณลาซาอธิบายว่ายูเอฟโอใช้หลักการบิดอวกาศคือ ก่อนอื่นต้องตั้งลำก่อน
โดยยกตัวขึ้นสู่อากาศก่อน หลังจากนั้นเครื่องผลิตแรงโน้มถ่วง(Gravity
Generator) จะผลิตและส่งแรงโน้มถ่วงอันมหาศาล
ไปยังข้างหน้าของเครื่องของมัน
นำมาซึ่งการทำให้อวกาศเป็นส่วนหนึ่งของเครื่อง หรือ
อีกนัยหนึ่งเครื่องยูเอฟโอจะเป็นอีกส่วนหนึ่งของอวกาศ
อันนี้ก่อให้เกิดการเบี่ยงเบนอย่างมหาศาลของแรงโน้มถ่วง
แรงโน้มถ่วงของโลกโดยปกติมีทิศจากบนลงล่างเสมอ แต่ด้วยเครื่อง Gravity
Generator นี้ ทำให้สร้างแรงโน้มถ่วงที่ผิดไป
เสมือนหนึ่งเปลี่ยนทิศของแรงโน้มถ่วงได้
ทำให้แรงโน้มถ่วงเปลี่ยนจากบนลงล่างมาเป็น ล่างขึ้นบน ซ้ายไปขวา
หรือขวาไปซ้าย ด้วยเหตุดังกล่าว
จึงทำให้ยูเอฟโอเคลื่อนที่ไปข้างหน้าในลักษณะการลงเขาครับ
คือแทบจะไม่้ต้องไปออกแรงอะไรช่วยเลย ซึ่งด้วยเครื่อง Gravity Generator
นี้ยังสามารถยังสามารถเปลี่ยนทิศของแรงโน้มถ่วงได้อย่างไม่จำกัดทิศทางอีกด้
วยนั่นเป็นเหตุที่ว่าทำไมเรามองเห็นยูเอฟโอเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็วเกินกว่าจิน
คุณลาซากล่าวว่าถ้าเราระดมยิง ธาตุ115 ด้วยโปรตอนอย่างต่อเนื่องแล้ว
มันจะกลายสภาพเป็นธาตุที่ 116
ซึ่งมันจะไม่เสถียรและปลดปล่อยพลังงานอันมหาศาลออกมา
พลังงานที่ว่ามหาศาลนี้มากพอที่จะผลิตแรงโน้มถ่วงอันมหาศาลออกมาได้เช่นกั
น ด้วยเครื่อง Gravity Generator
หลังจากนั้นยูเอฟโอจะสามารถผลิตแรงโน้มถ่วงของมันเองได้โดย ใช้้การ
ดึงอวกาศแล้วบิด
และนำอวกาศนั้นมาพันรอบเครื่องเพื่อที่จะให้เคลื่อนที่ได้ครับ
เขาอธิบายกันอย่างนี้ครับ
มาชมคำอธิบายฉบับเต็มของคุณลาซากันครับ ผมว่ามันน่าสนใจทีเดียว
ผมไม่คิดว่าเขาจะโกหกครับ ส่วนตัวผมเชื่อเขา
เกร็ดเรื่องของแรงโน้มถ่วง
ในเรื่องของการเคลื่อนที่แล้ว
คนบนโลกเชื่อถือในกฎการเคลื่อนที่ของนิวตันครับ
กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันถูกบรรจุไว้ในการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ทุกป
ระเทศ มาทบทวนกฎการเคลื่อนที่ของนิวตันกันครับ
เคยเรียนกันมาแล้วทั้งนั้นครับ
กฎข้อที่ 1 ของนิวตัน
พูดเป็นภาษาไทยง่าย ๆ ครับ ซิกม่าเอฟ เ่ท่ากับ ศูนย์
First law: When viewed in an inertial reference frame, an object either is at rest or
moves at a constant velocity, unless acted upon by a force
พูดเป็นภาษาไทยได้ว่า วัตถุนั้นจะไม่มีทางเคลื่อนที่ไปได้ถ้าไม่มีแรงมากระทำ
หรือถ้าหากวัตถุนั้น ๆ
เคลื่อนที่อยู่แล้วจะหยุดนิ่งหรือเคลื่อนที่เร็วขึ้นหรือช้าลงก็ไม่ได้อีกถ้าไม่มีแรงมากระทำ
พูดอย่างนี้งงครับ ตอนผมเรียนก็งงเหมือนกัน ฟังคำอธิบายของฝรั่งแล้วจะเข้าใจไ้ด้ง่ายกว่า
ยกตัวอย่างให้เห็นชัด ๆ ครับว่าถ้าผมมีหนังสืออยู่เล่มหนึ่ง ซึ่งวางอยู่บนโต๊ะในห้อง ๆ
หนึ่งที่ถูกปิดตาย หนังสือเล่มนี้ไม่มีทางจะเคลื่อนที่ไปไหนเด็ดขาดแม้ว่าจะผ่านไปนานแสนนาน
นอกจากจะมีใครไปโดนมัน โดนลมพัด แผ่นดินไหว สัตว์ไปโดนไปแทะ ฯลฯ
อันนี้ยกตัวอย่างวัตถุที่อยู่บนโลกครับ แต่ถ้าเป็นนอกโลกในอวกาศแล้ว ซึ่งไม่มีแรงดึงดูด
การเคลื่อนที่ของวัตถุเป็นไปอย่างอิสระ
วัตถุจะรักษาทิศทางและความเร็วของการเคลื่อนที่ไปเช่นนั้นตลอด
จนกว่าจะมีอะไรมาชนมันหรือมาหยุดมัน มันถึงจะเปลี่ยนทิศหรือหยุดการเคลื่อนที่ได้
ลักษณะนี้สรุปได้เช่นกันว่า ซิกม่าเอฟ เท่ากับ ศูนย์
กฎข้อที่ 2 ของนิวตัน
เรียกกันง่าย ๆ ว่า ซิกม่าเอฟ เท่ากับ เอ็มเอ
ความหมายคือ ถ้าไม่เข้ากับกฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 1 แล้ว คือวัตถุใด ๆ
มีแรงมากระทำหรือมาโดนมัน
มันก็ย่อมจะเคลื่อนที่ได้ และมีทิศทางไปตามความเร่งที่แรงนั้นมากระทำเสมอ เช่น
หนังสือที่อยู่ในห้องที่ปิดสนิท ถ้าหากมีคนมาจับมันมันก็ย่อมจะเคลื่อนที่ได้
โดยมีทิศการเคลื่อนที่ไปในทิศที่แรงนั้นมากระทำ เช่น ยกขึ้น โยนไปข้างหน้า
กฎข้อนี้ผมจะขอนำไปกล่าวถึงเรื่องแรงโน้มถ่วงโลกต่อไปครับ
กฎข้อที่ 3 ของนิวตัน
Action = Reaction
แรงปฎิกิริยาย่อมมีแรงคู่ปฎิกิริยาที่เท่ากันกระทำเสมอ ถ้าท่านกันกำแพงด้วยน้ำหนัก 10
กิโลกรัม กำแพงนั้นย่อมออกแรงกระทำในทิศตรงข้าม 10 กิโลกรัมเสมอ
เพราะ้ถ้ากำแพงกระทำน้อยไป กำแพงก็จะทะลุ
หรือถ้าหากกำแพงกระทำมากเกินไปท่านก็จะถูกกำแพงผลักกระเด็น
ถ้าหากว่าเราหยิบดินสอขึ้นมาจากโต๊ะโดยหยิบด้วยนิ้วมือ 2 นิ้ว ยกขึ้นมาข้างหน้า
หลังจากนั้นแล้ว เราแยกนิ้วมือทั้ง 2 นิ้ว ออกจากกัน ดินสอนั้นย่อมหล่นลงไปบนโต๊ะ
ตรงนี้เข้ากับกฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 2 ครับ คือ ซิกม่าเอฟ เท่ากับ เอ็มเอ ทั้ง ๆ
ที่เราก็ไม่ได้ออกแรงอะไรแต่ดินสอกลับจะเคลื่อนที่ได้ นั่นย่อมหมายความว่า
ดินสอมีแรงอะไรบางอย่างมากระทำกับมัน
ซึ่งทุกวันนี้คนบนโลกทราบดีแล้วนั่นคือแรงดึงดูดของโลก
ฉะนั้นแล้วแรงดึงดูดโลกจัดเป็นแรงและพลังงานอีกรูปแบบหนึ่งในจักรวาลที่มีอยู่จริง
แต่จับต้องไม่ได้ ค่าความเร่งอันเนื่องจากแรงดึงดูดโลกมีค่าประมาณ 9.8
เมตรต่อวินาที2 ครับ แรงดึงดูดบนโลกนี้คนบนโลกยังไม่มีเทคโนโลยีปรับให้เข้มขึ้นมาก ๆ
และให้ได้ครอบคลุมพื้นที่มาก ๆ ได้
หรือควบคุมทิศทางของแรงโน้มถ่วงให้ไปในทิศทางที่ต้องการได้
นอกจากใช้อุปกรณ์วิทยาศาสตร์บางชนิดเช่นเครื่องเหวี่ยง(Centrifuge)
แต่มันก็ผลิตแรงโน้มถ่วงจำลองได้ในพื้นที่ีที่จำกัดและอยู่ในภาชนะที่ัจัดไว้ให้
ไม่สามารถส่งแรงโน้มถ่วงนี้ออกไปข้างนอกได้