ปากกาวัดค่าความตึงของสายพาน, Industrial V-Belt
Tension Tester Gauge, Single Barrel Tension Tester,
Double Barrel Tension Tester
4,000 บาท ผมอนันต์ครับ Tel.0868910596
ท่านครับ ถ้าหากว่าท่านมีสายพานร่องวีเส้นหนึ่ง
แล้วท่านต้องการที่ทราบความตึงของสายพานร่องวีเส้นนั้น
วิธีที่ง่ายที่สุดที่ท่านทำได้ง่ายที่สุดคือวัดว่าสายพานร่องวีเส้นนั้นหย่อนได้
มากที่สุดเท่าไร
ซึ่งความหมายที่อธิบายได้ง่ายที่สุดก็คือ
มันต้องใช้แรงมากเท่าไรที่จะกดลงไปบนสายพานร่องวีเพื่อที่จะทำให้สายพาน
ร่องวีตึงลองดูวิธีทำกันครับ
หน้าตาของปากกาวัดทั้งด้ามจะเป็นแบบนี้ จะพบว่ามันมีโอริง
เพื่อคำนวนค่าระดับ และตรวจวัดได้ทั้งสองด้านครับ ด้านที่ท่านเห็นทางขวามือ
จะใช้วัดความตึงของสายพาน อันนี้บอกหน่วยที่วัดได้เป็นทั้งกิโลกรัม
และปอนด์ครับ
ส่วนถ้าเป็นด้านซ้ายมือเป็นการวัดเทียบระหว่างสายพานสองเส้นครับ
ว่าสายพานที่ท่านวัดเทียบกับเส้นที่ยังไม่วัดตึงเท่าไร
Single Barrel Tension Tester
วิธีวัดให้ท่านเลื่อนโอริง ไปให้สุดให้อยู่ที่ขีดเริ่ม ตามภาพ
หลังจากนั้นให้ท่านนำไปใช้วัดกับสายพานได้เลย ในที่นี้ผมสาธิตนะครับ
คือสมมติให้โต๊ะเป็นสายพาน ให้ท่านตั้งปากกาขึ้น แล้วกดลงไปบนสายพาน
สายพานจะหย่อนลง ให้กดลงไปจนสุดความหย่อนของสายพาน
หลังจากนั้นให้ท่านปล่อยมือ จากปากกา
ท่านจะพบว่าโอริงนั้นจะถูกเลื่อนเปลี่ยนตำแหน่ง ลงไปตามแรงกดเมื่อสักครู่นี้
นำมาอ่านค่าครับ อย่างเช่นอันนี้อ่านได้เท่ากับ 6 กิโลกรัมครับ
ถ้าจะอ่านเป็นหน่วยปอนด์ ให้หมุนไปฝั่งตรงข้ามครับ
ถ้าหากว่าท่านจะวัดความตึงสายพานที่อยู่คู่กัน
เทียบระหว่างสองเส้นนี้ว่าเส้นที่วัดมีความตึงเท่าไรเมื่อเทียบกับเส้นแรก
ทำได้ดังนี้คือ
อันนี้สมมติว่า
มีสายพานสองเส้นเส้นแรกเป็นเส้นที่เราต้องการเทียบจะอยู่กับที่ให้ท่านนำไม้บร
รทัดเหล็กมาวางพาดไว้
ส่วนสายพานอีกเส้นที่เดินขนานกันอยู่เป็นเส้นที่ต้องการวัด ให้ท่านปรับ
โอริงให้สุดปลาย แล้วนำมาชนกับขอบไม้บรรทัดเหล็กอันนี้ที่มีสายพานเส้นแรก
แล้วกดลงไปให้สุดความตึงสายพาน
แล้วอ่านค่าที่ได้ครับ
อีกหนึ่ง Model ให้เลือกครับ
อีกหนึ่ง Model ให้เลือกเช่นกัน Model
นี้จะอ่านค่าได้ง่ายและเห็นตัวเลขได้ชัดเจน
Model นี้จะอ่านค่าได้ง่ายทั้งหน่วยนิ้วและหน่วยเซ็นติเมตร
วิธีใช้วิธีวัดก็เหมือน ๆ กันทุกรุ่นครับ
ก็คือจะวัด Length Span ได้ในหน่วยเซ็นติเมตร
0 - 500 เซ็นติเมตร
หรือถ้าจะวัดในหน่วยนิ้วจะได้ถึง 190 นิ้ว
มาชมคลิปวิธีการใช้ปากกาวัดความตึงสายพานอย่าง
ถูกวิธีและอ่านค่าความตึง ตามแบบฉบับฝรั่งครับ
คลิปนี้ชมแล้วเข้าใจง่ายมาก ๆ เลยครับ
อธิบายได้ดี ละเอียด ดูแล้วทำได้เลยครับ
ตารางเทียบค่าความตึงผมเตรียมไว้ให้อยู่ด้านล่าง
อยากให้ท่านชมก่อนแล้วผมจะขยายอีกทีครับ
ผมขอสรุปคร่าว ๆ จากคลิปนะครับ
คือก่อนอื่นเลยท่านต้องวัดระยะห่างระหว่างแกนมูเล่ย์ทั้งสองก่อนครับ(เรียกว่า Belt Span)
คือใช้ไม้เมตรวัด
ซึ่งจุดนี้ในคลิปเขาวัดได้ 15 นิ้วครับ ก็ให้ท่านมาปรับโอริงที่ด้ามของปากกาให้อยู่ที่ขีด 15
นิ้ว จากภาพท่านจะเห็นว่าแต่ละจุดจะห่างกัน 10 นิ้ว ก็ให้ท่านตั้งโอริงไว้ตามรูปครับ
หลังจากนั้นให้ท่านปรับโอริงอ่านค่าความตึงที่ด้านบนของปากกาให้อยู่ที่เลข 0 ตามภาพ
หลังจากนั้นท่านก็ทำการวัดได้เลยโดยให้กดปากกา
กดจากด้านบนโดยใช้ฝ่ามือกดและให้ด้ามปากกาอยู่บนสายพานตามรูป
หากเป็นสายพานเส้นคู่ก็ให้กดจนกระทั่งโอริงอยู่ในลักษณะดังภาพที่ 1
(ใช้เส้นที่ไม่ถูกกดเป็นจุดอ้างอิง)
หรือหากเป็นสายพานเส้นเดี่ยวก็ให้ใช้ไม้เมตรมาเป็นจุดอ้างอิงครับ
โดยกดลงไปจนโอริงอยู่ในลักษณะดังรูปครับ ซึ่งหากว่าเป็นสายพานที่ได้ความตึงพอดี
เมื่อกดลงไปจนถึงระดับนี้แล้วสายพานควรจะตึงพอดี
ให้ท่านสังเกตุสายพานที่เขาวัดด้วยครับว่าเป็นสายพานแบบมีรอยหยักด้านท้อง เรียกว่า
Gripnotch Belt
หลังจากนั้นแล้วให้ท่านอ่านค่าความตึงที่อ่านได้ครับ ตรงนี้อ่านได้ 7 ปอนด์
จากนั้นก็ให้ไปอ่านค่าในตารางครับ ตรงนี้เขาใช้สายพานแบบ B ครับ
โดยมีมูเลย์ตัวเล็กมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ระหว่าง 3.4 - 4.2 นิ้ว
โดยอ้างอิงจากความเร็วรอบของมอเตอร์ที่ใช้ที่ 860 - 2,500 รอบต่อนาที
ทั้งนี้แล้วสายพานที่วัดนั้นเป็นสายพานแบบมีรอยหยักด้านท้อง เรียกว่า Gripnotch Belt
ก็ให้ท่านอ่านค่า และสายพานที่วัดนี้เป็นสายพานใหม่(New Belt)
อ่านค่าความตึงที่ควรจะเป็นอยู่ที่ 7.2 ปอนด์ แต่ที่เราวัดได้อยู่ที่ประมาณ 7
ปอนด์อันนี้ถือว่าใช้ได้ครับ
หากวัดความตึงได้ต่ำกว่านี้หรือสูงกว่านี้ท่านต้องขันปรับระยะมูเล่ย์ใหม่ครับ
ตารางเทียบชนิดของสายพานและความตึงของ
สายพานที่ควรจะเป็น
ตรงนี้ตามตารางข้างล่างท่านต้องเลือกใช้ให้ถูกต้องด้วยนะครับ คือมันจะมี
2 ฝั่ง คือหากเป็นฝั่งซ้ายมือ วัดระยะกันเป็นนิ้ว
ซึ่งหน่วยของความตึงของสายพานจะมีค่าออกมาเป็นหน่วยปอนด์ครับ
ตรงนี้หากท่านจะใช้ตารางฝั่งซ้ายแล้ว
บนปากกาวัดความตึงสายพานท่านต้องตั้งค่าไปที่หน่วยปอนด์(pound)
และหน่วยนิ้ว(inches)นะครับ
ในส่วนตารางทางด้านขวามือ
หากท่านจะใช้จะต้องวัดตั้งค่าสายพานในหน่วยเซ็นติเมตร
(ในตารางระบุเป็น มม.) และอ่านค่าปากกาในหน่วย กิโลกรัม ครับ
บทประยุกต์และวิธีการใช้งานอื่น ๆ
นอกเหนือจากการวัดค่าความตึงของสายพาน
ปากกาวัดสายพานแบบด้ามเดี่ยวนี้
แท้ที่จริงก็คือตาชั่งน้ำหนักเคลื่อนที่ได้ขนาดเล็กนั่นเอง
ฉะนั้นแล้วมันจะสามารถวัดแรง หรือวัดน้ำหนักได้ แต่ข้อดีก็คือ
มันจะสามารถวัดน้ำหนักได้ในทิศทางที่ไม่ใช่เพียงแต่ให้น้ำหนักกด
ลงมาตรง ๆ เท่านั้น น้ำหนักด้านข้าง หรือน้ำหนักที่มาจากด้านบน
ด้านเฉียงก็สามารถจะวัดได้เช่นเดียวกัน
ในคลิปนี้ผู้ใช้ นำปากกาวัดความตึงสายพานแบบด้ามเดี่ยว
มาใช้วัดแรงที่ใช้ในการเปิดผลักประตูว่าจะเป็นไปตามกำหนดของ
ADAAG(ADA Accessiblility Guidelines) หรือไม่ แรงเปิด แรงผลักประตู
จะเป็นแรงที่ดันไปข้างหน้า ซึ่งโดยความเป็นจริง
ผู้ใช้งานประตูก็คงจะไม่รู้หรอกว่า
แรงที่ใช้ดันประตูีนี้ถ้าจะผลักออกไปจะใช้แรงโดยประมาณเท่าไร
สำหรับประเทศในแถบยุโรป หรืออเมริกาเหนือแล้ว
กฎเกณฑ์ต่าง ๆ
สำหรับสิ่งของเครื่องใช้จะทำไปโดยประมาณของผู้ติดตั้งไม่ได้
แต่ที่ถูกต้อง มันควรจะมีแนวทางหรือ
Guidelines บอก อาทิเช่น
ประตูที่จะเปิดจะผลักออกควรจะใช้แรงเท่าไรในการเปิด,
ราวจับห้องน้ำที่ถูกต้องควรจะสูงจากพื้นเท่า่ไร ยาวกว้างเ่่่่ท่า,
โถชักโครกในห้องน้ำห้องส้วมควรติดตั้งอย่างไร,
บันไดทางเดินควรจะมีขนาดเท่าไร ฯลฯ
ท่านสามารถเข้าไปศึกษาในเวบนี้ได้ครับ น่าสนใจจริง
ๆ https://www.access-board.gov/guidelines-and-standards/buildings-and-sites/about-the-ada-standards/background/adaag#4.13
ในคลิปนี้
คนสาธิตท่่านนำปากกาด้ามเดี่ยววัดความตึงสายพานอันนี้มา
ทดสอบว่าแรงที่ใช้เปิดประตู ซึ่งเป็นประตูในอาคารนี้
เป็นไปตามกำหนดแนวทางของ ADAAG หรือไม่
วิธีการตรวจสอบก็โดยปรับโอริงของปากกาวัดความตึงอันนี้ให้
อยู่ที่เลข 0 ก่อน
จากนั้นกดเข้าไปบนแผ่นประตูให้สูงกว่าระดับมือผลักเล็กน้อย
โดยต้องกดลงไปตรง ๆ ในแนวฉาก 90 องศา
จากนั้นออกแรงผลักให้ประตูดันไปให้สุดประตู 90 องศาเช่นกัน
อ่านแรงกดที่ได้บนปากกาว่าอ่านได้เท่าไร ในที่นี้ท่านอ่านได้
11 ปอนด์
ซึ่งท่านบอกว่าลักษณะนี้แล้วก็ควรจะแก้ไขประตูนี้สักเล็กน้อย
เพราะว่าตามกำหนดแนวทางของ ADAAG แล้ว
ประตูเปิดภายในอาคารควรจะอยู่ในช่วง 5 ปอนด์
ในขณะที่ประตูเปิดภายนอกอาคารควรจะอยู่ในช่วง 8.5 ปอนด์
ทั้งนี้แล้วประตูหลังจากที่เปิดแล้ว
ควรจะปิดกลับมาสนิทที่เดิมโดยใช้เวลาไม่น้อยกว่า 5 วินาที
ไม่ควรจะปิดกลับมาเร็วเกินไปลักษณะนี้ถือเป็นข้อกำหนด
ที่ควรปฎิบัติสำหรับการออกแบบหรือบำรุงรักษาประตูภายใน
และภายนอกอาคาร เป็นต้น
ท่านครับ ปากกาวัดความตึงสายพานแบบด้านบนมีข้อจำกัดอย่างหนึ่ง
คือสามารถวัดค่าความตึงของสายพานได้ไม่เกิน 30 ปอนด์ หรือประมาณ
10 กิโลกรัมกว่า ๆ
แต่ถ้าหากว่าท่านประสงค์จะวัดความตึงของสายพานอันเนื่องจากสายพา
นท่านมีขนาดใหญ่ ซึ่งจะต้องวัดความตึงได้มากกว่า 30 ปอนด์
ท่านจะสามารถทำได้เช่นกันครับ
แต่ท่านต้องใช้รุ่นปากกาคู่ครับหน้าตาเป็นเช่นนี้
Double Barrel Tension Tester
คือโดยความเป็นจริงแล้วมันก็คือปากกาวัดค่าความตึงของสายพาน 2
อันนำมารวมกันและเชื่อมหัวและท้ายเข้าด้วยกัน
ท่านครับสมมติว่าท่านมีวัตถุชิ้นหนึ่งที่มีน้ำหนักประมาณ 40 กิโลกรัม
เศษ ๆ แล้วท่านต้องการจะชั่งวัตถุนี้
แต่มีข้อจำกัดว่าท่านมีตาชั่งกิโลที่สามารถจะชั่งน้ำหนักได้มากที่สุดเพียง
30 กิโลกรัม จำนวน 2 อัน
ท่านจะสามารถทำได้หรือชั่งน้ำหนักวัตถุิชิ้นนี้ได้หรือไม่ หรือทำด้วยวิธีใด
คำตอบคือ ทำได้ครับ เพราะมันสามารถทำได้อย่างง่ายดายเลย
คือแค่ท่านนำตาชั่งทั้งสองมาวางคู่กัน
แล้วนำวัตถุชิ้นนี้วางลงไปโดยให้พาดไปยังตาชั่งทั้งสอง ด้วยวิธีเช่นนี้
มันก็คือการเฉลี่ยน้ำหนักของวัตถุที่แทนที่จะให้ลงตรง ๆ
ไปยังตาชั่งอันเดียว(ซึ่งมันก็คงจะวัดไม่ได้แน่ ๆ)
แต่ว่าเราเฉลี่ยให้น้ำหนักบางส่วนลงไปบนตาชั่งอีกอันหนึ่งแทน
เพราะฉะนั้นแล้วน้ำหนักของวัตถุชิ้นนี้ก็จะเท่ากับน้ำหนักที่ตาชั่งทั้งสองอ่า
นได้นำมาบวกกันนั่นเองครับ
วิธีการนี้ร้านรับซื้อพลาสติกเก่าใช้กันเป็นประจำครับ
เพราะบางทีของที่เข้ามาที่ร้านเขามันประมาณน้ำหนักกันยากเหมือนกัน
เขาเลยพลิกแพลงกันแบบนี้ บางร้านผมเห็นเขาใช้เข้าไปมากกว่านี้ก็เห็น
ฉันใดฉันนั้น ปากกาวัดค่าความตึงของสายพานแบบแท่งคู่นี้
สามารถวัดค่าความตึงได้สูงสุด 66 ปอนด์หรือประมาณ 30 กิโลกรัม
โดยที่ปากกาทั้งสองถูกเชื่อมต่อกันทั้งด้านบนและด้านล่าง
เพราะฉะนั้นไม่ว่าท่านจะกดปากกาอันนี้ด้วยวิธีใดก็ตามแต่
แรงที่กดลงบนปากกาอันนี้ก็จะต้องนำมาบวกกันเสมอ
เพราะมันก็คือการกดน้ำหนักลงบนตาชั่งสองอันพร้อม ๆ กันนั่นเองครับ
แบบปากกาคู่นี้ของผมมีจำหน่ายเช่นกันครับ
แต่ราคาจะสูงกว่าแบบเดี่ยวครับ
ผมคัดลอกคู่มือการใช้งานปากกาด้ามคู่ภาษาอังกฤษให้ศึกษาครับ
Step 1 Position the lower of the two O-rings to the deflection distance given by gates software for tension settings for the belt being checked.
Step 2 Deflect the belt
Put the gates tension tester perpendicular to the span and in the centre of the belt span. If the belt is a wide synchronous belt or a PowerBand belt, place a piece of steel or angle iron across the belt width and deflect. the entire width of the belt evenly. Exercise enough pressure to the tension tester to deflect the belt until the bottom edge of the lower O-Ring is at the connect deflection distance. If multiple individual V-belts are used on the drive. The deflection distance can be measured against an adjacent belt. For drives with only one belt, use a straightedge or string pulled tight across the sheaves. sprookets, or top of the belt to estabish a reference line. When the belt is deflected, determine the deflection distance by measuring from the belt to the straight edge or string reference line.
Step 3 Determine Deflection Force
Find the amount of deflection force on the upper scale of the tension tester. The siding rubber O-ring slides up the scale as the tool compresses and stays up for a reading of the deflection force. Read at the bottom edge of the ring. Remember to slide the O-ring down before using again. When you use the double tension tester you can read the values just underneath the rings and calculate the sum of both values.
Step 4 Check Min./Max. Tension forces
Installation tension forces should ideally be calculated for each specific drive. The tension calculations are included, in the Gates drive design and selection computer program, Design Flex Pro which can be used to quickly calculate the proper installation tension. Design Flex Pro and design Flex Web are available at www.gates.com/drivedesign. Compare the deflection force with the range of forces recommended. If less than the minimum recommended deflection force, the belts are too loose and should be tightened. If more than the maximum recommended deflection force, the belts are too tight and should be loosened.
ปากกาวัดความตึงสายพานแบบด้ามเดี่ยว ชนิดตัวเลขและ
ตัวหนังสือบนปากกาสลักลงไปบนผิวโลหะด้วยเลเซอร์
ก็มีบางครั้งที่ลูกค้าที่ท่านเคยใช้สินค้าจะสอบถามเรื่อง ปากกาวัด
ความตึงชนิดที่ตัวเลขและตัวหนังสือฝังติดลงในในเนื้อโลหะ ตรงนี้จะ
เป็นการใช้เลเซอร์สลักลงไป ข้อดีก็คือจะทำให้ตัวเลขและตัวหนังสือไม่มี
วันจาง ติดทนทานต่อการใช้งานไปอีกนานทีเดียว ก็มีให้เลือกตามรุ่นนี้
ครับ
สนใจปากกาวัดความตึงสายพานแบบด้ามเดี่ยว(Single Barrel Tension
Tester) หรือปากกาวัดความตึงสายพานแบบด้ามคู่(Double Barrel
Tension Tester) ผมอนันต์ครับ Tel.0868910596