2,300 บาท ผมอนันต์ครับ Tel.0868910596
มิเตอร์อิเลคโทรนิกส์รุ่นนี้ ใช้ตรวจวัดค่ากรด-ด่าง (pH) และระดับความสมบูรณ์ของดิน โดยสามารถวัดระดับ pH ได้ตั้งแต่ 0 - 9 ซึ่งค่าที่เหมาะสมกับต้นไม้ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ระดับ 6 - 7 และเมื่อปรับปุ่มมิเตอร์ไปที่ Fertilizer Analysis จะเป็นการวัดความสมบูรณ์ของดินซึ่งแบ่งเป็นช่วง 3 ช่วง คือ
- Too Little หมายถึง มีปริมาณไนโตรเจน (N) น้อยกว่า 50 PPM, ฟอสฟอรัส (P) น้อยกว่า 4 PPM, โปแตส (K) น้อยกว่า 50 PPM
- Ideal หมายถึง มีปริมาณไนโตรเจน (N) 50 - 200 PPM, ฟอสฟอรัส (P) 4 - 14 PPM, โปแตส (K) 50 - 200 PPM ซึ่งเป็นช่วงค่าที่เหมาะสมที่สุด
- Too much หมายถึง มีปริมาณไนโตรเจน (N) มากกว่า 200 PPM, ฟอสฟอรัส (P) มากกว่า 14 PPM, โปแตส (K) มากกว่า 200 PPM
ด้วยมิเตอร์รุ่นนี้ทำให้สามารถวัดค่ากรด - ด่าง และความสมบูรณ์ของดินในสวน หรือในไร่นาได้ทุกที่ทุกเวลา และบ่อยเท่าที่ต้องการ ทำให้สามารถปรับปรุงและดูแลคุณภาพดินได้อย่างรวดเร็ว ทันท่วงทีได้ด้วยตัวคุณเอง
- มีคู่มือการใช้ภาษาไทย
- ใช้ถ่านขนาด AA 1.5 V.
- ใช้งานง่ายเพียงเลื่อนปุ่มไปยังค่าที่ต้องการวัด เสียบขามิเตอร์ลงในดินตัวอย่างที่เตรียมมา เพียงไม่กี่วินาทีก็ทราบผลได้ทันที
- สินค้านำเข้าจากประเทศอเมริกา
ถ้าท่านประสงค์จะอ่านคู่มือการใช้งานก่อนเบื้องต้น
คู่มือการใช้งาน Ferry Morse Soil Electronic Tester
คำเตือน : มิเตอร์ชนิดนี้คาลิเบรทเป็นพิเศษสำหรับการใช้ในดิน ห้ามใช้ในน้ำ หรือสารละลายอื่น ๆ
: ห้ามปักมิเตอร์ลงในดินที่แข็ง แห้ง หรือที่มีเศษอิฐ เศษหิน เพราะอาจทำให้มิเตอร์ได้รับความเสียหายได้ ให้ปฎิบัติตามวิธีการเตรียมดินในคู่มือนี้เท่านั้น
การใช้มิเตอร์วัดค่าความสมบูรณ์ของดิน
1. ขุดหน้าดินออกประมาณ 2 นิ้ว หลังจากนั้นขุดดินในชั้นต่อไปให้ลึกประมาณ 5 นิ้ว แล้วตีดินให้แตกละเอียด ขยี้ให้เป็นชิ้นละเอียด
2. รดน้ำลงในดินให้ทั่วจนเป็นโคลนข้น(ควรใช้น้ำฝนหรือน้ำกลั่นในการรด)
3. ทำความสะอาดขามิเตอร์ให้สะอาดด้วยกระดาษทิชชู หรือกระดาษชำระ
4. ปรับปุ่มไปยังตำแหน่งซ้ายสุด (Fertility)
5. เสียบขามิเตอร์ลงไปในดินจนดินห่างจากขอบมิเตอร์ประมาณ 1 นิ้ว ทิ้งไว้ประมาณ 10 วินาทีเพื่อให้ค่าการอ่านนิ่งก่อน
6. จดบันทึกค่าที่อ่านได้ ดึงมิเตอร์ออกแล้วทำความสะอาดให้ทั่ว
ค่ามาตรฐานที่มิเตอร์ได้ทำการคาลิเบรทไว้ เป็นดั่งตารางข้างล่าง
Too Little(น้อยเกินไป) Ideal Range(เหมาะสม) Too much(มากเกินไป)
ไนโตรเจน 50 ppm 50 ถึง 200 ppm 200 ppm ขึ้นไป
ฟอสฟอรัส 4 ppm 4 ถึง 14 ppm 14 ppm ขึ้นไป
โปแตสเซียม 50 ppm 50 ถึง 200 ppm 200 ppm ขึ้นไป
*** ppm หมายถึง ส่วนในล้านส่วน
ถ้าการทดสอบอ่านค่าได้ว่า "Too Little"
ให้ใส่ปุ๋ยเพิ่มเติมเพื่อปรับปรุงสภาพ และเพิ่มแร่ธาตุในดินให้เหมาะสมกับพืชผักที่ปลูกโดยทันที
ถ้าการทดสอบอ่านค่าได้ว่า "Ideal"
ให้ใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมกับพืชผักที่ปลูกอยู่ตามปกติแต่ละช่วงเวลาของปี
ถ้าการทดสอบอ่านค่าได้ว่า "Too Much"
1. รดน้ำให้ทั่วดินเพื่อล้างปุ๋ยที่มากเกินไปออก
2. ถ้าเป็นไม้กระถางให้เปลี่ยนดินใหม่
3. อย่าใส่ปุ๋ยใด ๆ เพิ่มลงไป คุณสามารถใส่ปุ๋ยคอก ใบไม้หมัก เศษพืชผัก ใบไม้แห้ง หรือวัสดุธรรมชาติในดินได้
การใช้มิเตอร์วัดความเป็นกรด - ด่างของดิน(Ph)
1. ขุดหน้าดินออกประมาณ 2 นิ้ว หลังจากนั้นขุดดินในชั้นต่อไปให้ลึกประมาณ 5 นิ้วแล้วตีดินให้แตก ขยี้ให้เป็นชิ้นละเอียด นำเศษหิน ซากพืช เช่นใบไม้ กิ่งไม้ ออกไปให้หมด เพราะจะมีผลต่อค่าที่ได้
2. รดน้ำลงในดินให้ทั่วจนเป็นโคลนข้น(ควรใช้น้ำฝน หรือน้ำกลั่นในการรด)
3. เลื่อนปุ่มไปตำแหน่งขวาสุด (PH)
4. ทำขามิเตอร์ให้เปียกด้วยน้ำสะอาด แล้วเช็ดถูขามิเตอร์ด้วยผ้าสะอาด
5. เสียบขามิเตอร์ลงไปในดินจนสุดถึงขอบมิเตอร์
6. รอประมาณ 1 นาทีแล้วจึงอ่านค่า
7. ทำความสะอาดมิเตอร์ แล้วเช็ดให้แห้ง
ด้านล่างคือ PH ของดินที่เหมาะสมของพืชแต่ละชนิด
การปรับค่าความเป็นกรด - ด่างของดิน
ให้เติมปูนขาวลงในดินที่มีความเป็นกรดสูง และเติมซัลเฟอร์ หรือ ซัลเฟต ในดินที่มีความเป็นด่าง ปริมาณการใช้ขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์ที่ใช้ และชนิดของดิน ให้ใช้ตามคำแนะนำข้างถุง วิธีการเพิ่ม หรือลดค่ากรดด่างเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน การปรับค่า PH ต้องใช้เวลา ดังนั้นอย่าคาดหวังการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ต้องคอยดูแลอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้สภาพดินกลับมาดีดังเดิม
การคาลิเบรทมิเตอร์
ให้ใช้ผ้าใยสีขาวที่อยู่ในกล่อง ขัดคราบสกปรกที่ติดอยู่บนขามิเตอร์ออกให้หมด(อาจใช้กระดาษทรายเบอร์ 0 หรือผ้าใยขัดคราบสกปรกอื่น ๆ ) สังเกตุจากขามิเตอร์ให้เป็นเงา ห้ามใช้สารเคมี หรือสารเคลือบ ใด ๆ ทำความสะอาดขามิเตอร์เด็ดขาด เพราะอาจจะทำให้ค่าที่ได้จากการวัดคลาดเคลื่อนได้
การตรวจสอบคุณภาพปุ๋ย
ให้นำปุ๋ยที่ต้องการทดสอบคุณภาพใส่ภาชนะที่สะอาด และสูงพอให้ขามิเตอร์เสียบลงไปได้เกือบทั้งขา แล้วเติมน้ำกลั่นเล็กน้อยพอให้ปุ๋ยเปียก ปรับปุ่มมิเตอร์ไปที่ตำแหน่ง Fertility เสียบขามิเตอร์ลงไปในปุ๋ยตัวอย่าง ค่าที่อ่านได้ควรจะอยู่สุดขอบของแถบ Too Much ซึ่งแสดงว่าปุ๋ยที่วัดมีธาตุอาหารสูง แต่ถ้าเข็มไม่ขึ้นหรืออยู่ในตำแหน่ง Too Little หรือ Ideal แสดงว่าปุ๋ยที่วัดมีธาตุอาหารต่ำ เมื่อนำไปใส่ในดินธาตุอาหารก็จะยิ่งเจือจางลงไปอีก ซึ่งแสดงว่าปุ๋ยนั้น ๆ ขาดคุณภาพหรือมีคุณภาพไม่ถึงตามที่ระบุไว้