กระบอกวัดปริมาณน้ำฝน (Rain Gauge or Udometer)
ใช้สำหรับวัดน้ำฝน เหมือนดั่งที่ท่าน
ได้ยินทางทีวีว่าวันนี้ฝนตกกี่มิลลิเมตร เป็นกระบอกวัดน้ำฝนครับ วิธี
ใช้คือนำไปวางที่กลางแจ้ง แล้วปล่อยให้ฝนตกไปเรื่อย ๆ จนหยุด
แล้วนำน้ำที่อยู่ในภาชนะมาวัด ก็จะบอกถึงปริมาณฝนหน่วย
เป็นมิลลิเมตรครับ เวลาใช้
ให้นำกระบอกวัดปริมาณน้ำฝนทางด้านซ้ายมือใส่ลงไปในกระบอก
ใหญ่ ลักษณะกระบอกใหญ่จะเป็นกรวยให้ใส่เข้าไปได้ ในกระบอก
เล็กจะมีหน่วยมาตราวัดบอกปริมาณน้ำฝน หน่วยเป็นมิลลิเมตรครับ
วัดได้สูงสุดต่อ 1 กระบอกคือ 50 มิลลิเมตร หรือ 2.0 นิ้วครับ
ถ้าหากว่าฝนตกมาก ๆ เลยเมื่อน้ำเต็มแล้วก็วัดต่อได้เลย
โดยเทน้ำฝนเก่าทิ้ง แล้วจดค่าไว้
สถานที่แต่ละแห่งมีปริมาณน้ำฝนตกลงมาไม่เท่ากันนะครับ
การวัดปริมาณน้ำฝนเป็นสิ่งที่จำเป็นเช่นกันถ้าหากว่าท่าน
จะเพาะปลูกพืช เช่น ว่าพืชชนิดนี้ลักษณะนี้ควรจะ
ได้รับปริมาณน้ำฝนมากเท่าใด ในช่วงเวลาใดของปีเป็นต้น
ราคา 1,100 บาทครับ
มาดูวิธีใช้งานกันครับ
ในชุดจะประกอบไปด้วยกระบอกใส่น้ำฝนซึ่งจะถอดออกมาได้ 2 ชิ้น
และกระบอกตวงน้ำฝน 1 อัน
เอาไว้สำหรับวัดว่าน้ำฝนที่ท่านรวบรวมได้มีกี่มิลลิเมตรหรือกี่นิ้ว
เวลาที่จะเริ่มใช้ให้ประกอบใส่กระบอกรวบรวมน้ำฝนเข้าด้วยกันก่อน
หลังจากนั้นให้ท่านนำกระบอกใส่น้ำฝนนี้ไปตั้งไว้ในจุดที่ท่านต้องกา
รจะวัดปริมาณน้ำฝนครับ
ความหมายคือต้องตั้งไว้ให้น้ำฝนไหลลงมาเข้ากระบอกรวบรวมน้ำ
ฝนตามธรรมชาิติการไหลของน้ำฝนครับ เช่น
กลางสนามหญ้า หรือในจุดที่โล่ง ๆ
หรือสถานที่ที่น้ำฝนตกลงมาตามธรรมชาติ
อย่านำไปตั้งไว้ที่น้ำมารวม ๆ กัน เช่น รางท่อน้ำ ใต้หลังคา
ปล่องรวบรวมน้ำ
เพราะน้ำจากจุดนั้นเป็นปริมาณน้ำฝนที่รวมมาจากหลาย ๆ
จุดเพื่อมาอยู่จุดเดียว จุดประสงค์เพื่อระบายน้ำ
ฉะนั้นแล้วน้ำฝนตรงจุดนี้ถ้านำกระบอกไปวัดไม่พอใส่น้ำแน่ ๆ
และก็ไม่ใช่วิธีวัดตามมาตรฐานสากลโลกด้วย
จะพบเห็นว่าที่ด้านบนของกระบอกจะมีรูสำหรับให้น้ำฝนไหลลงไป
ท่านครับ รูตรงจุดนี้เป็นมาตรฐานสากลครับ
ถ้าจะทำกันเองจะไม่เหมาะครับ เพราะรูลงของน้ำนี้
ถูกทำการคาลิเบรตมาจากต่างประเทศนะครับ
บางท่านไปออกแบบกระบอกตวงหรือกระบอกรวบรวมน้ำฝนกันเอง
แล้วเจาะรูแบบตามใจ อันนี้ใช้ไม่ได้นะครับ
เพราะค่าที่ออกมาจะไม่ได้มาตรฐานสากลที่โลกเขายอมรับกัน
เพราะว่าเวลาที่ท่านแจ้งว่าการวัดน้ำฝนที่ได้ใช้วิธีใด
หรือใช้อุปกรณ์ของประเทศใด
ถ้าแจ้งไปว่าใช้อุปกรณ์ของต่างประเทศ
โดยเฉพาะประเทศทางยุโรปแล้ว ความน่าเชื่อถือจะมีมากที่สุด
และได้รับการยอมรับว่าถูกต้องที่สุด
หลังจากนั้นให้ท่านนำน้ำฝนที่รวบรวมได้จากกระบอกใส่น้ำฝน
มา เทใส่กระบอกตวงที่เห็นด้านล่างครับ
ท่านจะเห็นได้ว่ากระบอกตวงนี้จะสามารถวัดได้ 2 หน่วยนะครับ
คือวัดเป็นหน่วย มิลลิเมตร
อันนี้ใช้สากลทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยด้วย และหน่วยที่วัดเป็นนิ้ว
อันนี้เป็นหน่วยที่ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกาและบางประเทศครับ
ท่านครับกระบอกตวงน้ำฝนนี่ก็ีอีกเช่นกันครับ
คือเป็นมาตรฐานจากต่างประเทศ ไปทำขึ้นมาเองไม่เหมาะครับ
สเกลที่ขีดขึ้นมาอาจจะไม่ตรงหรือเพี้ยนไปได้
และมันจะถูกจัดเป็นชุดใครชุดมัน ยี่ห้อใครยี่ห้อมัน
ไปใช้รวมกันหรือปะปนกันไม่ได้นะครับ อย่างเช่น
ถ้าหากว่าท่านใช้กระบอกรวบรวมน้ำฝนของผมยี่ห้อนี้
ท่านก็จำเป็นที่จะต้องตวงน้ำฝนที่รวบรวมได้โดยใช้กระบอกตวงขอ
งชุดของมันนี้ ห้ามนำไปใช้กับกระบอกตวงยี่ห้ออื่นนะครับ
เพราะมันอาจจะไม่ได้มาตรฐาน หรือไม่เหมาะสมกัน
เพราะว่ากระบอกรวบรวมน้ำฝนของยี่ห้อไหนก็ย่อมจะคาลิเบรตให้เ
ข้ากันกับกระบอกตวงน้ำฝนของสินค้ายี่ห้อนั้น ๆ ครับ
ท่านครับการรวบรวมปริมาณน้ำฝน
ให้เิริ่มตั้งกระบอกตวงไว้ตั้งแต่ฝนเริ่มตก จนกระทั่งฝนหยุดตกครับ
และที่ดีที่สุดให้ท่านจับเวลาไว้ด้วยก็จะยิ่งดีครับ
กระบอกวัดปริมาณน้ำฝนนี้ผมทดลองตวงแล้ว
สามารถรองรับน้ำฝน(หากตกจนเต็มกระบอกรองรับ) ได้ 150
มิลลิเมตรครับ แต่สำหรับกระบอกใส ๆ สำหรับตวงน้ำฝน
สามารถตวงได้สูงสุดครั้งละ 50
มิลลิเมตร เพราะฉะนั้นหากเต็มกระบอกจะตวงได้ประมาณ 3
กระบอกตวง
วัดขนาดแต่ละชิ้น
ถ้าจะถามว่ากระบอกตวงน้ำฝนและใช้วัดปริมาณน้ำฝนมีประโยชน์อั
นใด หรือมีประโยชน์ในด้านใด
คำตอบคือ ถ้าเป็นช่วงฤดูฝนแล้ว
แทบจะทุกวันท่านจะต้องได้ยินกรมอุตุนิยมวิทยา
ประกาศปริมาณน้ำฝนแต่ละพื้นที่ที่วัดได้
แต่อย่างไรก็ตามเชื่อผมเถอะว่า แต่ละพื้นที่ฝนที่ตกไม่เท่ากันอยู่แล้ว
ถ้าหากว่าท่านมีติดบ้านไว้
โดยเฉพาะท่านมีกิจการเกี่ยวกับการเกษตรแล้วเป็นเรื่องสำคัญที่ท่า
นจะต้องทำการบันทึกและจดบันทึก
เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจลงทุนเพาะปลูกพืชว่าควรหรือไม่
หรือควรจะไปลงทุนปลูกในจุดใด เป็นต้น
น่าสังเกตุว่าการทำการเกษตรในประเทศไทยหรือแม้แต่ประเทศอื่น
ๆ ที่มีเทคโนโลยีการผลิตที่ยังไม่ก้าวหน้ามากนัก
มักจะอาศัยหรือพึ่งพาธรรมชาติเป็นหลัก
ฉะนั้นเกษตรกรจึงควรจะใส่ใจและเฝ้าสังเกตุธรรมชาติให้มาก
จะเป็นการดีและเหมาะที่สุดสำหรับท่านที่ทำการเกษตรในวิธีดั้งเดิมอ
ยู่
ในชุดกระบอกตวงของผมนี้
จะมีตารางเก็บสถิติน้ำฝนให้ท่านเพื่อใช้สำหรับจดบันทึกด้วยครับ
ท่านสามารถนำไปใช้ได้เลย
หรือถ้าไม่เพียงพอให้นำไปถ่ายเอกสารไว้เยอะ ๆ นะครับ
วิธีจดบันทึก แถวนอนด้านบนหมายถึงจำนวนวันที่มีใน 1 เดือน
คือมี 30 วัน หรือบางเดือนก็มี 31 วัน
ส่วนแกนตั้งหมายถึงปริมาณน้ำฝนที่ท่านทำการบันทึกวัดได้
ให้ท่านนำมาพลอตกราฟครับ
แล้วเก็บบันทึกเป็นสถิติไว้เปรียบเทียบทุกปีทุกปี
อีกหนึ่งวิธีที่จะนำไปประยุกต์การใช้งานได้คือ
สมมติว่าท่านตั้งสปริงเกอร์รดน้ำอัตโนมัติไว้
แล้วท่านอยากจะทราบว่าจุดนั้น ๆ
ได้รับน้ำตามที่ท่านตั้งใจหรือต้องการหรือไม่
ก็ให้นำกระบอกรวบรวมน้ำฝนนี้ไปใช้
แล้วนำน้ำมาตวงท่านก็จะทราบเองละครับ
ว่าควรจะตั้งสปริงเกอร์ในจุดนั้น ๆ เป็นเวลากี่นาที กี่ชั่วโมง
ต้นไม้ต้นหญ้าบริเวณนี้จึงจะได้รับน้ำอย่างเพียงพอ
หลังจากนั้นก็ให้ท่านเลื่อนสปริงเกอร์ให้น้ำไปยังจุดอื่นเมื่อถึงเวลาที่
ท่านจับไว้
หรือในหน้าฝนท่านเห็นว่าพืชของท่านได้รับน้ำฝนขนาดปริมาณนี้อ
ย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องเป็นเวลาหลาย ๆ
วันแล้วจะงามท่านก็ตั้งเครื่องให้น้ำไว้ในลักษณะเดียวกับที่น้ำฝนให้
น้ำ และวัดปริมาณน้ำที่รดไปด้วยกระบอกตวงนี้ ท่านก็จะคล้าย ๆ
กับปรับการให้น้ำของพืชได้โดยเข้ากับธรรมชาติมากที่สุดครับ
วิธีการใช้งานกระบอกวัดปริมาณน้ำฝนอย่างถูกวิธี
ไม่ว่าอย่างไรก็ตามแต่ เมื่อใดที่ท่านตัดสินใจที่จะวัดปริมาณน้ำฝนแล้ว
ไม่ควรเป็นอย่างยิ่งที่จะให้น้ำฝนที่อยู่ในกระบอกสูญเสียไปอย่างเด็ดขาด
เพราะว่ามันจะทำให้ค่าน้ำฝนที่ตวงได้ไม่ตรงตามความเป็นจริงที่ฝนตกลงมา
อะไรคือสาเหตุที่จะทำให้น้ำฝนในกระบอกหายไป สาเหตุหลัก ๆ
ที่เจอบ่อยที่สุด ก็คือกระบอกวัดปริมาณน้ำฝนล้มอย่างไม่ตั้งใจครับ
ตรงนี้เป็นมาจากลมที่แรก ฝนที่ตกหนัก หรือคนไปเดินชนอย่างไม่ตั้งใจ
สำคัญมาก ๆ ครับท่านที่ท่านควรจะยึดกระบอกน้ำฝน ณ
จุดที่ท่านจะวัดให้มั่นคงที่สุดก่อนที่ท่านจะเดินจากมันไป
สิ่งที่จะยึดได้อาจจะเป็นการขุดดินลงไปสักเล็กน้อยแล้วนำก้อนหินมาวางไว้รอบ
ๆ กันกระบอกล้ม หรือทำอย่างไรก็ได้ที่จะยึดกระบอกให้มั่นคงที่สุด
ตัวอย่างวิธีการยึด Rain gauge ที่แน่นหนาถูกวิธีและเหมาะสม ท่านจะเห็นว่าให้ยึกกับสิ่งปลูกสร้างที่มั่นคงแข็งแรงและพยายามให้ปลายกระบอกอยู่ตำแหน่งสูงสุดเสมอ อย่าให้มีอะไรมาบังปลายกระบอกเพราะจะทำให้การเก็บตัวอย่างน้ำฝนคลาดเคลื่อนได้ครับ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นสิ่งที่ท่านจะยึดนี่ต้องไม่มีความสูงเกินไปกว่ากระบอกนะครับ
ทำไมหรือครับ เพราะถ้าหากว่ามันสูงเกินกว่ากระบอก
มันจะเป็นการบังปริมาณน้ำฝนที่จะตกเข้าสู่กระบอกได้
เพราะในความเป็นจริงแล้วฝนตามธรรมชาติที่ตกลงมาอาจจะไม่จำเป็นที่จะต้อง
ตกลงมาตรง ๆ เสมอ ภาวะของลมเป็นไปได้ที่จะเป็นฝนที่สาดเข้ามาในกระบอก
ซึ่งตรงนี้เป็นธรรมชาติครับ จำเป็นต้องนำมาคำนวนด้วย
ถ้าหากท่านนำกระบอกไปวัดน้ำฝนแล้วท่านเดินกลับมาในสภาพที่กระบอกล้ม
จบครับ เ่ท่ากับว่าที่ท่านวัดมาเสียเปล่าหมด บันทึกค่าใด ๆ ไม่ได้เลย
หรือบันทึกได้ก็ไม่ตรง เพราะมันมีบางส่วนหกไปแล้ว สำคัญมาก ๆ ครับ
ครั้งนี้มาดูกันครับว่าฝรั่งเขาพิจารณาการตกของฝนเป็นอย่างไรกันบ้าง
1. ฝนที่ตกลงมาน้อยมาก(คิดต่อชั่วโมง) : วัดน้ำฝนไ้ด้น้อยกว่า 0.25 มม.
2. ฝนที่ตกลงมาน้อย(คิดต่อชั่วโมง) : วัดน้ำฝนได้ระหว่าง 0.25 - 1.00 มม.
3. ฝนที่ตกลงมาปานกลาง(คิดต่อชั่วโมง) : วัดน้ำฝนได้ในช่วง 1 - 4 มม.
4. เรียกว่าฝนตกค่อนข้างหนัก(คิดต่อชั่วโมง) : วัดน้ำฝนได้ในช่วง 4 - 16 มม.
5. เรียกว่่าฝนตกหนัก(คิดต่อชั่วโมง) : วัดน้ำฝนได้ในช่วง 16 - 50 มม.
6. เรียกว่าฝนตกหนักอย่างบ้าคลั่ง(คิดต่อชั่วโมง) : วัดน้ำฝนได้ในมากกว่า 50
มม. (ก็คือเกินกว่ากระบอกอันนี้จะรับได้ครับ)
Tip: ในบางพื้นที่ที่เรียกได้่ว่ามีน้ำค้างตกลงมามาก ๆ Rain Gauge
สามารถออกแบบให้เทียบเคียงวัดปริมาณน้ำค้างได้เหมือนกันครับ
การวัดปริมาณน้ำฝนในพื้นที่กว้าง ๆ Rain Gauge
อันเดียวไม่ถือว่าเป็นตัวอย่างที่เหมาะ ที่เหมาะสมควรจะมีให้สมควรกับพื้นที่ครับ
อย่างเช่นกระผมเคยขายกระบอกวัดปริมาณน้ำฝนกับ โรงงานไร่อ้อยแห่งหนึ่ง
เขาส่งอ้อยเขาทำน้ำตาลครับ พื้นที่พอสมควรทีเดียว
เขาซื้อไว้ตั้งตามจุดเพื่อเป็นตัวอย่างเฉลี่ยถึง 24 จุดทีเดียวครับ
ความเหมาะสมแต่ละพื้นที่แล้วแต่ผู้ใช้หรือเจ้าของพื้นที่จะพิจารณานะครับ
ท่านครับความสะอาดของน้ำฝนแต่ละสถานที่ก็มีความเป็นไปได้ว่าจะไม่เท่ากันไ
ด้เหมือนกันครับ แล้วแต่มลภาวะของแต่ละสถานที่ กระบอกเก็บน้ำฝน
หลังจากที่ท่านตวงวัดแล้ว ยังไม่อยากจะทิ้งน้ำฝนให้เก็บในภาชนะที่สะอาดแล้ว
ท่านสามารถนำน้ำฝนไปวิเคราะห์ในห้องทดลองต่อได้นะครับ
ว่ามีมลพิษเกินกว่าที่พืชของท่านจะรับได้หรือไม่อย่างไร
ซึ่งนี่เป็นประโยชน์อีกอันหนึ่งของกระบอกวัดน้ำฝน Rain gauge อันนี้
คือวัดมลภาวะที่มาจากน้ำฝนได้ด้วย
ถ้าไม่จำเป็นท่านไม่ควรเลือกใช้ Rain Gauge แบบที่เป็นโลหะครับ
เพราะมันอาจจะมีอันตรายเป็นสื่อไฟฟ้าได้
หรือแม้แต่อุปกรณ์เสริมที่ใช้ในการติดตั้งท่านก็ควรจะระวังในเรื่องความเป็นสื่อ
ด้วยก็จะยิ่งดีครับ เพื่อความปลอดภัยในการติดตั้งและการเก็บ
เพราะว่าการติดตั้งกระบอกน้ำฝนปกติเราต้องติดตั้งในที่โล่ง ๆ อยู่แล้ว
ในอดีตเคยมีรุ่นที่ทำด้วยทองแดงทั้งอันเลย
แต่ตอนหลังไม่อยากนำเข้ามาเพราะพิจารณาแล้วอาจจะเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ได้
เรื่องอุบัติเหตุจากฟ้าผ่านี่ในเืมืองไทยมีรายงานบ่อยเหมือนกันครับ
ผมมีตัวอย่างของ Rain Gauge
ที่ท่านอาจจะพบในตลาดบ้างแต่ผมคงไม่อยากจะำนำมาจำหน่ายเพราะอะไรหรือ
ครับ ท่านชมก่อนครับ
คล้าย ๆ กับจะเป็นแค่กระบอกตวงน้ำฝนธรรมดา
หรืออาจจะหมายความว่าที่เก็บน้ำฝนกับที่ตวงน้ำฝนอยู่ในที่ที่เดียวกัน
ลักษณะของกระบอกน้ำฝนแบบนี้ไม่ใช่ว่า Rain Gauge เหล่านี้ไม่ดีครับ
แต่ว่ามันไม่ค่อยมั่นคง และที่สำคัญมาก ๆ คือมันไม่มิดชิดเอาเสียเลย
ถ้าน้ำฝนตกลงมามาก ๆ แล้ว และตกลงมาแรง ๆ ถึงแรงมาก
น้ำฝนที่เก็บได้จะถูกน้ำฝนชุดใหม่ตกใส่กระเด็นออกหมดเลยครับ
และก็ดูเหมือนว่าราคาก็สูงด้วย
เพราะฉะนั้นถ้าหากท่านจะใช้งานให้เป็นกิจลักษณะ เลือก Rain
Gaugeหรือกระบอกวัดปริมาณน้ำฝนที่ดูดีและมิดชิดจะดีกว่าและน่าเชื่อถือกว่า
ครับ ผมแนะนำรุ่นนี้เลยครับ
กระบอกเก็บน้ำฝนและกระบอกตวงแยกจากกันโดยสิ้นเชิง
กระบอกเก็บน้ำฝนปิดได้มิดชิดแน่นอนและดูมาตรฐานกว่า
ขนาดของกระบอกวัดปริมาณน้ำฝนรุ่นที่ผมเสนอนี้มีความสูง 11.5 นิ้ว
เส้นผ่านศูนย์กลางกระบอก 4 นิ้วครับ ความสูงไล่เลี่ยกับ cylinder ขนาด 250
ml.
สนใจผลิตภัณฑ์กระบอกวัดปริมาณน้ำฝน
ผมอนันต์ครับ Tel.0868910596