การคาลิเบรต
การคาลิเบรต คืออะไร การคาลิเบรต คือ การปรับค่า
อุปกรณ์หรือสิ่งใดก็ตามแต่ีที่เรามีอยู่ให้ตรงกับค่าที่เราทราบความ
แน่นอนอยู่แล้ว เช่น ถ้าหากท่านซื้อนาฬิกาเรือนหนึ่งมาในราคา 1
ล้านบาท ถึงท่านนำนาฬิกาเรือนนี้กลับบ้านแล้ว
ทางที่ดีที่สุดท่านยอมเสียอีกสัก 3 บาทโทรถาม 181
ว่าขณะนี้เวลามาตรฐานประเทศไทยเป็นกี่นาฬิกา กี่นาที
เพื่อที่ท่านจะได้ปรับนาฬิกาเรือนล้านของท่านให้ตรงกับเวลามาตร
ฐานของประเทศไทย เพราะอะไร
เพราะว่านาฬิการาคาล้านบาทนี้
ถ้าอ่านเวลาแล้วไม่ตรงบางครั้งก็ไม่เหมาะที่จะนำไปใช้งานเ่ช่นกัน
ฉันใดฉันนั้น ถ้าท่านมี pH meter, ORP meter หรือ
conductivity meter อยู่สักเครื่อง แต่ว่าท่านไม่ทราบว่าเครื่องที่
ท่านมีอยู่นี้เวลาใช้วัดจะได้ค่าที่ตรงหรือไม่ วิธีการที่ดีที่สุด คือ ให้
ท่านนำมิเตอร์เครื่องนี้ไปคาลิเบรตกับน้ำยาที่ท่านทราบความเข้มข้น
แน่นอนอยู่แล้ว แล้วลองเทียบว่ามิเตอร์ของท่านนี้อ่านค่าได้ตรงกับ
สารละลายมาตรฐานนั้นหรือไม่ ถ้าอ่านได้ตรงหรือใกล้เคียงก็ให้
ท่านนำไปตรวจวัดได้ แต่ถ้าหากว่าอ่านค่าแล้วไม่ตรง ก็ให้ท่านปรับ
เครื่องของท่านให้ตรงกับค่าที่อ่านได้นั้น ๆ หรือถ้าหากว่ามิเตอร์ของ
ท่านไม่สามารถปรับเครื่องได้ เวลาที่ท่านตรวจวัดก็ให้ท่านบวก หรือ
ลบค่าที่เปลี่ยนไปให้สัมพันธ์กับสารละลายที่ท่านต้องการวัด เช่น ค่า
ORP meter ของท่านที่อ่านได้จากสารละลายคาลิเบรต เท่ากับ 222
mv ทั้ง ๆ ที่สารละลายคาลิเบรตมาตรฐานที่ท่านนำมาอ้างอิงมีค่าที่
แจ้งไว้ในฉลากที่ 240 mv แต่บังเอิญว่าเครื่อง ORP meter ของ
ท่านไม่สามารถคาลิเบรตค่าได้หรือไม่มีปุ่มคาลิเบรต เป็นต้น เวลาที่
ท่านนำไปวัดจริง ท่านก็ควรจะทราบได้อย่างคร่าว ๆ ว่าค่าของ orp
meter ของท่านจริง ๆ แล้วค่าห่างจากค่ามาตรฐาน 240 - 222 =
18 mv ฉะนั้นเวลาที่ท่านวัดค่าได้เท่าไรก็ตามท่านก็ควรจะบวกค่าที่
วัดได้ด้วย 18 แต่ถ้าหากว่ามิเตอร์ของท่านอ่านค่าเมื่อวัดกับ
สารละลายคาลิเบรตมาตรฐานแล้วมากกว่า เช่นอ่านได้ 260 mv
เวลาที่ท่านนำไปวัดจริงกับสารละลาย ท่านก็ควรจะลบค่าที่เครื่อง
อ่านได้ออกสัก 20 mv เป็นต้น
สำหรับน้ำยาที่ใช้เพื่อการคาลิเบรตมิเตอร์นั้น เท่าที่พบเห็น
ส่วนใหญ่มีเพียงบางมิเตอร์เท่านั้นที่จะแถมมาให้ เช่น pH meter แต่
ถ้าหากว่าเป็นมิเตอร์ที่ค่อนข้างเฉพาะ เช่น conductivity meter,
ORP meter นั้น เท่าที่เห็นไม่แถมให้ครับ ถามว่าทำไม ตอบว่าน้ำยา
คาลิเบรตตัวนี้มีราคาค่อนข้างสูงครับ ผู้ใช้อาจจะต้องซื้อหามาใช้
ตรวจสอบเองครับ
น้ำยาคาลิเบรตมิเตอร์วัดชนิดต่าง ๆ ph meter, orp
meter,conductivity meter รวมทั้งน้ำยาสำหรับล้างและแช่
หัววัดมิเตอร์แบบพกพา
ถ้าหากจะถามว่าอะไรของมิเตอร์วัดสารละลายอย่างง่ายที่
มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด ระหว่าง ตัวเครื่องวัดเอง
หรือสารละลายที่คุณนำมันมาวัด หรือค่าจากเครื่องที่อ่านได้
หรือว่าน้ำยาที่่ท่่านนำมาคาลิเบรตเครื่องวัด
สำหรับผมคำตอบที่เหมาะสมที่สุดคือน้ำยาที่ท่่านนำมาคาลิ
เบรตเครื่องวัดที่ได้มาตรฐานครับ จึงจะเรียกได้ว่ามีความน่า
เชื่อถือสูงสุด โดยเงื่อนไขว่าน้ำยานั้นต้องได้มาตรฐานจริง ๆ
นะครับ มีการเก็บรักษาอย่างดี ยังไม่หมดอายุการใช้งาน และที่
สำัคัญมีหน่วยงานหรือห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์รับรองด้วย
ก็จะยิ่งน่าเชื่อถือ และสุดท้ายคือยี่ห้อของน้ำยาสินค้าชนิดนั้น
ครับ
ทำไม?
เพราะว่าน้ำยาโกหกค่าไม่ได้ครับ เครื่องที่ท่านนำมาวัด
ไม่ใช่ว่าไม่ดี แต่บางครั้งถ่านแบตเตอรี่อาจจะอ่อนไป ทำให้
การวัดค่าผิดพลาดได้ ถ้าหากการวัดค่าผิดพลาดไป
สารละลายที่ท่านนำมาวัดได้อ่าค่าออกมาแล้ว จะเชื่อถือได้มาก
แค่ไหน แต่ถ้าถามว่าแล้วถ้าหากเรานำมิเตอร์นั้น ๆ มาทดลอง
ทำการวัดกับสารละลายมาตรฐานที่ทราบความเข้มข้นที่
แน่นอนแล้วค่าที่อ่านได้ผิดไปจากสารละลายมาตรฐานที่แจ้ง
มา เรายังสามารถอนุมานบวกลบค่านั้นได้ หรือ ถ้าหากเป็น
มิเตอร์วัดที่สามารถ คาลิเบรต (มีปุ่ม calibration ที่ัตัวเครื่อง)
ได้แล้วท่านก็ควรจะคาลิเบรตค่าให้ตรงหรือใกล้เคียงกับ
สารละลายมาตรฐานก่อน แล้วท่านค่อยนำไปใช้วัดครับ
คำถามต่อไปแล้วเราจะเลือกน้ำยาคาลิเบรตกันอย่างไร
เพราะมันมีหลายช่วงค่าให้เลือก คำตอบที่ดีที่สุดคือ
ถ้าสารละลายที่ท่านจะใช้วัดนั้นมีค่าอยู่ในช่วงใด ก็ขอ
ให้คาลิเบรตเครื่องมือของท่านกับน้ำยาที่มีความเข้มข้น
ใกล้เคียงกับสารละลายที่ท่านจะวัดนั้น เช่น
ถ้าหากสารละลายของท่านที่ต้องการทดสอบ ท่านทราบคร่าว
ๆ แล้วว่าเป็นด่างมาก มีพีเอชอยู่ประมาณ 9 - 10 แล้วท่าน
ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าพีเอชมิเตอร์ของท่านนี้มันตรงไหม ที่ถูก
ต้องท่านก็ควร
จะหาน้ำยาที่มีค่าพีเอชมาตรฐานประมาณนี้มาคาลิเบรต
ซึ่งก็คือท่านควรจะหาน้ำยาที่มีพีเอชมาตรฐาน 10
มาคาลิเบรตครับ
อะไรบ้างครับ ที่มีน้ำยาคาลิเบรต และควรจะคาลิเบรต
นาน ๆ สักครั้ง มิเตอร์วัดที่มีน้ำยาคาลิเบรต มีดังนี้ครับ
1. pH meter น้ำยาคาลิเบรตที่มีคือ 4.01 +/- 0.01, 6.86
+/- 0.01, 7.01 +/- 0.01, 9.18 +/- 0.01, 10.01 +/-
0.01 แต่ที่นิยมใช้กันมาก ๆคือที่ highlight ไว้นะครับ
2. ORP meter น้ำยาคาลิเบรตที่มีคือ 240 mv
3. Conductivity meter น้ำยาคาลิเบรตที่มีคือ 1413 us/cm
84 us/cm และ 12880 us/cm
น้ำยามาตรฐานสำหรับ TDS Meter ค่ามาตรฐาน
1382 mg/L(ppm) และค่ามาตรฐาน 1500 mg/L(ppm)
สารละลายมาตรฐานสำหรับ pH meter
.
ไม่เพียงเท่านั้นน้ำยาสำหรับ เครื่องวัดแบบพกพานั้นยังมี
น้ำยารักษาหัววัด รวมทั้งน้ำยาทำความสะอาดหัววัดด้วยครับ
น้ำยารักษาหัววัดส่วนใหญ่จะใช้กับ pH meter และ ORP
meter ครับ เพราะว่ามิเตอร์วัดค่ากรด - ด่างแล้วถ้าจะให้ดี
ท่านควรจะใช้หัววัดชุ่มอยู่เสมอเพื่อป้องกันการเสื่อม และยืด
อายุการใช้งานของหัววัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้วถ้าเป็น พีเอ
ชมิเตอร์แบบแพง ๆ เช่น รุ่นนี้
เวลาที่ท่านเลิกใช้งานแล้วอาจจะต้องจุ่มหัววัดลงไปใน
น้ำยาตลอดเวลาเลย แต่ถ้าหากเป็นพีเอชมิเตอร์ทั่ว ๆ ไปรุ่นพก
พาแล้ว นำน้ำยามาหยดลงไปที่หัวฝาปิดสักสี่ถึงห้าหยดแล้วปิด
ฝาและตั้งตัวมิเตอร์ให้ตรงตลอดเวลาก็พอเพียงแล้วครับ
หน้าตาของน้ำยารักษาหัววัดจะเป็นเช่นนี้นะครับ
แต่ถ้าหากว่าหัววัดท่านสกปรก เช่นสกปรกจากการนำไปวัด
สารละลายที่หนือหรือข้นมาก ๆ หรือผ่านการใช้งานมาแบบต่อ
เนื่อง โดยที่มีการวัดในลักษระที่่ค่าการวัดผันผวนมาก ๆ
ลักษณะนี้แล้ว ดีที่สุดท่านต้องล้างหัววัดครับ น้ำยาที่ล้างหัววัด
จะเป็นรุ่นนี้นะครับ
ถ้าจะถามว่าแล้วมันจำเป็นแค่ไหนที่จะต้องซื้อน้ำยาเหล่านี้
เพราะว่า ตอนซื้อเครื่องมาใหม่ ๆ ก็มีแถมมาให้อยู่แล้ว คำตอบ
คือ จริงอยู่ แต่น้ำยาที่แถมมาให้นี้ส่วนใหญ่มีให้ไม่มากครับ ใช้
แล้วย่อมต้องหมดไปสักวัน หรือ บางทีน้ำยาที่แถมมาให้นี้ ท่าน
อาจจะต้องนำไปเตรียมเอง เพราะมันมาเป็นสารเคมีผงที่อยู่ใน
ซองสามซอง (เช่นของ pH meter เป็นต้น) ซึ่งถ้าหาก
เป็นการเตรียมสารละลายเอง ท่านต้องแน่ใจด้วยว่าท่านนั้นได้
ทำอย่างถูกต้องถูกวิธี ผสมน้ำยาที่ให้มากับน้ำอย่างได้สัดส่วน
กันตามกรรมวิธีที่ระบุไว้ในฉลาก หลาย ๆ ท่านทำพลาด แล้ว
นำไปใช้อ้างอิง ซึ่งเป็นไปได้ที่จะทำให้การตรวจวัดพลาดไป
ด้วยครับ
ความน่าเชื่อถือที่สุดของการซื้อน้ำยาคาลิเบรตราคาแพง
จึงอยู่ที่ ใบรับรองจากห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ของน้ำยา
ยี่ห้อนั้น ๆ ครับ ว่าน้ำยานี้มีมาตรฐานจริง ถูกเตรียมและตรวจ
สอบอย่างแน่ใจและแน่นอนก่อนนำออกวางจำหน่าย
สำหรับ น้ำยาสารละลายมาตรฐานของ pH, ORP และ
Conductivity จะมีใบรับรองจากห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์
แนบมาด้วยครับ หน้าตาเป็นแบบนี้
แต่ถ้าเป็นน้ำยาล้างหัววัด หรือน้ำยารักษาหัววัดไม่มีใบรับรอง
ครับ เพราะไม่จำเป็นต้องอ้างอิงมาตรฐานใด ๆ
แต่ละขวดที่ผมนำมาแสดงนี้ บรรจุขวดละ 500 ml. ทั้งนี้
ระบุวัดหมดอายุด้วยครับ ส่วนราคาจำหน่ายอยู่ที่ขวดละ
1,150 ถึง1,490 บาทครับ(ถ้าน้ำยาที่เก็บถ้าใช้ยังไม่หมดจน
เลยวัดหมดอายุยังพอใช้ได้นะครับ แต่ดีสุดควรเปลี่ยนใหม่ถ้า
ท่านต้องการความแน่นอน)
ผมสาธิตวิธีคาลิเบรตมิเตอร์อย่างง่าย ๆ เลยครับให้ชม
เป็นตัวอย่างครับ
รูปด้านบนที่เห็นเป็น pH meter หรือมิเตอร์สำหรับวัดค่า
ความเป็นกรด - ด่าง รุ่น pH 8685 ที่ผมชอบรุ่นนี้ก็เพราะหน้า
จอใหญ่อ่านค่าได้ง่ายและสะดวก ไม่เพียงเท่านั้นยังคาลิเบรต
ค่าได้ง่าย มาก ๆ ด้วย
วิธีการคาลิเบรตค่าก็คือ ให้เติมน้ำยาคาลิเบรตที่ท่าน
ทราบความเข้มข้นที่แน่นอนลงไปในบีกเกอร์ให้ได้ระดับน้ำยา
ดังภาพ หลังจากนั้นให้นำมิเตอร์จุ่มลงไปครับ และกดคำว่า
Cal
ซึ่งหลังจากที่ท่านกดแล้วเครื่องจะทำการคาลิเบรตให้อัตโนมัติ
โดยวิ่งไปที่ค่า 4.0
และ ขึ้นค่า En ก็เป็นอันจบครับ
เพียงเท่านี้ท่านก็ได้พีเอชมิเตอร์ที่ทำการคาิลิเบรตค่าเรียบร้อย
พร้อมใช้งานแล้ว
มีข้อพึงสังเกตุเกี่ยว
กับน้ำยาคาิลิเบรตมิเตอร์ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่ง
ที่บางครั้งผมมองว่าเป็นเรื่องที่แปลกอยู่เหมือนกันคือว่า
สมมติว่าผมมีมิเตอร์วัดธรรมดาอยู่เครื่องหนึ่งยี่ห้อหนึ่ง จะเป็น
pH meter, ORP meter หรือ conductivity meter ก็ตามแต่
แล้วผมลองใช้น้ำยาคาลิเบรตที่มีคุณภาพ ซึ่งอาจจะไม่
ใช่ยี่ห้อเดียวกันกับมิเตอร์ของผมที่ใช้อยู่
แล้วนำมิเตอร์แบบพกพา มาคาลิเบรตกับน้ำยาที่ได้มาตรฐาน
จะพบว่าค่าที่มิเตอร์อ่านได้จะค่อนข้างนิ่งทีเดียว
ซึ่งตรงจุดนี้น่าสนใจครับ เพราะยกตัวอย่างเช่น ผมใช้
ORP meter คือมิเตอร์ที่ใช้วัดค่า ORP ไปวัดกับสารละลายทั่ว
ๆ ไปที่ผมต้องการทราบค่า ลองวัดดูแล้วปรากฎว่าค่าที่อ่าน
จากสารละลายบางสารละลายนั้นค่อนข้างแกว่งทีเดียว
ทั้งที่มิเตอร์ก็ปกติ ความหมาย คือว่าค่าที่อ่านได้ไม่ค่อยจะนิ่ง
ตรงจุดนี้ทำให้ี้พอจะอนุมานได้ว่า สารละลายใด ๆ ก็ตามที่
จะนำมาวัดนั้นที่ถูกต้องแล้วควรจะต้องมีความจำเพาะ
กับมิเตอร์นั้น ๆ ด้วยการวัดจึงจะเป็นไปในทิศทางที่ถูก
ต้อง มิเตอร์วัดแบบพกพาธรรมดา ๆ ทั่วไป ๆ ในท้องตลาด
แล้วราคาจำหน่าย อาจจะอยู่ที่หลักร้อยกว่าเหรียญ
หรือมากกว่านี้สักเล็กน้อยหรือถ้าเป็นเครื่องใหญ่ ๆ ก็อาจจะสัก
300 - 500 ร้อยเหรียญ แต่ในความคิดของผมยังคงเชื่อว่า
น้ำยาคาลิเบรตมิเตอร์ถ้าเป็นของยี่ห้อที่ดี ๆ นี้แล้วก่อนที่
จะผ่านการนำมาจำหน่ายในตลาด(ทั่วโลก)ได้
ต้องผ่านกรรมวิธีการเตรียมที่ถูกต้องและได้มาตรฐาน
จากเจ้าหน้าที่เคมีที่มีประสบการณ์ ทั้งนี้ยังอาจจะ
ต้องผ่านการวิเคราะห์จากห้องแล็บวิทยาศาสตร์
ด้วยเครื่องมือราคาแพงหลักแสนเหรียญเลยก็เป็นไปได้ครับ
ค่าที่ได้จึงมีความน่าเชื่อถือสูง
ยิ่งโดยเฉพาะน้ำยาคาลิเบรตมิเตอรที่มียี่ห้อสักหน่อย
ส่วนใหญ่แล้วเป็นสินค้านำเข้าจากต่างประเทศนะครับ
ความน่าเชื่อถือจึงยิ่งมีมากไปด้วย
ถ้าหากว่าท่านไม่ประสงค์จะซื้อขวดใหญ่แล้ว
ทางผมแบ่งบรรจุขายได้เหมือนกันครับ คือมี 2 - 3 ขนาด
ขนาดให้เลือก
คือถ้าเป็นน้ำยาคาลิเบรต พีเอช แล้วจะมี พีเอช 4, 7,
10 ขนาดบรรจุ 50 ml และ 250 ml ราคาจำหน่าย
อยู่ที่ขวดละ 150 บาทและ 520 บาท
น้ำยาคาลิเบรต ค่าการนำไฟฟ้า หรือน้ำยาคาลิเบรต
EC meter มีสองขนาดบรรจุเช่นกัน 50 ml กับ 250 ml
เป็นน้ำยาที่ความเข้มข้น 1,413 ไมโครซีเมนต์ ราคาจำหน่าย
อยู่ที่ขวดละ 150 บาทและ 580 บาท
น้ำยาคาลิเบรต ค่าORP หรือน้ำยาคาลิเบรต ORP
meter เป็นน้ำยาที่ความเข้มข้นมาตรฐาน 240 mv
มีสองขนาดบรรจุเช่นกัน คือ 50 ml กับ 250 ml
น้ำยาตัวราคาสูงกว่าครับ คือจำหน่ายที่ขวดละ 220 บาท
และ 780 บาทครับ
หรือถ้าหากท่านต้องการน้ำยาคาลิเบรต พีเอช
มิเตอร์ที่ราคาย่อมเยาลง ขนาดกะทัดรัด ขวดละ 480 cc
ได้รับมาตรฐานมีใบ Certificate แนะนำเป็นรุ่นด้านล่างครับ
บรรจุหีบห่อซีลเรียบร้อย
ส่วนน้ำกลั่นขวดย่อยก็มีจำหน่ายเช่นกันครับ
น้ำกลั่นนี่สำคัญมากครับ มันจำเป็นสำหรับใช้คาลิเบรตมิเตอร์
ใช้ล้างอุปกรณ์ หรือแม้แต่ใช้ผสมกับสารเคมีโดยตรง ฯลฯ
น้ำกลั่นนี่ปกติถ้าไปซื้อตามร้านจะไม่ขายปลีกครับ
ขายก็ต้องยกถัง ยกกลับบ้านไม่ไหว
ของผมแบ่งย่อยเป็นขวดละ 1,000 cc หรือ 1 ลิตรครับ
ข้อดีคือไม่ปนเปื้อนโดยง่าย
ถ้าขวดใดปนเปื้อนก็เปลี่ยนใช้ขวดอื่นครับ
และจะเก็บได้ง่ายกว่าด้วย