เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิอาหารแบบหน้าปัทม์เข็ม
950 บาทครับ ผมอนันต์ Tel.0868910596
เป็นเทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิอาหารอีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นแบบเข็มวัด สำหรับ
ท่านที่ไม่ชอบระบบดิจิตอล ความทนทานดีกว่า แข็งแรงกว่า ก้านวัดสั้นกว่าเล็ก
น้อย(ยาว 5 นิ้ว) ตัดปัญหาเรื่องเครื่องรวน เพราะเครื่องเป็นเทอร์โมมิเตอร์
ธรรมดา ไม่ได้ใช้แบตเตอรี่ มีให้เลือก 3 ช่วงการวัดครับ คือ -40 องศาถึง 70
องศาเซลเซียส, -10 องศาถึง 100 องศาเซลเซียส และ 0 - 250 องศาเซลเซียส
ใช้งานง่ายครับ
รุ่นนี้เป็นช่วงการวัดติดลบ 40 ถึง 70 องศาเซลเซียส
วัดขนาดความยาวของเทอร์โมมิเตอร์นี้
เทอร์โมมิเตอร์ช่วงการวัดที่สามารถวัดอุณหภูมิได้ในช่วงติดลบ
มาก ๆ นี้ ส่วนใหญ่จะเหมาะสมกับงานที่ใช้ของแข็งของแช่แข็ง เพื่อ
ตรวจสอบคุุณภาพสินค้าว่า สินค้านี้อยู่ในสภาพอุณหภูมิที่เหมาะสม
แล้วหรือไม่อันจะหมายถึงคุณภาพสินค้าที่มีคุณภาพและน่าเชื่อถือ
ยกตัวอย่างเช่น อุณหภูมิของทุเรียนสดแช่แข็งประเทศไทย
ที่จะมีคุณภาพเหมาะสมที่จะบรรจุเพื่อส่งไปยังต่างประเทศ หากเจาะ
เข้าไปในใจกลางทุเรียนแล้ววัดแล้ว อุณหภูมิที่ควรจะอ่านได้จะต้อง
อยู่ที่ ติดลบ 18 องศาเซลเซียส เพื่อเป็นการยืนยันอุณหภูมินี้สิ่งที่จะ
ต้องใช้คือเทอร์โมมิเตอร์ลักษณะนี้ และเพื่อให้สิ่งที่ตรวจวัดได้มี
ความน่าเชื่อถือสูงสุด เทอร์โมมิเตอร์นี้ก็จำเป็นต้องนำไปสอบเทียบ
กับศูนย์สอบเทียบที่มีมาตรฐาน เพื่อยืนยันอุณหภูมิในการสอบเทียบ
กับอุณหภูมิที่เทอร์โมมิเตอร์อ่านได้จริงว่า มีค่าผิดหรือต่างกันไป
มากน้อยเพียงใด
กระบวนการในการสอบเทียบกินเวลาประมาณ 7 - 10 วัน หาก
สินค้าใดที่ไม่สามารถสอบเทียบผ่าน ศูนย์สอบเทียบจะแจ้งให้ทราบ
และไม่สามารถออกใบสอบเทียบให้ได้ ด้านล่างนี้เป็นเอกสารการ
สอบเทียบสินค้าจริง โดยสุ่มช่วงการสอบเทียบที่อุณหภูมิติดลบ 20,
ติดลบ 18 และติดลบ 10 องศาเซลเซียส เจตนาของการสอบเทียบ
ที่แจ้งมาคือต้องการสอบเทียบที่อุณหภูมิติดลบ 18 องศาเซลเซียส
ประโยชน์เพื่อนำไปวัดอุณหภูมิใจกลางทุเรียนสด ผลการสอบ
เทียบเป็นไปและยืนยันได้จากเอกสารด้านล่างนี้
จะพบว่าเทอร์โมมิเตอร์รุ่นนี้ จากผลของการสอบเทียบแล้วพบ
ว่ามีค่าความเบี่ยงเบนของอุณหภูมิที่เทอร์โมมิเตอร์นี้วัดได้กับ
อุณหภูมิมาตรฐานน้อยมาก ๆ ยกตัวอย่างเช่นที่อุณหภูมิติดลบ 18
องศาเซลเซียสที่ต้องการทดสอบวัด อุณหภูมิมาตรฐานที่ตั้งไว้ใน
ห้องทดสอบอยู่ที่ติดลบ 18 องศาเซลเซียส เมื่อนำเทอร์โมมิเตอร์นี้
มาทำการทดสอบ(เรียกเทอร์โมมิเตอร์นี้ว่า Unit under
Calibration) เทอร์โมมิเตอร์นี้จะอ่านค่าได้เท่ากับ ติดลบ 18 องศา
เซลเซียสซึ่งก็คืออ่านค่าได้เท่ากันเพราะฉะนั้นค่าความถูกต้องหรือ
ค่า Correction เท่ากับ 0 องศาเซลเซียส โดยมีความเบี่ยงเบน
ความไม่แน่นอนของการตรวจวัด (Uncertainty Measurement)
อยู่ที่บวก/ลบ 0.31 องศาเซลเซียส
ด้านล่างนี้เป็นผลของการสอบเทียบอุณหภูมิ ณ จุดอื่น ๆ จาก
เทอร์โมมิเตอร์อันเดียวรุ่นเดียวกันนี้ ่จะพบว่ามีค่าความถูกต้องที่อยู่
ในระดับที่เชื่อถือได้และเบี่ยงเบนน้อยมาก ๆ
24mm Dial Pocket Test Thermometer
เป็นเทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิอาหารอีกชนิดหนึ่ง สำหรับท่านที่ชอบ |
Stainless Steel case, spiked probe case and pocket clip.
|
สามารถใส่กับปลอกเก็บเพื่อใช้ถือใช้วัดอีกลักษณะหนึ่ง
อีกรุ่นจะเป็นช่วงการวัด ติดลบ 40 - 70 องศาเซลเซียส และยังมี
สเกลขององศาฟาเรนไฮน์ด้วยคือช่วงการวัด ติดลบ 40 ถึง 160
องศาฟาเรนไฮน์ ความละเอียด 2 องศาเซลเซียส และ 2 องศา
ฟาเรนไฮน์ ก็วัดขนาดให้ดูครับ
ข้อดีของเทอร์โมมิเตอร์รุ่นนี้คือ มีหน่วยองศาฟาเรนไฮน์ด้วย ซึ่ง
จากประสบการณ์ในการจำหน่ายแล้ว สำหรับเทอร์โมมิเตอร์ในช่วง
การวัดที่อุณหภูมิต่ำ ๆ ติดลบ หากเป็นเทอร์โมมิเตอร์แบบเข็มวัด
แล้วมักจะไม่มีหน่วยองศาฟาเรนไฮน์
อีกรุ่นจะเป็นช่วงการวัด 0 - 220 องศาเซลเซียส
ความละเอียด 2 องศาเซลเซียส วัดขนาดให้ดูครับ
ส่วนรุ่นนี้จะเป็นช่วงการวัด 0 - 110 องศาเซลเซียส
ความละเอียด 1 องศาเซลเซียส วัดขนาดให้ดูครับ
ส่วนรุ่นนี้จะเป็นช่วงการวัดติดลบ 40 - 70 องศาเซลเซียส
ความละเอียด 1 องศาเซลเซียส วัดขนาดให้ดูครับ
ท่านครับประโยชน์อีกอย่างของเทอร์โมมิเตอร์วัดอาหารแบบเข็มรุ่นที่กระ
ผมจำหน่ายนี้คือ มันออกแบบให้สามารถวัดอาหาร
โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่ร้อน ๆ เช่น น้ำแกง,
น้ำมันทอดอาหารร้อนมาก ๆ หรือแม้แต่สารเคมีอันตราย
โดยที่ท่านจะไม่ต้องกังวลว่าจะไปอยู่หรือเข้าใกล้ส่งนั้นมากจนเกินไป
ซึ่งอาจะเป็นอันตรายกับมือท่านได้
หรืออาจจะไม่ค่อยถูกสุขลักษณะในกรณีที่ท่านยกไปเสริฟให้ลูกค้า
คือให้ใช้วิธีที่ผมทำตามนี้ครับ
เพราะปลอกหรือฝักเก็บเทอร์โมมิเตอร์นั้นได้ถูกออกแบบมาให้เสียบเข้ากั
บตัวเทอร์โมมิเตอร์ได้ดังที่แสดงนี้ครับ
ด้านล่างนี้เป็นเทอร์โมมิเตอร์อีกรุ่นที่นิยมนำมาวัดอาหาร ก้านวัดออกแบบ
มาให้ยาวขึ้น ส่วนหน้าปัทม์ก็จะมีสองสเกลคือหน่วยองศาฟาเรนไฮน์และ
หน่วยองศาเซลเซียส ช่วงอุณหภูมิที่วัดได้คือ 0 ถึง 250 องศา
เซลเซียส(ความละเอียด 5 องศาเซลเซียส) หรือ 32 ถึง 480 องศา
ฟาเรนไฮน์(ความละเอียด 10 องศาฟาเรนไฮน์)
และบทประยุกต์ของเทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิอาหารอีกอย่างก็คือ
มันวัดอุณหภูมิของอากาศได้ด้วยครับ
เพราะว่าเทอร์โมมิเตอร์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้วัดอุณหภูมิอากาศโดยเฉพาะ
แล้วจะนำไปวัดอุณหภูมิของอาหารไม่ได้ เพราะไม่มีโพรบวัด
แต่เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิอาหารในลักษณะที่เห็นนี้หากท่านถือให้มัน
ลอยอยู่ในอากาศแล้ว อุณหภูมิที่อ่านได้พูดง่าย ๆ
ก็คืออุณหภูมิของอากาศนั่นเอง
อย่างเช่นในกรณีที่ผมถืออยู่นี้อ่านอุณหภูมิได้เท่ากับ 23 องศาเซลเซียส
(อยู่ในห้องปรับอากาศครับ)
แต่ต้องด้วยระวังว่าเวลาวัดห้ามนำมือไปจับที่โพรบวัดเด็ดขาด
เพราะมิเช่นนั้นจะเท่ากับว่าเทอร์โมมิเตอร์กำลังวัดอุณหภูมิของมือท่าน
มีผู้ใช้หลายท่านที่ซื้อเทอร์โมมิเตอร์ลักษณะนี้ไปประยุกต์ใช้วัดอุณหภูมิ
ในท่อแอร์ ท่อความร้อน เพื่อวัดอุณหภูมิอากาศในท่อก็มีครับ
หรือถ้าหากท่านต้องการใช้แบบมืออาชีพจริง ๆ
แล้วต้องใช้เทอร์โมมิเตอร์หน้าปัทม์ใหญ่จะเหมาะครับ
แต่ราคาจะสูงกว่าพอควรนะครับ หน้าปัทม์เส้นผ่านศูนย์กลาง 2 นิ้ว
ก้านโพรบยาว 8 นิ้ว ทำด้วยแสตนเลสทั้งตัว
ทั้งนี้มีที่พักไว้เสียบหรือเหน็บกับข้างหม้อต้ม หม้อนึ่ง
หรือภาชนะทำอาหาร เพื่อวัดอุณหภูมิโดยไม่ต้องถือด้วยมือได้ด้วย
ลองชมดูครับ แบบรุ่นนี้ใช้ในร้านกาแฟดังครับ
ผมลองถ่ายเทียบกับมือผมเองให้ดูครับ
จะเห็นว่าขนาดใหญ่และโพรบยาวใช้ได้ทีเดียว
สำหรับเทอร์โมมิเตอร์แบบแท่งแก้วที่ไม่ใช่เทอร์โมมิเตอร์ชนิด ASTM ช่วง
การวัดที่ไปได้ไกล ๆ ก็มีเช่นกัน เช่น ช่วงการวัด ติดลบ 10 ถึง 260 องศา
เซลเซียส ความละเอียด 1 องศาเซลเซียส ตามภาพด้านล่าง
สนใจสินค้า ผมอนันต์ครับ Tel.0868910596