มิเตอร์วัดคลอรีนอิสระในน้ำ
( Free Chlorine Meter)
(Model: HI-701)
ราคา 3,600 บาท ผมอนันต์ครับ Tel.0868910596
P.S. ซองน้ำยาวิเคราะห์ 1กล่อง 25 ซอง
Chlorine is the most common water disinfectant. The monitoring of
chlorine is crucial in applications such as swimming pools and spas, fruit
and vegetable sanitation, disinfection and drinking water. By monitoring
this crucial parameter, serious health and safety risks can be avoided.
The HANNA HI 711 and HI 701 Checker®HC?s bridge the gap between
simple chemical test kits and professional instrumentation. Chemical
test kits are not very accurate and only give 5 to 10 points resolution
while professional instrumentation can cost thousands of dollars and
canbe time consuming to calibrate and maintain. The HANNA HI 711
and HI 701 Checker®HC?s are accurate and affordable. These
Checker®HC portable handheld colorimeters feature a resolution of
0.01 ppm (250 points) and 3% ±0.03 ppm (mg/L) accuracy of reading.
They also use an EPA approved DPD method. The contoured
style of these Checker®HC?s fit in your palm and pocket perfectly and
the large LCD is easy to read. The auto shut-off feature assures the
battery life will not be drained if you forget to turn it off. The HI 711
and HI 701 Checker®HC?s are extremely simple to use. First, zero the
instrument with your water sample. Next, add the reagent. Last, Place
the vial into the Checker®HC, press the button and read the results. It?
s that easy.
Range 0.00 to 2.50 ppm (mg/L)
Resolution 0.01 ppm (mg/L)
Precision 3% of reading ±0.03 ppm (mg/L) @ 25°C
Light Source LED @ 525 nm
Light Detector Silicon photocell
Environment 0 to 50°C (32 to 122°F); RH max 95% non-condensing
Battery Type (1) 1.5V AAA
Auto-off After 2 minutes of non-use and after read
Dimensions 81.5 x 61 x 37.5 mm (3.2 x 2.4 x 1.5?)
Weight 64 g (2.25 oz.)
Method EPA approved DPD method Standard Method 4500-Cl G.
ถ้าเป็นเรื่องของคลอรีนในน้ำผมขออธิบายให้ท่านเข้าใจคร่าว ๆ
ดังนี้ครับถ้าหากท่านใดสนใจหาอ่านเพิ่มเติมจากที่อื่นได้ครับ
คือว่า ผมมีชาร์ตหนึ่งให้ท่านดูคือชาร์ตด้านล่างนี้ครับ
เมื่อใดก็ตามแต่ที่ท่านเติมคลอรีนลงไปในน้ำกลั่นที่บริสุทธิ์มาก ๆ แล้ว
คลอรีนที่ท่านเติมลงไปในน้ำ
ถ้าท่านนำน้ำนั้นมาวัดจะได้เท่ากับคลอรีนที่ท่านเติมลงไปพอดี
แต่เมื่อใดก็ตามที่ท่่านเติมคลอรีนลงไปในน้ำธรรมดา ๆ
เช่นแหล่งน้ำธรรมชาติ แม่น้ำ น้ำในระบบประปา ฯลฯ แล้ว
คลอรีนที่เติมลงไปจะถูกทำปฎิกิริยากับสารเคมี สารชีวภาพ
จุลินทรีย์ในน้ำนั้น เหตุเป็นเพราะน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติจะไม่สะอาด
จึงทำให้คลอรีนที่เติมลงไปทำปฎิกิริยากับสิ่งเหล่านี้
โดยสามารถแบ่งการทำปฎิกิริยาระหว่างคลอรีนที่เติมลงไปในน้ำได้
เป็นสามส่วนด้วยกัน คือ ประการแรกสุด(
ดูที่ชาร์ต) คลอรีนส่วนหนึ่งจะทำปฎิกิริยากับสารเคมี
สารชีวภาพเกิดการฆ่าเชื้อภายในเวลาอันรวดเร็วตรงจุดนี้จะเรียกว่า
(chlorine demand) หรือความต้องการคลอรีนของน้ำดิบบริสุทธิ์
ประการที่สอง คลอรีนที่เหลืออยู่ตรงนี้เราจะเรียกว่า Total
Chlorine หรือเรียกเป็นภาษาไทยว่าคลอรีนรวม
คลอรีนรวมส่วนหนึ่งจะไปทำปฎิกิริยากับสารเคมี หรือสารชีวภาพในน้ำ
คลอรีนในจุดนี้เรียกว่า Combine Chlorine(ดูชาร์จครับ)
เพราะโดยทั่วไปแล้วการที่มนุษย์ใส่คลอรีนลงไปในระบบ
เจตนาก็เพื่อเป็นการรักษาสมดุลความสะอาด
เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อน้ำให้เกิดความสะอาด
เชื้อโรคบางอย่างที่มีผลต่อระบบทางเดินอาหารของมนุษย์
เช่นเชื้อแบคทีเรีย เชื้อโรคอันทำให้เกิดท้องร่วง
จะถูกคลอรีนในส่วนนี้จับและทำปฎิกิริยา
คลอรีนที่จับและทำปฎิกิริยากับเชื้อโรคหรือสิ่งสกปรกตรงจุดนี้แล้วบางครั้
งเรียกกันว่า chloramines
ประการสุดท้ายคลอรีนที่เหลืออยู่จากการทำปฎิกิิริยา
จะหลงเหลืออย่างอิสระในน้ำ ตรงนี้จะเรียกว่า Free chlorine(ดูที่ชาร์ต)
หรือ คลอรีนอิสระ
ซึ่งคลอรีนอิสระนี้เป็นค่าที่ถูกกำหนดไว้โดยหน่วยงานต่าง ๆ
ที่ควบคุมคุณภาพของน้ำครับ
ว่าควรจะมีคลอรีนอิสระหลงเหลืออยู่ในน้ำไม่น้อยกว่าเท่าไร
จึงจะถือได้ว่าน้ำนั้นมีคุณภาพอยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการใช้
โดยเฉพาะคลอรีนอิสระนี้แล้ว
โดยส่วนใหญ่จำเป็นอย่างมากที่ท่านจะต้องทราบในกรณีที่น้ำนั้นถูกนำมา
ใช้ในกระบวนการผลิตน้ำดื่ม น้ำกิน
หรือน้ำที่จะต้องเข้าไปในร่างกายมนุษย์ คลอรีนอิสระที่หลงเหลือในน้ำนั้น
ทำหน้าที่ โดยจะคอยดักจับกับสารแปลกปลอม เชื้อโรค สารอินทรีย์
ที่เพิ่มเติมเข้ามาในระบบด้วยเหตุอันใดก็ตามแต่
เพื่อเป็นการดักจับเชื้อโรค สารชีวอินทรีย์
และทำความสะอาดน้ำนั้นเป็นขั้นตอนสุดท้าย
สรุปก็คือท่านจำเป็นต้องทราบค่าคลอรีนอิสระเสมอ
เพราะหากว่าค่าคลอรีนอิสระที่หลงเหลือในระบบน้อยเกินเหตุหรือน้อยจน
วัดกันไม่ได้
มันอาจจะหมายถึงว่าคลอรีนที่ท่านเติมลงไปในระบบไม่เพียงพอหรือน้อย
จนหมิ่นเหม่ที่จะทำปฎิกิริยากับสาร จุลชีวต่าง ๆ ในน้ำให้สะอาดได้
หรือว่าไม่หลงเหลือคลอรีนเลยที่จะใช้กำจัดเชื้อโรคได้
ซึ่งก็คือทำให้น้ำนั้นไม่ปลอดภัยที่จะมาใช้บริโภคนั่นเอง
ซึ่งค่าคลอรีนอิสระนี้ คือสิ่งที่เป็นข้อกำหนดกฎเกณฑ์ ขององค์กร
หน่วยงานที่มีผล ให้ควรปฎิบัติหรือไม่ควรปฎิบัติ
ในกรณีที่น้ำที่จะนำมาใช้ประโยชน์มีปริมาณคลอรีนอิสระที่หลงเหลืออยู่ม
ากเกินขีดหรือน้อยจนเกินไป
ในกรณีที่ท่านจะตรวจวัดหาค่าคลอรีนในน้ำ
นอกจากว่าท่านจะวัดค่าคลอรีนอิสระแล้ว
แต่การตรวจวัดน้ำนั้นท่านก็ยังสามารถตรวจวัดคลอรีนรวม ได้ด้วย
โดยใช้เครื่องมือเดียวกันนี้แต่เป็นคนละรุ่น(
แต่หน้าแต่เหมือนกันทุกอย่างเลยครับ)
ในชุดหนึ่งจะประกอบไปด้วย เครื่อง 1 เครื่อง หลอดคิวเวท 2 หลอด
และซองน้ำยา 1 ซอง
ตัวเครื่องเป็นแบบนี้ครับ
นี่คือวิธีการใช้งานครับ อ่านตามนี้ก็ทำได้แล้วครับ
ก่อนอื่นกดปุ่มเปิดเครื่องก่อน
หลังจากนั้นให้นำคิวเวตออกมาแล้วเติมน้ำที่ท่านจะวัดให้ถึงขีด
ใส่ิคิวเวตลงไปในเครื่อง(ยังไม่ต้องเติมสารละลาย)
หลังจากนั้นให้ปิดฝาเครื่องลงแล้วกดปุ่มสีดำอีกครั้ง
กดปุ่มสีดำให้ขึ้นคำว่า C2
ให้ท่านนำคิวเวตออกมาแล้วแกะซองสารเคมีออกแล้วเติมลงไปให้หมด 1
ซองเขย่าให้เข้ากัน รอไว้สัก 20 วินาที
แล้วใส่กลับลงไปในเครื่องปิดฝาแล้วรอสัก 30
วินาที จากนั้นให้กดปุ่มสีดำ แล้วเครื่องจะเริ่มนับถอยหลัง
แล้วมันจะอ่านค่าเองหน่วยที่อ่านได้จะเป็นหน่วย ppm(part per
million) ครับ หรือส่วนในล้านส่วน
ถ้าท่านเห็นด้านหลังเครื่องเป็นรอยแตกอย่างนี้มันไม่เป็นไรนะครับ
เพราะออกมาจากโรงงานก็เป็นอย่างนี้อยู่แล้ว
ถ้าไม่มีรอยบากอย่างนี้มันจะปิดไม่ลง
และเครื่องทุกเครื่องก็จะเป็นเหมือนกันแบบนี้ครับ
เครื่องปกติครับไม่เสียหายอะไร
ชมวิธีใช้งานครับ
เกร็ดความรู้เรื่องของคลอรีน
อันนี้เป็นวิชาเคมีในระดับชั้นมัธยมปลายและระดับมหาวิทยาลัย
ควรจะทราบและท่านสามารถเรียนรู้ได้จากคลิปในยูทูปครับ
สมัยผมเรียนต้องทำการทดลองเองในห้องทดลอง ไม่มีคลิปอะไรให้ดูเลย
คลอรีนเป็นสารที่สามารถทำปฎิกิริยากับสารได้หลาย ๆ ชนิดทีเดียว
ลองชมดูครับ