มิเตอร์วัดความเค็มของอาหารที่รับประทาน, มิเตอร์วัด
ความเค็มของอาหาร Model : SB-2000
3,800.- ผมอนันต์ครับ Tel.0868910596
กระะผมมั่นใจว่าถ้าเป็นเรื่องของสุขภาพแล้วท่านต้องให้ความสนใจเป็นสิ่ง
แรก สุขภาพนั้นซื้อไม่ได้ด้วยสตางค์ การควบคุมระดับน้ำตาลในอาหารหรือ
แม้แต่ระดับความเค็มในอาหารนั้นมีผลอย่างยิ่งต่อสุขภาพ ปกติแล้วคนธรรมดา
ที่สมบูรณ์มักจะไม่ค่อยให้ความใส่ใจกับระดับความเค็มของอาหาร แต่ทั้งนี้
สำหรับผู้ป่วย หรือบุคคลที่มีความจำเป็นที่ต้องควบคุมระดับความเค็ม เช่น ผู้มี
โรคประจำตัว อาทิ โรคไต โรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ การควบคุมเป็นสิ่งสำคัญ
หรือแม้แต่ถ้าท่านเป็นบุคคลที่มีสุขภาพสมบูรณ์แล้วการควบคุมดังกล่าวกระผม
ก็ยังว่ามีความจำเป็น
มิเตอร์รุ่นนี้ออกแบบมาเพื่อสำหรับวัดความเค็มของอาหารโดยเฉพาะ ใช้งาน
ง่าย เพียงแค่จุ่มลงไปในอาหารที่ท่านต้องการจะวัดก็สามารถวัดได้แล้ว วัดได้
ในช่วงความเค็ม 0 - 5.4 เปอร์เซ็นต์(ความละเอียด 0.1 เปอร์เซ็นต์)
หรือ 0 - 54,000 ppm ของโซเดียมคลอ
ไรด์(เกลือแกง) ทั้งนี้ในชุดมิเตอร์ยังมีฐานให้เสียบวางด้วย ท่านไม่ต้องทำอะไร
ไม่มีปุ่มอะไรให้กดสำหรับมิเตอร์นี้เพียงแต่ท่านจุ่มลงไปในอาหารค่าก็ขึ้นมาและ
ล็อกค่าเอง ทราบได้โดยการสั่นของมิเตอร์
มิเตอร์สั่นครั้งแรกหมายถึงการตรวจวัดค่าได้
มิเตอร์สั่นอีกครั้งหมายถึงการล็อกค่าที่วัดหรืออ่านได้ให้อยู่นิ่ง
หลังจากการสั่นของมิเตอร์ทั้งสองครั้ง
ท่านสามารถยกมิเตอร์ขึ้นมาเพื่ออ่านค่าได้เลย
โดยไม่ต้องกังวลว่าค่าจะเปลี่ยนกลับไปที่เลข 0 เหมือนเดิม
กระผมมั่นใจอีกว่าถ้าท่านเป็นผู้ประกอบการร้านอาหารที่มีชื่อเสียง หรือ
แม้แต่ภัตตาคาร ฯลฯ แล้ว การควบคุมระดับความเค็ม หรือแม้แต่การเก็บข้อมูล
ไว้เพื่อเป็นผลต่อการปรับปรุงคุณภาพและรสชาดของอาหารที่ดียิ่ง ๆ ขึ้น และ
เพื่อประกอบอาหารให้มีรสชาดที่คงมีความคงที่ทุกล็อตอาหารที่เสริฟต่อลูกค้า
มีความสำคัญเช่นกันการที่ท่านจะมีมิเตอร์รุ่นนี้ไว้ใช้งานในครัวเป็นสิ่งที่ท่านควร
พิจารณาครับ
ลองตรวจสอบสเปคของมิเตอร์รุ่นนี้ดูก่อนครับ
ด้านล่างนี่คือคู่มือการใช้งานครับ ท่านลองพิจารณาดูจะทราบว่าเป็นข้อมูลที่มี
ประโยชน์มาก ๆ ครับ คือจะบอกถึงลักษณะอาหารแต่ละประเภทว่าควรจะมีระดับ
ความเค็มอยู่ที่เท่าไร(ดูในหัวข้อ Recommended Salinity) ข้อมูลลักษณะเช่น
นี้สำคัญนะครับ เพราะอะไร เพราะว่ามิเตอร์รุ่นนี้ผลิตจากต่างประเทศครับ(ของ
เกาหลี) ผมเชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยทราบว่าอาหารต่างประเทศแล้ว
ควรมีระดับความเค็มอยู่ที่เท่าไรจึงจะเหมาะสม การที่เขาระบุความเค็มที่จำเพาะ
ของอาหารมาให้เป็นผลดีต่อการปรับปรุงคุณภาพอาหารของคนไทยที่จะ
จำหน่ายให้กับคนของเขาหรือนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวเมืองไทยว่า เขาจะได้รับ
ประทานอาหารที่มีคุณภาพใกล้เคียงกับอาหารที่เขาัรับประทานที่ประเทศของ
เขาเอง
อีกหัวข้อหนึ่งที่มีความน่าสนใจเช่นกันและผมค่อนข้างมั่นใจว่าจะมีประโยชน์
มาก ๆ เลยนั่นคือ ถ้าสมมติว่าอาหารที่ท่านจะวัดมีค่าความเค็มเกินกว่าที่ระดับ
มิเตอร์นี้จะวัดได้(5.4 เปอร์เซ็นต์) ท่านจะประยุกต์เช่นไรจึงจะวัดกันได้
คำตอบอยู่ในห้วข้อ How to measure beyond 5% Salinity ครับ คือกล่าว
ให้เข้าใจง่าย ๆ แบ่งสารละลายอาหารที่จะวัดเช่น สารละลายที่เค็มค่อนข้างมาก
เช่น ซีอิ้ว น้ำปลา น้ำเกลือ น้ำเกลือเข้มข้นสำหรับดองเกี๋ยมฉ่าย ฯลฯ มาหนึ่ง
ช้อนโต๊ะ หลังจากนั้นให้เติมน้ำลงไป 9 ส่วน(เก้าช้อนโต๊ะ) คนให้เข้ากันแล้วนำ
มาวัดค่า ค่าที่ท่านอ่านได้เท่าไรให้คูณด้วย 10 ก็จะเป็นค่าของสารละลายนั้น ๆ
ครับ เช่นถ้าอ่านค่าได้เท่ากับ 2.2 เปอร์เซ็นต์ ก็ให้คูณด้วย 10 ก็จะเป็นค่าสาย
ละลายที่ถูกต้องคือ 22 เปอร์เซ็นต์ครับ
ในส่วนตัวของกระผมแนวทางของการประยุกต์เป็นสิ่งที่ควรต้องศึกษา เพราะ
ถ้าหากท่านประยุกต์ใช้ไม่เป็น และอาหารหรือสารละลายที่ท่านวัดมีค่าเกินกว่า
5.4 เปอร์เซ็นต์ ท่านก็ต้องไปหา Refractometer รุ่นที่วัดความ
เค็มของสารละลายได้มาก ๆ ซึ่งสามารถวัดได้ 28 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าท่านไม่
ต้องการจะไปซื้อเครื่องวัดค่าที่วัดได้มากกว่า 5.4 เปอร์เซ็นต์แล้วการประยุกต์
ใช้จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งครับ
กระผมเรียนว่ามิเตอร์วัดความเค็มของอาหารที่ผมมีจำหน่ายนี้มีด้วย
กันสองรุ่น รุ่นแรกราคาจะย่อมเยากว่าครับคืออยู่ที่ 2,800 บาท แต่รุ่นที่ผมแสดง
ในหน้าเวบนี้ ราคาจะสูงกว่า แต่ทั้งนี้คุณภาพการใช้งานรวมทั้งความง่ายก็
จะดีกว่าสะดวกกว่าด้วย
เวลาที่ท่านวัดนี้เวลาเครื่องบันทึกค่าการวัด(Detect) จับค่าเกลือได้เครื่อง
จะสั่นให้ท่านทราบได้เลย ในจุดนี้ถามว่ามีประโยชน์และสำคัญตรงไหน
ประโยชนและความสำคัญ์คือท่านสามารถทราบค่าความเค็มในอาหารที่ท่าน
ต้องการวัดได้ทันทีโดยที่ท่านเองก็ไม่ต้องก้มลงไปมองที่หน้าจอมิเตอร์
เพราะว่าหลังจากเครื่องสั่นแล้วมันจะล็อกค่าความเค็ม
ให้เองโดยอัตโนมัติ ทั้งนี้ให้ท่านยกมิเตอร์ขึ้นจากอาหารมาอ่านค่าที่หน้าจอ
ได้เลย
แต่โดยปกตแล้วิถ้าเป็นมิเตอร์วัดความเค็มของอาหารรุ่นอื่นแล้ว เวลาท่าน
จะอ่านค่าความเค็มของอาหารที่วัดได้ ท่านจำเป็น
ต้องก้มลงไปมองที่หน้าจอเสมอโดยที่ยังห้ามยกมิเตอร์ขึ้นมาจากอาหาร ไม่เช่น
นั้นถ้าหากท่านยกมิเตอร์ขึ้นมาจากอาหารแล้วค่าที่วัดได้จากหน้าจอจะเคลื่อน
หรือเปลี่ยนไปครับ ตรงนี้กระผมเข้าใจดีโดยเฉพาะ
ถ้าหากท่านทำงานในแผนกอาหารในโรงงานอุตสาหกรรม โรงแรมแล้วเวลาเร่ง
ๆ แล้วท่านจะยุ่งมาก ๆ เลย การที่ท่านจุ่มมิเตอร์ลงไปในอาหารแล้วแค่รอ
ให้เครื่องสั่นโดยไม่ต้องก้มลงไปมองถือได้ว่าทุ่นเวลาลงไปได้มาก
และการทำงานจะผิดพลาดน้อยลงครับ ความหมายผมคือความผิดพลาด
จากการอ่านค่าผิด เนื่องจากต้องก้มลงไปมองที่หน้าจอของเครื่อง โดยที่
ยังยกมิเตอร์ขึ้นมาไม่ได้ และโดยเฉพาะ้ถ้าอาหารที่ท่านวัดยังร้อน
อยู่โอกาสที่ท่านจะอ่านค่าตัวเลขที่วัดได้จากหน้าจอผิดไปก็ยิ่งมีมาก เพราะท่าน
ต้องรีบอ่าน(มันร้อนมือ)
แนะนำนะครับ สำหรับท่านที่ชอบมิเตอร์วัดค่าความเค็มของอาหารระดับ
พรีเมี่ยม(Premium) รุ่นนี้ผมจำหน่ายกับโรงแรม, ร้านอาหารใหญ่ ๆ มีชื่อเสียง
แนะนำท่านเป็นรุ่นนี้ครับ
ใช้ถ่านไฟฉายก้อนเดียวเป็นแหล่งพลังงานครับ
เวลาวัดให้วัดให้จุ่มมิเตอร์ลงไปในอาหารที่จะวัดครับ อย่า
ให้ปลายมิเตอร์โดนขอบ ๆ ภาชนะ หรือก้นภาชนะนะครับ ให้ลอยอยู่
ในน้ำแกงอาหาร หลังจากที่เครื่องบันทึกค่าความเค็มที่อ่านได้แล้ว เครื่อง
จะสั่นจนมือท่านรู้สึกได้ ทั้งนี้มันจะสั่น 2 สั่น(เว้นระยะสักเล็กน้อย)
ให้ท่านรอจนเครื่องมันสั่นครั้งที่ 2 ก่อนครับ จึงค่อยยกมิเตอร์ขึ้นมาอ่านค่า
ท่านจะเห็นว่าหลังจากที่ผมยกมิเตอร์ขึ้นมาแล้วค่าก็ยังคงค้างอยู่
เพราะเครื่องวัดมันล็อกค่าที่อ่านได้โดยอัตโนมัติครับ
หลังจากอ่านค่าได้แล้วนั้นให้ท่านล้างมิเตอร์ด้วยน้ำสะอาด แล้วทิ้งไว้ เครื่องมัน
จะปิดอัตโนมัติให้เองครับ ไม่ต้องไปทำอะไรมัน เครื่องรุ่นนี้ไม่มีปุ่มอะไรเลยครับ
ใช้งานง่ายมาก ๆ ใคร ๆ ก็ใช้ได้ครับ
ข้อควรระวัง
1. อุณหภูมิของอาหารที่จะวัดไม่ควรเกินกว่า 90 องศาเซลเซียสครับ
2. เวลาวัดอาหารร้อน ๆ ระวังอย่าให้มิเตอร์ตกลงไปในอาหารหรือน้ำแกงครับ
เพราะจะทำให้เครื่องชำรุดได้ และอาหารจะปนเปื้อนไปด้วย
3. ระวังอย่าทำเครื่องตกพื้น หรือกระทบกับของแข็งเพราะจะทำให้ชำรุดได้
หากท่านกำลังมองหามิเตอร์ปากกาลักษณะนี้ที่จะสามารถวัดเปอร์เซ็นต์ความ
เค็มได้มากกว่านี้แล้ว คือจะสามารถวัดได้ตั้งแต่ 0.0 - 10.0 เปอร์เซ็นต์ความเค็ม
ท่านต้องเลือกใช้รุ่น SB-2000 Pro ครับ