Portable Alcohol Refractometer (0-80%) with Automatic
Temperature Compensation (RHW-80ATC)
ราคา 2,500 บาท
ผมอนันต์ โทร 086-8910596
Product Description:
Engineered specifically to quickly determine the alcohol content of wine, beer, juices,
whisky, vodka and a variety of other liquors. RHW-80ATC works with distilled liquids
such as wheat beer and red wine, but supplies the best results in distilled alcoholic
solutions in all kinds of pure alcohol such as clear, grans and liquor grain.
Measure the alcohol content accurately in seconds! All you need to do is manufacture a
distillate of the liquids to be measured, and then place the distilled sample on the prism.
The measuring procedure isn't difficult, just clean the alcohol refractometer before using
& once the distilled sample liquid is in place make sure that no air bubbles are
appearing. FULLY EQUIPPED with ATC, it automatically adjust itself to correct
temperature discrepancies during use. Because refractive index is very temperature
dependent, it is important to use a refractometer with automatic temperature
compensation (ATC) to give you the most accurate measurement in any type of
environment temperature.
Many of the refractometers on the market are made of plastic. However, people who
work with alcoholic beverages or industrial fluids on a regular basis believe that metal
refractometers provide more accurate measurements and that they simply stand up
better over time and provides you with fast, accurate results - the very same
characteristics that you get with all our Refractometers.
Get the tool that professional and nonprofessional winemakers simply can't
be without.
Features:
๑ Heavy-duty and lightweight with its aluminum construction
๑ High quality and accurate testing results are guaranteed
๑ Equipped with Built-in ATC compensation Range (Automatic Temperature Compensation) from 10° to 30° to correct temperature discrepancies during use
๑ Easy to focus & calibrate and very convenient to use
๑ Durable and built to last long
๑ Comprehensive operations manual, complete with soft & protective carrying case, pipette and mini-screw driver for easy calibration are provided for user's convenience and comfortability
Specifications:
- Measuring Range : w/w 0-80%
- Minimum Divisions : w/w 1%
- Accuracy : ±1%
- Length : 202mm
- Weight: 164g
- Heavy duty (Durable Aluminum)
Accessories included:
Pipette + 10pcs pipette more for free
Mini Screw Driver
Soft protective carrying case
Operations Manual
คุณสมบัติข้อดี
- วัดเปอร์เซ็นต์แอลกอฮอลได้สูงถึง 80%
- มีระบบ ATC (Automatic Temperature Compensation) ระบบนี้มีความหมายถึง
ค่าที่วัดได้จะมีความแม่นยำขึ้น
เพราะอุณหภูมิที่เปลี่ยนไป มีผลต่อดัชนีการหักเหของของเหลวในค่าที่อ่านได้
เครื่องที่มีระบบนี้จะปรับค่าที่ได้ให้สัมพันธ์กับอุณหภูมิเอง
- โครงสร้างตัวเครื่องทำจากโลหะจึงมีความแข็งแรง
- เหมาะสำหรับวัดสารละลายแอลกอฮอลเกือบทุกชนิด เช่น สุรา ไวน์ เบียร์ ฯลฯ
ชมภาพประกอบ
หน้าจอของจริงที่มองเข้าไปในรีแฟคโตมิเตอร์รุ่นนี้ของจริง จะได้ภาพเช่นนี้ครับ
หลักการการทำงานของ Refractometer
มีหลายท่านสงสัยว่า รีแฟคโตมิเตอร์นั้นทำงานอย่างไรหรือทำงานได้
อย่างไรในเมื่อมันไม่ใช่อุปกรณ์ไฟฟ้า แต่ทำไมมันถึงสามารถวัดค่าหรือ
บอกค่าความเข้มข้นของสารละลายให้เราได้
หลาย ๆ ท่านพยายามหาอ่านในเนตภาคภาษาอังกฤษ แต่ก็ยังอ่าน
แล้วงงอยู่ดี เพราะฉะนั้นผมขออธิบายคร่าว ๆ เอาแบบหลักการทำ
งานอย่างง่าย ๆ นะครับ
รีแฟคโตมิเตอร์ อาศัยหลักการวัดค่าความเข้มข้นของสารละลายโดย
อาศัยหลักความจริงที่ว่า เมื่อใดก็ตามแต่ีที่แสงเดินทางผ่านตัวกลาง ถ้า
หากตัวกลางนั้นไม่ยอมให้แสงผ่านไปได้ เช่น ของแข็ง วัตถุทึบ ๆ หิน
เหล็ก อิฐ กำแพง ฯลฯ แล้วความเร็วของแสงหลังวัตถุนั้นจะเป็นศูนย์ครับ
แต่ความเร็วของแสงในอากาศมีค่าโดยประมาณที่ 3 x 108เมตร/วินาที
(แต่โดยความจริงแล้วอยู่ที่ 299,792,458 เมตร/วินาที ในสุญญากาศ
ครับ) ฉะนั้นแล้วที่หลังวัตถุทึบเราจะเห็นเป็นเงาแทน
ในทางตรงกันข้าม ถ้าหากว่าวัตถุหรือตัวกลางใดก็ตามแต่ที่ยินยอม
ให้แสงผ่านไปได้ แล้วเมื่อแสงเดินทางเข้าไปในตัวกลางหรือวัตถุนั้น
ความเร็วของแสงย่อมจะเปลี่ยนไป คือเปลี่ยนไปในทางที่ลดลงครับ ไม่มี
วันที่แสงจะเปลี่ยนไปในทางเพิ่มขึ้น เพราะมันจะไปขัดกับหลักทฤษฎี
สัมพันธภาพที่ว่าด้วยความเร็วยิ่งยวดของจักรวาลคือแสง ถ้าวัตถุใด ๆ ก็
ตามเดินทางได้เร็วกว่าแสง วัตถุนั้นจะข้ามกาลเวลาได้ ซึ่งจะลดลงมาก
แค่ไหนขึ้นกับตัวกลางนั้น ๆ และมันก็จะไม่เท่ากันด้วย เึช่น แสงที่เดินทาง
ผ่านน้ำใส ๆ แสงที่เดินทางผ่านพลาสติกใส แสงที่เดินทางผ่านแท่งแก้วใส
ถูกต้องไหมครับว่าความเร็วของแสงในตัวกลางไม่เท่ากันแน่นอนเพราะ
เป็นวัตถุคนละชนิดกัน
ตรงนี้ใคร ๆ ก็พิสูจน์ได้ครับ เพราะว่าถ้าหากว่าท่านลองมองลงไปใน
น้ำที่ใส ๆ ที่มีปลาว่ายอยู่ เราจะเห็นว่าบางครั้งภาพที่เห็นจะบิดเบี้ยวไป
จากความเป็นจริง เนื่องจากตัวกลางจากอากาศเดินทางลงสู่น้ำ เช่น
ทำไมหรือเหตุใดคนแทงปลา เวลาที่เขาใช้ฉมวกไปแทงปลา เขาอาจจะ
ต้องปักฉมวกหรือบางครั้งอาจจะต้องพุ่งลงไปให้สุดมือ ลงไปให้ลึกกว่าที่
ตาเขาเห็นปลา เพราะว่าน้ำมันหลอกตาครับ ถ้าหากว่าเราปักฉมวกลงไป
ในระดับที่ตาเราเห็นเราจะแทงไม่โดนปลา เพราะในความเป็นจริงปลาอยู่
ลึกกว่าที่เราเห็น อันนี้เป็นผลจากแสงที่เดินทางผ่านของเหลวคือน้ำครับ
หรือแม้กระทั่งตัวกลางหรือสารหรือวัตถุเดียวกันก็ตามแต่ แต่ถ้าความ
เข้มข้นไม่เท่ากันแล้วความเร็วของแสงก็จะไม่เท่ากันไปด้วยครับ เช่นถ้า
ผมมีความเข้มข้นของของเหลวใสความเค็ม 3 เปอร์เซ็นต์ กับของเหลวใส
มีความเค็มเหมือนกันแต่มีความเข้มข้น 5 เปอร์เซ็นต์ ความเร็วของแสงที่
เดินทางก็จะไม่เท่ากันไปด้วย
ซึ่งนี่คือสิ่งที่ทำให้รีแฟคโตมิเตอร์ตรวจวัดค่าความเ้ข้มข้นของของ
เหลวได้ โดยบอกได้เป็นเปอร์เซ้นต์ได้ด้วย
ท่านมองไปตามรูปด้านบนครับ ว่ารีแฟคโตมิเตอร์เครื่องนี้ผมเปิดฝา
หน้าออก แล้วหยดสารละลายที่ต้องการตรวจวัดลงไปที่แท่นกระจก
หลังจากนั้นปิดฝาลง แสงที่เดินทางมา่จากอากาศย่อมจะต้องผ่านสาร
ละลายที่หยดลงไปที่แท่นกระจกก่อนที่จะลงไปรวมกันที่ปริซึมด้านล่าง ซึ่ง
ตรงจุดนี้เองถ้าหากว่าความเข้มข้นของสารละลายที่หยดลงไปไม่เท่ากัน
แล้ว เราจะอ่านค่าความต่างของมันได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นเราคาลิเบรตค่าเบื้องต้น
ด้วยสารละลายมาตรฐานที่ทราบค่าก่อน เช่นคาลิเบรตกับน้ำกลั่นบริสุทธิ์
ซึ่งความเข้มข้นทั้งหลายทั้งปวงควรจะเป็น 0 ถ้าหากรีแฟคโตมิเตอร์อ่าน
ค่าไม่ได้เลข 0 ก็ให้เราปรับค่าให้เป็นศูนย์ เีพียงเท่านี้เราก็ตรวจวัดความ
ต่างของสารละลายได้แล้วครับ
ผมมีอีกสิ่งที่อยากจะอธิบายถึงความแตกต่างระหว่างรีแฟคโตมิเตอร์
และ แท่งแก้ววัดความถ่วงจำเพาะของสารละลาย
ทั้งสองสิ่งใช้วัดเปอร์เซ็นต์
หรือใช้วัดความถ่วงจำเพาะของสารละลายได้เหมือนกัน
แต่ความเหมาะสมในการใช้งานจะต่างกันนะครับ
สำหรับรีแฟคโตมิเตอร์แล้ว เพียงแค่ตัวอย่างของสารละลาย 2 - 3
หยดก็เพียงพอแล้วที่จะใช้วัดค่าความเข้มข้นได้
แต่ว่าราคาของรีแฟคโตมิเตอร์จะสูงกว่า
ในขณะที่แ่ท่งแก้ววัดความถ่วงจำเพาะซึ่งทำหน้าที่ได้เช่นเดียวกันกับรีแฟ
คโตมิเตอร์ ราคาก็ต่ำกว่า แต่ก็มีข้อเสียและข้อดีเช่นกัน คือ ข้อดีคือ
ราคาย่อมเยากว่า วัดได้แม่นยำเพราะต้องว่าไปตามข้อเท็จจริง
แต่ข้อเสียก็มี คือ บอบบางกว่า เวลาที่ใช้ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก
เพราะอาจจะแตกเสียหายได้ และถ้าหากว่าแตกขึ้นแล้วก็คือจบ
ซื้อใหม่ครับ ข้อด้อยอีกอย่างของแท่งแก้ววัดความถ่วงจำเพาะก็คือ
ต้องใช้สารตัวอย่างปริมาณค่อนข้างมากในการวัด
ยิ่งในกรณีถ้านำมาเทียบกับรีแฟคโตมิเตอร์วัดค่าแอลกอฮอล์แล้วยิ่งจะเห็
นชัดเลยครับ ถ้าเป็นสารละลายแอลกอฮอล์แล้วส่วนใหญ่ราคาสูงครับ
การนำสารตัวอย่างปริมาณมากพอควรมาวัด
หมายถึงค่าใ้ช้จ่ายที่ท่านต้องลงทุน
ยิ่งถ้าหากว่าท่านวัดบ่อยครั้งมากก็ยิ่งต้องลงทุนมาก
นอกจากว่าวัดแล้วท่านนำกลับไปใช้ประโยชน์ต่อได้ อย่าเพิ่งไปเททิ้ง
หรือนอกจากว่าท่านเป็นโรงงานผลิตแอลกอฮอล์โดยเฉพาะ เช่น
โรงเหล้าโรงเบียร์ อย่างนี้อีกเรื่องครับ
แท่งแก้ววัดความถ่วงจำเพาะจะเหมาะสมกว่าครับ
ท่านครับผมมีคลิปที่อยากนำเสนอให้ท่านชมครับ
เป็นคลิปที่เกี่ยวกับการหาความเข้มข้นของสารละลายแบบ เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร(% by
Volume)
หลายครั้งที่ผมถูกถามว่า เปอร์เซ็นต์ที่วัดได้ของแอลกอฮอล์นี้หมายถึงอะไร
ตรงนี้ผมอยากให้ท่านดูคลิปนี้แล้วจะเข้าใจครับ เพราะอาจารย์ท่านนี้
อธิบายได้ดีและเข้าใจง่ายมาก ๆ
เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตรจะนิยามถึง ปริมาตรของตัวถูกละลายหรือเรียกว่า
Solute(ที่เป็นของเหลว) คูณด้วย 100
ค่าที่ได้เป็นเท่าไรให้นำมาหารด้วยปริมาตรของสารละลายทั้งหมดหรือเรียกว่า
Solution(ตัวถูกละลายที่เป็นของเหลว + น้ำ)
เพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้น ลองนำวิชาเคมีมาทบทวนกันสักข้อครับ
โจทย์: อยากจะทราบถึงเปอร์เซ็นต์ของแอทานอล(เอธิลแอลกอฮอล์) ปริมาตร
35 มิลลิลิตรที่นำมาผสมกับน้ำปริมาตร 155 มิลลิลิตร
คำนวนได้ทันทีเลยครับคือ (35 มิลลิลิตร x 100) / (35+155) = 18.42 %
สรุป ถ้าหากว่าท่านนำแอทานอลปริมาตร 35 มิลลิลิตร มาผสมกับน้ำ 155
มิลลิตรแล้วจะทำให้สารละลายสุดท้ายมีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ 18.42
เปอร์เซ็นต์
ลองอีกสักโจทย์ครับ
โจทย์: ถ้าหากว่าสารละลายเมทานอล(เมธิลแอลกอฮอล์)
หนึ่งเมื่อนำมาวัดด้วยรีแฟคโตมิเตอร์รุ่นนี้แล้วอ่านค่าได้ 15 เปอร์เซ็นต์
แต่ว่าท่านได้ผสมปริมาตรของเมทานอลปริมาตร 18 มิลลิลิตร
ลงไปในน้ำถามว่าสารละลายสุดท้ายมีปริมาตรเท่าไร
และสรุปแล้วผสมลงไปในน้ำปริมาตรเท่าไร
อันนี้ก็แทนค่าธรรมดาอีกเช่นเดียวกันครับ ว่า 15 = 18 x 100/X
ในที่นี้ X คือปริมาตรสุดท้ายของสารละลาย(ตัวถูกละลาย + ตัวทำละลาย)
แก้สมการแล้วจะได้ว่า X = 120 มิลลิลิตร
สรุปได้ว่า เมื่อท่านได้นำสารละลายนี้มาปริมาตร 18
มิลลิลิตรแล้วผสมกับน้ำจนได้ปริมาตร 120 มิลลิลิตร
จะทำให้สารละลายนี้วัดเปอร์เซ็นต์แอลกอฮอล์ได้เท่ากับ 15 เปอร์เซ็นต์
หรือว่านำสารละลายนี้มาปริมาตร 18 ml แล้วผสมน้ำลงไปอีก 102 ml
ก็จะทำให้ได้สารละลายที่มีเปอร์เซ็นต์แอลกอฮอล์เท่ากับ 15 เปอร์เซ็นต์